Custom Search
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

operating leverage

องค์กรที่มีภาระผูกพันธ์จากการดำเนินงาน เช่นองค์กรที่ใช้สินทรัพย์ถาวรมาก ๆ องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สูง ๆ จะเป็นองค์กรที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจ

หน้าที่ของผู้จัดการการเงิน
1. หาเงินทุนหรือระดมเงินทุน
- เงินทุนระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร
- เงินทุนระยะยาว เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร
2. ใช้เงินทุน สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร คือ ด้านซ้ายของงบดุล
3. นโยบายเงินปันผล

อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio)
เครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเห็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินควรวิเคราะห์ในลักษณะ
- เปรียบเทียบผลงานของตนเองในอดีต
- เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน
- เปรียบเทียบกับคู่แข่ง (เบอร์ 1)

อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กร โดยการเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้และสินค้า ให้เป็นเงินสดเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น (ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องสูงแสดงว่าองค์กรมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ดี องค์กรจะมีความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็จะน้อยไปด้วย แต่ถ้าอัตราส่วนสภาพคล่องต่ำแสดงว่าองค์กรจะมีปัญหาในการดำเนินงาน อาจจะขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน องค์กรจะมีความเสี่ยงสูง)

2. อัตราส่วนกิจกรรม (asset management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร โดยพิจารณาประสิทธิภาพภายในการใช้สินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดยอดขาย

อัตราส่วนกิจกรรม ประกอบด้วย
2.1 Inventory Turnover อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง
เป็นการวิเคราะห์ว่าใน 1 รอบระยะเวลาบัญชี สินค้ามีการหมุนเวียนกี่ครั้ง ถ้ามีค่าสูง (กว่ามาตรฐาน) แสดงว่าสินค้ามีการหมุนเวียนมาก แสดงว่ายอดขายสูงขึ้น และการที่ยอดขายสูงขึ้นทำให้สินค้าคงคลังลดน้อยลง หาก inventory turnover สูง องค์กรควรจะวางแผนรองรับการเจริญเติบโต โดยการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อผู้บริโภค หากองค์กรไม่มีการวางแผนสินค้าจะไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย จะทำให้เสียโอกาสในการเจริญเติบโตขององค์กร
ถ้า inventory turnover ต่ำ แสดงว่ายอดขายขององค์กรลดลง สินค้าคงเหลือจะมากขึ้น จะทำให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า ต้นทุนสินค้าเสียหาย ต้นทุนสินค้าล้าสมัย ต้นทุนสินค้าสูญหาย ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำไรขององค์กรลดลง จะต้องหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ยอดขายลดลง
2.2 Days Sales Outstanding ระยะเวลาการเก็บหนี้
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพขององค์กรในการจัดเก็บหนี้ หรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้ ซึ่งจะมีผลต่อเงินสดขององค์กร
หาก days sales outstanding มีค่าสูงขึ้นแสดงว่าระยะเวลาจัดเก็บหนี้จะนานมากขึ้น ทำให้องค์กรมีเงินสดน้อยลง ไม่สามารถเปลี่ยนลูกหนี้ให้เป็นเงินสดได้ จะทำให้เกิดหนี้สูญได้ง่าย
2.3 Fixed Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวร
การใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อให้เกิดยอดขาย ถ้าอัตราส่วน fixed assets turnover ต่ำ แสดงว่าองค์กรยังไม่มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร อาจมีสินทรัพย์ถาวรเกินความต้องการ อาจมีที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์มากเกินไป หรือเครื่องจักรอาจล้าสมัย จึงทำให้สินทรัพย์ถาวรมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดยอดขายที่ต่ำลงและไม่สามารถสร้างยอดขายได้
ถ้า fixed assets turnover สูง แสดงว่าองค์กรมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรที่ดี มีการจัดสินทรัพย์ถาวรที่เหมาะสม มีสิน มีสินทรัพย์ถาวรในจำนวนที่เหมาะสมกับกิจการ สามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้
2.4 Total Assets Turnover ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย
ถ้า total assets turnover มีค่าสูงแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ และถ้า total assets turnover มีค่าต่ำแสดงว่ามีการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องแก้ไขในเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทัพย์ถาวรด้วย
Fixed Assets Turnover ใช้วิเคราะห์ร่วมกับ Total Assets Turnover ถ้า Fixed Assets Turnover ดีคือสูงขึ้นเลื่อย ๆ แต่ Total Assets Turnover ต่ำ แสดงว่าประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรได้ดี แต่ต้องไปแก้ไขที่สินทรัพย์หมุนเวียน

3. อัตราส่วนหนี้สิน (debt management ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความสามารถในการก่อหนี้ ถ้าองค์กรที่มีหนี้มาก จะเป็นองค์กรที่มีความผูกพันธ์ทางการเงินจึงมีความเสี่ยงสูง

การจัดการการเงิน

มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงที่สุด ซึ่งมูลค่าของธุรกิจได้จากราคาหุ้นสามัญในตลาดและเงินปันผลที่สูงที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย
1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย

Trade off มี 5 ปัจจัย
1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน
2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก
3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน
4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก โอกาสที่จะทำก็มากตามไปด้วย
5. สภาพคล่อง องค์กรที่มีสภาพคล่องมาก ๆ ความเสี่ยงก็น้อย การมีสภาพคล่องมาก คือการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมาก แต่ตัวที่ก่อให้เกิดกำไรคือสินทรัพย์ถาวร ดังนั้น การที่มีสภาพคล่องมากหมายความว่าเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนมาก เหลือเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย ทำให้โอกาสที่จะทำกำไรน้อยตามไปด้วย

การตัดสินใจหาเงินทุน

การตัดสินใจหาเงินทุน
1. แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- ข้อดีข้อเสียของการระดมเงินทุนระยะยาวจากเจ้าหนี้ (หุ้นกู้)
2. แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นสามัญ
- ข้อดีข้อเสียของการออกหุ้นบุริมสิทธิ
- ลักษณะและข้อดีข้อเสียของหลักทรัพย์แปลงสภาพ
3. ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจระดมเงินทุนระยะยาวจากส่วนของเจ้าของ
4. แนวคิดของต้นทุนเงินทุน
- ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก WACC
5. โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม : การกำหนดสัดส่วนของหนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด
- ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน
6. ความเสี่ยงของกิจการ
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ : เกิดจากการดำเนินงานของธุรกิจนั้น ๆ
- ความเสี่ยงทางการเงิน : เกิดเพิ่มจากการตัดสินจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืม
7. การควบรวมกิจการ
- รูปแบบและลักษณะ
- มูลเหตุของการควบรวมกิจการ

การตัดสินใจลงทุน

การตัดสินใจลงทุน
1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด
- แนวคิดขาดดุล
- แนวคิดเกินดุล
- แนวคิดสมดุล
2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ
- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด
- การกำหนดจุดสั่งซื้อ
- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด
3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :
- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด
- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio
- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน
4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน (สินทรัพย์ถาวร)
- การประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หลังจากได้ประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องแล้ว
- วิธี NPV : มูลค่าปัจจุบันสุทธิ วิธี IRR : อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
- ความเสี่ยงของโครงการ
1. ความเสี่ยงเอกเทศ : คำนึงเฉพาะตัวโครงการ
2. ความเสี่ยงของกิจการ : พิจารณาผลที่จะส่งถึงบริษัท แต่ถูกขจัดได้
3. ความเสี่ยงตลาด
การจัดการการเงินของกิจการ คือ การทำให้มูลค่าของกิจการสูงสุด การทำให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยแสดงออกมาในรูปของราตลาดหุ้นสามัญสูงสุด

หน้าที่การจัดการการเงิน
1. การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม
1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงในการลงทุน
- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์
2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น
2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้
- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า
- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้
2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ

ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน คือ
- ต้นทุนเงินทุน
- ความเสี่ยงทางการเงิน
- ระยะเวลาครบกำหนด
- ภาวะผูกพัน
หลักการ ควรหาเงินทุนจากแหล่งใด ระหว่างเจ้าหนี้และส่วนของเจ้าของ ควรจัดหาเป็นเงินระยะสั้นหรือระยะยาว และเป็นสัดส่วนเท่าใด จึงทำให้ต้นทุนของเงินทุนต่ำสุด โดยไม่เกิดความเสี่ยงทางการเงินมากเกินไป