Custom Search
วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค

ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค
1. ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่ ดูได้จาก Growth rate ของ GDP เทียบจากปีที่แล้ว เช่น ปีที่แล้ว GDP 105% ปีนี้ GDP 110% แสดงว่า GDP เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว
GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หมายถึง มูลค่า (ราคาxจำนวน) ของสินค้าและบริการทุกชนิดที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ในแต่ละรอบระยะเวลา โดยแบ่งรอบระยะเวลาเป็น รอบเล็กคือรายไตรมาส รอบใหญ่คือรายปี
GDP โตขึ้น ===>> ประเทศผลิตสินค้าได้มากขึ้น ===>> ประชากรก็มีกินมีใช้มากขึ้น

ถาม จำเป็นหรือไม่ที่ GDP ต้องโตขึ้น เพิ่มขึ้น
ตอบ ประเทศไทยมีประชากรในปี 2549 จำนวน 65 ล้านคน ถ้าในปี 2550 มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 70 ล้านคน แต่ GDP เท่าเดิม นั่นหมายความว่า ประชากรมีกินมีใช้น้อยลง
ปีนี้ GDP เพิ่มขึ้น 2% และ ประชากรก็เพิ่มขึ้น 2% แสดงว่า ประชากรมีกินมีใช้เท่าเดิม
ปีนี้ GDP เพิ่มขึ้น 2% และ ประชากรก็เพิ่มขึ้น 2% แต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3% แสดงว่า ประชากรจนล
ถาม ถ้า GDP โตมากๆ แสดงว่าสังคมจะต้องอยู่ดีมีสุขใช่หรือไม่
ตอบ GDP โตขึ้น แต่รายได้ที่เยอะๆ ไปรวมกันอยู่ที่ประชากรจำนวน 10 ล้านคน ประชากรที่เหลือ 55 ล้านคนก็ยากจนเหมือนเดิม เรียกว่า การกระจายรายได้ไม่ดี
ถ้า GDP โตขึ้น จากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย หรือ จากการกู้ยืมเงิน ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหน้า
เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีดุลยภาพ แปลว่า เศรษฐกิจเติบโตอย่างไม่มีปัญหาใดๆ ตามมา มีการเฉลี่ยผลประโยชน์กระจายอย่างเที่ยงธรรมทั่วถึงพอสมควรและไม่เติบโตอย่างล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ เช่น อยากให้เศรษฐกิจโตมากๆ ก็ตัดไม้ไปขาย จับปลาขายจนหมด การเติบโตต้องสมดุลกันระหว่างปัจจุบันและในอนาคตนี้ด้วย และการเติบโตต้องไม่สร้างปัญหาในภาคต่างประเทศ เช่น ไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมา
2. ปัญหาวัฎจักรเศรษฐกิจ
คือ ความผันแปร ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ มีภาระเจริญรุ่งเรือง ถดถอย ตกต่ำ ฟื้นตัว อยู่
วัฎจักรเศรษฐกิจ : เจริญรุ่งเรือง ฟื้นตัว ถดถอย ตกต่ำ

ปัญหาการว่างงาน
ทุกๆ คนมี 2 สถานะในเวลาเดียวกัน คือ
1. เป็น INPUT แรงงานถือเป็นปัจจัยในการผลิตที่ทำผลผลิตให้กับประเทศ
ปัจจัยในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ที่ดิน (รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในอากาศ) แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ
2. เป็น OUTPUT ทุกคนจำเป็นต้องกินต้องใช้
ดังนั้น ถ้าคนตกงาน ก็ถือว่า ไม่มี INPUT มีแต่ OUTPUT
ปัญหาการว่างงาน จึงถือเป็นปัญหาของประเทศในแง่ที่ว่า ประเทศจะสูญเสียสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ประเทศสูญเสียโอกาสในการเจริญงอกงาม ในการพัฒนา ถ้ามีคนตกงานมากๆ ปัญหาทางเศรษฐกิจจะลุกลามไปเป็นปัญหาสังคม จนถึงปัญหาการเมือง
4. ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
เสถียรภาพ หมายถึง ไม่นิ่ง
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง สภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่แพงขึ้นเรื่อยๆ
ถาม ตัวเลขที่บอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ ดูจากไหน
ตอบ ดูจาก ดัชนีราคา (Price Index) จาก กระทรวงพาณิชย์ คำนวณมาจากราคาสินค้าหลายร้อยชนิด
ถาม เงินเฟ้อไม่ดียังไง
ตอบ เพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ผลของเงินเฟ้อทำให้ความมั่งคั่งของประชาชาติลดลง (จำนวนเงินที่ประชากรมีอยู่ทั้งหมด ซื้อของได้น้อยลง) เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจลดน้องลง ส่งผลให้หน่วยผลิตทั้งหลายลดการผลิตลง เมื่อหน่วยผลิตลดการผลิตลง ก็ต้องลดแรงงานลงเช่นกัน เงินเฟ้อยังกระทบต่อภาคต่างประเทศด้วย ทำให้ส่งออกได้น้อยลง ต้องลดการผลิตลง ค่า GDP ก็ลดลง
5. ปัญหาผลกระทบจากกระแสระบบโลกาภิวัตน์ (เช่น การเปิดการเงินเสรี การเปิดการค้าเสรี)
ตัวอย่าง IMF ต้องการให้ประเทศสมาชิกเปิดการเงินเสรีให้เงินไหลเข้า-ออกได้อย่างเต็มที่ แต่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้สิทธิ์ขอยกเว้นได้ เพื่อไม่ให้เงินไหลออกนอกประเทศจนหมด เมื่อปี 2533 ประเทศไทยเปิดการเงินเสรีอย่างเป็นทางการ ตามกระแสของโลกาภิวัตน์ ทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้ามากมาย จนไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร ก็นำไปลงทุนในที่ดิน ปั่นราคาที่ดินจนราคาขึ้นทั่วทั้งประเทศ หุ้นก็ขึ้นก็เช่นกัน ในปี 2540 ถึงเวลาคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่สามารถชำระเงินได้ เกิดปัญหาจนต้องปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว
โลกาภิวัตน์ ด้านการเปิดการค้าเสรี ภายใต้ WTO=World Trade Organization แบ่งเป็น
1. กระแสการค้าเสรีระดับ GLOBAL
2. กระแสการจับคู่ระหว่างสองประเทศ (FTA) เช่น FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
การเปิด FTA มีทั้งคนได้ประโยชน์และคนเสียผลประโยชน์ เช่น เปิดกับจีน คนที่ปลูกหอมกระเทียมในภาคเหนือเจ๊ง แต่คนที่ปลูกยางในภาคใต้รวย ปัจจุบันกำลังเกิด Globalize ทางด้าน Technology
6. ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
มาตรฐานการดำรงชีพ หมายถึง การกินดีอยู่ดี ครอบคลุมถึงความรู้การศึกษา
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ก่อให้เกิด Productive ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน
2. เป็นผู้ประสานงาน ได้แก่ ผู้ประกอบการ
หน้าที่ของคนอีกหน้าที่หนึ่งคือ INPUT ปัจจัยการผลิต ที่เรียกว่า แรงงาน
การที่จะผลิตได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับที่ดิน แรงงาน ทุน
ที่ดินและทุน จะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของคน ก็คือ แรงงาน
7. ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และดุลการค้า
ดุลงบประมาณ หมายถึง รายรับ รายจ่ายประจำปีของรัฐบาลในแต่ละประเทศ
รายรับ-รายจ่ายเป็นได้ทั้งเกินดุล ขาดดุล สมดุล ซึ่งการขาดดุลการค้า ส่งผลให้เงินดอลลาร์ (เงินสกุลหลัก) ไหลออกนอกประเทศ ส่งผลต่อราคาการซื้อน้ำมัน
8. ปัญหาว่านโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชาติให้ดีขึ้นได้หรือไม่
ความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับความเฮง เช่น ประเทศตั้งอยู่บนบ่อน้ำมัน ฯลฯ บวกกับ ความเก่งของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกทาง
ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค นอกจากที่กล่าวมาแล้ว 8 ข้อยังมีอีกมากมาย เช่น ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินแข็งอ่อน ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูงต่ำ ฯลฯ
จุดประสงค์การเรียน ท่านสามารถมองออกว่าประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจมหภาคอะไรบ้าง แล้วต้นตอเกิดจากอะไร และน่าจะมีทางออกตรงไหน
1. เรื่องของเศรษฐกิจในประเทศ คือราคาน้ำมัน สินค้าแพงขึ้น - อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ
2. ปัญหาแรงงานเพิ่มมากขึ้น เช่น จำนวนบัณฑิตใหม่มีเพิ่มมากขึ้น และการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าว
3. ภัยที่เกิดจาก ซินามิ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
4. ปัญหาเรื่องคู่แข่งทางการค้าของไทย และการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
5. ปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ของไทย
6. ปัญหาภัยแล้ง ทำให้มีผลกระทบต่อผลผลิตพืชผลทางการเกษตรลดลง
7. ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
8. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น
9. ปัญหายาเสพติด
10. ปัญหาจราจร
11. ปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
2. ดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจมหภาคประกอบด้วย
1. ภาคการผลิต
10 ตัว 2. ภาคตลาดแรงงาน
เป็นส่วนหนึ่งใน ปัจจัยการผลิต
3 ตัว
3. ภาคการเงิน
คือ ตลาดการเงิน
8 ตัว 4. ภาคต่างประเทศ
3 หัวข้อ

1. ภาคการผลิต
ภาคการผลิตเป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)
ภาคเศรษฐกิจแบ่งเป็น Real Sector และ Financial Sector
ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) หมายถึง ภาคการผลิต + ภาคตลาดแรงงาน
ภาคเศรษฐกิจจริง มีตัวเอกคือ รายได้ประชาชาติ และ ต้องการให้รายได้ประชาชาติอยู่ในฐานะที่มีสมดุลมีดุลยภาพ
รายได้ดุลยภาพเกิดจากเมื่อ
1. ตัวกระตุ้น ในระบบเศรษฐกิจเท่ากับ ส่วนรั่วไหล ของระบบเศรษฐกิจ
2. รายได้ ประชาชาติเท่ากับความต้องการ ใช้จ่าย ทั้งหมด
3. อุปสงค์ รวมของประเทศเท่ากับ อุปทาน รวมของประเทศ
ส่วนประกอบย่อยๆ ในภาคนี้ คือ
1. ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน
2. รายจ่ายในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ
3. รายจ่ายของภาครัฐบาลที่จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและลงทุน
4. มูลค่าการส่งออก
5. มูลค่าการนำเข้า
6. การออมของหน่วยธุรกิจและครัวเรือน
7. การออมของรัฐบาล
8. อัตราภาษี
9. ระดับราคา
2. ภาคแรงงาน
ประกอบด้วยตัวหลัก 3 ตัว คือ
1. อุปสงค์ของแรงงาน
2. อุปทานของแรงงาน
3. อัตราค่าจ้างแรงงาน
เราต้องการให้ภาคแรงงานอยู่ในสภาวะที่สมดุล
ภาวะสมดุลของภาคแรงงานเกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์ของแรงงาน เท่ากับ อุปทานของแรงงาน และ เป็นภาวะดุลยภาพที่มีการจ้างงานอย่างเต็มที่
3. ภาคการเงิน
ประกอบด้วยตัวประกอบ 3 ตัว คือ
1. อุปทานของเงิน
2. อุปสงค์ของเงิน
3. อัตราดอกเบี้ย หรือ ค่า/ราคาของเงิน จะขึ้นอยู่กับอุปทานของเงิน และ อุปสงค์ของเงิน คือ ถ้าเงินมีเยอะ ดอกเบี้ยก็น้อย ถ้าเงินมีน้อย ดอกเบี้ยก็เยอะ)
ส่วนประกอบรองในภาคการเงิน ได้แก่
1. สถาบันการเงิน
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ไว้ควบคุมสถาบันการเงิน)
3. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ (สำหรับระบบเปิดการเงินเสรี)
4. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
5. สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ยถูก เป็นผลดีต่อผู้กู้เงิน อัตราดอกเบี้ยแพง เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน
ค่าเงินสูง ค่าเงินต่ำ ก็เช่นกันมีทั้งกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์และเสียผลประโยชน์
ภาวะสมดุลของภาคการเงินเกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์ของเงิน เท่ากับ อุปทานของเงิน
4. ภาคต่างประเทศ
ดุลยภาพในภาคต่างประเทศ หมายถึง สภาวะที่ดุลการชำระเงินมีความสมดุล พูดง่ายๆ ว่า มีสมดุลในการชำระเงิน ซึ่งในความเป็นจริงอยากเกินดุลมากกว่าสมดุล ในการที่ดุลการชำระเงินจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ ดุลบัญชีเงินสะพัด และ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
ดุลบัญชีเงินสะพัด (Current Account) ประกอบด้วย
1. ดุลการค้า มี 2 ด้าน ขายของให้ต่างประเทศก็รับ ซื้อของจากต่างประเทศก็จ่าย (รายได้ – รายจ่าย = ดุลการค้า)
2. ดุลบริการ มีทั้งรายรับ รายจ่ายเช่นกัน เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศ
3. ดุลรายได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดุลเงินโอน
ดุลรายได้ / ดุลเงินโอน = การที่คนไทยไปทำงานต่างประเทศแล้วโอนเงินเข้าประเทศ และการที่คนต่างชาติมาทำงานที่ประเทศไทยแล้วโอนเงินออกนอกประเทศ
4. ดุลเงินบริจาค = การช่วยเหลือระหว่างประเทศช่วยกันไปช่วยกันมา
การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
1. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น เป็นการลงทุนในภาคการเงิน ได้แก่ เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้าๆออกๆ เพื่อการซื้อขายหุ้น ฝากแบงค์เงินดอก เก็งกำไรซื้อขายเงิน
2. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว (FDI = Foreign Direct Investment) เป็นการลงทุนในภาค Real Sector เช่น นำเงินจากต่างประเทศมาลงทุนสร้างโรงงาน
ดุลบัญชีเงินสะพัด + การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ คือ ดุลการชำระเงิน
ตัวการที่ทำให้ดุลบัญชีเงินสะพัด และ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศผันแปรคือ อัตราแลกเปลี่ยน
ดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium) หมายถึง สถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจเกิดดุลยภาพพร้อมๆ กันทั้ง 4 ส่วน
ดุลยภาพบางส่วน (Patient Equilibrium) หมายถึง สถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจเกิดดุลยภาพเพียงบางส่วน
จุดประสงค์การเรียน
• สามารถรู้จักโครงสร้างของเศรษฐกิจมหภาคได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในเนื้อหา
• สามารถรู้จักองค์ประกอบของเศรษฐกิจว่าประกอบด้วย 4 Sector และ รู้ว่าทั้ง 4 Sector เกี่ยวข้องกันอย่างไร
• สามารถวิเคราะห์เป็นส่วนๆ ทั้ง 4 Sector ได้ เช่น ถ้า Sector ที่ 1 – 4 ดี ก็สามารถบอกได้ว่าดี ถ้า Sector ที่ 1 ดี แต่ Sector ที่ 2 ไม่ดี และ Sector ที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะแย่ ส่วน Sector ที่ 4 ทรงตัว แบบนี้ก็ต้องสามารถบอกได้ว่าไม่ดี
• สามารถบอกได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ดีหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าดีหรือไม่ดีดูจากอะไร มีเหตุผลอย่างไร
• ประโยชน์ของการศึกษา 4 Sector และความสมดุล มีประโยชน์อย่างไร
3. ความเกี่ยวข้องระหว่างเศรษฐศาสตร์มหภาคกับการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน
เศรษฐกิจมหภาค ประกอบด้วย ภาคการผลิต(10ตัว) ภาคแรงงาน(3ตัว) ภาคการเงิน(8ตัว) และภาคต่างประเทศ(3หัวข้อ)
1. ภาคการผลิต เศรษฐกิจขาขึ้นขาลงแสดงออกรายได้ประชาชาติ เศรษฐกิจเติบโตถดถอยก็กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ การใช้จ่ายของครัวเรือนก็กระทบ การลงทุน ส่งออก การนำเข้า การออม ระดับเงินเฟ้อฝืด
2. ภาคแรงงาน แรงงานแพงถูกก็กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
3. ภาคการเงิน ดอกเบี้ยแพงดอกเบี้ยถูก เงินหาง่ายหายากก็กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
4. ภาคต่างประเทศ
ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน มีเครื่องมือหนึ่งเรียกว่า “PEST ANALYSIS” คือ การวิเคราะห์จากองค์ประกอบ 4 ด้าน PEST
P = Political and Legal Factor ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย
E = Economic Factor ปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น Macro และ Micro
S = Social and Culture Factor ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
T = Technologic ปัจจัยทางเทคโนโลยี
ถาม Political and Legal Factor คือปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย มีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร
ตอบ ราคาน้ำมันแพง เนื่องจากปัญหาการเมืองระหว่างมหาอำนาจกับผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก
กฎหมายโลก WTO ส่งผลต่อ FTA, ISO ก็เป็นผลจากกฎของโลก, รัฐบาลทะเลาะกัน, กฎหมายในประเทศก็กระทบระดับโลก จนถึง ระดับประเทศ
บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจระดับมหภาค
หมายถึง กลไกการเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจแท้จริง (Real Factor) ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคตลาดแรงงาน ภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องดีหรือไม่ดีขึ้นกับภาคการเงินจะกระทบต่อภาคอื่นๆ ด้วย เพราะภาคการเงิน คือ ตัวหล่อเลี้ยง หล่อลื่นให้กับภาคอื่นๆ
การเชื่อมโยงมี 4 ขั้นตอน คือ
1. การเชื่อมโยงจากดุลยภาพในตลาดการเงินกับอัตราดอกเบี้ย คือ เมื่อจุดดุลยภาพเปลี่ยน ดอกเบี้ยจะเปลี่ยน
(ดูกราฟหน้า 171 ประกอบ)
ดุลยภาพในภาคการเงิน คือ จุด E0 – E1 และ จุด E0 - E2
รูปที่ 1 การเปลี่ยนเกิดจากอุปทาน
อุปทานเงิน (MS0) ตัดกับ อุปสงค์เงิน (LP0) ที่จุด E0 ดุลยภาพ ดอกเบี้ยเท่ากับ I0
ต่อมาปริมาณเงินเพิ่มขึ้นจาก MS0 ไป MS1 ดุลยภาพก็เปลี่ยนจากจุด E0 ไป E1 ดอกเบี้ยก็เปลี่ยนจาก I0 ไป I1
รูปที่ 2 การเปลี่ยนเกิดจากอุปสงค์
อุปสงค์เงิน (LP0) ตัดกับ อุปทานเงิน (MS2) ที่จุด E0 ดุลยภาพ ดอกเบี้ยเท่ากับ I0
ต่อมาอุปสงค์เงินเพิ่มขึ้นจาก LP0 ไป LP1 ดุลยภาพก็เปลี่ยนจากจุด E0 ไป E2 ดอกเบี้ยก็สูงขึ้นจาก I0 ไป I2
สรุป คือ เมื่อจุดดุลยภาพเปลี่ยน ดอกเบี้ยจะเปลี่ยน ศึกษาต่อข้อ 2. ดอกเบี้ยเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
2. ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ได้แก่ ตัว C และ ตัว I
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ===> ตัว C และ ตัว I จะลดลง
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง ===> ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น
3. ดุลยภาพในภาคการผลิต สามารถอธิบายได้ทั้ง 4 วิธี
วิธีที่ 1 Income-Expenditure Approach ดุลยภาคเกิดจาก เส้น AE ตัดกับ เส้น 45 องศา
เส้น AE ประกอบด้วย C + I + G + X - IM
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะลดลง ===> เส้น AE จะลดลง รายได้ประชาชาติจะลดลง ดุลยภาพในภาคแรงงานจะลดลง

ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> เส้น AE จะเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว โยงไปถึงดุลยภาพในภาคแรงงาน การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 2 Withdrawal Injection Approach
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว I จะลดลง ===> ตัว I ลดลง ตัว J จะลดลง รายได้ประชาชาติจะน้อยลง การจ้างงานก็น้อยลง การว่างงานจะเพิ่มขึ้น
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> ตัว I เพิ่มขึ้น ตัว J จะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว การจ้างงานก็เพิ่มขึ้น
วิธีที่ 3 Aggregate Demand – Aggregate Supply Approach
ดุลยภาพในระยะสั้นเกิดจาก เส้น AD ตัดกับ เส้น SRAS
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะลดลง ===> ตัว C และ ตัว I ลด 7 ตัว ทำให้เส้น AE ขยับ ถ้า 8 ตัว ทำให้เส้น IS ขยับ >> เส้น AD จะลดลง รายได้ประชาชาติจะลดลง การว่างงานจะสูงขึ้น
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> ถ้า C และ ตัว I เพิ่ม 7 ตัว ทำให้เส้น AE ขยับ ถ้า 8 ตัว ทำให้เส้น IS ขยับ >> เส้น AD จะเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น การจ้างงานจะสูงขึ้น
วิธีที่ 4 General Equilibrium Approach ดุลยภาพเกิดจากเส้น IS ตัดกับเส้น LM
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะลดลง ===> เส้น IS จะลดลง รายได้ประชาชาติจะลดลง การว่างงานจะสูงขึ้น
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> เส้น IS จะเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น การจ้างงานจะสูงขึ้น
4. การเชื่อมโยงภาคการเงินไปสู่ภาคต่างประเทศ
(ดูกราฟหน้า 173 ประกอบ)
วิธีนี้ใช้ได้ดีกับ
1.ประเทศที่มีสัดส่วนการนำเข้าและส่งออกเป็นสัดส่วนสูงในผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
2.มีโครงสร้างค่อนข้างเปิดสำหรับการนำเข้าและส่งออกเงินทุน
3.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว
กล่าวคือ ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นส่งผลให้ ดอกเบี้ยลดลง และ ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นส่งผลให้ กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การซื้อสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ความต้องการเงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้น เงินดอลล่าร์ก็จะแพง เงินบาทจะตก
ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เงินดอลล่าร์แพง เงินบาทตก (Depreciation เงินตก)
• เงินบาทตก สินค้าของประเทศไทยที่ส่งออกไปขายในตลาดโลก ประเทศอื่นจะซื้อสินค้าได้ในราคาถูก ทำให้สินค้าส่งออกขายดี
• เงินบาทตก สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาแพง สินค้าจะขายได้น้อย
เมื่อเงินบาทตก ส่งผลกระทบต่อราคาเปรียบเทียบ Relative Price ทำให้สินค้าส่งออกของประเทศมีราคาถูก และสินค้านำเข้ามีราคาแพง เกิด Switching Effect ทำให้เกิดการส่งออกมากขึ้น นำเข้าลด (X เพิ่ม IM ลด = ภาคต่างประเทศ) จะกระทบต่อรายได้ประชาชาติ
วิธีที่ 1 X เพิ่ม IM ลด AE ขยับขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 2 X เพิ่ม IM ลด J ขยับขึ้น, IS ลด W ขยับลง รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 3 X เพิ่ม IM ลด AD ขยับขึ้นทางขวา รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 4 X เพิ่ม IM ลด IS ขยับขึ้นทางขวา รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น

นโยบายการเงิน
(ดูหน้า 175 ประกอบ)
นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่ต้องดำเนินการผ่านเครื่องมือการเงิน ดำเนินการเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
แถวที่ 1 “เครื่องมือสำคัญ” ได้แก่
1. อัตราดอกเบี้ย
ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้อัตราดอกเบี้ย RP.14 (Key Policy) เป็นเครื่องมือหลัก
Repurchase ตลาดซื้อคืน 14 วัน
แบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ย RP เพื่อนำร่องให้แบงค์พาณิชย์อื่นขึ้นตาม
ถือเป็นกลไกในการปรับสภาพคล่อง ทันทีที่สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ขาดสภาพคล่อง ก็จะนำพันธบัตรมาขายให้แบงค์ชาติ โดยคิดดอกเบี้ย ในอัตรา Inter bank rate เป็นอัตราดอกเบี้ยที่คิดระหว่างธนาคารกับธนาคาร
2. Open Market Operation
แปลว่า การซื้อขายหลักทรัพย์, พันธบัตร ระหว่างธนาคารกลางกับภาคเอกชน ได้แก่ Bank, Finance
ถ้าแบงค์ชาติพบว่า ระบบเศรษฐกิจฟืดเคือง ไม่มีเงินหมุนเวียน แบงค์ชาติก็ต้องอัดเงินเข้าระบบมากขึ้น แบงค์ก็จะซื้อพันธบัตร แล้วปล่อยเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าแบงค์ชาติพบว่า มีเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ แบงค์ชาติก็จะดำเนินการขายพันธบัตร แล้วดูดซับเม็ดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ
3. Reserve Requirement อัตราสำรองตามกฎหมาย
ธนาคารกลางของทุกประเทศ จะบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ต้องนำเงินมาฝากที่ธนาคารกลางเป็นสัดส่วนกับเงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับฝากมา
ตัวอย่างเช่น สำรอง 15% หมายถึง ถ้าธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกร ได้รับเงินฝากมาทุก 100 บาท ต้องไปฝากต่อที่แบงค์ชาติ 15 บาท ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1) เพื่อให้มีหลักประกันแก่ผู้นำเงินมาฝากธนาคาร
2) ธนาคารกลางจะได้นำเงินสำรองนี้เป็นเครื่องมือปรับสภาพคล่องในระบบ เช่น สำรอง 15% ถ้าธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากมาทุก 100 บาท ต้องไปฝากต่อที่แบงค์ชาติ 15 บาท มีเงินเหลือปล่อยกู้ 85 บาท แต่ถ้าแบงค์ชาติ ให้สำรอง 25% ธนาคารพาณิชย์ก็จะเหลือเงินปล่อยกู้ 75% เงินในระบบก็จะลดลง
4. Direct Control การควบคุมโดยตรง
เช่น การควบคุมวงเงินขั้นต่ำในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซื้อรถ ต้องมีเงินดาวน์ไม่น้อยกว่า 30% ต้องผ่อนไม่เกิน 10 ปี ห้ามปล่อยกู้ซื้อที่ดินเปล่าเพื่อเก็งกำไร Margin ในการซื้อหุ้นต้องวางเงินสดไม่ต่ำกว่า 50% ปล่อยบัตรเครดิตต้องมีเงินเดือนสูงๆ
เมื่อเครื่องมือทั้ง 1-4 ทำงาน จะส่งผลต่อ แถวที่ 2 “Operating Targets” ดอกเบี้ยระยะสั้นจะเปลี่ยน ฐานเงินจะเปลี่ยน
เมื่อดอกเบี้ยระยะสั้นและฐานเงินเปลี่ยน จะส่งผลต่อ แถวที่ 3 “Intermediate Targets”
แถวที่ 4 “Ultimate Targets” บำบัดทุกข์ บำรุงสุข
นโยบายการเงิน สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้หลายอย่าง
นโยบายการเงินของประเทศไทย เรียกว่า Inflation Targeting Monitoring โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว หน้าที่อื่นๆ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจจะไม่ทำ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การจัดการ

เศรษฐศาสตร์
คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) ที่มีอยู่จำกัด และหายาก (Scarcity) โดยการเลือก (Choice) ทางเลือกหรือวิธี (Alternative) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) ในการผลิตสินค้าบริการ รวมถึงการกระจายแบ่งเป็น (Distribution) ในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีของคนในชาติ

เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
• ผู้บริโภค ทำให้เกิดความพอใจสูงที่สุด (Maximize Utility) โดยจ่ายเงินน้อยสุด
• องค์การธุรกิจ กำไรสูงสุด (Maximize Profit) และต้นทุนต่ำสุด (Minimize Cost)

ดุลยภาพ (Equilibrium)
กระบวนการปรับตัวที่มีผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้ากับความต้องการขายสินค้าเท่ากัน ณ ระดับราคาหนึ่งในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้การซื้อขาย (Transection) เกิดขึ้น ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อสินค้า ผู้ผลิตได้รับเงินค่าสินค้าเกิดการหมุนเวียนรายได้รายจ่ายในระบบเศรษฐกิจ

สาขาเศรษฐศาสตร์
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) คือการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในระดับหน่วยย่อย หรือครัวเรือน หรือหน่วยผลิตในระยะเวลาหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คือการศึกษาพฤติกรรมเศรษฐกิจโดยส่วนรวม (Aggregate) ของระดับภาคนั้น ๆ ของประเทศ หรือประเทศ หรือทวีป หรือโลก ในระยะเวลาหนึ่ง

เศรษฐศาสตร์การจัดการ (Manigerial Economics)
หมายถึง การศึกษาถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั้งระดับจุลภาคและมหภาค (ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีราคา และกลยุทธ์ทางการตลาด) เพื่อนำไปประยุกต์กับธุรกิจทั้งด้านการบริหารจัดการ การดำเนินการและการวางแผน รวมทั้งการตัดสินใจเพื่อให้ถูกต้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเลือกทางเลือกหรือวีธีที่ดีที่สุด โดยลดภาวะการเสี่ยงทั้งปัจจุบันและอนาคตในระยะเวลาหนึ่ง

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
จุลภาค : “What-How to produced? For Whom-How much resource?”

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
1. ยึดถือวิธีการและกลไกทางเศรษฐกิจ เช่นกลไกราคา กลไกตลาด
2. ยึดถือตามลัทธิเศรษฐกิจการเมือง เช่น
• ระบบทุนนิยม (Capitalism)
- ราคาเป็นกลไกในการปรับตัวแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
- กำไรเป็นสิ่งจูงใจในการประกอบการ การค้นคว้าสิ่งใหม่
- รัฐบาลไม่แข่งขันแต่เป็นผู้สนับสนุน
• ระบบผสม (Mixed Economy)
- รัฐบาลและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- รัฐเข้าแทรกแซงกลไกการตลาด เพื่อสวัสดิการ
1. กลไกการตลาด กลไกราคาเป็นตัวแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐไม่ได้เข้าควบคุม
2. เอกชนมีอิสระเสรีอย่างเต็มที่ในการแข่งขันกันในตลาด
• ระบบสังคมนิยม (Socialism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจเข้าแทรกแซงกำหนดราคา
- เอกชนถือกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีอิสระใน SME และเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- รัฐจัดระบบประกันสังคม การจ้างงาน และสวัสดิการ
• ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ทรัพยากรในประเทศเป็นผู้กำหนดในการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และกระจายสินค้า
บทที่ 2 อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์ (Demand)
ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ (Want) หรือ อยากซื้อ (Desire)+ อำนาจซื้อ (Purchasing Power)+ ความเต็มใจที่จะซื้อ (Willing to purchase) ของผู้บริโภคคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; D(C, X, Px, M, T)

ตารางอุปสงค์
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณซื้อ ณ ระดับต่าง ๆ

ปริมาณซื้อ (Quantity Demand)
หมายถึง จำนวนสินค้าหรือ บริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาหนึ่ง ในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง เป็นจุด ๆ หนึ่งบนเส้นอุปสงค์

ปัจจัยกำหนดปริมาณซื้อ (Determinants of Quantity Demand)
QDX = f [Px, Py Pz, I, T, DI, W, N, O,…] “PIDITOWN”
= a1Px+a2Py+a3Pz+a4I+a5T+a6DI+a7W+a8N+a9O
Px = ราคาสินค้า x [Px↑ QDX↓: Move Along the curve]
Py = ราคาสินค้าทดแทน y [Py↑ QDX↑: Shift to right]
Pz = ราคาสินค้าใช้ร่วมกัน z [Pz↑ QDX↓: Shift to left]
I = รายได้ผู้บริโภค [I↑ QDX↑: Shift to right]
DI = การกระจายรายได้ [DI↑ QDX↑: Shift to right]
T = รสนิยม [T↑ QDX↑: Shift to right]
W = ความมั่งคั่ง [W↑ QDX↑: Shift to right]
N = ขนาดประชากร [N↑ QDX↑: Shift to right]
O = Other ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Advertising : Shift to …]
อุปทาน (Supply)
ปริมาณสินค้าที่ต้องการเสนอขายของผู้ผลิต (Want) + อำนาจการผลิต (Producing Power) ของผู้ผลิตคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; S(F, X, Px, M, T)

ตารางอุปทาน
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ

เส้นอุปทาน
หมายถึง เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง


ตลาดสินค้า การกำหนดราคา และปริมาณขายที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด

โครงสร้างตลาดสินค้า (Market Structure)
- ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
- ตลาดผูกขาด
- ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
- ตลาดผู้ขายน้อยราย
ศึกษาการกำหนดราคาและปริมาณขายในตลาดแบบต่างๆ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

แนวความคิดเกี่ยวกับตลาด (Market)
ตลาด คือ กลุ่มของหน่วยตลาดทางเศรษฐกิจ ได้แก่บุคคล (Consumer) และบริษัท (Supplier) ซึ่งกระทำการซึ่งกันและกัน ฝ่ายหนึ่งเสนอซื้อ ฝ่ายหนึ่งเสนอขาย

ตลาดมีลักษณะต่างๆกันดังนี้
1. ตลาดมีลักษณะทางด้านระยะทาง (Spatial)
2. ตลาดมีลักษณะตามคุณลักษณะของสินค้า (Characteristic)
3. ตลาดเป็นจุดศูนย์กลาง/สถานที่ที่มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดขึ้น

ลักษณะโครงสร้างตลาด ขึ้นอยู่กับ
1. จำนวนผู้ซื้อ/ผู้ขาย
2. ลักษณะสินค้า มีความเหมือน/ต่างกัน
3. ความเป็นสินค้าในการตัดสินใจของบริษัท
4. เงื่อนไขของการเข้า-ออก จากตลาด

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) มีลักษณะดังนี้
- ผู้ซื้อ ผู้ขายจำนวนมาก Large Number of Buyers & Sellers แต่ละรายเป็นหน่วยย่อย เมื่อเทียบกับตลาดทั้งหมด การกระทำของผู้ซื้อ-ผู้ขาย จะไม่มีผลต่อราคา
- สินค้ามีลักษณะเหมือนกัน (Homogeneous Product) เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา ทองคำ 99% หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ
- ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย จะเป็นผู้รับเอาราคาตลาดมาใช้ ราคาสินค้าจะคงที่ ทุกๆหน่วยที่ซื้อ (Price Takers)
- มีการเข้าออกจากตลาดอย่างเสรี (Free Entry – Free Exit) ไม่มีสิ่งกีดขวาง การเข้าเอา ไม่มีการรวมตัวกันระหว่างบริษัท
- มีข้อมูลข่าวสารสมบูรณ์ (Perfect Information) รู้ราคา รู้คุณภาพสินค้า

ตลาดผูกขาด (Monopoly) มีลักษณะดังนี้
- มีผู้ขายเพียง 1 ราย (1 Firm 1 Industry)
- หาสินค้าทดแทนได้ยาก สินค้าของผู้ผูกขาดมีลักษณะไม่เหมือนใคร หาสินค้าอื่นทดแทนได้ยาก ทดแทนได้ แต่ไม่ใกล้ชิด เช่น น้ำมันเบนซิน ไฟฟ้า ประปา
- ผู้ผูกขาดเป็นผู้กำหนดราคา ผู้ขายเป็น Price Setter มีอำนาจตลาด ผู้ขายจะเปลี่ยนแปลงราคาลง เพื่อขายให้ได้มากขึ้น
- ผู้ผูกขาดมีอำนาจตลาด เพราะ มีสิ่งกีดขวางการเข้ามาแข่งขันของบริษัทอื่น (Barrier to Entry) ได้แก่ สิ่งกีดขวางทางกฎหมาย (Legal Barrier), สิ่งกีดขวางทางเทคนิคการผลิต เช่น การได้เปรียบทางด้านต้นทุน
- การผูกขาดตามธรรมชาติ เป็นกิจการที่โรงงานขนาดใหญ่ 1 โรงงาน จะผลิตแล้ว เสียต้นทุนต่ำกว่าที่ให้โรงงานเล็กๆ หลายโรงงานทำการผลิต

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้
- มีลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด
- มีจำนวนผู้ซื้อมากราย-ผู้ขายมากราย (PC)
- สินค้ามีลักษณะที่ถูกทำให้แตกต่างกัน
- เส้นอุปสงค์ที่ผู้ขายเผชิญ เป็นเส้นที่มีความชันลาดลง ซึ่งเหมือนกับตลาดผูกขาด
- มีการเข้าออกจากตลาดโดยเสรี (Free Entry-Free Exit) -> PC

ตลาดมีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) มีลักษณะดังนี้
- มีจำนวนผู้ขาย 2-3 ราย
- Oligopoly
o Corporative Oligopoly ผู้ขายน้อยรายรวมหัวกันกำหนดราคา/ปริมาณขายร่วมกัน
o No-corporative oligopoly ผู้ขายน้อยรายไม่ร่วมมือกัน มีพฤติกรรมการแข่งขัน

การกำหนดราคา และ ผลผลิตภายใต้การแข่งขันสมบูรณ์
- ผู้ซื้อ ผู้ขายจำนวนมาก
- ลักษณะสินค้าเหมือนกัน
- ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายเป็นผู้รับเอาราคา ราคาสินค้าถูกกำหนดจากอุปสงค์ และอุปทานในตลาดสินค้าชนิดนั้น

เงื่อนไขที่ทำให้กำไรสูงสุด เมื่อ P = MC โดยเลือก Q

การหาปริมาณดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
¶ = TR – TC = P * Q – C (Q)

เงื่อนไขประการแรกของบริษัทที่อยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
P = MC

MR = MC
รายรับเพิ่ม = ต้นทุนเพิ่ม

P = MR
รายรับเพิ่ม = ราคาสินค้า


การกำหนดราคา และ ผลผลิตภายใต้ ตลาดผูกขาด
Monopoly
- 1 Firm 1 Industry
- ลักษณะสินค้าไม่เหมือนใคร
- ผู้ผูกขาดเป็นผู้กำหนดราคา
- เส้นอุปสงค์ Demand Curve มีความชันลาดลง

การกำหนดราคาและปริมาณขายที่ให้กำไรสูงสุดของบริษัทที่อยู่ในตลาดผูกขาด
(Price & Output Determination for a Monopoly)

เงื่อนไขของผู้ผูกขาดราคา
FOC : MR = MC ได้ Q

Demand Curve กำหนดราคา Pm
AR > AC -> ¶ > 0

แสดงการหาเงื่อนไขดุลยภาพของผู้ผูกขาด
¶ = TR – TC
¶ = P*Q – C (Q)

MR = MC
MR’ < MC’


MONOPY VS. PERFECT COMPETITION

Monopoly : MR = MC --> Qm
--> Pm
Perfect Competition : P = MC --> Qc
--> Pc

Mono VS. Perfect
Qm < Qc
Pm > Pc

ความสัมพันธ์ของ Ep, P, MR
ในการผูกขาด เงื่อนไขดุลยภาพของผู้ผูกขาด MR = MC
จะกำหนดปริมาณขาย Qm และอุปสงค์จะกำหนดราคา Pm
TR = P * Q
MR = P + Q * dp = P (1 + 1 )
dQ dQ * p
dp Q
ดุลยภาพของผู้ผูกขาด เพื่อหากำไรสูงสุด MR = MC
P = MC
(1 + 1 )
Ep
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

เศรษฐศาสตร์มหภาค แนวข้อสอบ

หลักข้อสอบคือ 1.ทฤษฎี
2.ประยุกต์ใช้(สามารถนำตัวเลขไปใช้และอธิบายได้)
3.การคลัง การเงิน นโยบาย หรือกลไกการเชื่อมโยง (บทที่ 4 หน้าที่ 85-87 และบทที่10 หน้าที่ 170 - 196 )
4.Demand Size และ Supply Size 2 วิธีต่างกันอย่างไร (บทที่ 3 หน้าที่ 41(Income Expenditure Approach คือ
Demand Size) และ บทที่ 6 หน้าที่ 117-119 Supply Size))
บทที่ 1 บทนำว่าด้วยเศรษฐศาสตร์มหภาค
บทที่ 2 ระเบียบและวิธีการคำนวณสถิติตัวเลขรายได้ประชาชาติและผลผลิต
บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ตอบคำถามให้ได้ว่า รายได้ประชาชาติดุลยภาพ มี 4 วิธี ดังนี้
1.วิธี Income Expenditure Y = AE = C+I+G+X-IM
2.วิธี Injection Withdrawal ส่วนกระตุ้น = ส่วนรั่วไหล I=S , W(=S+T+IM) = J(=I+G+X)
3.วิธี Aggregate Demand – Aggregate Supply AD=AS
AD = เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาสินค้ากับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
AS = เส้นอุปทานรวม หมายถึง ผลผลิตทั้งหมดของสินค้าและบริการ ซึ่งหน่วยผลิตต้องการผลิต ณ.ระดับราคาต่างๆ
4.วิธี General Equilibrium IS=LM
IS = เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราดอกเบี้ยกับรายได้ประชาชาติดุลยภาพในตลาดผลผลิต
LM= เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราดอกเบี้ยกับรายได้ประชาชาติดุลยภาพในตลาดการเงิน
และแต่ละวิธี ข้างต้น ต้องตอบคำถามต่อไปนี้ ว่ารายได้ประชาชาติดุลยภาพ
1.กำหนดขึ้นได้อย่างไร
2.การเปลี่ยนแปลงเกิดจากอะไร
3.เปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับปัจจัยใด
โดยในบทที่ 3 แสดงการคำนวณ 2 วิธี คือวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2
บทที่ 4 บทบาทของรัฐในการนำเข้าและส่งออกในระบบเศรษฐกิจ (อธิยายนโยบายการคลัง เครื่องมือที่ใช้ หน้า 85-87)
เหมือนบทที่ 3 แต่รวมภาครัฐบาล มีการนำเข้าและส่งออกมาคำนวณรวมด้วย
บทที่ 5 รายได้ประชาชาติและระดับราคา AD (วิธีที่ 3)
เหมือนบทที่ 3 และ 4 แตกต่างที่บทที่ 3 และ 4 ถือว่าราคา(P) คงที่ แต่บทที่ 5 ถือว่าราคาเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะอธิบายสัมพันธ์ของรายได้ประชาชาติดุลยภาพกับระดับราคา
บทที่ 6 การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ : บทบาทด้านอุปทานรวม AS (วิธีที่ 3)
บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM (วิธีที่ 4)
********* บทที่ 3-7 อยากให้ดูที่รูปกราฟ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ 4 วิธี 3 คำตอบ ที่เคยส่งไฟล์ให้ค่ะ วาดตาม หลายๆครั้ง จะเข้าใจขึ้น และ อาจารย์ชอบให้วาดรูปกราฟ อธิบายการเพิ่มขึ้น ลดลงของปัจจัยต่างๆ ต่อเศรษฐกิจ รายได้)
บทที่ 8 วัฎจักรธุรกิจ (อธิบาย การถดถอย ตกต่ำ ฟื้นฟู เจริญรุ่งเรือง) ซึ่งบทที่ 8 และบทที่ 9 เป็นฐานไปสู่บทที่ 10
บทที่ 9 การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน
บทที่ 10 บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจระดับมหภาค และนโยบายการเงิน (อธิบายนโยบายการเงิน เครื่องมือ กลไกการเชื่อมโยง หน้า 170-196 เน้นหน้า 170 กลไกฯ 174 เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และหน้า 180-185 เครื่องมือฯ
บทที่ 11 ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค และนโยบายเพื่อแก้ปัญหา

แนวเศรษฐศาสตร์จุลภาค
บทที่ 5 ราคาเป็นกลไกตลาดของการรักษาดุลยภาพในตลาดของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
การกำหนดราคาหรือการแทรกแซงราคา
อุปสงค์ส่วนเกิน สินค้าขาดแคลน ราคาสินค้าสูงไป ส่วนใหญ่เป็นสินค้าสาธารณูปโภค และในภาวะสงคราม
รัฐบาลกำหนดราคาขั้นสูง (Price ceiling) โดยสูงกว่า PE ผู้ขายที่ขายเกินราคาขั้นสูงจะผิดกฎหมาย ดึงราคาให้ต่ำลง เกิดกักตุนสินค้า ซื้อราคาควบคุมมาขายในตลาดมืดเอากำไร และรัฐอาจเข้าควบคุมดำเนินการปันส่วน
อุปทานส่วนเกิน สินค้าเกินความต้องการ ราคาสินค้าต่ำลง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร รัฐบาลกำหนดราคาขั้นต่ำ (Price floor) โดยสูงกว่า PE แต่ไม่เข้าไปรับซื้อการพยุงราคา รัฐกำหนดราคาขั้นต่ำ และรัฐเข้าไปรับซื้อในปริมาณที่เกิน จนกว่าพ่อค้าจะรับซื้อในราคาสูงขึ้นจังงดรับซื้อ การจ่ายเงินช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ผลิตประกอบการต่อไปได้ เมื่อศึกษาราคาเสมอภาคที่ผู้ผลิตควรได้รับ ก็ให้เงินช่วยเหลือ
บทที่ 3 การกำหนดราคาตลาด (Determination of Price) ให้รู้สูตร อธิบายดุลยภาพ และการเปลี่ยนแปลงได้
ดุลยภาพ (Equilibium : E)
ปริมาณดุลยภาพ = ปริมาณซื้อสินค้าและบริการ = ปริมาณขายสินค้าและบริการ
QE = QDx = QSx
ป:บทที่ 2-3 ออกข้อสอบ1 ข้อ บทที่ 4-5 น่าจะออกข้อสอบ 1 ข้อ ดูเพิ่มจากไฟล์เศรษฐศาสตร์จุลภาค
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การจัดการ (ไม่ออกสอบ)
บทที่ 2 อุปสงค์และอุปทาน ให้เข้าใจความหมายและทิศทางกราฟของอุปสงค์ อุปทาน และโจทย์แบบการบ้าน

Supply อุปทาน (ขายบาน) Demand อุปสงค์ (ซื้อดิ่ง) (บานกับดิ่งคืออธิบายรูปกราฟ)

 คำศัพท์เศรษฐศาสตร์


 คำศัพท์เศรษฐศาสตร์
  GLOSSARY

Absolute advantage : ความสามารถที่เหนือกว่าโดยสมบูรณ์ ซึ่งประเทศหนึ่งผลิตสินค้าอย่างหนึ่งได้
  มากกว่าอีกประเทศหนึ่ง โดยใช้ทรัพยากรที่เหมือนกันและปริมาณเท่ากัน
  Accelerator theory of investment : ทฤษฎีที่กล่าวว่า ปริมาณการลงทุนจะมากตามปริมาณรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น
  ad valorem tax : ภาษีที่คิดตามราคาสินค้า เช่น 10%ของราคาสินค้า
  Aggregate demand (AD) : มูลค่าความต้องการซื้อสินค้าบริโภค (สินค้าขั้นสุดท้าย)รวมทั้งหมดทั้ง
  ประเทศ
  Aggregate supply (AS) : มูลค่าความต้องการขายสินค้าบริโภค (สินค้าขั้นสุดท้าย)รวมทั้งหมดทั้ง
  ประเทศ
  Average fixed cost (AFC) : ต้นทุนคงที่เฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนคงที่รวมตั้ง หารด้วย ปริมาณผลผลิต
  Average product (AP) : ผลผลิตเฉลี่ย คิดโดย นำปริมาณผลผลิตรวมตั้ง หารด้วย ปริมาณปัจจัย
  ผันแปรที่นำมาใช้ในการผลิต
  Average propensity to consume (APC) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค คิดโดย นำค่าใช้จ่าย
  การบริโภคตั้ง หารด้วย รายได้ (C/Y)
  Average propensity to import : ความโน้มเอียงเฉลี่ยของการซื้อสินค้าเข้าจากต่างประเทศ คิดโดย
  นำค่าซื้อสินค้าทั้งหมดจากต่างประเทศตั้ง หารด้วย รายได้รวม (M/Y)
  Average propensity to save (APS) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม คิดโดย นำมูลค่าการออมทั้ง
  หมดตั้ง หารด้วย รายได้ทั้งหมด
  Average revenue (AR) : รายได้เฉลี่ย คิดโดย นำรายได้รวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ขายได้
  Average total cost (ATC, AC) : ต้นทุนรวมเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนรวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่
  ผลิตได้
  Average variable cost (AVC) : ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนแปรผันรวมตั้ง หารด้วย
  จำนวนสินค้าที่ผลิตได้
  Balanced budget : งบประมาณสมดุล คือ รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
  Balance of payments accounts : บัญชีดุลการชำระเงิน คิดโดยเปรียบเทียบรายรับทุกอย่างที่เป็น
  เงินตราจากต่างประเทศ กับ รายจ่ายทุกอย่างที่เป็นเงินตราไปยังต่างประเทศ
  Balance of trade : ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าออกขายไปต่างประเทศ ลบด้วย มูลค่าสินค้าเข้าที่ซื้อ
  จากต่างประเทศ คิดด้วยหน่วยเงินตราเดียวกัน
  Barriers to entry : อุปสรรคกีดกันมิให้เข้าสู่กิจกรรมหรือธุรกิจนั้น
  Barter : การแลกสินค้า คือ การค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการแลกกันแทนการใช้เงินตรา
  Bond : พันธบัตร คือ เอกสารการกู้เงิน ที่แสดงเงินต้น ดอกเบี้ย และ เวลาชำระคืน เป็นวิธีการกู้ยืมที่
  ไม่มีหลักประกันหนี้ มีเพียงกระดาษประกาศความเป็นหนี้อย่างเดียว
  Base year : ปีฐาน คือ ปีที่ถือเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบในการทำดัชนี ปีฐานมีค่าดัชนีเป็น
  100
  Bills of exchange : เอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินโดยระบุจำนวนเงินและเวลาที่จะจ่าย ส่วนมากใช้
  กับการค้าต่างประเทศ ซึ่งเอกสารกล่าวว่าจะจ่ายเงินให้เมื่อได้รับสินค้า
  Bond : พันธบัตร เป็นเอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยให้เมื่อถึงเวลากำหนด
  Boom : สภาพเศรษฐกิจรุ่งเรือง มีการผลิตมาก มีงานทำมาก ค้าขายคล่อง
  Break-even point : จุดคุ้มทุน คือ จำนวนผลผลิตที่คุ้มทุนพอดี ไม่ขาดทุน ไม่กำไร
  Broad money : เงินในความหมายกว้าง คือ ประกอบด้วยเงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์) เงิน
  ฝากกระแสรายวัน (เขียนเช็ค) เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และ เงินซื้อหุ้นผ่านกองทุนต่างๆ
  Budget deficit : การขาดดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  Budget line : เส้นงบประมาณ คือ เส้นที่แสดงว่า ในจำนวนเงินที่กำหนด จะซื้อสินค้าสองอย่างร่วม
  กันเป็นปริมาณอย่างละเท่าใด
  Budget surplus : การเกินดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้มากกว่ารายจ่าย
  Business cycles : วัฏจักรธุรกิจ คือ สภาพที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น และ ตกต่ำลงสลับกัน อันเป็น
  ธรรมดาของวงจรเศรษฐกิจของประเทศและของโลก บางทีเรียกว่า Economic cycle หรือ Trade cycle
  Capital account : บัญชีทุน แสดงเงินลงทุนระหว่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศและไหลออกจากประเทศหนึ่ง
  Capital consumption allowance : ค่าเสื่อมของเครื่องมือการผลิต ที่เกิดจากการนำเครื่องมือการผลิตไปใช้ผลิตสินค้า บางทีเรียกว่า depreciation
  Capital deepening : การผลิตที่ใช้เครื่องจักรเครื่องมือมากกว่าใช้แรงงาน
  Capital goods : สินค้าทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือการผลิตสินค้า แทนที่จะผลิตสำหรับบริโภค
  Capital-labour ratio : อัตราส่วนทุนต่อแรงงาน คิดโดย นำจำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้เครื่องมือ หารด้วย จำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้แรงงาน เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าอย่างหนึ่งขึ้นมา
  Capital-output ratio : อัตราส่วนทุนต่อผลผลิต คิดโดย นำมูลค่าการใช้เครื่องมือเพื่อการผลิตนั้น หารด้วย มูลค่าผลผลิตที่ได้นั้น
  Capital stock : มูลค่าเครื่องมือที่มีอยู่ในเวลานั้น
  Cartel : กลุ่มธุรกิจที่รวมกันเหมือนเป็นธุรกิจเดียว เพื่อหวังผลการผูกขาด
  Central bank : ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารชาติ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ธนาคารต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล ได้กู้ยืมเงิน ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ให้บริหารงานไม่เกิดความเสียหายแก่สังคมด้วย และ มักเป็นมีหน้าที่ออกธนบัตร ควบคุมปริมาณเงินให้มีปริมาณพอเหมาะแก่เศรษฐกิจของประเทศ
  Closed economy : เศรษฐกิจปิด คือ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการค้ากับต่างประเทศ บางทีเรียกว่า
  Autarky
  Common market : ตลาดร่วม คือ กลุ่มประเทศร่วมกันเปิดการค้าเสรี ไม่เก็บภาษีกันในการค้า
  ระหว่างกัน แต่กีดกันการค้าประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม
  Comparative advantage : การได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ การที่ประเทศหนึ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
  ผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง โดยเสียโอกาสการผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่งน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ถ้าผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่ง จะเสียโอกาสการผลิตสินค้าแรกมากกว่าประเทศอื่น
  Concentration ratio : อัตราการกระจุกตัว เป็นการวัดอำนาจการผูกขาดการค้าทางอ้อมอย่างหนึ่ง
  คิดโดย นำมูลค่าการขายสินค้าอย่างหนึ่งของบริษัทหนึ่ง หารด้วย มูลค่าการขายสินค้าอย่างนั้นของธุรกิจทั้งหมดในตลาด อาจคิดเป็นกลุ่ม 4 ถึง 8 บริษัท ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการวัด
  Constant returns : ผลตอบแทนคงที่จากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุก
  ปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 5เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
  Consumers’ surplus : ส่วนเกินของผู้บริโภค คือส่วนที่ผู้บริโภคประหยัดเงินลงได้กว่าที่ตั้งใจจ่าย
  เนื่องจากราคาตลาดต่ำกว่าราคาที่ตั้งใจยอมซื้อ
  Consumption : การบริโภค คือ การได้กิน การได้ใช้ การได้สิทธิครอบครอง สินค้าและบริการ เพื่อ
  สนองความต้องการของมนุษย์
  Consumption function : ฟังค์ชันการบริโภค คือ การแสดงว่าการบริโภคขึ้นอยู่กับสาเหตุใดบ้าง
  เช่น ขึ้นอยู่กับรายได้ อัตราดอกเบี้ย ค่านิยม เป็นต้น
  Cross-elasticity of demand : ความยืดหยุ่นไขว้ เป็นความไวในการตอบสนองของความต้องการซื้อ
  เมื่อราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ไมใช่สินค้าที่ต้องการซื้อ) เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อราคาไก่เพิ่มขึ้น 1% ทำให้การซื้อปลาเพิ่มขึ้น 5% ความยืดหยุ่นไขว้เท่ากับ 5
  Crowding-out effect : การหักล้างทำให้ไม่เกิดผลเต็มที่ เช่น เมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่าย
  บริโภคโดยรวมของประชาชนก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่เพิ่มมาก เพราะว่าเมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่ม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม ประชาชนจึงซื้อสินค้าบริโภคลดลงบ้าง ไม่เพิ่มมากอย่างที่คาด
  Debt instrument : ตราสารหนี้ คือ เอกสารแสดงว่าใครเป็นหนี้ เป็นจำนวนเงินต้นเท่าไร อัตราดอก
  เบี้ยเท่าไร กำหนดชำระคืนเมื่อไร
  Decreasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุก
  ปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 3เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
  Deficit : สภาพที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  Deflation : สภาพเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปต่ำลง
  Demand : ความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า อุปสงค์ แสดงเป็นจำนวนสินค้าหรือมูลค่าที่ซื้อสินค้า
  โดยกำหนดช่วงเวลากำกับไว้ เช่น ความต้องการซื้อข้าว 10 ตัน ในช่วง 1 เดือน
  Demand curve : เส้นความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า เส้นอุปสงค์ เป็นเส้นแสดงปริมาณสินค้าที่
  ต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ เช่น ถ้าราคา 5 บาท ต้องการซื้อ 20 กล่อง ถ้าราคา 10 บาท ต้องการซื้อ 3 กล่อง เมื่อลากเส้นแสดงปริมาณซื้อที่ 2 ราคานี้ ก็เป็น เส้นความต้องการซื้อ
  Demand for money : ปริมาณเงินที่พอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี (ตำรา
  ส่วนมากแปลว่า ความต้องการถือเงิน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือย่อมไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ไม่มีความหมายในการอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ) ถ้ามีการใช้เงินซื้อสินค้าและบริการต่อๆกันไปหลายๆทอดอย่างรวดเร็ว ปริมาณเงินที่ประชาชนมีถืออยู่ก็ไม่ต้องมาก ก็สามารถซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมได้หมดพอดี ถ้าปริมาณเงินที่มีให้ประชาชนถือมีน้อยเกินไป สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่หมด ถ้ามีเงินถือมากเกินไป ก็เกิดการซื้อมากเกินไป ทำให้เกิดสภาพเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจึงประมาณว่า ประชาชนและธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ควรมีเงินที่นำมาใช้จ่ายได้เป็นปริมาณเท่าใดจึงพอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี
  Demand function : ฟังค์ชันแสดงความสัมพันธ์ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ กับ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำ
  ให้เกิดการซื้อเป็นปริมาณนั้น เช่น ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ มีความต้องการสินค้านั้น มีเงินซื้อ ราคาสมคุณภาพ เป็นต้น หรือ ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ ราคา รายได้ของผู้ซื้อ ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง และ ความนิยม เป็นต้น
  Demand schedule : ตารางแสดงปริมาณการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ
  Depreciation : การเสื่อมค่า
  Depression : เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นสภาพที่เศรษฐกิจซบเซา สินค้าและบริการขายยาก คนว่างงาน
  มีหนี้มาก
  Derived demand : ความต้องการซื้อต่อเนื่อง เช่น เมื่อมีความต้องการสินค้าและบริการสุดท้าย ทำ
  ให้ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต หรือ อาจเป็นเรื่องอื่นๆทำนองเดียวกันนี้
  Developed countries : ประเทศร่ำรวยทางเศรษฐกิจ (แต่อาจยากจนเรื่องอื่น) ได้แก่ ประเทศ
  อเมริกา ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์
  Developing countries : ประเทศยากจน ประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ประเทศส่วนมากในเอเซีย
  อเมริกาใต้ อัฟริกา บางทีเรียกว่า ประเทศพัฒนาน้อย (less developed countries, LDCs) ประเทศด้อยพัฒนา (underdeveloped countries) ประเทศล้าหลัง (backward countries)
  Direct tax : ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้ถูกเก็บต้องรับภาระเองโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่น ได้ เช่น ภาษีเงินได้ประจำปี
  Discount rate : อัตราการลดค่า ที่ทำให้มูลค่าของรายได้ในอนาคตกลับมาเป็นรายได้ปัจจุบัน ปกติ มักใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลดค่า
  Diseconomies of scale : สภาพการผลิตที่ต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อขยายการผลิตมากขึ้น
  Disposable income : รายได้ที่ใช้จ่ายได้ คือ รายได้ของครัวเรือนหลังเสียภาษีเงินได้แล้ว สามารถ นำไปใช้จ่ายได้
  Dividends : เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
  Division of labour : การแบ่งงานกันทำตามความสามารถ
  Dumping : การทุ่มตลาด เพื่อให้คู่แข่งขันพ่ายแพ้หนีออกไปจากตลาด
  Duopoly : ตลาดที่มีผู้ขายสองราย duo แปลว่า สอง
  Economic profit : กำไรแบบเศรษฐศาสตร์ คือ การคิดกำไรโดยคิดค่าเสียโอกาส (ที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน เช่น ค่าเสียโอกาสค่าเช่าจากการใช้บ้านตัวเอง) เป็นต้นทุนด้วย ในปัจจุบันทางบัญชีก็คิดอย่างเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน
  Economic rent : ค่าเช่าแบบเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนเกินที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับผลตอบแทน จากการให้ใช้ปัจจัยการผลิต ซึ่งหากคิดจากความสามารถในการมีส่วนร่วมในการผลิตแล้ว เขาไม่ควรได้ค่าตอบแทนมากถึงเพียงนั้น ศัพท์คำนี้ไม่ควรนำมาใช้ เพราะว่าทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย เป็นสำนวนที่ David Ricardo คิดใช้ขึ้น แล้วมีผู้รับมาใช้ต่อๆกัน
  Economies of scale : การประหยัดจากการขยายการผลิต คือ เมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ย ลดลง ซึ่งทำให้การผลิตขนาดใหญ่ได้เปรียบการผลิตขนาดเล็ก (แต่การผลิตขนาดใหญ่ก็มีข้อเสียเปรียบบางอย่าง)
  Economies of scope : การประหยัดจากการผลิตสินค้าหรือบริการหลายอย่าง คือ เมื่อผลิตสินค้า หลายอย่าง ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง เนื่องจากใช้ปัจจัยบางอย่างร่วมกันได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อย หรือไม่เพิ่มเลย หรือ ใช้วัสดุเหลือใช้ที่จะต้องทิ้ง นำมาผลิตต่อ
  Economy : เศรษฐกิจ คือ สภาพกิจกรรมการผลิต และ การซื้อสินค้า รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆโดย ทั่วไป ที่ทำให้เกิดการซื้อ ขาย และ บริโภค ของประชาชนในชาติ
  Effective exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยคิดรวมถ่วงน้ำหนักกับเงินตรา ต่างประเทศหลายสกุล
  Elastic : มีความไวตอบสนองมาก มีความยืดหยุ่น ถ้าคำนวณได้ค่าเกิน 1 (ไม่คิดเครื่องหมายบวก ลบ)
  Endogenous variable : ตัวแปรที่ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆในระบบเดียวกัน คือ มีค่ามากน้อย เพียงใดขึ้นกับค่าตัวแปรอื่นๆในระบบเป็นตัวกำหนด
  Entrepreneur : เจ้าของกิจการ คนที่ไม่เป็นลูกจ้าง ได้รายได้จากกำไร (ถ้าโชคร้ายก็ขาดทุน)
  Equilibrium : ดุลยภาพ สิ่งที่ต้องการ พอดีกับ สิ่งที่มีให้ หรือ มูลค่าทางด้านเข้าเท่ากับมูลค่าทาง ด้านออก หรือ การตกลงกันได้จากการต่อรองกัน
  Equilibrium price : ราคาที่ทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการ ขาย
  Equilibrium quantity : จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย
  Excess demand : จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย
  Excess supply : จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ
  Exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เช่น 40 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ อเมริกา
  Exogenous variable : ตัวแปรนอกระบบที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆในระบบ แต่ตัวแปรนี้ไม่ถูก กำหนดโดยตัวแปรอื่นในระบบ เพราะมันอยู่นอกระบบ แต่เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบ (ควรอ่าน Endogenous variable เปรียบเทียบ)
  Expected value : ค่าที่เกิดจาการทดลองซ้ำอินฟินิทีครั้ง แล้วนำมาเฉลี่ย ถ้าแปลว่า ค่าที่คาดหวัง ก็ จะเข้าใจผิดได้
  Externalities : ผลที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจ อันธุรกิจนั้นมิได้คำนึงถึงหรือไม่ได้รับผล เช่น ผู้เลี้ยง กุ้งกุลาดำ ทำให้เกิดน้ำเสียเสียหายแก่ผู้อื่น ผลเสียหายนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจ คนเลี้ยงกุ้งไม่ได้จ่ายค่าเสียหาย นอกจากถูกฟ้องร้อง หรือ การตั้งธุรกิจทำให้เกิดร้านค้า คนภายนอกขายของได้กำไร ก็เป็นผลดีเกิดขึ้นแก่สังคม เป็นผลภายนอกทางบวก ผู้ผลิต และ ผู้ขายสุรา ทำให้เกิดผลเสียแก่สังคมมาก โดยตนไม่ต้องรับผิดชอบ
  Factor, Factor of production : ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องมือ แรงงานคน พลังงาน เวลา วัตถุดิบ เทคโนโลยี และ เจ้าของกิจการ ตำราส่วนมากกล่าวว่า ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และ ผู้ประกอบการ ซึ่งไม่พอผลิตสินค้าได้ เป็นปัจจัยการผลิตสมัยโบราณที่ผลิตการเกษตรแบบดั้งเดิม
  Fiat money : เงินตราที่ธนาคารกลาง (ได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย) หรือผู้มีอำนาจเป็นผู้ออกให้ ประชาชนใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ ธนบัตร และ เหรียญกษาปณ์
  Final product : สินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค มิใช่สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือ นำไปเป็น ปัจจัยการผลิต
  Firm : หน่วยธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน
  Fiscal policy : นโยบายการคลัง คือ นโยบายหารายได้จากภาษีหรือวิธีการอื่น และ นโยบายการใช้ จ่ายเงินงบประมาณ มีผลสำหรับบริการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน บริหารจัดการสังคมโดยรวม และ มีผลพลอยได้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
  Fixed capital formation : การลงทุนในปัจจัยคงที่ เช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักรกล
  Fixed cost : ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้า เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเงินเดือนผู้จัดการ ค่าโฆษณา
  Fixed factor : ปัจจัยคงที่ คือ ปัจจัยการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้า เช่น อาคาร เครื่องจักรขนาดใหญ่ ผู้จัดการ
  Foreign direct investment FDI : การลงทุนที่คนในประเทศหนึ่งลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยเข้าไป มีส่วนบริหารจัดการ มิใช่ซื้อหุ้นเก็งกำไร
  Foreign exchange : เงินตราต่างประเทศ
  Free trade : การค้าเสรี หมายถึง การค้าระหว่างประเทศที่รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกีดกันหรือเก็บ ภาษี
  Free-trade area : เขตการค้าเสรี พื้นที่ที่ประเทศต่างๆตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกันให้มีการค้า เสรีระหว่างกัน โดยตกลงในขอบเขตเงื่อนไขว่าจะอนุญาตค้าเสรีในสินค้าใดบ้าง โดยไม่กีดกัน ไม่เก็บภาษี ขณะเดียวกันก็กีดกันประเทศอื่นๆ โดย เก็บภาษี หรือ มีเงื่อนไขกีดกัน
  Frictional unemployment : การว่างงานตามปกติธรรมชาติ เนื่องจากมีการลาออกจากงานหางานทำ ใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่เดือดร้อนรุนแรง
  GDP : ย่อจาก Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึงมูลค่าของสินค้า และบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่ผลิตในประเทศ (ไม่ว่าเป็นของคนในชาติหรือคนต่างชาติ) คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี รัฐบาลทุกประเทศมักนำค่า GDP มาหลอกประชาชนว่า GDP เติบโตมาก แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศดีมาก ที่จริงอาจเป็นเศรษฐกิจดีของคนต่างชาติหรือของกลุ่มคนจำนวนน้อย ประชาชนทั่วไปอาจยากจนยิ่งขึ้นทั้งที่ค่า GDP สูงมากๆก็ได้
  Giffen good : สินค้าด้อยคุณภาพ ตามความคิดของ Giffen ที่กล่าวว่า สินค้าด้อยคุณภาพบางอย่าง มีลักษณะประหลาด เมื่อราคาสูงขึ้นคนก็ซื้อมากขึ้น ความคิดของ Giffen ไม่ดีต่อการเรียนเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักศึกษาสับสน Giffen ยกตัวอย่างขนมปังยิ่งแพง คนยิ่งซื้อมาก ที่จริงแล้ว อาหารอย่างอื่นก็แพง ขนมปังก็แพง แต่แพงน้อยกว่าอาหารอย่างอื่น ฉะนั้นโดยเปรียบเทียบแล้ว ขนมปังราคาถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น เมื่อราคาถูกลง คนก็ซื้อมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อย่างใด
  Globalization : ถึงกันทั่วโลก เนื่องจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพขึ้น และ ความพยายามที่ประเทศ ต่างๆต้องการค้าขายและมีผลประโยชน์ข้ามชาติ ทำให้เกิดความเกี่ยวข้องถึงกันทั่วโลก
  GNP : ย่อจาก Gross National Product ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติ หมายถึงมูลค่าของสินค้า และบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่คนของชาตินั้น(คนไทย)ผลิตได้ ทั้งอยู่ในประเทศ หรือที่อยู่นอกประเทศ คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี
  Good : สินค้า
  High-powered money : เงินที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมปริมาณได้ ได้แก่ เงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์)ในมือประชาชน เงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกบังคับให้มี และ เงินกู้จากธนาคารกลาง มักเกิดจากการศึกษา ฝึกฝน และ ค่านิยมของคนในชาติ
  Hyperinflation : เงินเฟ้อรุนแรง
  Identification problem : ปัญหาการบ่งชี้สมการ เป็นปัญหาทางสถิติที่เกิดขึ้นในระบบที่มีสมการ หลายสมการ ซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสมการที่สร้างขึ้นเป็นสมการอะไร เช่น เป็นสมการอุปสงค์ หรือสมการอุปทาน
  Import substitution : การผลิตเพื่อทดแทนสินค้านำเข้า
  Income-consumption curve : เส้นแสดงการบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เป็นเส้นลากต่อจุด สัมผัสหลายจุดของเส้นความพอใจเท่ากันกับเส้นงบประมาณ
  Income effect : ผลจากรายได้ ที่ทำให้บริโภคสินค้ามากขึ้นเมื่อรายได้มากขึ้น
  Income elasticity of demand : การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อ รายได้ลดลง 1% ทำให้จำนวนซื้อสินค้าลดลง 3% การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3
  Increasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากจากการขยายการผลิต เช่น ขยายการผลิต โดยใช้ ปัจจัยทุกอย่างเป็น 2 เท่าของปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตเป็น 3 เท่าของผลผลิตเดิม
  Indifference curve : เส้นความพอใจเท่ากัน เป็นเส้นลากต่อจุดหลายจุดที่ปรับปริมาณการบริโภค สินค้า 2 อย่างเป็นสัดส่วนต่างกัน แต่ให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคเท่ากัน
  Indirect tax : ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ (อาจผลักภาระได้มากหรือน้อย)Industry : กลุ่มธุรกิจที่ผลิตสินค้าเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ในความหมายนี้ไม่ควรแปลว่า อุตสาหกรรม เพราะว่าทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย
  Inelastic : การตอบสนองไม่ไว ปกติค่าความยืดหยุ่นต่ำกว่า 1 (ไม่คิดเครื่องหมาย) เช่น ราคาเพิ่ม ขึ้น 1% จำนวนสินค้าที่ซื้อลดลงน้อยกว่า 1%
  Infant industry : อุตสาหกรรมเริ่มแรกตั้ง
  Inferior good : สินค้าด้อย เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคลดการซื้อ เมื่อเขามีรายได้เพิ่มขึ้น
  Inflation : เงินเฟ้อ เป็นสภาพเศรษฐกิจที่สินค้าหลายๆอย่างมีระดับราคาเพิ่มขึ้น
  Inflationary gap : รายได้ที่มากเกินปกติเนื่องจากเงินเฟ้อ บางตำราแปลว่า ช่องว่างเงินเฟ้อ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศมากเกินความสามารถของประเทศ แต่มากขึ้นเพราะว่าเกิดเงินเฟ้อ มีแต่โทษ ไม่มีประโยชน์ใดๆ เป็นเพียงภาพลวงตา
  Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญขึ้น เช่น การขน ส่ง การคมนาคม การชลประธาน พลังงาน
  Input : ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
  Intermediate product : ผลผลิตที่ยังไม่สำเร็จรูป ผลผลิตระหว่างกลาง ผลผลิตกึ่งสำเร็จรูป
  Internal economies : การขยายกิจการจากการใช้ปัจจัยที่มีอยู่แล้วภายในหน่วยธุรกิจ
  Inventory : สินค้าคงเหลือที่ผลิตแล้วยังไม่ได้จำหน่าย
  Investment : การลงทุน มีหลายความหมาย ความหมายที่ตรงที่สุดทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการ จ่ายเงินเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการขึ้นมาใหม่ บางทีหมายถึง การเสียสละความสะดวกสบายในปัจจุบันเพื่อสร้างความสามารถให้หารายได้ได้มากในอนาคต เช่น การศึกษา ส่วนนักการพนันให้ความหมายในทางการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เรียกว่าการลงทุนทางการเงิน ซึ่งไม่ใช่ความหมายของการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์
  Involuntary unemployment : การว่างงานโดยไม่สมัครใจ หมายความว่า ต้องการทำงาน ณ ระดับ ค่าจ้างและผลตอบแทนระดับนั้นๆ แต่หางานทำไม่ได้
  IS curve : เส้นดุลยภาพในตลาดสินค้า เป็นสภาพดุลภาพเมื่อไม่มีรัฐบาล ไม่มีการค้าต่างประเทศ เกิดจากสมมุติฐานว่า I = S (ซึ่งไม่จริง แม้เศรษฐกิจปิด และไม่มีรัฐบาล เป็นความเชื่อผิดตามท่าน John Maynard Keynes)
  Iso-cost line : เส้นต้นทุนเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนต่างๆแล้วเสียเงินเท่ากัน
  Isoquant : เส้นผลผลิตเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนปัจจัยสองอย่างแล้วได้ผล
  ผลิตเท่ากัน
  Labour : แรงงาน หมายถึงแรงงานกล้ามเนื้อ และ ความคิด ของมนุษย์ ที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้าและ บริการ
  Labour force : กำลังแรงงาน มักหมายถึงจำนวนคนที่ทำงานได้
  Liquidity : สภาพคล่อง คือ ความง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงิน
  Liquidity preference : ความชอบที่จะถือเงินสดยิ่งกว่าถือทรัพย์สินที่ได้ดอกเบี้ย หมายความว่า อยากถือเงินสดไว้มากกว่าปล่อยให้กู้
  LM curve : เส้นดุลยภาพในตลาดเงิน เป็นสภาพดุลภาพเมื่อเงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือ หยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง เกิดจากสมมุติฐานว่า L = M คือ เงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือหยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง
  Long run : การพิจารณาเป็นระยะยาว เป็นการพิจารณาต้นทุนหลายเวลาพร้อมกัน แต่ละเวลาก็มี ต้นทุนคงที่ ซึ่งไม่เท่ากัน แต่นำมาคิดรวมเป็นต้นทุนรวมและต้นทุนเฉลี่ย
  Lorenz curve : เส้นแสดงความแตกต่างรายได้ของคนในสังคม
  M0 : ปริมาณเงินสดในมือประชาชนนอกสถาบันการเงิน บวก จำนวนเงินที่สถาบันการเงินฝากไว้กับ ธนาคารกลาง บางทีเรียกว่า ฐานเงิน (monetary base) บางทีเรียกว่า เงินพลังสูง (high-power money) ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มลดปริมาณเงินได้ง่าย
  M1 : เงินในความหมายอย่างแคบ (narrow money) เป็นเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ (เศษสตางค์) ธนบัตร เช็ค
  M2 : เงินในความหมายอย่างกว้าง (broadmoney) บางทีเรียกว่า สิ่งที่แปลงเป็นเงินได้ง่าย (near-money) ได้แก่ M1 บวกกับ เงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร(บางธนาคารเรียกว่า เงินฝากสะสมทรัพย์) บวกกับทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆที่เปลี่ยนเป็นเงินได้แต่อาจเสียเวลาบ้าง เช่น กองทุนซื้อหุ้นที่มอบให้สถาบันการเงินจัดการให้ เป็นต้น บางตำราแบ่งซอยถึง M8 ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
  Macroeconomics : เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การมีงานทำ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
  Managed float : การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ ธนาคารกลางก็เข้าแทรกแซงบ้างตามควร
 
GDP- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(Gross Domestic Product) หมายถึง “มูลค่าตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในประเทศในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง”

GNP- ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product) หมายถึง “มูลค่าตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ชาติหรือประเทศหนึ่ง ๆ สามารถผลิตขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง”
คำทุกคำในความหมายข้างต้นมีความสำคัญที่น่าสังเกตทั้งสิ้นกล่าวคือ
1. คำว่า “มูลค่า” หมายถึง ราคาคูณกับปริมาณ (P x Q) เหตุที่ต้องคำนวณเป็นมูลค่าที่เป็นบาท ก็เพื่อความสะดวกที่สามารถใช้หน่วยเดียวกันได้หมด เช่น ถ้าวิทยุ 1 เครื่อง ข้าว 1 ตัน ก็จะนำเอาประมาณนั้นมารวมกันไม่ได้เพราะคนละหน่วย
2. คำว่า “ราคาตลาด” หมายถึง ราคาที่นำมาคำนวณนั้นให้ใช้ราคาที่เป็นอยู่ในช่วงเวลานั้นมาคิด และต้องเป็นราคาที่ต้องการซื้อขายกันในท้องตลาด เช่นถ้าเป็นงานบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ที่ไม่ผ่านตลาดก็ไม่สามารถคิดคำนวณได้
3. คำว่า “สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย” หมายถึง สินค้าที่นำมาคำนวณต้องเป็นสินค้าที่นำมาบริโภคได้เลยหรือไม่มีการนำไปผลิตต่ออีก เช่น ถ้าเรานำน้ำตาล 1 กิโลกรัมมาทำเป็นขนมหวาน หากคิดมูลค่าของหวานซึ่งได้รวมต้นทุนของน้ำตาลแล้ว ยังมาคิดมูลค่าน้ำตาลอีกก็จะเป็นการนับซ้ำเกิดขึ้น ดังนั้นในการคำนวณจึงต้องคิดที่สินค้าขั้นสุดท้าย
4. คำว่า “ชาติหรือประเทศหนึ่ง ๆ ผลิต” กับ “ผลิตได้ภายในประเทศ” นี่เองที่เป็นข้อแตกต่างระหว่าง GNP กับ GDP
GNP นั้นจะใช้สัญชาติเป็นหลัก เช่น GNP ของไทย ถ้าคนไทยไปผลิตสินค้าที่ใดภายในหรือภายนอกประเทศก็ให้นับทั้งสิ้น
ขณะที่ GDP จะใช้พื้นที่เป็นหลัก ไม่ว่าชนชิใดจะเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ ถ้าผลิตในพื้นที่ประเทศไทยให้นับทั้งสิ้น
ดังนั้นเราอาจเขียนเป็นสมการความสัมพันธ์ดังกล่าวในการคิด GDP และ GNP ของไทยได้ว่า GNP= GDP+(รายได้ของคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศ-รายได้ของคนต่างประเทศที่ทำงานในไทย)
5. คำว่า “ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง” หมายถึง เราวัดมูลค่าดังกล่าวในช่วงเวลานั้นเท่านั้น ซึ่งปกติจะเป็นช่วง 1 ปี ดังนั้นเราจะไม่นับรวมมูลค่าของผลิตในปีก่อนหรือปีในอดีต




นโยบายการคลัง เป็นเรื่องของการเพิ่มหรือลดรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลนโยบายการเงินเป็นเรื่องของการควบคุมปริมาณเงิน ซึ่งมีธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแล นโยบายการรักษาเสถียรภาพภายนอก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยน การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนและนโยบายทางด้านรายได้ ก็เป็นการเข้าช่วยเหลือประชาชนให้เกิดรายได้โดยตรง เช่น การบรรเท่าการว่างงาน การช่วยเหลือด้านสวัสดิการ ให้เงินอุดหนุน บรรเทาค่าครองชีพ เป็นต้น

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
เครื่องมือที่สำคัญทางด้านรายรับก็คือ ภาษี ขณะที่รายจ่ายรัฐบาล ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงบประมาณแผ่นดิน ถ้าเราต้องการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลัง เราจะต้องทำให้รายจ่ายของรัฐเพิ่มขึ้น ลดภาษีอากร โดยทำให้รายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินมากกว่าภาษีที่จัดเก็บ เพราะการเก็บภาษีทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐจะให้เกิดอำนาจซื้อในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่านโยบายการคลังแบบขาดดุลจะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ
กลับกันถ้าเกิดมีปัญหาเงินเฟ้อ เนื่องจากอำนาจซื้อของประชาชนมีมากเกินไป ต้องการแก้ไขควบคุมให้อำนาจซื้อมีอยู่ในขอบเขตที่พอดีกับสินค้าที่มีให้ซื้อ ก็ต้องลดแรงกระตุ้นคือเก็บภาษีมากกว่ารายจ่ายงบประมาณ สรุปได้ว่าถ้าจะลดแรงกระตุ้น ควบคุมเงินเฟ้อก็ต้องใช้นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ประตูการคลัง ทางที่เม็ดเงินจะเข้ามาก็คือ รายจ่ายของรัฐบาล ทางที่เม็ดเงินจะออกไปก็คือ ภาษีอากร ถ้าต้องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในทางตรงกันข้ามถ้าเก็บภาษีมากกว่าที่รัฐจะใช้จ่ายไป ลูกโป่งก็จะแฟบลง

นโยบายการคลัง – การที่รัฐบาลใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมหรือกำหนดปริมาณเงินที่จะไหลจากภาครัฐบาลเข้าสู่ระบบหมุนเวียนหรือภาคเอกชนหรือเป็นมาตรการที่จะดึงเงินออกจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาลซึ่งเป็นการดึงเงินออกจากระบบหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไนปัญหาทางเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจอีกด้วย
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

แนวคำถามน่าจะประมาณนี้

1.เมื่อตัวแปรต่อไปนี้เปลี่ยนแปลงไปทั้งในทางเพิ่มขึ้น และลดลงจะมีผลต่อการขยายตัวและหดตัวของภาวะเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน
(1) การใช้จ่ายบริโภค (2)การใช้จ่ายลงทุน (3)การใช้จ่ายรัฐบาล (4)การเก็บภาษี (5)การออม (6)การส่งออก (7)การนำเข้า (8)อัตราดอกเบี้ย (9)ปริมาณเงิน และ(10)เทคโนโลยี

2.ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายการคลังโดยมาตรการต่อไปนี้คือ (1)ลดการใช้จ่ายลงทุน (2) เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)ลดรายจ่ายประจำ (4)ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคล และ (5)รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวน 100 ล้านบาท พร้อมกับลดการใช้จ่ายลงทุนลงมา 100 ล้านบาทแล้ว จะมีผลอย่างไรต่อรายได้ประชาชาติ และการจ้างงาน จงอธิบาย

3.เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์ เปลี่ยนแปลงไปทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น(appreciate) และเสื่อมค่าลง(depreciate) จะมีผลอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า และการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ

4.การที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละลักษณะดังต่อไปนี้ ผลที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน จากการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยอาร์พี และ (3)ธนาคารกลางเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท



1.เมื่อตัวแปรต่อไปนี้ (1) การใช้จ่ายบริโภค (2)การใช้จ่ายลงทุน (3)การใช้จ่ายรัฐบาล (4)การเก็บภาษี (5)การออม (6)การส่งออก (7)การนำเข้า (8)รัฐบาลจ่ายเงินประกันสังคม (9)อัตราดอกเบี้ย และ (10)เงินลงทุนจากต่างประเทศ เปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น และลดลง จะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว หรือหดตัวอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
2.การใช้นโยบายการคลังในกรณีต่อไปนี้ (1)รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายลงทุน (2) รัฐบาลลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)รัฐบาลลดรายจ่ายประจำ (4)รัฐบาลเพิ่มภาษีเงินได้บุคคล และ (5)รัฐบาลขายพันธบัตรเพื่อนำเงินมาลงทุนในโครงการผลิตไบโอดีเซล จะมีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติ การผลิต การลงทุนของเอกชน และการจ้างงานอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
3.ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เรียกว่า “ส่วนกระตุ้น”(injector) และ “ส่วนรั่วไหล” (withdrawal) ได้แก่ตัวแปรอะไรบ้าง และมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร/ ถ้ารัฐบาลต้องการลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจลงมา เพื่อมิให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะต้องใช้มาตรการควบคุมตัวแปรทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
4.การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินมาตรการการเงินโดยปรับอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็น 2.5% นั้น ท่านคิดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเหตุผลอย่างไร และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าวจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
5.การขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้เทมาเสกแห่งสิงคโปร์ จะมีผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด และทำให้เม็ดเงินลงทุนประเภท FDI เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
6.การที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละลักษณะดังต่อไปนี้ ผลที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน จากการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยอาร์พี และ (3)ธนาคารกลางเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท
7.กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคภาคเอกชน C = 300 + 0.75Yd Yd = Y – T
T = 0.1Y I = 60 + 0.15 Y G = 40 X = 50 และ IM = 0.05Y จงคำนวณหา
ก.รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ข.ดุลการค้า ณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ค.การใช้จ่ายบริโภคของเอกชน ณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ง.เมื่อเพิ่มการใช้จ่ายรัฐบาลเป็น 2 เท่า รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
8.ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งกรณี (1)แข็งค่าขึ้น(appreciate) และ(2)เสื่อมค่าลง(depreciate) จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า และการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ(foreign capital flows) และนักธุรกิจจะต้องปรับตัวต่อสถานการณ์ทั้งสองอย่างไร จงอธิบาย
9. กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคคือ C = 200 + 0.9YD YD = Y – T
T = 50 + 0.07Y I = 100 G = 80 X = 40 M = 60 + 0.08Y จงหา (1)สมการการออมของบุคคล (2) ตัวทวีการลงทุน (3)ตัวทวีการนำเข้า (4)ดุลการค้า(X-M) (5)รายได้ประชาชาติดุลยภาพ และ (6)สมการเส้น IS (การคำนวณจะใช้เงื่อนไขใดก็ได้ ถ้าไม่ลงตัว ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
ข้อ 10. วัฏจักรธุรกิจ หมายถึงอะไร/ มีกี่ระยะ/ แต่ละระยะมีภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร /มีอะไรเป็นสาเหตุ /นักธุรกิจควรจะตัดสินใจอย่างไรในแต่ช่วงวัฏจักรธุรกิจ จงอธิบาย
1.เมื่อตัวแปรต่อไปนี้เปลี่ยนแปลงไปทั้งในทางเพิ่มขึ้น และลดลงจะมีผลต่อการขยายตัวและหดตัวของภาวะเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน
(1) การใช้จ่ายบริโภค (2)การใช้จ่ายลงทุน (3)การใช้จ่ายรัฐบาล (4)การเก็บภาษี (5)การออม (6)การส่งออก (7)การนำเข้า (8)อัตราดอกเบี้ย (9)ปริมาณเงิน และ(10)เทคโนโลยี

2.ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายการคลังโดยมาตรการต่อไปนี้คือ (1)ลดการใช้จ่ายลงทุน (2) เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)ลดรายจ่ายประจำ (4)ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคล และ (5)รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวน 100 ล้านบาท พร้อมกับลดการใช้จ่ายลงทุนลงมา 100 ล้านบาทแล้ว จะมีผลอย่างไรต่อรายได้ประชาชาติ และการจ้างงาน จงอธิบาย

3.เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์ เปลี่ยนแปลงไปทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น(appreciate) และเสื่อมค่าลง(depreciate) จะมีผลอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า และการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ

4.การที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละลักษณะดังต่อไปนี้ ผลที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน จากการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยอาร์พี และ (3)ธนาคารกลางเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท

ข้อ 1. กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคคือ C = 200 + 0.9YD YD = Y – T
T = 50 + 0.07Y I = 100 G = 80 X = 40 M = 60 + 0.08Y จงหา (1)สมการการออมของบุคคล (2) ตัวทวีการลงทุน (3)ตัวทวีการนำเข้า (4)ดุลการค้า(X-M) (5)รายได้ประชาชาติดุลยภาพ และ (6)สมการเส้น IS (การคำนวณจะใช้เงื่อนไขใดก็ได้ ถ้าไม่ลงตัว ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
ข้อ 2. ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายการคลังโดยมาตรการต่อไปนี้ จะมีผลอย่างไรต่อรายได้ประชาชาติและการจ้างงาน (1)ลดการใช้จ่ายลงทุน (2) เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)ลดรายจ่ายประจำ และ(4)ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคล จะมีผลอย่างไรต่อรายได้ประชาชาติ และการจ้างงาน/ ถ้ารัฐบาลเพิ่มการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ จะมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจของนักธุรกิจอย่างไร จงอธิบาย
ข้อ 3. เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์ เปลี่ยนแปลงไปทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น(appreciate) และเสื่อมค่าลง(depreciate) จะมีผลอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า/ นักธุรกิจจะปรับ ตัวอย่างไรต่อ (1)การแข็งค่า และ (2)การเสื่อมค่าของเงินบาท จงอธิบาย
ข้อ 4. เครื่องมือทางการเงินด้านปริมาณ และด้านคุณภาพ ได้แก่อะไรบ้าง/ การดำเนินมาตรการต่อไปนี้ คือ (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางเพิ่มดอกเบี้ยอาร์พีจากร้อยละ 4.25 เป็น 4.5 (3)ธนาคารกลางลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย และ(4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท จะส่งผลอย่างไรต่อรายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน/ เพราะเหตุใด /และนักธุรกิจจะปรับตัวอย่างไรต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาร์พี จงอธิบาย
ข้อ 5. วัฏจักรธุรกิจ หมายถึงอะไร/ มีกี่ระยะ/ แต่ละระยะมีภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร /มีอะไรเป็นสาเหตุ / และนักธุรกิจจะปรับตัวอย่างไรภายใต้ภาวะวัฏจักรธุรกิจแต่ละแบบ จงอธิบาย

แบบฝึกหัด bm600

แบบฝึกหัด

ข้อ 1.ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นมาสูงกว่าบาร์เรลละ 70 ดอลลาร์ในปัจจุบันมาจากปัจจัยอะไรบ้าง/ จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอย่างไร/ ในอนาคตราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด/ ไทยควรมีมาตรการอะไรรองรับ

ข้อ 2.จากตาราง จงตอบคำถามต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายประเภทใดมีความสำคัญมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อจีดีพี ค่าใช้จ่ายบริโภค และอุปสงค์ในประเทศคิดเป็นสัดส่วนเท่าไรต่อจีดีพี การใช้จ่ายบริโภคสูงเกินไปหรือไม่ เพราะเหตุใดสัดส่วนการผลิตในภาคต่างๆ คือ เกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ต่อจีดีพีเป็นอย่างไร รายการ net factor income from abroad ติดลบเนื่องจากอะไร มีทางแก้ไขอย่างไรหรือไม่ จงอธิบาย

ข้อ 3. ตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค C(การบริโภค) I(การลงทุน) G(การใช้จ่ายรัฐบาล) X(การส่งออก) M (การนำเข้า) T (ภาษี) และ S(การออม) มีบทบาทอย่างไรในทางเศรษฐกิจมหภาค(บทบาทต่อรายได้ประชาชาติ และการจ้างงาน) เศรษฐกิจไทยมีปัญหาเกี่ยวกับตัวแปรดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด และท่านคิดว่า มีวิธีการแก้ไขอย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกข้อมูลประกอบ

ข้อ 4.ในตลาดผลผลิต กำหนดให้ สมการการใช้จ่ายบริโภค C = 100 + 0.7YD T = 0.1Y I = 200 – 5r G = 80 X = 120 M = 50 + 0.05Y และในตลาดเงิน กำหนดให้ สมการอุปทานเงิน MS = 200 และสมการอุปสงค์เงิน MD = 0.4 Y – r จงหา (1) สมการเส้น IS และ LM พร้อมทั้งเขียนกราฟพอสังเขป และ (2) ดุลยภาพของรายได้ประชาชาติ (หากคำนวณไม่ลงตัว ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
---------------------------
ข้อสอบวิชา BM600 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ(มหภาค)

1.เมื่อตัวแปรต่อไปนี้ (1) การใช้จ่ายบริโภค (2)การใช้จ่ายลงทุน (3)การใช้จ่ายรัฐบาล (4)การเก็บภาษี (5)การออม (6)การส่งออก (7)การนำเข้า (8)รัฐบาลจ่ายเงินประกันสังคม (9)อัตราดอกเบี้ย และ (10)เงินลงทุนจากต่างประเทศ เปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น และลดลง จะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว หรือหดตัวอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
2.การใช้นโยบายการคลังในกรณีต่อไปนี้ (1)รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายลงทุน (2) รัฐบาลลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)รัฐบาลลดรายจ่ายประจำ (4)รัฐบาลเพิ่มภาษีเงินได้บุคคล และ (5)รัฐบาลขายพันธบัตรเพื่อนำเงินมาลงทุนในโครงการผลิตไบโอดีเซล จะมีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติ การผลิต การลงทุนของเอกชน และการจ้างงานอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
3.ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เรียกว่า “ส่วนกระตุ้น”(injector) และ “ส่วนรั่วไหล” (withdrawal) ได้แก่ตัวแปรอะไรบ้าง และมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร/ ถ้ารัฐบาลต้องการลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจลงมา เพื่อมิให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะต้องใช้มาตรการควบคุมตัวแปรทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
4.การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินมาตรการการเงินโดยปรับอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็น 2.5% นั้น ท่านคิดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเหตุผลอย่างไร และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าวจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
5.การขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้เทมาเสกแห่งสิงคโปร์ จะมีผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด และทำให้เม็ดเงินลงทุนประเภท FDI เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
6.การที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละลักษณะดังต่อไปนี้ ผลที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน จากการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยอาร์พี และ (3)ธนาคารกลางเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท
7.กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคภาคเอกชน C = 300 + 0.75Yd Yd = Y – T
T = 0.1Y I = 60 + 0.15 Y G = 40 X = 50 และ IM = 0.05Y จงคำนวณหา
ก.รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ข.ดุลการค้า ณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ค.การใช้จ่ายบริโภคของเอกชน ณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ง.เมื่อเพิ่มการใช้จ่ายรัฐบาลเป็น 2 เท่า รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
8.ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งกรณี (1)แข็งค่าขึ้น(appreciate) และ(2)เสื่อมค่าลง(depreciate) จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า และการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ(foreign capital flows) และนักธุรกิจจะต้องปรับตัวต่อสถานการณ์ทั้งสองอย่างไร จงอธิบาย
9. กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคคือ C = 200 + 0.9YD YD = Y – T
T = 50 + 0.07Y I = 100 G = 80 X = 40 M = 60 + 0.08Y จงหา (1)สมการการออมของบุคคล (2) ตัวทวีการลงทุน (3)ตัวทวีการนำเข้า (4)ดุลการค้า(X-M) (5)รายได้ประชาชาติดุลยภาพ และ (6)สมการเส้น IS (การคำนวณจะใช้เงื่อนไขใดก็ได้ ถ้าไม่ลงตัว ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
ข้อ 10. วัฏจักรธุรกิจ หมายถึงอะไร/ มีกี่ระยะ/ แต่ละระยะมีภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร /มีอะไรเป็นสาเหตุ /นักธุรกิจควรจะตัดสินใจอย่างไรในแต่ช่วงวัฏจักรธุรกิจ จงอธิบาย
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

BM600 ECONOMICS

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตามนิยามใหม่
หมายถึง เงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ
ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545
หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองครบร้อยละ 100
และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางเรียกเก็บจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมในวงเงินที่กำหนดจากฐานเงินฝากของส
ถาบันการเงินแต่ละแห่ง โดยการให้กู้ยืมนี้ถือว่าเป็นแหล่งกู้ยืมแหล่งสุดท้าย (lender of last resort)
เมื่อมีความจำเป็นภายในระยะเวลาสั้นๆอย่างมากไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้
เพื่อรองรับความผันผวนของความต้องการใช้เงินในตลาดเงินเป็นสำคัญ หรือ
จากการเบิกถอนเงินฝากของประชาชนในภาวะผิดปกติโดยจะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการชำระเงิน เป็นต้น
หลักประกันที่ใช้ในการกู้ยืมเงินนี้ส่วนมากจะเป็นหลักทรัพย์รัฐบาล อย่างไรก็ตาม
การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในแต่ละครั้ง
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544
และให้ใช้อัตราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน หรือ End-of day Liquidity Rate แทน
โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
อนึ่งอัคราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันนี้
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน
14 วัน) บวก ส่วนต่างร้อยละ 1.5 (Margin)
อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนในตลาดพันธบัตร (Repurchase Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท.
และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
ของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกในตลาดซื้อคืนพันธบัตรโดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการรับจ่ายเงินซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ซื้อและผู้ขาย
โดยระยะเวลาการกู้ยืมจะเป็น 1 วัน 7 วัน 14 วัน 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันนั้น ธปท.
ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณในการดำเนินนโยบายทางการเงินภายใต้กรอบ Inflation Targeting
อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ณ ตลาดลอนดอน (London Interbank Offered Rate : LIBOR)

เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินฝากระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะและชื่อเสียงดีมากซึ่งกำหนด ณ
ตลาดการเงินที่กรุงลอนดอน
อัตราดอกเบี้ยนี้ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปมักจะนำมาใช้เป็นฐานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทต่าง ๆ
โดยบวกกำไรส่วนต่าง
เข้ากับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
กรณีตลาดการเงินอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ เรียกว่า SIBOR กรุงเทพฯ เรียกว่า BIBOR
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศทุกวันศุกร์เพื่อใช้ในการอ้างอิงสำหรับการกำหนดอัตราดอกเบ
ี้ยเงินฝากของ
ธนาคารพาณิชย์ไทยในสัปดาห์ถัดไป ประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา
3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ยล่าสุดเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร
ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Lending Rate)
อัตราดอกเบี้ย MLR (Medium Lending Rate) หรือ (Minimum Loan Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
อัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย ์เรียกเก็บจาก ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
อัตราอัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail
Rate)หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
ทั้งนี้ใช้โยงเข้ากับอัตราดอกเบี้ย MLR เพื่อให้สามารถ
สะท้อนระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่ กับลูกค้ารายย่อยได้
โดยบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศ ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้น เพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่อง
ของธนาคารพาณิชย์โดยธุรกรรมอาจจะอยู่ในรูป การกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call)
หรือเป็นการกู้ยืมแบบมีกำหนดระยะเวลา (term) ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 เดือน ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่
ประมาณร้อยละ 50-70 เป็นการกู้ยืมระยะ 1 วัน (Overnight) รองลงมาเป็นการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at
call)
อนึ่งถ้าเป็นการกู้ยืมในตลาดระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันจะเรียกว่า Interfinance
และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกว่า Interfinance Rate
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น)กับ
หนึ่งหน่วยของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์ สหรัฐเท่ากับ 40บาท เป็นต้น
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆแล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate)
และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่จริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบ ใหญ่ๆ คือ

1. ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียว เช่น ฮ่องกงดอลลาร์กับดอลลาร์
สหรัฐอเมริกา หรืออาจผูกค่ากับกลุ่มสกุลที่เรียกว่าระบบตะกร้า เช่น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในอดีต
2. ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้คล้ายกับระบบ peg
แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจเคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า
ตัวอย่างของระบบนี้ได้แก่ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism (ERM) เป็นต้น
และ
3. ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง
เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งค่าของเงินจะมีความผันผวนมากกว่า 2 ระบบแรก
นิยาม GDP GNP และรายได้ประชาชาติ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
หมายถึง
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่
ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม
ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำ การผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการจัดทำทั้งตามราคาปัจจุบันและราคาคงที่โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน
คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคา
ตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น ขณะที่ GDP ณ
ราคาคงที่คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาปีที่กำหนดเป็นปีฐาน
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product : GNP)
คือมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง
โดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ
รายได้ประชาชาติ (National Incomne : NI) คือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนแรงงาน
ผลตอบแทนจากที่ดิน ทุน และ
การประกอบการโดยมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ประชาชาติดังนี้
NI = GNP - ค่าเสื่อมราคา - (ภาษีทางอ้อม - เงินอุดหนุน)
รายได้ต่อหัว (Per capita GNP) คำนวณจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติหารด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ภาคสถาบันการเงิน
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio)
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน เพื่อแสดงถึง
ความมั่นคงและการสามารถรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ
ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราส่วนดังกล่าวตามมาตรฐานของธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ
(Bank for International Settlements : BIS) โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
บริษัทเงินทุนและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5, 8, และ 7.5 ตามลำดับ
สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Asset)
หมายถึง สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือสามารถเปลี่ยนเป็น เงินสดได้ง่ายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย
กำหนดให้สินทรัพย์สภาพคล่อง ที่สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องดำรง ประกอบด้วย
1.เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
2.เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์
3.หลักทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังนี้
-หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
-พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- หุ้นกู้ พันธบัตร
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
- พันธบัตร
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
- หุ้นกู้
พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินค้ำประกันต้นเงินและ
ดอกเบี้ย
- หุ้นกู้
หรือพันธบัตรที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบหรือที่ออกโดย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-
หลักทรัพย์ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกใหม่สืบเนื่องจากโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามพระราชก
ำหนด
นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
- ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน)
และบัตรเงินฝากที่ออกโดย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56
บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
ณ วันที่ 1 เมษายน
2542ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6
ของยอดรวมเงินฝากทุกประเภทและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศไม่เกิน 1 ปี
2. บริษัทเงินทุนและบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ร้อยละ 6
ของเงินที่ได้รับจากประชาชนและเงินกู้ยืมทุกประเภท
3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ร้อยละ 5 ของเงินกู้ยืม ทั้งสิ้น
4. กิจการวิเทศธนกิจไทยและต่างประเทศ ร้อยละ 6 ของเงินกู้ยืมจาก ต่างประเทศไม่เกิน 1 ปี
บัญชีเงินฝากที่ธนาคารต่างประเทศ (Nostro Account)
เป็นบัญชีเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งธนาคารในประเทศฝากไว้กับ ธนาคารอื่นในต่างประเทศ
ส่วนมากมักจะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีธุรกิจสัมพันธ์หรือเป็นธนาคารคู่ค้า หรือเป็นธนาคารตัวแทนที่อยู่ใน
ต่างประเทศ โดยนัยนี้บางครั้งอาจเรียกว่า "บัญชีธนาคารตัวแทน" (Correspondent Account)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บัญชีของเรา" (Our Account)

บัญชีเงินฝากของธนาคารต่างประเทศ (Vostro Account)
เป็นบัญชีเงินฝากที่ธนาคารในต่างประเทศมาเปิดไว้กับธนาคารในประเทศเป็นเงินตราสกุลท้องถิ่น
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บัญชีของท่าน" (Your Account)
และใช้สำหรับการโอนชำระเงินตราต่างประเทศระหว่างกันเป็นสำคัญ
การโอนเงินโดยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic FundsTranfer)
เป็นการโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปอีกบัญชีหนึ่งระหว่างธนาคาร
หรือระหว่างสาขาโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้โอนเงินได้รวดเร็ว และ ถูกต้อง


ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)
หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่มีการผลิตสินค้าและบริการ โดยการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ
อาทิ แรงงาน ที่ดิน และทุน มาผสมผสานหรือผ่านกระบวนการผลิต ทำให้ได้สินค้าและบริการขึ้นมา
ซึ่งจะมีตลาดเป็นตัวตัดสินว่าสังคมจะผลิต อะไร โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไร ทั้งนี้ มีตลาดสำคัญ 2 ตลาด
คือ ตลาดปัจจัยการผลิต ได้แก่ ตลาดวัตถุดิบ แรงงาน ที่ดิน และทุน และตลาดผลผลิต
โดยมีผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการในการใช้ปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าและบริการ เช่น
การผลิตในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
1.เงินเฟ้อ คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ
แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค
ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ
โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ
ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์
เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค
้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ
การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก
หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
2. เงินฝืด คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน
การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี
และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing production Index )
เป็นเครื่องชี้วัดระดับการผลิตและทิศทางของภาคอุตสาหกรรม
(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ ธปท. เผยแพร่ในปัจจุบันเป็นดัชนีรายเดือนครอบคลุม 45
ประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 62.93 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมและจำแนกดัชนีเป็น 11 กลุ่มอุตสาหกรรม
ตามการจัดการหมวดหมู่ มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industry Classification :
TSIC)
(2) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์
พิจารณาคัดเลือกจากความสำคัญของมูลค่าเพิ่มรายอุตสาหกรรมต่อมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม ปี 2538
และเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดตามการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
(3) การคัดเลือกตัวอย่างโรงงาน
อาศัยกรอบจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนประกอบกิจการจากกระทรวงอุตสาหกรรมและโรงงานที่ได้รับการส่งเส
ริมการลงทุน ซึ่งกลุ่มโรงงานเป้าหมายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตในอันดับต้น ๆ
ของแต่ละอุตสาหกรรม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง
ทั้งนี้จำนวนผู้ประกอบการที่คัดเลือกนำมาใช้ในการคำนวณดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 255 ราย
อนึ่ง ธปท.
มิได้ขยายฐานผู้ประกอบการเนื่องจากมีนโยบายที่จะยกเลิกการจัดทำข้อมูลนี้และจะใช้ข้อมูลที่จัดทำโดยกระทรา
วงอุตสาหกรรมแทน เมื่อกระทรวงอุตสาหกรรมพัฒนาการจัดทำข้อมูลที่สมบูรณ์แล้ว

สำหรับการคำนวณผลผลิตภาคอุตสาหกรรมใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยใช้สูตร
Laspeyres และ
กำหนดน้ำหนักสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภทตามสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรวมตามบัญชีรา
ยได้ประชาชาติ และใชั้ปี 2538 เป็นปีฐาน
อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization)
เป็นเครื่องชี้ระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
โดยเปรียบเทียบการผลิตจริงกับกำลังการผลิตสูงสุดของ เครื่องจักร
ซึ่งสะท้อนถึงความเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของการผลิต การส่งออกและแรงกดดันต่อราคาสินค้าภายในประเทศ

อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เผยแพร่ในปัจจุบันครอบคลุม 43 ประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 44.5
ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็น 9 หมวดอุตสาหกรรม
ตามการจัดหมวดหมู่มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industry Classification : TSIC)
และได้ข้อมูลจากผู้ประกอบการ 272 ราย
อนึ่ง ธปท. มิได้ขยายฐานจำนวนผู้ประกอบการ เนื่องจากมีนโยบายที่จะยกเลิกการจัดทำข้อมูลนี้
และจะใช้ข้อมูลที่จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

สำหรับการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมใช้วิธีกำหนดน้ำหนักสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภทตามส
ัดส่วน
มูลค่าเพิ่ม ต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรวมตามบัญชีรายได้ประชาชาติ และใชั้ปี 2538 เป็นปีฐาน
ผู้มีงานทำ
ผู้มีงานทำ ได้แก่ บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้
1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร
เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น สำหรับผลงานที่ทำ
เป็นเงินสด หรือสิ่งของ หรือ
2. ไม่ได้ทำงานเลย แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง
ได้หยุดงานชั่วคราว เนื่องจากเจ็บป่วยหรือ บาดเจ็บ หยุดพักผ่อน สถานที่ทำงานปิด ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย
นอกฤดูกาลหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่นการปิดที่ทำงานชั่วคราวโดยไม่คำนึง
ว่าจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีกำหนดว่าภายใน 30 วัน
นับจากวันที่สถานที่ทำงานปิดจะได้กลับมาทำงาน ณ สถานที่ทำงานนั้นอีก หรือ
3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ
หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน
ผู้ว่างงาน
ผู้ว่างงาน ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ทำงานใด ๆ
เลยแม้แต่ 1 ชั่วโมง ไม่มีงานทำ ไม่มีธุรกิจ หรือไร่นาเกษตรของตนเองแต่พร้อมที่จะทำงาน
ซึ่งหมายถึงบุคคลต่อไปนี้
1. ผู้ซึ่งหางานทำภายใน 30 วัน นับถึงวันแจงนับ
2.ผู้ซึ่งไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย หรือไม่ได้หางานทำ
เพราะคิดว่าหางานที่เหมาะสมกับตนทำไม่ได้ รอที่จะเริ่มงานใหม่ รอฤดูกาล หรือเหตุผลอื่น ๆ
กำลังแรงงาน
กำลังแรงงาน ได้แก่ บุคคลทุกคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงานทำ
หรือว่างงาน หรือรอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่
จะทำงานและตามปกติจะทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตรหรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาลโดยมีหัวหน
้าครัวเรือนหรือ สมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ

กฎอุปสงค์และอุปทาน

กฎอุปสงค์ (Law of Demand) และกฎอุปทาน (Law of Supply) เป็นหลักการที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อหรือขาย โดยกฎอุปสงค์ระบุว่า ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือเรียกว่าปริมาณอุปสงค์ (quantity demanded) มีความสัมพันธ์ในทางลบกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะต้องการซื้อสินค้านั้นน้อยลง กฎอุปทานระบุว่า ปริมาณสินค้าที่ต้องการขาย หรือปริมาณอุปทาน (quantity supplied) มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับราคา เมื่อปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลนั้นคงที่ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะต้องการขายสินค้ามากขึ้น

กฎอุปสงค์และอุปทาน มักนำเสนอออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น โดยให้แกนตั้งเป็นราคา และแกนนอนเป็นปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์มักเขียนออกมาเป็นเส้นลาดลง และเส้นอุปทานเป็นเส้นชันขึ้น แม้ว่าโดยทั่วไปเส้นกราฟอุปทานจะมีลักษณะชันขึ้น อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่เส้นกราฟอุปทานไม่เป็นไปตามลักษณะดังกล่าว ตัวอย่างของข้อยกเว้นนี้ได้แก่ เส้นกราฟอุปทานของแรงงานที่มีลักษณะของการโน้มกลับ กล่าวคือ เมื่ออัตราค่าแรงเพิ่มขึ้น คนงานคนหนึ่งก็พร้อมจะทำงานเป็นจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น แต่เมื่ออัตราค่าแรงขึ้นถึงจุดที่สูงมากๆ คนงานอาจพบกับเลือกทำงานน้อยลงและใช้เวลาว่างมากขึ้น[4] การวกกลับของเส้นกราฟอุปทานยังปรากฏในตลาดอื่นด้วย เช่นในตลาดน้ำมัน ประเทศที่ส่งออกน้ำมันหลายประเทศลดการผลิตน้ำมันหลังจากราคาพุ่งสูงขึ้นในวิกฤตการณ์น้ำมันปีพ.ศ. 2520
ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทาน
โมเดลของอุปสงค์และอุปทาน อธิบายว่า ตลาดมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานจะเท่ากัน เรียกราคาที่ภาวะดุลยภาพว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณสินค้าที่ภาวะนี้ว่า ปริมาณดุลยภาพ หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพ

ในการแสดงด้วยแผนภูมิ ดุลยภาพคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน
การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน
กฎอุปสงค์และกฎอุปทาน อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณสินค้า เมื่อปัจจัยอื่นๆ คงที่ หากปัจจัยอื่นเกิดความเปลี่ยนแปลง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์หรืออุปทาน คือปริมาณอุปสงค์หรือปริมาณอุปทานจะมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ทุกระดับราคา แสดงในแผนภูมิในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงเส้นอุปสงค์หรืออุปทาน

ปัจจัยกำหนดอุปสงค์สำคัญที่มักกล่าวถึงได้แก่ รายได้ ราคาของสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง รสนิยม ความคาดหวัง จำนวนผู้ซื้อ ในขณะที่ปัจจัยที่กำหนดอุปทานมักกล่าวถึง ต้นทุนปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี ความคาดหวัง และจำนวนผู้ขาย

สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในหลักการของอุปสงค์และอุปทานได้แก่ความยืดหยุ่น (elasticity) ในทฤษฏีของอุปสงค์และอุปทาน ความยืดหยุ่นคือการวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานต่อปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน การศึกษาความยืดหยุ่นที่มักนำมาพิจารณาคือความยืดหยุ่นต่อราคา ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปสงค์หรืออุปทานที่มี่ต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา

เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์

เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (อังกฤษ: Keynesian Economics) คือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานจากความคิดของจอห์น เมย์เนิร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทฤษฎีนี้กล่าวว่าภาครัฐสามารถรักษาอัตราเจริญเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีบทบาทที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เกิดขึ้นจากการหาคำตอบให้กับปัญหาความล้มเหลวของตลาดเสรี ซึ่งกล่าวว่าตลาดและภาคเอกชนจะดำเนินการได้ดีกว่าหากภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซง ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ปรากฏครั้งแรกใน The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1936

ในทฤษฎีของเคนส์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคของบุคคลหรือบริษัทอาจรวมกันออกมาเป็นผลในระดับมหภาคที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคส่วนมากเชื่อในกฎของเซย์ซึ่งกล่าวว่าอุปทานสร้างอุปสงค์ ดังนั้นจะไม่มีทางเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด แต่เคนส์แย้งว่าอุปสงค์รวมอาจจะมีไม่เพียงพอในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จึงนำไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงและการสูญเสียผลผลิต นโยบายของภาครัฐสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอุปสงค์รวม ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของเคนส์นั้นเป็นผลสะท้อนจากการปัญหาการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1920 และสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1930

เคนส์เสนอวิธีการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระตุ้น (จูงใจให้ลงทุน) ผ่านการใช้สองวิธีรวมกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการอัดฉีดรายได้และส่งผลให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการผลิตและการลงทุนมากขึ้น จนทำให้เกิดรายได้และการใช้จ่ายมากขึ้น และส่งผลวนเวียนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีค่าหลายเท่าของการลงทุนครั้งแรก
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (อังกฤษ: John Maynard Keynes) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิดที่ เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ, สหราชอาณาจักร ผู้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) เคนส์ได้ทำงานที่หนังสือ อีโคโนมิคจอร์นัล เป็นที่แรก และได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์หลายฉบับ เช่น The General Theory of Employment, Interest and Money

เคนส์เป็นผู้ที่สร้างผลงาน ซึ่งพลิกวงการเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(คือ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค ในสมัยนั้น) ก็คือ การสนับสนุนให้ใช้นโยบายของรัฐ (อาทิ นโยบายการคลัง) อันจะกระตุ้นให้เกิด อุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (effective demand) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกลไกตลาด ซึ่งอาจเกิดความล้มเหลวได้

ประโยคสำคัญซึ่งท้าทายเศรษฐศาสตร์แบบเดิม คือประโยค "In the long run, we are all dead" (ในระยะยาว พวกเราก็ตายกันหมดแล้ว) ซึ่งสะท้อนเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการปรับตัวในระยะยาว

เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างยกให้เคนส์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics)

เศรษฐศาสตร์จุลภาค

เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด[1] โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร[2][3]

จุดประสงค์หนึ่งของเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือการวิเคราะห์กลไกตลาดซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาเปรียบเทียบระหว่างสินค้าและบริการ และการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในทางเลือกต่าง ๆ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับความล้มเหลวของตลาด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กลไกตลาดไม่สามารถทำให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพได้ และยังอธิบายเกี่ยวกับข้อแม้ทางทฤษฎีที่จำเป็นต่อการเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ สาขาที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์จุลภาค เช่นดุลยภาพทั่วไป ตลาดภายใต้ความไม่สมมาตรของข้อมูล การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมในทางเศรษฐศาสตร์

สมมติฐานและนิยาม
ในทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมักตั้งสมมติฐานไว้ว่าตลาดเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการที่มีผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมากมาย และไม่มีใครสามารถส่งผลให้ราคาของสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงได้ (แต่ในโลกความเป็นจริง สมมติฐานนี้มักไม่เป็นจริงเพราะผู้ซื้อหรือผู้ขายบางคนหรือบางกลุ่มมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงราคาได้) ในการวิเคราห์ที่ซับซ้อนบางครั้งต้องกำหนดสมการอุปสงค์-อุปทานของสินค้า แต่อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ใช้อธิบายได้ดีในสถานการณ์ที่ไม่ยุ่งยากเกินไปนัก

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์และอุปทานเป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณในท้องตลาด กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุลแล้ว
ระดับราคา
ระดับราคาเป็นตัวแปรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน ระดับราคานั้นเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาด ดังนั้นทฤษฎีราคาจะกล่าวถึงเส้นกราฟที่แทนการเคลื่อนไหวของปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ ณ เวลาต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างราคากับตัวแปรที่วัดค่าได้อื่นๆ ในหนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ของ อดัม สมิธ ได้กล่าวเอาไว้ว่ามักจะมีภาวะได้อย่างเสียอย่างเสมอระหว่างราคาและความสะดวกสบาย ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นอยู่บนพื้นฐานของระดับราคาและทฤษฎี อุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แล้วเราสามารถส่งผ่านสัญญาณไปทั่วทั้งสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านทางระดับราคา เช่น ระดับราคาที่ต่ำลงจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ ในขณะที่ระดับราคาที่สูงขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอุปทาน เป็นต้น

แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ในความเป็นจริงหลายชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบของ ระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะแสดงถึงข้อเท็จจริงที่ระดับราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในหลายๆ ตลาด ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมักจะเข้ามาแสดงประเด็นโต้แย้งเพื่อให้เห็นถึงสาเหตุของความติดขัดในทางเศรษฐกิจ หรือระดับราคาที่ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งในที่สุดแล้วก็จะทำให้ไม่สามารถบรรลุดุลยภาพของอุปสงค์และอุปทานได้

มีเศรษฐศาสตร์บางสาขาจะให้ความสนใจว่าระดับราคานั้นสามารถวัดมูลค่าได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เป็นกระแสหลักมักจะพบว่าภาวะความขาดแคลนซึ่งเป็นปัจจัยหลักนั้นไม่ได้สะท้อนลงไปยังระดับราคา จึงอาจจะกล่าวได้ว่ามี ผลกระทบภายนอก ของต้นทุน ด้วยเหตุที่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดจะทำนายว่าสินค้าที่มีการขาดแคลนแต่มีราคาต่ำกว่าปกติ จะถูกบริโภคมากเกินพอดี (ให้ดู ต้นทุนทางสังคม) นี่จึงเป็นที่มาของทฤษฎี สินค้าสาธารณะ

คำว่า เศรษฐศาสตร์

คำว่า เศรษฐศาสตร์ ในภาษาอังกฤษ Economics มาจากภาษากรีก οίκος [ออยคอส] แปลว่า 'ครัวเรือน' และ νομος [นอมอส] แปลว่า 'กฎระเบียบ' ดังนั้นรวมกันแล้วจึงหมายความว่า "การจัดการในครัวเรือน" ; สำหรับภาษาไทย [เศรษฐ] แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ และ [ศาสตร์] แปลว่า ระบบวิชาความรู้ มักใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงแปลว่าวิชาที่ว่าด้วยประสิทธิภาพ
นิยามของเศรษฐศาสตร์
ถ้าจะให้พูดกันอย่างกว้างๆ แล้ว เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการในเรื่องของความต้องการ อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากคำนิยามดังกล่าวแล้วก็ยังมีคำนิยามหลากหลายนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง เริ่มจากศัพท์คำว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง จนมาถึงศัพท์สมัยใหม่คือคำว่าเศรษฐศาสตร์ แม้ว่าจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยให้คำนิยามเศรษฐศาสตร์ในฐานะที่เป็น "ศาสตร์เกี่ยวกับการคิด" ซึ่งตามประวัติของเศรษฐศาสตร์นั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับ "ความมั่งคั่ง" จนกระทั่งเป็น "สวัสดิการ" ไปจนถึงการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะการได้อย่างเสียอย่าง (trade offs) แต่สำหรับสำนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิคใหม่อย่างนีโอคลาสสิคจะให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้ และผลกระทบของมันกับระดับราคา

หากจะกล่าวโดยสรุป สามารถกล่าวได้ว่า เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ให้กับมนุษย์ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่จำกัด ศาสตร์นี้จึงให้ความสนใจว่าจะจัดสรรทรัพยากรอะไร (What) อย่างไร (How) และเพื่อใคร (For Whom) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์
แม้การถกเถียงเรื่องการซื้อขายและการจัดสรรจะมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เศรษฐศาสตร์ในความคิดของคนสมัยใหม่นั้นจะถือเอาวันที่ อดัม สมิธ ได้เผยแพร่หนังสือเรื่อง "ความมั่งคั่งของประชาชาติ" (The Wealth of Nations) ในปี ค.ศ. 1776 เป็นการเริ่มต้น

เดิม อดัม สมิธ เรียกวิชานี้ว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง แต่ต่อมาได้ถูกใช้เป็น เศรษฐศาสตร์ เพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 กลไกการตลาดเปรียบเสมือน "มือที่มองไม่เห็น" (Invisible Hand)

เศรษฐศาสตร์ (Economics)

เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภค การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ

วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน(เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกแบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจกิจกรรมของตัวแทนปัจเจก เช่นครัวเรือนและหน่วยธุรกิจเป็นต้น 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานรวมและอุปสงค์รวม สำหรับปริมาณเงิน ทุน และสินค้าโภคภัณฑ์

สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง

ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิคใหม่ (Neo - Classical Economics)