Custom Search
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตลาดผูกขาด

ตลาดผูกขาดเป็นตลาดที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ โดยผู้ขายหรือธุรกิจที่อยู่ในตลาดแห่งมีเพียงรายเดียวเท่านั้นเพราะฉะนั้นลักษณะของอุปสงค์ในตลาดนี้จึงมีความชันเป็นลบ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดที่สามารถทำให้เกิดกำไรได้ในระยะยาวเพราะตลาดประเภทนี้มีกำแพงหรืออุปสรรคที่กีดกันไม่ให้ผู้แข่งรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งขันได้ ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่ทำให้เกิดตลาดผูกขาด คือ
                 1) ความเป็นผู้ผูกขาดโดยความสามารถควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บริษัท Aluminum company of america (Alcoa) สามารถควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการนำไปผลิตเป็นอลูมิเนียม ทำให้เกิดเป็นลักษณะของการผูกขาดขึ้นในการผลิตอลูมิเนียมในสหรัฐฯ
                 2) ความเป็นผู้ผูกขาดโดยการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรซึ่งจะเป็นเหตุให้คู่แข่งขันไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการชนิดเดียวกันนี้ได้อีก ตัวอย่างเช่น การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของ บริษัท DuPont ในการผลิตกระดาษแก้ว หรือ บริษัท Xerox เป็นเจ้าลิขสิทธิ์เครื่องถ่ายเอกสารหรือ บริษัท Merck เป็นเจ้าของยาป้องกันโรคเอดส์
                 3) ในบางอุตสาหกรรมการผลิตที่ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) จำเป็นต้องมีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเพราะตลาดที่จะรองรับสินค้ามีขนาดจำกัด เพราะฉะนั้นการมีผู้ผลิตหลายรายจึงทำให้สินค้าล้นตลาด ผู้ผลิตรายใหญ่เพียงรายเดียวจึงมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการมีผู้ผลิตรายย่อยหลายๆราย การผูกขาดลักษณะนี้จึงเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ(Natural monopoly) ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าประเภทสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
                4) การผูกขาดที่เกิดจากอำนาจของรัฐบาล การผลิตสินค้าหรือบริการที่รัฐบาลเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิดเพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศหรืออาจเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ โดยรัฐบาลอาจเข้าดำเนินธุรกิจเองหรือให้สัมปทานกับธุรกิจเป็นการทำสัญญาระยะยาวอาจจะเป็น 10 - 20 ปี ตัวอย่างเช่น การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สัญญาณโทรศัพท์มือถือ โรงงานยาสูบ ขนส่งมวลชน เป็นต้น ผู้ที่ได้รับสัมปทานจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้ทำการผลิตสินค้าหรือบริการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น