Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์ (Demand)
ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ (Want) หรือ อยากซื้อ (Desire)+ อำนาจซื้อ (Purchasing Power)+ ความเต็มใจที่จะซื้อ (Willing to purchase) ของผู้บริโภคคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; D(C, X, Px, M, T)

ตารางอุปสงค์
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณซื้อ ณ ระดับต่าง ๆ

เส้นอุปสงค์
หมายถึง เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณซื้อ ณ ระดับต่าง ๆ
Px



D
Qx

ปริมาณซื้อ (Quantity Demand)
หมายถึง จำนวนสินค้าหรือ บริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาหนึ่ง ในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง เป็นจุด ๆ หนึ่งบนเส้นอุปสงค์

ปัจจัยกำหนดปริมาณซื้อ (Determinants of Quantity Demand)



Px = ราคาสินค้า x [Px↑ QDX↓: Move Along the curve]
Py = ราคาสินค้าทดแทน y [Py↑ QDX↑: Shift to right]
Pz = ราคาสินค้าใช้ร่วมกัน z [Pz↑ QDX↓: Shift to left]
I = รายได้ผู้บริโภค [I↑ QDX↑: Shift to right]
DI = การกระจายรายได้ [DI↑ QDX↑: Shift to right]
T = รสนิยม [T↑ QDX↑: Shift to right]
W = ความมั่งคั่ง [W↑ QDX↑: Shift to right]
N = ขนาดประชากร [N↑ QDX↑: Shift to right]
O = Other ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Advertising : Shift to …]
กฎของอุปสงค์ (Law of Demand)
1. ปริมาณซื้อ สัมพันธ์ในทางกลับกันกับ ราคาสินค้าชนิดนั้น (Negative Relationship)
2. ปริมาณซื้อ สัมพันธ์ตามกันกับ รายได้ (Positive Relationship)
อุปทาน (Supply)
ปริมาณสินค้าที่ต้องการเสนอขายของผู้ผลิต (Want) + อำนาจการผลิต (Producing Power) ของผู้ผลิตคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; S(F, X, Px, M, T)

ตารางอุปทาน
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ

เส้นอุปทาน
หมายถึง เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ

Px = ราคาสินค้า x [Px↑ QSX↑: Move Along the curve]
Py = ราคาสินค้าทดแทน y [Py↑ QSX↑: Shift to right]
Pz = ราคาสินค้าใช้ร่วมกัน z [Pz↑ QSX↓: Shift to left]
C = ต้นทุนการผลิต [C↑ QSX↓: Shift to left]
T = เทคนิคการผลิต [T↑ QSX↑: Shift to right]
G = เป้าหมายผู้ผลิต [G↑ QSX↑: Shift to right]
N = จำนวนผู้ผลิต [N↑ QSX↑: Shift to right]
F = ปัจจัยอื่น ๆ สภาพทางธรรมชาติ : Shift to …
การเคลื่อนไหวภายในเส้นอุปทาน (Move Along the Curve)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น