เศรษฐศาสตร์
คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) ที่มีอยู่จำกัด และหายาก (Scarcity) โดยการเลือก (Choice) ทางเลือกหรือวิธี (Alternative) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) ในการผลิตสินค้าบริการ รวมถึงการกระจายแบ่งเป็น (Distribution) ในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีของคนในชาติ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
• ผู้บริโภค ทำให้เกิดความพอใจสูงที่สุด (Maximize Utility) โดยจ่ายเงินน้อยสุด
• องค์การธุรกิจ กำไรสูงสุด (Maximize Profit) และต้นทุนต่ำสุด (Minimize Cost)
ดุลยภาพ (Equilibrium)
กระบวนการปรับตัวที่มีผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้ากับความต้องการขายสินค้าเท่ากัน ณ ระดับราคาหนึ่งในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้การซื้อขาย (Transection) เกิดขึ้น ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อสินค้า ผู้ผลิตได้รับเงินค่าสินค้าเกิดการหมุนเวียนรายได้รายจ่ายในระบบเศรษฐกิจ
สาขาเศรษฐศาสตร์
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) คือการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในระดับหน่วยย่อย หรือครัวเรือน หรือหน่วยผลิตในระยะเวลาหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คือการศึกษาพฤติกรรมเศรษฐกิจโดยส่วนรวม (Aggregate) ของระดับภาคนั้น ๆ ของประเทศ หรือประเทศ หรือทวีป หรือโลก ในระยะเวลาหนึ่ง
เศรษฐศาสตร์การจัดการ (Manigerial Economics)
หมายถึง การศึกษาถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั้งระดับจุลภาคและมหภาค (ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีราคา และกลยุทธ์ทางการตลาด) เพื่อนำไปประยุกต์กับธุรกิจทั้งด้านการบริหารจัดการ การดำเนินการและการวางแผน รวมทั้งการตัดสินใจเพื่อให้ถูกต้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเลือกทางเลือกหรือวีธีที่ดีที่สุด โดยลดภาวะการเสี่ยงทั้งปัจจุบันและอนาคตในระยะเวลาหนึ่ง
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
จุลภาค : “What-How to produced? For Whom-How much resource?”
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
1. ยึดถือวิธีการและกลไกทางเศรษฐกิจ เช่นกลไกราคา กลไกตลาด
2. ยึดถือตามลัทธิเศรษฐกิจการเมือง เช่น
• ระบบทุนนิยม (Capitalism)
- ราคาเป็นกลไกในการปรับตัวแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
- กำไรเป็นสิ่งจูงใจในการประกอบการ การค้นคว้าสิ่งใหม่
- รัฐบาลไม่แข่งขันแต่เป็นผู้สนับสนุน
• ระบบผสม (Mixed Economy)
- รัฐบาลและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- รัฐเข้าแทรกแซงกลไกการตลาด เพื่อสวัสดิการ
1. กลไกการตลาด กลไกราคาเป็นตัวแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐไม่ได้เข้าควบคุม
2. เอกชนมีอิสระเสรีอย่างเต็มที่ในการแข่งขันกันในตลาด
• ระบบสังคมนิยม (Socialism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจเข้าแทรกแซงกำหนดราคา
- เอกชนถือกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีอิสระใน SME และเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- รัฐจัดระบบประกันสังคม การจ้างงาน และสวัสดิการ
• ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ทรัพยากรในประเทศเป็นผู้กำหนดในการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และกระจายสินค้า
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น