Custom Search
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เงินเฟ้อ (Inflation)

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ (rising prices) => ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) “เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน” (Suppressed Inflation) เป็นเงินเฟ้อที่มักจะพบบ่อยในเวลาเกิดสงคราม หรือเกิดขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง

ประเภทของอัตราเงินเฟ้อ

ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภท คือ

1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติ
2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 ~ 20 % รัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง
3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20 % ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมัน จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรง

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ มาจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์มวลรวม (Aggregate Demand) และอุปทานมวลรวม (Aggregate Supply) ซึ่งพอจะจำแนกได้ 3 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation)
2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)
3. เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง (Structural Inflation)

1. เงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น (Demand Pull Inflation) คือการปริมาณสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นในอุปสงค์มวลรวม

สาเหตุที่ทำให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น

1.1 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนการผลิตสินค้าไม่ทันกับความต้องการ
1.2 การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น
1.3 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
1.4 ความต้องการสินค้าจากประเทศของเราของชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น

ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมต่อสินค้าและบริการทุกชนิดได้มีผลทำให้ระดับราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็จริง แต่การสูงขึ้นของราคาดังกล่าวเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อหวังจะได้กำไรเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นตามมาในเวลาต่อมา และช่วยบรรเทาการสูงขึ้นของระดับราคาไม่ให้มากนักได้

2. เงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนสูงขึ้น (Cost-Push Inflation)

สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ประการคือ

1.1 การเรียกร้องค่าจ้างแรงงานเพิ่มของปัจจัยแรงงาน(Wage-Push Inflation)
1.2 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มกำไรของผู้ผลิต
1.3 เงินเฟ้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง(Structural Inflation)

กรณีที่ประเทศเกิดภาวะสงคราม ทำให้รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินในการสงครามและจำกัดขอบเขตการบริโภคของประชาชนทั่วไป เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้การผลิตอาวุธ ในช่วงสงคราม

ผลกระทบของเงินเฟ้อ

1. ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง
2. ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ นั่นคือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง
3. ผลที่มีต่อการกระจายรายได้ เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น
1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะสูงขึ้น เนื่องจากสินค้าแพงขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคง
2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้
3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ พันธบัตรจะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลง

การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ทำได้โดยดูว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุใด

1. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมโดย

1.1 ลดค่าใช้จ่ายการบริโภคส่วนบุคคล (Consumption Expenditure)
1.2 ใช้นโยบายทางการเงินโดยภาครัฐ กล่าวคือ ลดปริมาณเงินโดยการออกพันธบัตร เพื่อชักจูงให้ประชาชนหันมาสนใจออมเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายเงิน
1.3 ใช้นโยบายการคลังโดยภาครัฐ กล่าวคือใช้มาตรการทางด้านภาษี การเก็บภาษีมากขึ้นจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดน้อยลงและรัฐบาลจะต้องลดค่าใช้จ่ายลง
1.4 ลดค่าใช้จ่ายการลงทุน (Investment Expenditure)
1.5 การควบคุมระดับราคาโดยตรง (Price Control) โดยภาครัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการไว้แน่นอน
วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การวางแผน (Planning)

การวางแผน คือ กระบวนการในการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรและการตัดสินใจว่ากิจการจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ด้วยวิธีใด
การวางแผนจัดว่าเป็นหน้าที่แรกของการจัดการและมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นการออกแบบเค้าโครงแผนเพื่อวางแผนงานที่เป็นพื้นฐานสำหรับองค์กรทั้งองค์กร
การวางแผนได้รวมถึงเอาการพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และการตัดสินใจเลือกวิธีการกระทำที่ดีที่สุดจากทางเลือกต่างๆ ตัวอย่างเช่นในการจัดการทุกระดับจะมีผู้จัดการที่มีความเชี่ยวชาญในขอบเขตทางธุรกิจแต่ละด้าน ได้แก่ การเงิน การผลิต ทรัพยากรมนุษย์ การตลาด และการบริหาร
ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการ
ภาวะผู้นำ (Leadership)
ภาวะผู้นำ คือการมีอิทธิพลเหนือพนักงาน ทำให้พนักงานทำงานตามเป้าหมายขององค์กร โดยต้องมีความเข้าใจพนักงานและสามารถโน้มน้าวใจ การทำเช่นนี้ได้ต้องมีการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจพนักงาน มีลักษณะที่น่าเชื่อถือ และมีความรู้ความสามารถ
ทักษะนี้มีความจำเป็นในผู้จัดการทุกระดับ
ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical Expertise)
เป็นความรู้เฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ผู้จัดการต้องมีความรู้มากพอที่จะช่วยอบรมพนักงาน ตอบปัญหาในงานที่พนักงานเกิดข้อสงสัย สามารถชี้แนะแนวทาง และช่วยแก้ปัญหาในการทำงานได้ ในปัจจุบันความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่อีกด้านหนึ่งที่ผู้จัดการต้องมีคือ ความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
ทักษะทั้งหลายเหล่านี้จำเป็นมากที่สุดสำหรับผู้จัดการระดับต้น ในขณะที่ผู้จัดการระดับสูงใช้ทักษะนี้น้อยที่สุด
ทักษะด้านแนวคิด (Conceptual Skills)
คือความสามารถในการคิดโดยสรุป เพื่อจัดการความเหมาะสมของส่วนต่างๆในองค์กร โดยสามารถคิดเป็นขั้นเป็นตอน แล้วนำมารวบรวมเป็นกระบวนการ รวมถึงการมองไปสู่อนาคตและมีความคิดในเชิงสร้างสรรค์
ทักษะนี้จำเป็นสำหรับผู้จัดการระดับสูงมากที่สุด

ทักษะด้านการวิเคราะห์ (Analytical Skills)
คือ ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ของปัญหา ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ และรับรู้สาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อผู้จัดการสามารถระบุปัจจัยที่สำคัญอันเป็นสาเหตุของเหตุการณ์ จะทำให้ผู้จัดการเลือกแนวทางในการกระทำที่เหมาะสมที่สุด ผู้จัดการทุกระดับจำเป็นต้องคิดอย่างมีเหตุผล
ทักษะนี้มีความสำคัญกับความสำเร็จของผู้จัดการระดับสูงมากที่สุด

การตัดสินใจ

การตัดสินใจ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจ เพราะเป็นประโยชน์ในการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยมาประกอบการตัดสินใจ แต่ถ้าไม่มั่นใจในข้อมูลข่าวสารให้ใช้ประสบการณ์และวิจารณญาณเป็นหลัก
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการในการพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาใดๆ จนเกิดความมั่นใจในทางเลือกนั้น
การตัดสินใจ แบ่งเป็น
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Programmed Decision) หมายถึง การตัดสินใจที่เกิดขึ้นเสมอ และมีลักษณะการตัดสินใจในงานประจำ ผู้ตัดสินใจเป็นระดับล่าง และใช้เวลาสั้นๆ ในการตัดสินใจ
เทคนิคที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ได้แก่
1.1 ใช้วิธีการที่เคยปฏิบัติมา
1.2 ใช้กฎระเบียบขององค์กร
1.3 ตัดสินใจตามโครงสร้างขององค์กร
1.4 ใช้เทคนิคการวิจัยการดำเนินงาน
1.5 ใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Non - Programmed Decision) หมายถึง การตัดสินใจที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่สามารถนำกฎเกณฑ์ที่มีอยู่มาประกอบการตัดสินใจได้ทันที จำเป็นต้องปรับปรุงทางเลือกให้เหมาะสมกับเงื่อนไขและสถานการณ์ ผู้ตัดสินใจเป็นระดับบน และใช้เวลานานในการตัดสินใจ
เทคนิคที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ได้แก่
2.1 ใช้ดุลพินิจและความคิดสร้างสรร
2.2 ใช้การคัดเลือกและฝึกอบรมผู้บริหาร
2.3 ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความสลับซับซ้อนสูงเข้าไปประยุกต์ใช้ เพื่อการตัดสินใจ
การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่างๆ แบ่งเป็น
1. ความแน่นอน (Certainty)
ผู้บริหารรู้ทางเลือกทุกทางว่ามีเงื่อนไขอย่างไร และ มีผลอย่างไร
การตัดสินใจผู้บริหารจะต้องรู้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างที่สำคัญและจำเป็นต่อสถานการณ์นั้นๆ
2. ความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ผู้บริหารไม่รู้ว่าทางเลือกทั้งหมดมีอะไรบ้าง และ ไม่รู้ว่าผลจะเป็นอย่างไร
การตัดสินใจจึงต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสถานการณ์และวิเคราะห์ตามเหตุและผล ถ้าตั้งสมมติฐานผิด ย่อมตัดสินใจผิดพลาดเช่นกัน
3. ความคลุมเครือ (Ambiguity)
ผู้บริหารไม่รู้ว่าปัญหา และ เป้าหมายของการตัดสินใจคืออะไร
การกำหนดทางเลือกทำได้ยาก ทำให้การตัดสินใจมักจะประสบความล้มเหลว
4. ความเสี่ยง (Risk)
ผู้บริหารรู้ทางเลือก แต่ไม่รู้ผลของแต่ละทางเลือก
การตัดสินใจผู้บริหารจึงใช้ข้อมูลที่มีความน่าจะเป็นของแต่ละทางเลือกในการคาดการณ์ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
5. ความขัดแย้ง (Conflict)
เกิดจากแรงกดดันของแหล่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 ระดับ
• ความขัดแย้งในตนเอง เกิดจากการพบทางเลือกที่น่าสนใจมากมาย และ ไม่มีทางเลือกที่น่าสนใจเลย
• ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม เกิดจากความคิดเห็นไม่ตรงกันเป็นส่วนใหญ่
• การจัดการ หรือ การบริหาร (Management) คือ กระบวนการในการประสานงาน และ รวบรวมกิจกรรมในการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธผล โดยอาศัยคน
• พฤติกรรม (Behavior) คือ การกระทำของบุคคล
• องค์กร (Organization) คือ หน่วยทางสังคมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุผล โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งประกอบด้วย
1. ทรัพยากรมนุษย์ “บุคลากร (People)” เป็นระบบที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในองค์กร ถ้าคนมีคุณภาพ งานก็จะมีคุณภาพ
2. การดำเนินงาน “โครงสร้างที่ชัดเจน (Deliberate Structure) บอกถึงตำแหน่งและหน้าที่ของแต่ละบุคคล” มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แบ่งงานกันทำตามขอบเขตที่กำหนด
3. ความร่วมมือ “จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ชัดเจน (Distinct Purpose)” มีการร่วมกันดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกัน
การจัดการสมัยใหม่ (New Era Management) มีปัจจัยสำคัญ 4 ประการ
1. อินเทอร์เน็ต (Internet)
2. กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization)
3. การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
4. การร่วมมือ (Collaboration Across Boundaries)

การจัดการเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ต้องมีความสามารถ 4 อย่าง
1. มีความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน
2. มีวิธีการใหม่ (มีนวัตกรรม)
3. มีคุณภาพ (Quality)
4. มีความรวดเร็ว (Speed)
หน้าที่ของการจัดการ (เน้น Productivity คือ Input น้อย แต่ได้ Output มาก โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร มาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง)
การจัดการ (Management) คือ กระบวนการทำงานด้วยคน และ ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
ผู้บริหาร (จัดการ) ที่ดี ต้องมีสิ่ง ต่อไปนี้
• ประสิทธิผล (Effective) คือ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
• ประสิทธิภาพ (Efficient) คือ สำเร็จตามเป้าหมายด้วยการสูญเสียทรัพยากรน้อยที่สุด
*หน้าที่ทางการจัดการ ได้แก่
1. การวางแผน (Planning)
เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำได้โดยดูว่าปัจจุบันองค์กรเราอยู่ที่ไหน (วิเคราะห์ SWOT), อนาคตองค์กรเราจะไปที่ไหน, ทำอย่างไรจึงจะไปถึงเป้าหมายได้ และ จะเลือกไปทางไหนที่มีผลเสียน้อยที่สุด ดีที่สุด ประหยัดที่สุด ปลอดภัยที่สุด
2. การจัดองค์กร (Organizing)
การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) และ การออกแบบโครงสร้างงาน (Job Desire)
3. การนำพาองค์กร (Leading)
ต้องสามารถกระตุ้นบุคลากรให้ทำงานสำเร็จ โดยใช้ทรัพยากรที่มี
4. การควบคุม (Controlling)
การติดตามและประเมินผล
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และกฎอุปทาน (Law of Supply

กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และกฎอุปทาน (Law of Supply) เป็นหลักการที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อหรือขาย โดยกฎอุปสงค์ระบุว่า ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือเรียกว่าปริมาณอุปสงค์ (quantity demanded) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะต้องการซื้อสินค้านั้นน้อยลง กฎอุปทานระบุว่า ปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย หรือปริมาณอุปทาน (quantity supplied) มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะต้องการขายสินค้ามากขึ้น

กฎอุปสงค์และอุปทาน มักนำเสนอออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น โดยให้แกนตั้งเป็นราคา และแกนนอนเป็นปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์มักเขียนออกมาเป็นเส้นลาดลง และเส้นอุปทานเป็นเส้นชันขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น คนงานคนหนึ่งก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ คนงานอาจพบกับเลือกทำงานน้อยลงและใช้เวลาว่างมากขึ้น[4] การวกกลับของเส้นกราฟอุปทานยังปรากฏในตลาดอื่นด้วย เช่นในตลาดน้ำมัน ประเทศที่ส่งออกน้ำมันหลายประเทศลดการผลิตน้ำมันหลังจากราคาพุ่งสูงขึ้นในวิกฤตการณ์น้ำมันปีพ.ศ. 2520


โมเดลของอุปสงค์และอุปทาน อธิบายว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานจะเท่ากัน เรียกราคาที่ภาวะดุลยภาพว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณสินค้าที่ภาวะนี้ว่า ปริมาณดุลยภาพ หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพ

ในการแสดงด้วยแผนภูมิ ดุลยภาพคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน
กฎอุปสงค์และกฎอุปทาน อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณสินค้า เมื่อปัจจัยอื่นๆ คงที่ หากปัจจัยอื่นเกิดความเปลี่ยนแปลง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์หรืออุปทาน คือปริมาณอุปสงค์หรือปริมาณอุปทานจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ทุกระดับราคา แสดงในแผนภูมิในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์หรืออุปทาน

ปัจจัยกำหนดอุปสงค์สำคัญที่มักกล่าวถึงได้แก่ รายได้ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง รสนิยม ความคาดหวัง จำนวนผู้ซื้อ ในขณะที่ปัจจัยที่กำหนดอุปทานมักกล่าวถึง ต้นทุนปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี ความคาดหวัง และจำนวนผู้ขาย

ความหมายของอุปสงค์ (demand)

อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อ ณ. ระดับราคาต่างๆ เมื่อปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่

อุปสงค์ส่วนบุคคล คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ

อุปสงค์ตลาด คือ การนำอุปสงค์ส่วนบุคคลมารวมไว้ด้วยกัน

2.1.2 กฎของอุปสงค์ (law of demand)

กฎของอุปสงค์ คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อสินค้าของผู้บริโภค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่ (ceteris paribus = other things being equal)

กฎของอุปสงค์ “เมื่อราคาสินค้าใดเพิ่มขึ้น กำหนดให้สิ่งอื่นๆ อยู่คงที่ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าลดลง ใน ขณะที่ราคาสินค้าลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้นของ
ผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น ”


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎของอุปสงค์
1. แนวคิดที่มีเหตุผลของผู้บริโภค เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการซื้อสินค้านั้นของผู้บริโภคจะลดลง

2. กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ (law of marginal utility) เมื่อผู้บริโภคบริโภคสินค้าใดเพิ่มขึ้น ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นจะลดลง

3. ผลทางรายได้และผลการทดแทน ผลทางรายได้ คือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น รายได้อยู่คงที่ ผู้บริโภคซื้อสินค้าลดลง ส่วนผลทางการทดแทน คือ ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคไปซื้อสินค้าอื่นมาใช้ทดแทน


2.2 ตาราง และลักษณะเส้นอุปสงค์


ตารางอุปสงค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อ

สินค้าของผู้บริโภคกับระดับราคาต่างๆ

แผนการซื้อ ระดับราคา ปริมาณความต้องการซื้อ

(บาท) (หน่วย)

A 1 10

B 2 8

C 3 6

D 4 4

E 5 2

กราฟแสดงลักษณะเส้นอุปสงค์


เส้นอุปสงค์ ลาดลงจากซ้ายไปขวา (downward slope) หรือ มีความชันเป็นลบ (negative slope) แสดงถึงปริมาณซื้อสินค้ากับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

2.3 ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์


ตัวแปรโดยตรง ตัวแปรโดยอ้อม

QXD = f ( PX, I, PY, T, E , NB, …)

ตัวแปรตาม หรือ

ตัวแปรผล ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ

เมื่อ QXD = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้น

เป็นตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล

ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ แบ่งได้ดังนี้

2.3.1 ราคาสินค้าชนิดนั้น (Price : PX )

กฎของอุปสงค์ แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

2.3.2 ระดับรายได้ของผู้บริโภค (income : I)

รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้น แสดงว่า เป็นสินค้าปกติ (normal good) เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง

รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง แสดงว่า เป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (inferior good) เช่น บะหมี่สำเร็จรูป ข้าวไข่เจียว

2.3.3 ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (price of related good: PY )

ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าอีกชนิดลดลง แสดงว่า เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary good) เช่น ราคาน้ำมันกับรถยนต์

ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าอีกชนิดเพิ่มขึ้น แสดงว่า เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (substitutes good) เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่


2.3.4 รสนิยมของผู้บริโภค (taste : T)

การบริโภคสินค้าของผู้บริโภค แสดงถึง รสนิยม หรือความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้น

2.3.5 การคาดการณ์ของผู้บริโภค (expectation : E)

การคาดการณ์ในเรื่องระดับรายได้ หรือ ระดับราคาสินค้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2.3.6 จำนวนผู้ซื้อสินค้า (number of buyers : NB)

การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร มีผลกระทบต่อปริมาณการบริโภคสินค้าใดสินค้าหนึ่งได้

QXD = f ( PX, I, PY ,T, E , NB, …) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์กับปริมาณความต้องการซื้อ


2.4 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ และการ
เปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์


การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (a movement along the demand curve) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ เกิดจาก ราคาสินค้า มีการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ (a shift in demand curve/ a change in demand curve) คือ การเปลี่ยนแปลงระดับเส้นอุปสงค์ ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกิดจากตัวแปรอิสระที่กำหนด

อุปสงค์ โดยอ้อม มีการเปลี่ยนแปลง


2.5 ความหมายของอุปทาน และกฎของอุปทาน


2.5.1 ความหมายของอุปทาน (supply)

อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเต็มใจทำการผลิต และเสนอขาย ณ ระดับราคาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

2.5.2 กฎของอุปทาน (law of supply)

กฎของอุปทาน คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายสินค้า กับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

“เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณการเสนอขาย

สินค้าของผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าลดลง

ผู้ผลิตเสนอขายสินค้าลดลง กำหนดให้สิ่งอื่นๆ อยู่คงที่”


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎของอุปทาน

1. แนวคิดในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต คือ ผลกำไรที่นักธุรกิจคาดว่าจะได้รับจากการลงทุน เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แสดงถึง รายได้ที่นักธุรกิจได้รับเพิ่มขึ้น ทำให้ทำการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น

2. การที่ราคาสินค้าใดเพิ่มขึ้น เป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำการผลิตสินค้า หันมาผลิตสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้น

2.6 ตารางและลักษณะเส้นอุปทาน

ตารางอุปทาน คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายสินค้ากับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการเสนอขาย เมื่อตัวแปรอื่นๆ อยู่คงที่


แผนการขาย ระดับราคา (บาท) ปริมาณเสนอขาย (หน่วย)

M 1 2

N 2 4

O 3 6

P 4 8

Q 5 10


ปริมาณเสนอขายสินค้ากับระดับราคา มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน (positive slope)


2.7 ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดอุปทาน


ตัวแปรโดยตรง ตัวแปรโดยอ้อม

QXS = f ( PX , PR , PY T, NS, E, …)

ตัวแปรตาม หรือ

ตัวแปรผล ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ

เมื่อ QXS = ปริมาณเสนอขายสินค้าชนิดนั้น

เป็นตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล

ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ แบ่งได้ดังนี้

2.7.1 ราคาสินค้าชนิดนั้น (Price : PX )

กฎของอุปทาน แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายกับระดับราคา มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน

2.7.2 ราคาของปัจจัยการผลิต (resource price : PR)

ถ้าราคาของปัจจัยการผลิต เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง น้ำมัน มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปริมาณเสนอขายสินค้าลดลงได้

2.7.3 ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (price of related good: PY )

เมื่อราคาสินค้าที่ใช้ทดแทนกันเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเสนอขายสินค้าที่ไม่ได้มีราคาเพิ่มขึ้น มีปริมาณลดลง เช่น ราคารถปิคอัพเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหันไปผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลรถยนต์ลดลง

2.7.4 ระดับเทคโนโลยี (technology : T )

ระดับเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง มีผลต่อปริมาณเสนอขายสินค้า

2.7.5 จำนวนผู้ขายสินค้าในตลาด (number of sellers

: NS) เมื่อจำนวนผู้ขายสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณขายสินค้าเพิ่มขึ้น

2.7.6 การคาดการณ์ในอนาคต (expectation : E)

QXS = f ( PX , PR , PY T, NS, E, …)

2.8 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน และการ
เปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน


การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน (a movement along the supply curve) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า เกิดจาก ราคาสินค้า มีการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน (a shift in supply curve/ a change in supply curve) คือ การเปลี่ยนแปลงระดับเส้นอุปทาน ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกิดจากตัวแปรอิสระที่กำหนดอุปทาน โดยอ้อม มีการเปลี่ยนแปลง


2.9 วิเคราะห์ดุลยภาพระหว่างอุปสงค์ และอุปทาน


ดุลยภาพเกิดขึ้นจากการทำงานของกลไกตลาด กำหนดจาก

อุปสงค์ที่แสดงพฤติกรรมของผู้บริโภค เส้นอุปทานแสดงถึงพฤติกรรมของผู้ผลิต

ตารางแสดงการทำงานของกลไกตลาด

ความต้องการ ราคา ปริมาณเสนอขาย เงื่อนไข การปรับตัว

Demand (Qd) P Supply (QS)

10 1 2 สินค้าขาดตลาด ราคาเพิ่ม

8 2 4 สินค้าขาดตลาด ราคาเพิ่ม

6 3 6 ภาวะดุลยภาพ ราคาคงที่

4 4 8 สินค้าล้นตลาด ราคาลด

2 5 10 สินค้าล้นตลาด ราคาลด


ภาวะดุลยภาพที่เกิดจากอุปสงค์และอุปทาน


ร าคาดุลยภาพ คือ ราคา 3 บาท และปริมาณดุลยภาพ คือ 6 หน่วย

ราคาที่สูงกว่าดุลยภาพ คือ 4-5 บาท เกิดผลผลิตส่วนเกิน (excess supply)

ราคาที่ต่ำกว่าดุลยภาพ คือ 1-2 บาท เกิดความต้องการส่วนเกิน (excess demand)


2.10 การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพที่เกิดจาก
อุปสงค์ หรืออุปทานมีการเปลี่ยนแปลง


2.10.1 การเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณดุลยภาพ เมื่อปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อมมีการเปลี่ยนแปลง

รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รสนิยมเพิ่มขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น
ข. รายได้ของผู้บริโภคลดลง รสนิยมลดลง ประชากรลดลง


2.10.2 การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพที่เกิดจากอุปทานมีการเปลี่ยนแปลง


การเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณดุลยภาพ เมื่อปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อมมีการเปลี่ยนแปลง

ราคาปัจจัยลดลง ผู้ขายเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทันสมัย
ข. ราคาปัจจัยเพิ่มขึ้น ผู้ขายลดลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงล้าสมัย


2.11 การเข้าแทรกแซงกลไกราคาโดยภาครัฐบาล


2.11.1 การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price) หรือการกำหนดเพดานราคา (price floor) หรือการประกันราคา (price support)

คือ การกำหนดราคาสินค้าสูงสุดโดยภาครัฐบาล ให้ราคาสูงกว่าระดับราคาดุลยภาพที่กำหนดจากกลไกราคา ตัวอย่างสินค้าทางการเกษตร เช่น ลำไย หอม กระเทียม

กลไกการกำหนดราคาขั้นต่ำ

1. จำกัดปริมาณการผลิตสินค้าของผู้ผลิต ให้ผลิตสินค้าในจำนวนที่จำกัด โดยการกำหนดโควต้า (quota) เกิดขึ้น

2. ให้รัฐบาลรับซื้อผลผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ในท้องตลาด แต่เครื่องมือนี้จะมีผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาล

การกำหนดราคาขั้นต่ำ นิยมใช้กับสินค้าทางการเกษตร เช่น ข้าวเปลือก ข้าวโพด อ้อย หอมหัวใหญ่ กระเทียม เนื่องจากเกษตรกรมักมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน

นอกจากการประกันราคาสินค้าเกษตร ยังมีการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในตลาดแรงงาน เพื่อให้ค่าจ้างสูงกว่ากลไกตลาด
2.11 การเข้าแทรกแซงกลไกราคาโดยภาครัฐบาล

2.11.2 การควบคุมเพดานราคา (price ceiling)

คือ การกำหนดราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายสินค้าและบริการ โดยกำหนดให้อยู่ต่ำกว่าระดับราคาดุลยภาพ

การควบคุมเพดานราคา นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภค ก่อให้เกิดปัญหาการปันส่วน และปัญหาตลาดมืด (black market) เกิดขึ้น เช่น น้ำตาล ข้าวสาร นำมันพืช โดยสินค้าราคาพิเศษ มีการจำกัดปริมาณการบริโภคของประชาชน
ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
1. ชนิดของสินค้า
• สินค้าจำเป็น ยืดหยุ่นน้อย ED < 1
• สินค้าฟุ่มเฟือย ยืดหยุ่นมาก ED > 1
2. ความสามารถในการใช้ทดแทนกันของสินค้า
• ทดแทนได้ยาก ยืดหยุ่นน้อย ED < 1
• ทดแทนได้ง่าย ยืดหยุ่นมาก ED > 1
3. สัดส่วนของเงินที่จ่ายเพื่อซื้อสินค้า เมื่อเทียบกับรายจ่ายทั้งหมด
• มีสัดส่วนน้อย ยืดหยุ่นน้อย ED < 1
• มีสัดส่วนมาก ยืดหยุ่นมาก ED > 1
4. ความคงทนของสินค้า
• คงทนน้อย ยืดหยุ่นน้อย ED < 1
• คงทนมาก ยืดหยุ่นมาก ED > 1
5. ระยะเวลา
• ระยะสั้น ยืดหยุ่นน้อย ED < 1
• ระยะยาว ยืดหยุ่นมาก ED > 1


ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของราคา-รายรับทั้งหมด-นโยบายราคา

เงื่อนไข
นโยบาย ยืดหยุ่นมาก
ED > 1 ยืดหยุ่นคงที่
ED = 1 ยืดหยุ่นน้อย
ED < 1
ลดราคา TR เพิ่ม
**สินค้าฟุ่มเฟือย** TR คงที่ TR ลดลง
เพิ่มราคา TR ลดลง TR คงที่ TR เพิ่ม
**สินค้าจำเป็น**

TR = P.Q …… (1)
MR = dTR …… (2)
DQ = P. (1 + 1)
Ed

ED < 1 ED = 0 ED > 1
เพิ่มราคา TR ↑ คงที่ TR ↓
ลดราคา TR ↓ คงที่ TR ↑

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
1. ชนิดของสินค้า
• สินค้าต่ำต้อย (Inferior Goods) ยืดหยุ่นน้อย ED < 0 (-)
• สินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury Goods) ยืดหยุ่นมาก ED > 1
• สินค้าปกติ (Normal Goods) ยืดหยุ่น ED > 0 (+)
2. สัดส่วนรายจ่ายที่ใช้ในการซื้อต่อรายจ่ายรวมทั้งหมด
• สัดส่วนน้อย ยืดหยุ่นน้อย ED < 1
• สัดส่วนมาก ยืดหยุ่นมาก ED >

ความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ต่อราคา

ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นไขว้ของอุปสงค์ต่อราคา
1. Exy เป็นลบ สินค้าประกอบกัน (Complementary Goods) สินค้าต่างกัน
2. Exy = 0 สินค้าอิสระ (Independent Goods) สินค้าต่าง ไม่เกี่ยวกันเลย
3. Exy เป็นบวก สินค้าทดแทนกัน (Substitute Goods) สินค้าเหมือนกัน

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์ (Demand)
ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ (Want) หรือ อยากซื้อ (Desire)+ อำนาจซื้อ (Purchasing Power)+ ความเต็มใจที่จะซื้อ (Willing to purchase) ของผู้บริโภคคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; D(C, X, Px, M, T)

ตารางอุปสงค์
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณซื้อ ณ ระดับต่าง ๆ

เส้นอุปสงค์
หมายถึง เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณซื้อ ณ ระดับต่าง ๆ
Px



D
Qx

ปริมาณซื้อ (Quantity Demand)
หมายถึง จำนวนสินค้าหรือ บริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาหนึ่ง ในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง เป็นจุด ๆ หนึ่งบนเส้นอุปสงค์

ปัจจัยกำหนดปริมาณซื้อ (Determinants of Quantity Demand)



Px = ราคาสินค้า x [Px↑ QDX↓: Move Along the curve]
Py = ราคาสินค้าทดแทน y [Py↑ QDX↑: Shift to right]
Pz = ราคาสินค้าใช้ร่วมกัน z [Pz↑ QDX↓: Shift to left]
I = รายได้ผู้บริโภค [I↑ QDX↑: Shift to right]
DI = การกระจายรายได้ [DI↑ QDX↑: Shift to right]
T = รสนิยม [T↑ QDX↑: Shift to right]
W = ความมั่งคั่ง [W↑ QDX↑: Shift to right]
N = ขนาดประชากร [N↑ QDX↑: Shift to right]
O = Other ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Advertising : Shift to …]
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
1. ปริมาณซื้อ สัมพันธ์ในทางกลับกันกับ ราคาสินค้าชนิดนั้น (Negative Relationship)
2. ปริมาณซื้อ สัมพันธ์ตามกันกับ รายได้ (Positive Relationship)
อุปทาน (Supply)
ปริมาณสินค้าที่ต้องการเสนอขายของผู้ผลิต (Want) + อำนาจการผลิต (Producing Power) ของผู้ผลิตคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; S(F, X, Px, M, T)

ตารางอุปทาน
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ

เส้นอุปทาน
หมายถึง เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ

Px = ราคาสินค้า x [Px↑ QSX↑: Move Along the curve]
Py = ราคาสินค้าทดแทน y [Py↑ QSX↑: Shift to right]
Pz = ราคาสินค้าใช้ร่วมกัน z [Pz↑ QSX↓: Shift to left]
C = ต้นทุนการผลิต [C↑ QSX↓: Shift to left]
T = เทคนิคการผลิต [T↑ QSX↑: Shift to right]
G = เป้าหมายผู้ผลิต [G↑ QSX↑: Shift to right]
N = จำนวนผู้ผลิต [N↑ QSX↑: Shift to right]
F = ปัจจัยอื่น ๆ สภาพทางธรรมชาติ : Shift to …
การเคลื่อนไหวภายในเส้นอุปทาน (Move Along the Curve)
เศรษฐศาสตร์
คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) ที่มีอยู่จำกัด และหายาก (Scarcity) โดยการเลือก (Choice) ทางเลือกหรือวิธี (Alternative) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) ในการผลิตสินค้าบริการ รวมถึงการกระจายแบ่งเป็น (Distribution) ในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีของคนในชาติ

เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
• ผู้บริโภค ทำให้เกิดความพอใจสูงที่สุด (Maximize Utility) โดยจ่ายเงินน้อยสุด
• องค์การธุรกิจ กำไรสูงสุด (Maximize Profit) และต้นทุนต่ำสุด (Minimize Cost)

ดุลยภาพ (Equilibrium)
กระบวนการปรับตัวที่มีผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้ากับความต้องการขายสินค้าเท่ากัน ณ ระดับราคาหนึ่งในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้การซื้อขาย (Transection) เกิดขึ้น ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อสินค้า ผู้ผลิตได้รับเงินค่าสินค้าเกิดการหมุนเวียนรายได้รายจ่ายในระบบเศรษฐกิจ

สาขาเศรษฐศาสตร์
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) คือการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในระดับหน่วยย่อย หรือครัวเรือน หรือหน่วยผลิตในระยะเวลาหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คือการศึกษาพฤติกรรมเศรษฐกิจโดยส่วนรวม (Aggregate) ของระดับภาคนั้น ๆ ของประเทศ หรือประเทศ หรือทวีป หรือโลก ในระยะเวลาหนึ่ง

เศรษฐศาสตร์การจัดการ (Manigerial Economics)
หมายถึง การศึกษาถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั้งระดับจุลภาคและมหภาค (ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีราคา และกลยุทธ์ทางการตลาด) เพื่อนำไปประยุกต์กับธุรกิจทั้งด้านการบริหารจัดการ การดำเนินการและการวางแผน รวมทั้งการตัดสินใจเพื่อให้ถูกต้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเลือกทางเลือกหรือวีธีที่ดีที่สุด โดยลดภาวะการเสี่ยงทั้งปัจจุบันและอนาคตในระยะเวลาหนึ่ง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
จุลภาค : “What-How to produced? For Whom-How much resource?”

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
1. ยึดถือวิธีการและกลไกทางเศรษฐกิจ เช่นกลไกราคา กลไกตลาด
2. ยึดถือตามลัทธิเศรษฐกิจการเมือง เช่น
• ระบบทุนนิยม (Capitalism)
- ราคาเป็นกลไกในการปรับตัวแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
- กำไรเป็นสิ่งจูงใจในการประกอบการ การค้นคว้าสิ่งใหม่
- รัฐบาลไม่แข่งขันแต่เป็นผู้สนับสนุน
• ระบบผสม (Mixed Economy)
- รัฐบาลและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- รัฐเข้าแทรกแซงกลไกการตลาด เพื่อสวัสดิการ
1. กลไกการตลาด กลไกราคาเป็นตัวแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐไม่ได้เข้าควบคุม
2. เอกชนมีอิสระเสรีอย่างเต็มที่ในการแข่งขันกันในตลาด
• ระบบสังคมนิยม (Socialism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจเข้าแทรกแซงกำหนดราคา
- เอกชนถือกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีอิสระใน SME และเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- รัฐจัดระบบประกันสังคม การจ้างงาน และสวัสดิการ
• ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ทรัพยากรในประเทศเป็นผู้กำหนดในการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และกระจายสินค้า
"เศรษฐศาสตร์" เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและหายากโดยการเลือก ทางเลือกหรือวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ที่มีอยู่ไม่จำกัด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาเดียวกับผู้บริหารในองค์กรธุรกิจที่ต้องตัดสิน ใจในการจัดสรรทรัพยากรภายในองค์กรที่มีอยู่จำกัด เช่น เงินทุน ที่ดิน โรงงาน อุปกรณ์ วัตถุดิบ ความรู้ เทคโนโลยีการผลิต สมรรถภาพในการสร้างค่าสินค้าและบริการเพื่อดำเนินงานผลิต จำหน่ายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้ซื้อในตลาด

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ถูกนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรในธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ในด้านการผลิตองค์กรธุรกิจจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร ? สินค้าที่ผลิตควรจะมีความแตกต่างกับผู้ขายรายอื่นในตลาดหรือไม่ ? องค์กรควรใช้เทคโนโลยีการผลิตอย่างไร ? ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไร ? องค์กรควรทำ การผลิตวัตถุดิบเอง หรือจัดซื้อจากผู้ผลิตอื่นในตลาด การผลิตขององค์กรมีลักษณะประหยัดจากขนาดหรือไม่ ? ประหยัด จากการผลิตสินค้าที่หลากหลายหรือไม่ ? ต้นทุนการ ผลิตสินค้าและบริการขององค์กรมีลักษณะเป็นอย่างไร ? ใช้ ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาการเพิ่มกำลังการผลิต การกระจายการผลิตสู่สินค้าใหม่ หรือจำหน่ายในตลาดและกลุ่มผู้ซื้อใหม่ การลงทุนในเทคโนโลยีการผลิตและการจัดจำหน่าย รวมทั้งการกำหนดตำแหน่งของสินค้าและบริการเพื่อสร้างความได้เปรียบการแข่ง ขัน

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ยังถูกนำไปใช้กับ การตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างค่าของสินค้าและบริการ เช่น การเลือกวิธีการกำหนดราคาภายใต้สภาพการแข่งขันต่างๆ ว่าองค์กรควรจะกำหนดราคาสินค้าและยึดครองค่าสินค้าจากผู้บริโภคอย่างไร ? องค์กรควรวางตำแหน่งสินค้าอย่างไร ควรผลิตสินค้าคุณภาพสูงหรือคุณภาพต่ำ ? องค์กรควรมี กลยุทธ์อย่างไรในการสร้างความได้เปรียบการแข่งขันเน้นที่ต้นทุนการผลิตหรือ สร้างคุณค่าของสินค้า ? เมื่อคำนึงถึงโครงสร้างตลาด และพฤติกรรมตอบโต้ของคู่แข่ง เป็นต้น เพื่อให้กับองค์กรธุรกิจให้สามารถเลือกตัดสินใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ภาย ใต้ข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรและสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจเผชิญอยู่ จึงมีการผสานแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์กับทฤษฎีการตัดสินใจ การตลาด การบริหาร และการจัดการเชิงกลยุทธ์เข้าด้วยกันกลายเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า "เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ" (business economics) เป็นการศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับองค์การธุรกิจ การจัดการและกลยุทธ์ เช่น อธิบายว่าทำไมต้องมีกิจการ สาเหตุที่ธุรกิจขยายตัวทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง รูปแบบโครงสร้างองค์กร ความสัมพันธ์ของบริษัทกับพนักงานและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับสิ่งแวดล้อม ทางธุรกิจ ทั้งนี้คำว่าเศรษฐศาสตร์ธุรกิจถูกใช้อย่างหลากหลาย บางครั้งก็ใช้รวมกับ "เศรษฐศาสตร์การจัดการ" (managerial economics) "องค์การอุตสาหกรรม" (industrial organization) หรือ "เศรษฐศาสตร์สำหรับธุรกิจ" (economics for business) หรือองค์กรที่นำทฤษฎี Economic มาจัดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามแต่ละชื่อก็มีความแตกต่างกัน อยู่บ้าง กล่าวคือ

"เศรษฐศาสตร์การจัดการ" เน้นการประยุกต์ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการกระบวน การการตัดสินใจระดับองค์กรธุรกิจและการแข่งขันในตลาด เป็นการนำเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์องค์กรธุรกิจมาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการ วิเคราะห์เชิงปริมาณโดยวิธีการพิจารณาตัดสินใจจะอาศัยหลักการวิเคราะห์หน่วย ท้ายสุดทางเศรษฐศาสตร์ (marginal analysis) ในการ จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการวิเคราะห์หน่วยท้ายสุดนี้เป็นเครื่องมือสำคัญหนึ่งที่เศรษฐศาสตร์นำ มาใช้เพื่ออธิบายพฤติกรรมการเลือกต่างๆ ของบุคคลและหน่วยเศรษฐกิจในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (marginal costs) และประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น (marginal benefits) จากการจัดสรรทรัพยากรจากการแก้ปัญหานั้นโดยมีหลักการว่า การจัดสรรทรัพยากรจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อทรัพยากรถูกนำไปใช้ใน กิจกรรมที่ให้ประโยชน์สุทธิท้ายสุดที่สูงสุด นอกเหนือจากวิเคราะห์หน่วยท้ายสุดทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ยังมีแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจขององค์กรธุรกิจ เช่น ทฤษฎีบริษัท เศรษฐศาสตร์ต้นทุนธุรกรรม ทฤษฎีเกม เศรษฐศาสตร์สารสนเทศ แนวคิด principal-agent เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เป็นต้น

สำหรับ "องค์กรอุตสาหกรรม" เป็นสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษากลยุทธ์พฤติกรรมของบริษัท, โครงสร้างของตลาดและการมีปฏิสัมพันธ์ (interactions) โดยใช้ทฤษฎีราคา (price theory) กับการ วิเคราะห์ตามแนวคิด structure-conduct-performance (SCP) ซึ่งมีสมมติฐานว่าประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม (ความสำเร็จของอุตสาหกรรมในการผลิตเพื่อสร้างประโยชน์ต่อผู้ บริโภค) จะขึ้นอยู่กับการดำเนินการ (conduct) ของ บริษัทที่ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างอุตสาหกรรมในขณะที่โครงสร้างของ อุตสาหกรรมนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยีและอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น จำนวนกิจการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีที่ต้นทุนการผลิต เฉลี่ยลดลงเมื่อมีการผลิตเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มที่จะน้อยหรือ การมีตลาดรองหรือตลาดมือสองอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของบริษัทในตลาดหลัก เป็นต้น

วิชา "องค์กรอุตสาหกรรม" ช่วยเพิ่มเติมข้อจำกัดในโลกความเป็นจริงไปในข้อสมมติตลาดแข่งขันสมบูรณ์ของ นักเศรษฐศาสตร์ เช่น ความไม่สมบูรณ์และความไม่สมมาตรของข้อมูล ต้นทุนธุรกรรม ต้นทุนในการปรับราคา การดำเนินนโยบายของรัฐบาล และอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดของกิจการใหม่ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมนั้นมีส่วนคล้ายกับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจมากที่สุด แต่เศรษฐศาสตร์ธุรกิจจะมีขอบเขตที่กว้างกว่าเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เพราะไม่เพียงแต่ที่เกี่ยวข้องกับ "อุตสาหกรรม" แต่ยังเกี่ยวข้องกับธุรกิจในภาคบริการและยังนำเอาแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มา ประยุกต์ใช้กับ "กลยุทธ์ธุรกิจ" อีกด้วย เช่น การตั้งราคาลำเอียง (price discrimination) การ สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจด้านความคงทนของสินค้า การสมรู้ร่วมคิด การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ เป็นต้น

นักธุรกิจที่เข้าใจใน "เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ" จะมีเซนส์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจดีขึ้น ในที่นี้จะขอยกสัก 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างแรก "เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ" ทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความมีเหตุผลของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคนั้นไม่ซื้อสินค้าหรือบริการที่คุณภาพดีที่สุดหรือซื้อสินค้าที่ ราคาถูกที่สุด แต่จะคำนึงถึงค่าหรือประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับจากสินค้าและบริการหักด้วยต้น ทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "ส่วนเกินผู้บริโภค" (consumer surplus) ทั้ง นี้ค่าหรือประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะ คุณสมบัติของสินค้าและบริการ เช่น ความคงทน ความเชื่อถือได้ การใช้งาน ภาพลักษณ์ ความปลอดภัย ความสวยงามและความถนัดในการใช้ ซึ่งค่าเหล่านี้เป็นค่าที่ผู้บริโภครับรู้ หรือค่าความเห็น (perceived value) ที่ธุรกิจต้องพยายามเพิ่มค่าที่ผู้บริโภครับรู้นี้ ให้มากที่สุด เพราะคุณค่านี้จะไปเกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาสินค้าด้วย ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็คำนึงถึงค่าใช้จ่ายของการได้มาซึ่งสินค้าและบริการ ที่ตนต้องการ เช่น ต้นทุนตัวเงิน ต้นทุนเวลา ต้นทุนการค้นหา ต้นทุนด้านจิตวิทยา ซึ่งธุรกิจต้องพยายามลดต้นทุนส่วนนี้ลงเพื่อให้คุณค่าสุทธิที่ผู้บริโภคได้ รับสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความมีเหตุผลของคนก็มีข้อจำกัด ตัวอย่างเช่น หากผู้บริโภคไม่มีข้อมูลหรือไม่สามารถใช้ข้อมูลด้านคุณภาพจากผู้รู้ข้อมูลมา ใช้เพื่อเลือกซื้อสินค้าได้ โดยเฉพาะสินค้า experience goods ที่ต้องใช้ประสบการณ์เพื่อรับรู้ถึงคุณภาพ เช่น ยา สบู่ แชมพู หนังสือ เครื่องเสียง รถยนต์ ร้านอาหาร สมาชิกสโมสร พนักงานคนใหม่ ฯลฯ ผู้บริโภคอาจโชคร้ายได้สินค้าคุณภาพต่ำหรือสินค้าปลอมแปลงไม่เหมาะสมกับราคา ที่ต้องจ่ายไป ในกรณีเช่นนี้ถึงแม้ตลาดสินค้ายังคงอยู่แต่ราคาสินค้าจะไม่แสดงถึงค่าของ สินค้าที่แท้จริงแต่จะเป็นราคาคาดคะเนระหว่างราคาสินค้าคุณภาพสูงและต่ำที่ ผู้บริโภคเต็มใจจะจ่าย ธุรกิจก็ต้องพยายามแก้ไขปัญหานี้โดยการส่งสัญญาณ (signaling) เช่น การรับประกันคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 2 "เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ" ทำให้ผู้บริหารตระหนักถึง "ต้นทุนค่าเสียโอกาส" ในการตัดสินใจ นักเศรษฐศาสตร์นั้นมีวิธีการวัดผลกำไรทางธุรกิจที่แตกต่างกับทางบัญชี นักเศรษฐศาสตร์สนใจรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรในการทำ ธุรกิจที่ใช้จ่ายไปจริงในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ว่ารายการค่าใช้จ่ายหรือรายได้นั้นจะมีเอกสารหลักฐานทางการเงินหรือมีการ รับจ่ายเงินเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ตาม ผู้บริหารต้องเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากร หน่วยท้ายสุดเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้ทรัพยากรหน่วยนี้ หรือต้นทุนหน่วยสุดท้ายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กรที่ต้องจัดหาซื้อมาจาก ตลาดหรือเป็นผลประโยชน์อื่นที่ทรัพยากรนี้สามารถนำไปใช้ได้แต่เลือกไม่ใช้ เป็นค่าเสียโอกาสของทรัพยากร ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายแอบแฝงก็เช่น ค่าเสียโอกาสการทำงานของเจ้าของกิจการเมื่อมาทำธุรกิจแต่ไม่มีการจ่ายเงิน เดือนให้ ค่าเสียโอกาสการใช้อาคารเมื่ออาคารถูกนำมาใช้เพื่อกิจการธุรกิจโดยไม่ได้คิด ค่าเช่า ค่าเสียโอกาสของเงินลงทุนที่ธุรกิจไม่ได้คิดดอกเบี้ยให้แตกต่างกับการกู้ยืม เงินซึ่งธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

นอกเหนือจากเศรษฐศาสตร์จุลภาคซึ่ง นำไปประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจภายในองค์กรแล้ว สิ่งที่ทำให้ "เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ" แตกต่างจากศาสตร์การบริหารอื่นๆ ก็คือการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์และเข้าใจสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจภายนอก องค์กรและเศรษฐกิจมหภาค เช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค นโยบายภาครัฐและกฎหมายต่างๆ รวมทั้งให้ความสนใจในภาวะเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น ผลกระทบจากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจและการค้า นโยบายและทิศทางการค้าและการเงินระหว่างประเทศ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการแข่งขันในการค้าโลก บทบาทของบริษัทข้ามชาติที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจขององค์กร เพราะความเข้าใจเหล่านี้จะช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจดีขึ้น
บุคคลสำคัญของเศรษฐศาสตร์จุลภาคและบุคคลสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้แก่ พร้อมบอกผลงานสำคัญ

นักเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค ที่สำคัญมีด้วยกัน 4 ท่าน คือ อดัม สมิธ โทมัส โรเบิร์ต มัลทัส เดวิด ริคาร์โด และ จอห์น สจ๊วต มิลล์ อดัม สมิธ
บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ได้เขียนหนังสือ “The Wealth of Nations” คัดค้านแนวความคิดของพวกพาณิชย์นิยม เพราะไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า ความมั่งคั่งของประเทศมาจากการค้าที่ได้เปรียบ สมิธเสนอแนวความคิดใหม่ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับงาน การทำงานก่อให้เกิดผลิตผล ยิ่งขยายงานออกไปงานก็ยิ่งกว้างขวาง จนถึงกับแบ่งงานกันทำตามความถนัด ความสามารถ และเชื่อว่าถ้าหากรัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการโดยอิสระในการบริโภค การผลิตสินค้าและบริการภายใต้กรอบของกฎหมายและ จริยธรรม ซึ่งเรียกว่า เศรษฐกิจแบบเสรี (Laissez–Faire) จะช่วยให้ประเทศชาติมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง

โทมัส โรเบิร์ต มัลทัส

ได้กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรมักจะเกี่ยวโยงกับอาหาร ประชากรมีการเพิ่มขึ้นตามอัตราเรขาคณิต และอาหารเพิ่มขึ้นตามอัตราเลขคณิต จึงทำให้การเพิ่มขึ้นของประชากรมีอัตราที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของอาหาร จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการควบคุมอัตราการเกิดให้ต่ำลง

เดวิด ริคาร์โด

กล่าวถึงทฤษฎีค่าจ้างไว้ว่า อัตราค่าจ้างตลาดจะสูงกว่าอัตราค่าจ้างธรรมชาติ และมีแนวโน้มที่จะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่สูงกว่าการเพิ่มของทุนอยู่เสมอ สำหรับทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ ริคาร์โดได้เสนอทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ซึ่งกล่าวว่า ต้นทุนของการค้าระหว่างประเทศมิได้ขึ้นอยู่กับความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ที่ประเทศผู้ส่งออกมีเหนือประเทศคู่ค้า แต่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างโดยเปรียบเทียบในต้นทุนการผลิตของประเทศทั้งสอง
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม กล่าวคือ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมทั้งรัฐบาลและเอกชนต่างมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตมีทั้งส่วนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนที่เป็นแบบทุนนิยม คือ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางอย่าง มีเสรีภาพในการเลือกผลิตหรือบริโภค ใช้ระบบของการแข่งขัน กลไกราคาเข้ามาทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร ส่วนที่เป็นแบบสังคมนิยม คือ รัฐบาลเข้ามาควบคุมหรือเข้ามาดำเนินกิจการที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องมีการลงทุนมากเพราะหาเอกชนลงทุนได้ยากเนื่องจากเป็นกิจการที่ต้อง เสี่ยงกับการขาดทุนหรือไม่คุ้มกับการลงทุน แต่กิจการเหล่านี้จำเป็นต้องมีเพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา การขนส่ง และคมนาคม เหตุที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการในกิจการดังกล่าวก็เพื่อขจัดปัญหาในเรื่องการผูกขาดหรือเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้เอกชนทำการแข่งขัน โดยสรุปแล้วระบบเศรษฐกิจแบบผสมจึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้ทั้งระบบกลไกราคา หรือระบบตลาดควบคู่ไปกับระบบกลไกรัฐในการจัดสรรทรัพยากร

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นระบบเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความคล่องตัว กล่าวคือ มีการใช้กลไกรัฐร่วมกับกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากรของระบบ กิจการใดที่กลไกราคาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐก็จะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ (ใช้ระบบของการแข่งขัน) แต่ถ้ากิจการใดที่กลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐก็จะเข้ามาดำเนินการแทน จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบผสมเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสาน กล่าวคือ รวมข้อดีของทั้งระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวก็มีข้อเสียด้วยเช่นกัน

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

1. การมีกำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอาจก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และรายได้เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

2. การที่รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยใช้กลไกรัฐอาจก่อให้เกิด

2.1 ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้เกิดการบิดเบือน การใช้ทรัพยากรของระบบ เศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

2.2 ปัญหาเอกชนไม่กล้าลงทุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่แน่ใจในสถานการณ์ทางการเมือง และนโยบายของรัฐบาลซึ่งมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนได้ง่าย อาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหยุดชะงัก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง
การที่ทรัพยากรมีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐาน เศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ "ปัญหาการขาดแคลน" ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการจัดระบบผลิต (ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร) โดยสาระสำคัญของปัญหาการจัดสรรทรัพยากร คือ จะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร (What, how, for whom)

1. จะผลิตอะไร : ควรผลิตสินค้า-บริการอะไร ในปริมาณเท่าใด

2. จะผลิตอย่างไร : โดยใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

3. จะผลิตเพื่อใคร : จะกระจายสินค้าบริการไปให้ใคร

ระบบเศรษฐกิจที่ใช้แก้ไขปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ พร้อมข้อดี ข้อเสีย

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม (Laissez-Faire or Capitalism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนใน การเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่างๆ

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

1. เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด

2. กำไรและการมีระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เอกชนจะทำงานอย่างเต็มที่ เนื่องจากผลิตได้มากน้อยเท่าไรก็จะได้รับผล ตอบแทนหรือรายได้ไปเท่านั้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจระบบนี้จะมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

1. ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐาน ทำให้ความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ

2. ในหลายๆ กรณี ราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น สินค้าและบริการที่มีลักษณะของการผูกขาดโดยธรรมชาติหรือสินค้าและบริการสาธารณะ ซึ่งได้แก่ บริการด้านสาธารณูปโภค (น้ำประปา,ไฟฟ้า,โทรศัพท์ ฯลฯ) โครงสร้างพื้นฐาน (ถนน เขื่อน สะพาน ฯลฯ) จะเห็นได้ว่าสินค้าและบริการดังกล่าวส่วนใหญ่จะต้องใช้เงินลงทุนมาก เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสี่ยงกับภาวะการขาดทุนเนื่องจากมีระยะการคืนทุนนาน ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่ค่อยกล้าลงทุนที่จะผลิต ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน อันเนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องการ จะเห็นได้ว่ากรณีดังกล่าวราคาไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้

3. การใช้ระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่าง สิ้นเปลือง เช่น ในบางช่วงที่มีการแข่งขันกันสร้างศูนย์การค้าเพราะคิดว่าเป็นกิจการที่ให้ผลตอบแทนหรือกำไรดี ศูนย์การค้าเหล่านี้เมื่อสร้างขึ้นมามากเกินไปก็อาจไม่มีผู้ซื้อมากพอ ทำให้ประสบกับการขาดทุน กิจการต้องล้มเลิก เสียทุนที่ใช้ไปในกิจการนั้น เป็นการสูญเสียทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปอย่างเปล่าประโยชน์และไม่คุ้มค่า เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

เทคนิคในการวัดความเสี่ยงทางตลาด

การประเมินค่า beta ของโครงการทำได้ยากและมีความไม่แน่นอน แต่ได้มีความพยายามในการหาค่า beta 2 วิธี คือ 1. Pure Play Method
2. Accounting Beta Method
วิธีที่ 1 Pure Play Method
1. พยายามหาบริษัทที่ประกอบธุรกิจเพียงอย่างเดียวและเป็นธุรกิจประเภทเดียวกับโครงการที่บริษัทกำลังพิจารณาอยู่
2. นำค่า beta ของบริษัทเหล่านั้นมาเฉลี่ย
3. ค่า beta เฉลี่ยที่คำนวณได้จากข้อ 2 นำมาคำนวณหา risk – adjusted cost of capital เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินโครงการลงทุนดังกล่าว

วิธีที่ 2 Accounting Beta Method
หาค่า beta โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนของหุ้นสามัญของบริษัทกับดัชนีของตลาดหลักทรัพย์
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับต้นทุนของเงินทุน

1. ค่าเสื่อมราคา เป็นแหล่งของเงินทุนด้วยแต่ในบทนี้ไม่ได้กล่าวไว้


ต้นทุนของค่าเสื่อมราคา = ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของต้นทุนของกำไรสะสมและต้นทุนของหนี้สิน


2. กิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่มีข้อมูลให้คำนวณ เช่น หาค่า P 0 ไม่ได้
3. ธุรกิจขนาดเล็ก มีเจ้าของไม่มากรายจะคำนวณหุ้นทุนของเงินทุนได้ยาก
4. ปัญหาในการคำนวณต้นทุนของเงินทุน
- ถ้าใช้สมการ CAPM คำนวณ k S ต้องทราบอัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผล g
- ถ้าใช้ bond yield คำนวณ k S โดยนำ bond yield + risk premium จะใช้
risk premium เท่าไร
5. ต้นทุนของเงินทุนของโครงการมีความเสี่ยงต่างกัน เป็นการยากในการวัดความเสี่ยงของแต่ละ
โครงการ เพื่อนำมาคำนวณ risk – adjusted cost of capital
6. โครงการของเงินทุนที่เหมาะสม การกำหนดโครงสร้างของเงินทุนว่าควรจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน
หุ้นบุริมสิทธิ์ กำไรสะสม และการจำหน่ายหุ้นสามัญในสัดส่วนเท่าไรเป็นเรื่องยาก
สมการ CAPM = k RF + ( k M- k RF ) b

 ตัวอย่าง: บริษัท Erie Steel จำหน่ายเหล็กประเภทต่าง ๆ ใช้เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้น 100 % ต้นทุน ของหุ้นสามัญ = WACC ของบริษัท บริษัท มีค่า b = 1.1 , k RF = 8% , k M = 12%
ต้นทุนของหุ้นสามัญ = k s = WACC
= k RF + ( k M- k RF ) b i
= 8 + ( 12-8) 1.1
= 12.4 %

ใช้ 12.4 % เป็นเกณฑ์ประเมินโครงการที่มีความเสี่ยงเท่ากับความเสี่ยงโดยเฉลี่ยของโครงการที่บริษัททำอยู่เดิม ( Average-risk project )

ถ้าบริษัท Erie ลงทุนในโครงการสร้างท่าเรือสำหรับเรือขุดแร่ ซึ่งโครงการนี้มีค่า bata 1.5 และใช้เงินทุน 20% ของโครงการผลิตเหล็กซึ่งทำอยู่เดิมใช้เงินทุน 80%

ค่า bata ใหม่ = อัตราเงินทุนเดิม ( bata เดิม ) + อัตราเงินทุนใหม่ ( bata ใหม่ )
= 0.8 (1.1) + 0.2 (1.5)
= 1.18
* เมื่อค่าเบต้าเพิ่มขึ้นราคาหุ้นสามัญจะลดลงนอกจากอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจะสามารถ ชดเชยกับค่าเบต้าที่เพิ่มขึ้นนี้
• นั่นคือ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการจะต้องเพิ่มขึ้น



ต้นทุนของหุ้นสามัญ(ใหม่) = k s = WACC
= k RF + ( k M- k RF ) b i
= 8 + ( 12-8) 1.18
= 12.72 %
- ผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับทั้งสิ้นต้องเพิ่มขึ้น จาก 12.4% เป็น 12.72%
- ถ้าโครงการลงทุนเดิม ( ผลิตเหล็กชนิดต่าง ๆ ให้ผลตอบแทน 12.4% โครงการใหม่จะต้องให้ผลตอบแทนเท่าใดผู้ลงทุนจึงจะพอใจ ( 12.72%)

12.72 % = 8 + ( 12.4) + 0.2 (X)
0.2 (X) = 12.72 - 8 + ( 12.4)
X = 2.8 /0.2
= 14%

สรุป
ความเสี่ยง โดยเฉลี่ยของ
โครงการเดิม การลงทุนโครงการท่าเรือขุดแร่
สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโครงการเดิม
Beta ของโครงการ 1.1 1.5
Beta ของบริษัท 1.1 1.18
WACC ของบริษัท 12.4 12.72
Risk Adjusted Cost of Capital 12.4 14.00

Risk Adjusted Cost of Capital = k b
k barge = k RF + ( k M- k RF ) b b
= 8 + ( 12-8) 1.5
= 8 + 6
= 14 %
 ตัวอย่าง:บริษัท Eric พิจารณาโครงการเปิดศูนย์จัดจำหน่ายแห่งใหม่ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ beta = 0.5 จะ คำนวณ Risk – Adjusted Cost of Capital ได้ดังนี้

k center = 8 + ( 12-8) 0.5
= 10 %
Stand – alone rish วัดจากความผันแปรของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
Corporat of With-in-firm risk วัดจากผลกระทบของโครงการที่มีต่อความไม่แน่นอนของรายได้ใน อนาคตของบริษัท
Market of Beta risk วัดโดยดูผลกระทบของโครงการที่มีต่อค่าเบต้า (b) ของบริษัท

การลงทุนในโครงการที่มี Stand alone risk หรือมี coporate risk สูง ไม่จำเป็นว่าจะมีผลกระทบต่อค่า beta ของกิจการแต่ถ้าโครงการนั้นมีความไม่แน่นอนของผลตอบแทนสูง และผลตอบแทนของโครงการนั้นมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของโครงการอื่น ๆ ของกิจการอย่างมาก และต่อภาวะเศรษฐกิจด้วย โครงการนั้นจะมีความเสี่ยงทั้ง 3 ประการสูง
ตามทฤษฎีความเสี่ยงทางตลาดเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นความเสี่ยงที่สะท้อนอยู่ในราคาหุ้นสามัญแล้ว แต่การวัดทำได้ยาก จึงจัดโครงการออกเป็น 3 กลุ่ม
1. ความเสี่ยงต่ำ
2. ความเสี่ยงปานกลาง
3. ความเสี่ยงสูง
 ตัวอย่าง : ถ้า WACC 10% ใช้เป็นเกณฑ์ประเมินโครงการลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง
ใช้ 12% ประเมินโครงการที่มีความเสี่ยงสูง
ใช้ 8% ประเมินโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำ

เรียกว่า การปรับต้นทุนของเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยง ( Risk adjusted cost of capital)
• การยอมรับโครงการลงทุนนั้น โครงการที่มีความเสี่ยงสูงย่อมต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูง
• การชดเชยความเสี่ยงจึงต้องปรับต้นทุนของเงินทุนให้สูงขึ้น
 ตัวอย่าง : บริษัท A มี 2 แผนก : คือ L และ H ถ้าแยกแต่ละแผนกเท่ากับ 1 บริษัท
# แผนก L ความเสี่ยงต่ำ โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 9%
# แผนก H ความเสี่ยงสูง โครงการมีผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 11%
สองแผนกมี
ขนาดเท่ากัน ต้นทุน
แต่ละแผนก ประเมินโดยใช้ 10%
WACC ของบริษัท ประเมินโดยใช้ต้นทุน
แต่ละแผนก
L ความเสี่ยงสูง 7% ปฎิเสธโครงการแผนก L รับโครงการแผนก L
H ความเสี่ยงต่ำ 13% รับโครงการแผนก H ปฎิเสธโครงการแผนก H
ต้นทุนถัวเฉลี่ย 10% ตัดสินใจผิดพลาด ตัดสินใจถูกต้อง

สรุป ควรปรับต้นทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละโครงการ
ผลของการตัดสินใจผิด
1. บริษัท พลาดโอกาสลงทุนในโครงการที่ปลอดภัย
2. บริษัท หลงผิดลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงสูง โดยได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
3. บริษัทจะมีความเสี่ยงรวมสูงขึ้น ๆ โดยกำไรที่ได้รับเพิ่มขึ้นไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
4. ราคาหุ้นของบริษัทจะลดลง, ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นลดลง
 ตัวอย่าง บริษัทจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่ม ราคาขายหุ้นละ 23 บาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 10% เงินปันผลปัจจุบัน 1.15 บาท และอัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผล 8%
Ke = 1.24 + 8%
23(10.10)
= 6 + 8%
= 14.0%

7. ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก Weighted Average Cost of Capital : WACC

WACC = wdkd(1-T) + wpskps + wceks
W = สัดส่วนของเงินทุนแต่ละประเภท


WACC …ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย
 ตัวอย่าง
โครงสร้างเงินทุน จำนวน (ล้านบาท) อัตราส่วน ต้นทุนของเงินทุน
หนี้ระยะยาว 90 wd = 45% = 0.45 (90/200) kd(1-T) = 10%
หุ้นบุริมสิทธิ 4 wps = 2% = 0.02 (4/200) kps = 10.3%
หุ้นสามัญ (กำไรสะสม) 106 wce = 53% = 0.53(106/200) kce= 13.4%
รวม 200 100% WACC = 10.0%
 WACC = wdkd(1-T) + wpskps + wceks
= 0.45(6.0%) + 0.02(10.3%) + 0.53(13.4%)
= 10.0%

8. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย
8.1 ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
- ระดับอัตราดอกเบี้ย
- อัตราภาษี
8.2 ปัจจัยที่ควบคุมได้
- นโยบายโครงสร้างของเงินทุน
- นโยบายเงินปันผล
- นโยบายการลงทุน

ต้นทุนของเงินทุน

เงินทุน หมายถึง เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว ได้แก่
- หนี้ระยะยาว (รวมหุ้นกู้และพันธบัตร)
- หุ้นบุริมสิทธิ
- หุ้นสามัญ
- กำไรสะสม
(ต้นทุนของเงินทุน = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ)
ต้นทุนของเงินทุนนี้จะใช้เป็นอัตราส่วนลด (discount rate) ในเรื่อง “งบลงทุน” ใช้เพื่อเปรียบเทียบในการตัดสินใจจัดหาแหล่งเงินทุนต่างๆ เช่น กิจการต้องการขยายกิจการแล้วจะใช้วิธีหาแหล่งเงินทุนจากทางใด
 ถ้าเป็นการเพิ่มเงินลงทุนโดยหาแหล่งเงินทุนจากภายในกิจการ(ในส่วนของเจ้าของ) ได้แก่ การขายหุ้นสามัญ โดยต้นทุนที่จะเกิดขึ้น คือ เงินปันผล และเงินกำไรส่วนทุนที่ต้องคืนแก่ผู้ถือหุ้น
 ถ้าเป็นการเพิ่มเงินลงทุนโดยหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกกิจการ ได้แก่
• การขายหุ้นบุริมสิทธิ ต้นทุนคือ เงินปันผล
• การกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ต้นทุน คือ ดอกเบี้ย
1. เหตุผลในการใช้ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย
เนื่องจากธุรกิจจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งต่างๆ ที่มีต้นทุนไม่เท่ากัน จึงต้องใช้ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ที่จัดหามา โดยไม่ต้องสนใจว่าโครงการลงทุนใด จะใช้เงินทุนจากแหล่งใดโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องมีการเฉลี่ยต้นทุนของเงินทุนทั้งจำนวนนั้น โดยการคำนวณต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ย WACC (Weighted Average Cost of Capital)
2. องค์ประกอบของเงินทุน (Capital Components) คือ รายการด้านขวาของงบดุล (หนี้สินระยะสั้น หนี้สินระยะยาว)
ต้นทุนของเงินลงทุนแต่ละแหล่ง เรียกว่า Components Cost
สัญลักษณ์ที่ใช้
kd = อัตราดอกเบี้ยของหนี้สินใหม่ (ต้นทุนของหนี้สินก่อนภาษี)
kd(1-T) = ต้นทุนของหนี้สินหลังหักภาษี
T = อัตราภาษี
kp = ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ
ks = ต้นทุนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ ( มี 2 แหล่ง คือ กำไรสะสม + ออกหุ้นสามัญจำหน่าย)
WACC = ต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุน (Weighted Average cost of Capital)
ถ้า WACC ต่ำสุด มูลค่าของกิจการ (ราคาหุ้นสามัญ) จะสูงสุด
3. ต้นทุนของหนี้สิน Cost of Debt : kd(1-T) ต้นทุนของหนี้สินหลังภาษี = อัตราดอกเบี้ย – ภาษีที่ประหยัดได้
= kd – kdT
= kd(1-T)
* การใช้ต้นทุนของหนี้สินหลังภาษี เพราะดอกเบี้ยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายก่อนเสียภาษี
 ตัวอย่าง บริษัท A สามารถกู้เงินอัตราดอกเบี้ย 10% และอัตราภาษีได้ 40%
ต้นทุนของหนี้สินหลังภาษี = 10(1-0.40)
= 10(0.60)
= 6%

4. ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์ Cost of Preferred Stock: kps


kp =
Dps = เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ
Pn ราคาจำหน่ายของหุ้นบุริมสิทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายในการจำหน่าย

*ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องคิดหลังเสียภาษี เพราะเงินปันผลจ่ายของหุ้นบุริมสิทธินำมาจากกำไรสุทธิหลังจาก
หักภาษีแล้ว
 ตัวอย่าง บริษัท A ขายหุ้นบุริมสิทธ์หุ้นละ 100 บาท อัตราเงินปันผล 10% ค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น 2.5%
kp = 10
97.50
= 10.3%
5.ต้นทุนของกำไรสะสม...Cost of Retained Earnings: ks คือ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญต้องการ
เป็นต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของผู้ถือหุ้นสามัญ เพราะผู้ถือหุ้นควรได้รับเงินปันผล แต่ไม่ได้รับ เนื่องจากบริษัทนำเงินกำไรที่ทำมาหาได้ไปลงทุนขยายกิจการ
เงินทุนจากผู้ถือหุ้นสามัญได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
1. กำไรสะสม
2. การออกหุ้นสามัญจำหน่ายเพิ่ม ซึ่งจะมีต้นทุนสูงกว่ากำไรสะสม เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย
การคำนวณต้นทุนของกำไรสะสม มี 3 วิธี คือ

วิธีที่ 1 CAPM … จากสูตรสมการที่ว่า ks = kRF+(kM-kRF)bi

 ตัวอย่าง kRF = 8% , kM = 13% , bi = 0.7
ks = 8 + (13 – 8)0.7
= 8 + (5)0.7
= 11.5%
ซึ่งปัญหาของการใช้ CAPM คือ
1) ปัญหาจากการศึกษาเรื่อง CAPM ในบทที่ 5 ในเรื่องของความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ
2) การกำหนด Risk free rate(kRF ) ในประเทศไทยทำได้ยาก
3) ค่า beta (bi )หาจากข้อมูลในอดีต ซึ่งในอนาคตเหตุการณ์อาจไม่เหมือนกับอดีต ทำให้ค่า bi อาจไม่ถูกต้อง
4) การประมาณค่า Market risk premium (kM-kRF) ทำได้ยาก

วิธีที่ 2 อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรบวก Bond-Yield plus Risk premium คือ อัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรบวกด้วย RP ซึ่งปกติจะอยู่ในช่วง 3-5% แล้วแต่บริษัทจะพิจารณา

ks = Bond Yield + Risk premium

ตัวอย่าง บริษัทที่มีฐานะดีอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตร 8% risk premium 4%
ks = Bond Yield + Risk premium
ks = 8% + 4% = 12%
ตรงข้าม บริษัทที่มีความเสี่ยงสูงกว่ามี Bond Yield สูงถึง 12% ks = 12% + 4% = 16%

วิธีที่ 3 DCF; Dividend Yield บวก Growth Rate หรือ Discounted Cash Flow (วิธีอัตราส่วนลด)

...จากบทที่ 8 ที่จุดดุลยภาพ ks = (D1/P0)+g ซึ่งปัญหาของวิธีนี้คือ เราจะคาดการณ์ค่า g ได้อย่างไร
ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ 2 วิธี
1) ใช้ข้อมูลในอดีต โดยดูจากอัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผล
P0 = D1
ks - g
2) วิธี Retention Rate โดยที่ g = b(ROE) ซึ่ง b = 1 - Payout ratio (อัตราที่เหลือของกำไร หลังจากจ่ายเงินปันผลแล้ว)


จากสมการ

Ks = D1 + g
P0








 ตัวอย่าง บริษัท A ราคาหุ้นสามัญขณะนี้ (P0) หุ้นละ 23 บาท เงินปันผลปีปัจจุบัน (D0) 1.15 บาท
คาดว่าปีหน้าจ่ายปันผลขึ้น 8%
Ks = D1 + g
P0





= 1.15(1.08) + 8%
23
= 1.24 + 8%
23
= 1.34%
สรุป ทั้ง 3 วิธีคำนวณ Ks จะไม่เท่ากัน คือ
วิธีที่ 1 = 11.5%
วิธีที่ 2 = 12.0%
วิธีที่ 3 = 13.4%
จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร ผู้บริหารที่ conservative จะใช้ 13.4% หรืออาจใช้ต้นทุนทั้ง 3 วิธี ถัวเฉลี่ยกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยง
6. ต้นทุนของหุ้นสามัญที่ออกใหม่ Cost of Newly Issued Common Stock: ke …จะมีลักษณะเหมือนหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะมีค่าใช้จ่าย ส่งผลให้มีต้นทุนสูงกว่า
ke จะสูงกว่า Ks เพราะการออกหุ้นใหม่จำหน่ายต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น
โดยคิดได้จากสมการ

Ke =
D1 + g
P0(1-F)

เมื่อ F = Flotation Rate = ค่าใช้จ่ายในการขายหุ้น
P0(1-F) = ราคาขายสุทธิ


ข้อสังเกต
1. ตันทุนของหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายใหม่จะสูงกว่าต้นทุนของกำไรสะสม (ke > Ks )
2. การนำเงินที่ได้จากการออกจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่ไปลงทุนจะต้องให้ได้รับอัตราผลตอบแทนสูงกว่าเดิม เพื่อมิให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญลดลง