Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

นโยบายการคลัง


นโยบายการคลัง คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้รายได้และรายจ่ายของรัฐเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทางเป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจวัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง
- ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรของระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
- เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
- รักษาเสถียรภาพทางเ
ครื่องมือของนโยบายการคลัง
- งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล เช่น รายจ่ายในการลงทุน รายจ่ายในการบริโภค
- งบประมาณรายรับของรัฐบาล เช่น รายได้จากจากรัฐพาณิชย์ รายได้จากภาษีอากร รายได้จากการขายหลักทรัพย์
- หนี้สาธารณะ
ประเภทของนโยบายการคลัง
1.นโยบายการคลังจำแนกตามลักษณะการทำงาน คือ นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ
และนโยบายการคลังแบบตั้งใจ
2.นโยบายการคลังจำแนกตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไข คือ นโยบายการคลังแบบขยายตัวและนโยบายการคลังแบบหดตัว
นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ
(1) ภาษีเงินได้
(2) เงินโอนและเงินช่วยเหลือ
นโยบายการคลังแบบตั้งใจ
(1) การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
(2) การเปลี่ยนแปลงระดับงบประมาณรายจ่าย
(3) เปลี่ยนแปลงทั้งงบประมาณรายจ่ายและอัตราภาษี
นโยบายการคลังของไทย
(1) ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(2) การรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
(3) การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค


เนื้อหาในวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค ประกอบด้วย
1. ทฤษฏีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
3. ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ
4. การใช้เครื่องมือเชิงนโยบาย เช่น นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง นโยบายรายได้
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงอะไร
หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างและปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับชาติ รวมถึงบรรดานโยบายของรัฐที่ถูกใช้ไป เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ
หมายถึง ศาสตร์และวิชาการที่ว่าด้วยเรื่องราวหรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับส่วนรวมของประเทศในภูมิภาค จนถึงระดับโลก
ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค
1. ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่ ดูได้จาก Growth rate ของ GDP เทียบจากปีที่แล้ว เช่น ปีที่แล้ว GDP 105% ปีนี้ GDP 110% แสดงว่า GDP เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว
GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หมายถึง มูลค่า (ราคาxจำนวน) ของสินค้าและบริการทุกชนิดที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ในแต่ละรอบระยะเวลา โดยแบ่งรอบระยะเวลาเป็น รอบเล็กคือรายไตรมาส รอบใหญ่คือรายปี
GDP โตขึ้น ===>> ประเทศผลิตสินค้าได้มากขึ้น ===>> ประชากรก็มีกินมีใช้มากขึ้น

ถาม จำเป็นหรือไม่ที่ GDP ต้องโตขึ้น เพิ่มขึ้น
ตอบ ประเทศไทยมีประชากรในปี 2549 จำนวน 65 ล้านคน ถ้าในปี 2550 มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 70 ล้านคน แต่ GDP เท่าเดิม นั่นหมายความว่า ประชากรมีกินมีใช้น้อยลง
ปีนี้ GDP เพิ่มขึ้น 2% และ ประชากรก็เพิ่มขึ้น 2% แสดงว่า ประชากรมีกินมีใช้เท่าเดิม
ปีนี้ GDP เพิ่มขึ้น 2% และ ประชากรก็เพิ่มขึ้น 2% แต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3% แสดงว่า ประชากรจนล
ถาม ถ้า GDP โตมากๆ แสดงว่าสังคมจะต้องอยู่ดีมีสุขใช่หรือไม่
ตอบ GDP โตขึ้น แต่รายได้ที่เยอะๆ ไปรวมกันอยู่ที่ประชากรจำนวน 10 ล้านคน ประชากรที่เหลือ 55 ล้านคนก็ยากจนเหมือนเดิม เรียกว่า การกระจายรายได้ไม่ดี
ถ้า GDP โตขึ้น จากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย หรือ จากการกู้ยืมเงิน ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหน้า
เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีดุลยภาพ แปลว่า เศรษฐกิจเติบโตอย่างไม่มีปัญหาใดๆ ตามมา มีการเฉลี่ยผลประโยชน์กระจายอย่างเที่ยงธรรมทั่วถึงพอสมควรและไม่เติบโตอย่างล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ เช่น อยากให้เศรษฐกิจโตมากๆ ก็ตัดไม้ไปขาย จับปลาขายจนหมด การเติบโตต้องสมดุลกันระหว่างปัจจุบันและในอนาคตนี้ด้วย และการเติบโตต้องไม่สร้างปัญหาในภาคต่างประเทศ เช่น ไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมา
2. ปัญหาวัฎจักรเศรษฐกิจ
คือ ความผันแปร ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ มีภาระเจริญรุ่งเรือง ถดถอย ตกต่ำ ฟื้นตัว อยู่
ปัญหาการว่างงาน
ทุกๆ คนมี 2 สถานะในเวลาเดียวกัน คือ
1. เป็น INPUT แรงงานถือเป็นปัจจัยในการผลิตที่ทำผลผลิตให้กับประเทศ
ปัจจัยในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ที่ดิน (รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในอากาศ) แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ
2. เป็น OUTPUT ทุกคนจำเป็นต้องกินต้องใช้
ดังนั้น ถ้าคนตกงาน ก็ถือว่า ไม่มี INPUT มีแต่ OUTPUT
ปัญหาการว่างงาน จึงถือเป็นปัญหาของประเทศในแง่ที่ว่า ประเทศจะสูญเสียสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ประเทศสูญเสียโอกาสในการเจริญงอกงาม ในการพัฒนา ถ้ามีคนตกงานมากๆ ปัญหาทางเศรษฐกิจจะลุกลามไปเป็นปัญหาสังคม จนถึงปัญหาการเมือง
4. ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
เสถียรภาพ หมายถึง ไม่นิ่ง
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง สภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่แพงขึ้นเรื่อยๆ
ถาม ตัวเลขที่บอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ ดูจากไหน
ตอบ ดูจาก ดัชนีราคา (Price Index) จาก กระทรวงพาณิชย์ คำนวณมาจากราคาสินค้าหลายร้อยชนิด
ถาม เงินเฟ้อไม่ดียังไง
ตอบ เพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ผลของเงินเฟ้อทำให้ความมั่งคั่งของประชาชาติลดลง (จำนวนเงินที่ประชากรมีอยู่ทั้งหมด ซื้อของได้น้อยลง) เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจลดน้องลง ส่งผลให้หน่วยผลิตทั้งหลายลดการผลิตลง เมื่อหน่วยผลิตลดการผลิตลง ก็ต้องลดแรงงานลงเช่นกัน เงินเฟ้อยังกระทบต่อภาคต่างประเทศด้วย ทำให้ส่งออกได้น้อยลง ต้องลดการผลิตลง ค่า GDP ก็ลดลง
5. ปัญหาผลกระทบจากกระแสระบบโลกาภิวัตน์ (เช่น การเปิดการเงินเสรี การเปิดการค้าเสรี)
ตัวอย่าง IMF ต้องการให้ประเทศสมาชิกเปิดการเงินเสรีให้เงินไหลเข้า-ออกได้อย่างเต็มที่ แต่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้สิทธิ์ขอยกเว้นได้ เพื่อไม่ให้เงินไหลออกนอกประเทศจนหมด เมื่อปี 2533 ประเทศไทยเปิดการเงินเสรีอย่างเป็นทางการ ตามกระแสของโลกาภิวัตน์ ทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้ามากมาย จนไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร ก็นำไปลงทุนในที่ดิน ปั่นราคาที่ดินจนราคาขึ้นทั่วทั้งประเทศ หุ้นก็ขึ้นก็เช่นกัน ในปี 2540 ถึงเวลาคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่สามารถชำระเงินได้ เกิดปัญหาจนต้องปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว
โลกาภิวัตน์ ด้านการเปิดการค้าเสรี ภายใต้ WTO=World Trade Organization แบ่งเป็น
1. กระแสการค้าเสรีระดับ GLOBAL
2. กระแสการจับคู่ระหว่างสองประเทศ (FTA) เช่น FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
การเปิด FTA มีทั้งคนได้ประโยชน์และคนเสียผลประโยชน์ เช่น เปิดกับจีน คนที่ปลูกหอมกระเทียมในภาคเหนือเจ๊ง แต่คนที่ปลูกยางในภาคใต้รวย ปัจจุบันกำลังเกิด Globalize ทางด้าน Technology
6. ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
มาตรฐานการดำรงชีพ หมายถึง การกินดีอยู่ดี ครอบคลุมถึงความรู้การศึกษา
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ก่อให้เกิด Productive ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน
2. เป็นผู้ประสานงาน ได้แก่ ผู้ประกอบการ
หน้าที่ของคนอีกหน้าที่หนึ่งคือ INPUT ปัจจัยการผลิต ที่เรียกว่า แรงงาน
การที่จะผลิตได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับที่ดิน แรงงาน ทุน
ที่ดินและทุน จะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของคน ก็คือ แรงงาน
7. ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และดุลการค้า
ดุลงบประมาณ หมายถึง รายรับ รายจ่ายประจำปีของรัฐบาลในแต่ละประเทศ
รายรับ-รายจ่ายเป็นได้ทั้งเกินดุล ขาดดุล สมดุล ซึ่งการขาดดุลการค้า ส่งผลให้เงินดอลลาร์ (เงินสกุลหลัก) ไหลออกนอกประเทศ ส่งผลต่อราคาการซื้อน้ำมัน
8. ปัญหาว่านโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชาติให้ดีขึ้นได้หรือไม่
ความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับความเฮง เช่น ประเทศตั้งอยู่บนบ่อน้ำมัน ฯลฯ บวกกับ ความเก่งของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกทาง
ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค นอกจากที่กล่าวมาแล้ว 8 ข้อยังมีอีกมากมาย เช่น ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินแข็งอ่อน ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูงต่ำ ฯลฯ
จุดประสงค์การเรียน ท่านสามารถมองออกว่าประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจมหภาคอะไรบ้าง แล้วต้นตอเกิดจากอะไร และน่าจะมีทางออกตรงไหน
1. เรื่องของเศรษฐกิจในประเทศ คือราคาน้ำมัน สินค้าแพงขึ้น - อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ
2. ปัญหาแรงงานเพิ่มมากขึ้น เช่น จำนวนบัณฑิตใหม่มีเพิ่มมากขึ้น และการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าว
3. ภัยที่เกิดจาก ซินามิ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
4. ปัญหาเรื่องคู่แข่งทางการค้าของไทย และการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
5. ปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ของไทย
6. ปัญหาภัยแล้ง ทำให้มีผลกระทบต่อผลผลิตพืชผลทางการเกษตรลดลง
7. ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
8. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น
9. ปัญหายาเสพติด
10. ปัญหาจราจร
11. ปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ