Custom Search
วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

Economic indicator

ภาวะเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ สามารถสังเกตุจากปัจัยต่างๆได้ดังนี้

1. สภาวะทางการเมือง ความมั่นคงทางการเมืองสามารถบ่งชี้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจถ้าเสถียรภาพทางการเมืองมีความมั่นคงมาก นโยบายการเงินและการคลังมีความชัดเจน นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยก็มากขึ้น การสร้างงานและการจ้างแรงงานก็เพิ่มขึ้นทำให้เศรษฐกิจในอนาคตดีขึ้นราคาหลักทรัพย์ก็ดีขึ้น

2. อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับระดับราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้ผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนดีขึ้นและจูงใจให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนในบริษัทจดทะเบียนนั้นมากขึ้น

3. อัตราดอกเบี้ย เป็นปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะเศรษฐกิจโดยตรง โดยส่วนใหญ่ อัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับภาวะตลาดหลักทรัพย์และการลงทุน ไม่ทุกหมวดอุตสาหกรรม อุตตสาหกรรมที่ได้ผลกระทบ จะเป็นอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และ กลุ่มบันเทิง รวมทั้งหลักทรัพย์ที่ประกอบ ธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือย เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดเงินสูงขึ้นในขณะ ที่ความเสี่ยงในการถือเงินเพื่อเก็งกำไร มีน้อยกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบต่อการไหลเข้าออกของเงินทุนจากต่างประเทศอีกด้วย

4. ราคาน้ำมันในตลาดโลก ราคาน้ำมันมีผลกระทบในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาหลักทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ แต่ส่งผลดีในหุ้นกลุ่มพลังงาน เนื่องจาก หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน มีขนาดของตลาดใหญ่ที่สุด และมีการกระจุกตัวในกลุ่มนี้มาก จึงทำให้ราคาน้ำมันมีผลกระทบไปในทิศทางเดียวกันกับราคาดัชนีหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อและอัตตราดอกเบี้ย

5. อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ตราระหว่างประเทศจะมีผลเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศและอุตสาหกรรมที่ส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ตาม อัตราแลกเปลี่ยน ยังมีผลกระทบ กับกระแสเงินลงทุนระยะสั้น ที่เข้ามาเพื่อเก็งกำไร ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้น ทำให้มีความไม่แน่นอนและมีความผันผวนสูงขึ้น

6. อัตราเงินเฟ้อ จากความเข้าใจทั่วไป เงินเฟ้อเกิดเมื่อราคาของสินค้าต่าง ๆ มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนี้ไม่จำเป็นที่ว่า สินค้าทุกตัวต้องมีราคาสูงขึ้นเหมือนกันหมด อาจเป็นได้ที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่อีกบางชนิดมีราคาลดลง แต่สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ราคารวมทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น

อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อ จากความเข้าใจทั่วไป เงินเฟ้อเกิดเมื่อราคาของสินค้าต่าง ๆ มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนี้ไม่จำเป็นที่ว่า สินค้าทุกตัวต้องมีราคาสูงขึ้นเหมือนกันหมด อาจเป็นได้ที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่อีกบางชนิดมีราคาลดลง แต่สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ราคารวมทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น

สิ่งที่วัดความเปลี่ยนแปลงของระดับราคา คือ ดัชนีราคา (Price Index) และมีปัจจัยที่จะชี้ให้เราทราบว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คือ เวลา ในการเกิดเงินเฟ้อเราไม่สามารถที่จะวัดได้ว่าต้องเกิดขึ้นนานเป็นระยะเวลาเท่าใด หรืออัตราของราคาสินค้าต้องสูงขึ้นเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยทั่วไปจะถือว่าระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเร็วเพียงใดถือว่าเกิดเงินเฟ้อ

จากความหมายของเงินเฟ้อข้างต้น ไม่จำเป็นว่าการเกิดเงินเฟ้อต้องเกิดในลักษณะนี้เสมอไป จะมีเงินเฟ้ออยู่อีกประเภทหนึ่งที่ไม่ปรากฎการขึ้นลงของราคา เนื่องจากราคาสินค้าถูกมาตรการบางอย่างตรึงราคาไว้ เช่น การปันส่วน การควบคุมราคา ฯลฯ และจะเกิดขึ้นบ่อยในยามที่เกิดการขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรง หรือเวลาเกิดสงคราม เงินเฟ้อชนิดนี้เรียกว่า เงินเฟ้อที่ถูกกดดัน (Suppressed Inflation)
ความรุนแรงของเงินเฟ้อมี 2 ประเภท ดังนี้

1.) เงินเฟ้ออย่างอ่อน (Creeping or Gradual or Mild Inflation) เงินเฟ้อประเภทนี้ จะสามารถสังเกตได้ว่าระดับราคาของสินค้าจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ก็เป็นอันตรายและสามารถสร้างปัญหาให้กับประเทศอุตสาหกรรมได้เช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์มองว่า เงินเฟ้อประเภทนี้ อาจให้ประโยชน์แก่เศรษฐกิจในด้านของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาจะช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชากร , อัตราการลงทุนสูงขึ้น ดังนั้นรายได้จะสูงขึ้น แต่ถ้ากลับมองในอีกแง่หนึ่งถ้าเรากำจัดเงินเฟ้อประเภทนี้ อาจก่อให้เกิดการว่างงานมากขึ้น

2.) เงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyperinflation) เงินเฟ้อประเภทนี้จะสามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น เมื่อซื้อสินค้าในวันหนึ่ง ๆ จะได้ราคาที่แตกต่างกันในแต่ละช่วง คือ เช้าราคาหนึ่ง สายก็อีกราคาหนึ่งแต่พอตกเย็นก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ก่อให้เกิดการทำลายระบบเศรษฐกิจอย่างมาก มันจะทำให้หน้าที่ของเงินหมดไป การแลกเปลี่ยนจะกลับมาสู่สิ่งของแลกสิ่งของแทน ประเทศที่ประสบปัญหานี้ คือ เยอรมันและอินโดนีเซีย

ลักษณะของเงินเฟ้อ

1.) ดีมานด์เกิน (Demand Pull Inflation) เงินเฟ้อเพราะดีมานด์เกิน ทฤษฎีเงินเฟ้อดั้งเดิมอธิบายสาเหตุของเงินเฟ้อว่า เกิดจากการที่ดีมานด์มวลรวมมีมากกว่าซัพพลายมวลรวม ณ ระดับราคาสินค้าที่เป็นอยู่ขณะนั้น ผลทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าเราเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ไม่ให้ระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้นตาม นั่นคือ ผลผลิตจะสามารถเพิ่มขึ้นโดยต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยยังคงเดิม ดังนั้น การที่ดีมานด์มวลรวมเพิ่มขึ้นในขณะที่การผลิตขณะนั้นอยู่ไกลการมีงานทำเต็มที่ เงินเฟ้อจะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าดีมานด์มวลรวมเพิ่มในขณะที่การผลิตอยู่ ณ ระดับการมีงานทำเต็มที่ ทำให้ราคาเพิ่มโดยที่ผลผลิตไม่เพิ่มตาม เคนส์เรียกเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่แล้วว่า “เงินเฟ้อแท้จริง” (True Inflation)
2.) ต้นทุนเพิ่ม (Cost – Push Inflation) มีสาเหตุมาจากด้านซัพพลาย เมื่อต้นทุนเพิ่ม จะทำให้ซัพพลายลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าดีมานด์มีค่าคงที่ ผลผลิตจะลดลง แบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 เงินเฟ้อเพราะค่าจ้างเพิ่ม (Wage – Pash Inflation) เกิดจากการขึ้นสูงของค่าจ้าง โดยดีมานด์ของแรงงานมิได้มีมากกว่าซัพพลายของแรงงานขณะนั้น ซึ่งเป็นไปได้ แต่ในทางเศรษฐกิจที่ทั้งตลาดแรงงานและตลาดผลผลิตมีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่านั้น เพราะโดยปกติแล้วตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ การขึ้นค่าจ้างและราคาสินค้าจะเป็นไปโดยกลไกของตลาดอย่างเดียวเท่านั้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อในลักษณะนี้ค่อนข้างยาก มาตรการที่ได้ผล ควรจะเป็นมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมค่าจ้างโดยตรง ในยามที่เกิดภาวะการณ์เช่นนี้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกเอาระหว่างการที่จะให้ระดับราคาสินค้ามีเสถียรภาพ แต่ทำให้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น หรือการว่างงานน้อยลงแต่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น

2.2 เงินเฟ้อเพราะกำไรเพิ่ม (Prafit – Push Inflation) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางด้านซัพพลายหรือต้นทุนการผลิต เนื่องจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตลาดที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Perfect Market) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของราคาสินค้าหรือค่าจ้างจะเป็นไปโดยกลไกตลาด เพราะฉะนั้นปัญหาภาวะการณ์เช่นนี้เกิดเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่านั้น คือ ผู้ผลิตมีอำนาจที่จะกำหนดราคาสินค้าได้เอง

3.) เงินเฟ้อเพราะสาเหตุอื่น ๆ

3.1 โครงสร้างดีมานด์เปลี่ยนแปลง (ฺBottleneck or Structural Inflation) เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้น การบริโภคและโครงสร้างจะมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว แต่โครงสร้างการผลิตยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จึงทำให้เกิดดีมานด์ส่วนเกิน (ฺExcess Demand) ราคาสินค้าสูงขึ้น และทำให้สินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อประเภทนี้ไม่สามารถใช้การแก้ไขได้แบบเดียวกับ Demand Pull Inflation เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ปัญหาเงินเฟ้อลดลงแล้วจะยังคงก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานด้วย

3.2- เงินเฟ้อที่เกิดจากการติดต่อระหว่างประเทศ (ฺInternational Transmission of Inflation)

3.2.1) ผ่านทางสินค้าออก คือ เมื่อตลาดต่างประเทศมีความต้องการที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่จะส่งออกของไทยจึงสูงขึ้น ทำให้ความต้องการที่จะขายสินค้าภายในประเทศลดต่ำลง นั่นคือ ดีมานด์ที่ต้องการส่งออกมีมากทำให้ซัพพลายที่เหลืออยู่ในประเทศลดลง เช่น ราคาน้ำตาลทราย

3.2.2) ผ่านทางสินค้าเข้า เช่น ไทยสั่งซื้อเป็นสินค้านำเข้า เมื่อน้ำมันของตลาดโลกสูงขึ้น ราคาผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ที่ใช้น้ำมันเหล่านี้เป็นส่วนประกอบก็จะพลอยสูงขึ้นตาม

แนวทางการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ

รัฐบาลใช้มาตรการทางการเงิน โดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย แต่การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในกรณีเงินเฟ้อผ่านทางสินค้าเข้าเช่น ราคาน้ำมัน การขึ้นอัตราดอกเบี้ย เป็นการซ้ำเติมผู้ผลิตเพราะมีต้นทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในภายหลังมีนักเศรษฐศาสตร์บางสำนัก ใช้มาตรการกระตุ้นการบริโภคแทน
การที่ผู้บริโภคจะมีอุปสงค์ต่อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับราคาสินค้าชนิดนั้น ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง(ทดแทนกันหรือใช้ร่วมกัน) รสนิยมของผู้บริโภค รายได้ของผู้บริโภค กาคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต ฯลฯ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
Dx = F(Px,Y,T,Py,……W)
Dx = คืออุปสงค์ของสินค้าX ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ
Px =ราคาสินค้าX
Y = รายได้ของผู้ซื้อ
T = รสนิยม
Py = ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
W = ดินฟ้าอากาศ
ประเภทของอุปสงค์
เราอาจแยกอุปสงค์เป็น3 ชนิด ตามปัจจัยที่กาหนดอุปสงค์นั้นได้แก่
1.อุปสงค์ต่อราคา(Price Demand)
2.อุปสงค์ต่อรายได้(Income Demand)
3.อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น(Cross Demand)
1. อุปสงค์ต่อราคา(Price Demand)
ปริมาณการเสนอซื้อสินค้านั้นถูกกาหนดโดยราคาสินค้านั้นเอง (โดยให้ปัจจัยอื่นคงที่) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ไปในทางตรงกันข้ามกันคือ Px Qx (ถ้าราคาสินค้า X สูงขึ้น ปริมาณซื้อสินค้า X จะลดลง) หรือราคาต่าลงปริมาณซื้อจะมากขึ้น ซึ่งก็คือกฎของอุปสงค์ และเมื่อนามาลากเส้น Demand จะมีslope เป็นลบ ทอดลงจากซ้ายไปขวา
2.อุปสงค์ต่อรายได้(Income Demand) หมายถึง ปริมาณซื้อสินค้าจะมากหรือน้อยนั้นอยู่กับ
รายได้ของผู้ซื้อนั้น(โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) และยังขึ้นกับชนิดของสินค้านั้นด้วย ซึ่งได้แก่
ก. สินค้าปกติ(normal goods) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้จะเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน กล่าวคือ ถ้ารายได้มากขึ้นก็จะซื้อสินค้ามากขึ้น เส้นอุปสงค์ต่อรายได้กรณีสินค้าปกติจึงลาดลง
จากซ้ายขึ้นไปขวาหรือมีความลาดชันเป็นบวก

สินค้าด้อย(inferior goods) หมายถึง สินค้าที่ปริมาณซื้อจะลงต่าลง เมื่อผู้บริโภคสูงขึ้น
ดังนั้นเส้นอุปสงค์ต่อรายได้กรณีสินค้าด้อยจะเป็นเส้นที่ลาดจากซ้ายลงมาขวา
3.อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น(Cross Demand) หรือ อุปสงค์ไขว้ เป็นการศึกษาปริมาณซื้อ
สินค้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง (โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) สินค้าอื่นที่
เกี่ยวข้องนั้นพิจารณาได้เป็น2 กรณี
ก. สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary goods) เช่น ไม้กอล์ฟกับลูกกอล์ฟ กล้องถ่ายรูป
กับฟิลม์ รถยนต์กับนามัน จะเห็นได้ว่า ถ้ารถยนต์ถูกลงคนจะใช้รถยนต์มากขึ้นทาให้การใช้นามัน
เพิ่มขึ้น นั่นก็คือกรณีสินค้าที่ใช้ประกอบกัน ปริมาณเสนอซื้อสินค้าชนิดหนึ่งกับราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
จะมีทิศทางไปในทางตรงกันข้ามข.สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน(Substitute goods ) เช่น ชากับกาแฟ, น้าหมูกับน้ามันพืช จะเห็นได้
ว่า ถ้าน้ามันหมูแพงขึ้นคนจะหันไปใช้นามันพืชแทนมากขึ้น นั่นก็คือ กรณีสินค้าที่ใช้ทดแทนกันปริมาณ
เสนอซื้อสินค้าหนิดหนึ่งกับราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะมีทิศทางไปในทางเดียวกัน

อุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply)

กลไกเป็นหลักสาคัญในการควบคุมระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังนั้นการศึกษาเรื่องอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นสิ่งกาหนดการทางานของราคาสินค้าจึงเป็นสิ่งควรศึกษาก่อน
อุปสงค์ (Demand)
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความปรารถนาและเต็มใจที่จะซื้อสินค้าโดยมีความสามารถจะซื้อได้ด้วย
ตัวกำหนดอุปสงค์(Demand determinants) หมายถึงตัวแปรหรือ ปัจจัยต่างๆซึ่งมีอิทธิพลต่อจานวนสินค้าที่ผู้บริโภคปรารถนาที่จะซื้อ ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อปริมาณซื้อมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรฒของผู้บริโภคแต่ละคนและกาลเวลา ปัจจัยเหล่านี้มีหลายอย่าง ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงของปริมาณเสนอซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค การศึกษาปัจจัยที่กาหนดอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่สามารถอธิบายได้ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกว่า ตัวแปรภายใน (Endogeneous Variable) ประกอบด้วย 1. ปริมาณซื้อขึ้นอยู่กับราคาของสินค้านั้น ตามปกติเมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณซื้อจะมีน้อย แต่ถ้าราคาสินค้าลดต่าลง ปริมาณซื้อจะมีมาก โดยทั่วไปปริมาณเสนอซื้อจะมากหรือน้อย ผู้บริโภคจะพิจารณาราคาสินค้าโดยตรง กล่าวคือ ถ้าราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณ เช่น ถ้ารถยน์มีราคาสูงขึ้น ลูกค้าจะลดปริมาณการซื้อรถน้อยลง
2. รายได้ของผู้บริโภค (รายได้สุทธิส่วนบุคคล) ถ้าพิจารณาทางด้านรายได้แล้ว สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอซื้อสินค้ากับรายได้ของผู้บริโภค การทดแทนกันของสินค้า สินค้าที่ทดแทนกันได้ค่าความยืดหยุ่นของสินค้าจะมาก ถ้าสินค้าไม่สามารถทดแทนโดยสินค้าอื่นได้ ค่าความยืดหยุ่นของสินค้าต่อราคาจะน้อย มีรายได้สูงขึ้น ก็จะหันมาบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพหรือสินค้าปกติมากขึ้น และลดการบริโภคสินค้าด้อยคุณภาพลง
3. ราคาสินค้าเปรียบเทียบกับรายได้ของผู้บริโภค สินค้าที่ราคาต่าเมื่อเทียบกับรายได้ผู้บริโภคจะมีค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ของสินค้าจะน้อย ถ้าสินค้ามีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ ค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ของสินค้าจะมาก รสนิยมของผู้บริโภค ปริมาณซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ อาจจะขึ้นอยู่กับความนิยม หรือความชอบในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น เสื้อผ้าตามแฟชั่น เทปเพลง แต่สินค้าบางประเภทผู้บริโภคก็ยังมีความนิยมที่ยาวนาน เช่น รถยนต์ น้าอัดลม เป็นต้น
4. ความทนทานของสินค้า สินค้าที่ทนทาน และซ่อมแซมได้ ค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ของสินค้าจะน้อย และถ้าสินค้าบุบสลาย พังง่าย ค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์ของสินค้า จานวนประชากร เมื่อประชากรมีจานวนเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้น แต่ทั้งนี้จานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะต้องมีอานาจซื้อเพิ่มขึ้น จึงจะทาให้ซื้อสินค้าและบริการนั้นเพิ่มขึ้น
5. ฤดูกาล ความต้องการซื้อสินค้าและบริการบางชนิดขึ้นอยู่กับฤดูกาล หรือขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ เช่น ในฤดูฝน ผู้บริโภคต้องการซื้อเสื้อกันฝนมากขึ้น ทาให้ในฤดูฝน ปริมาณเสนอซื้อเสื้อกันฝนเพิ่มขึ้น หรือในฤดูร้อน ผู้บริโภคต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณซื้อเครื่องปรับอากาศสูงขึ้น ระยะเวลา ความยืดหยุ่นอุปสงค์ของสินค้าขึ้นกับเวลา ถ้าผู้บริโภคมีเวลาตัดสินใจนาน โอกาสการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อสินค้าจะมากขึ้น ความยืดหยุ่นอุปสงค์สินค้าจะมากขึ้น
6.ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ต้องการซื้อ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะซื้อสินค้าและบริการหลายชนิดในครั้งเดียวกัน ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์จะแบ่งชนิดของสินค้าที่มีความสัมพันธ์กัน
7. การกระจายรายได้ เมื่อรายได้ส่วนใหญ่ ไปตกอยู่กับผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่ จะทาให้ปริมาณซื้อสินค้าจะมากขึ้น แต่ถ้ารายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้บริโภคโดยส่วนน้อย จะทาให้ปริมาณเสนอซื้อสินค้าลดลง

Demand > Supply

เวลาบริษัททำธุรกิจแล้วต้องการจะเพิ่มกำไร บริษัทควรจะขึ้นราคาหรือลดราคา ควรผลิตให้มากขึ้นหรือน้อยลง คำตอบของคำถามเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับตลาดที่บริษัทนั้นๆดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น

เมื่อสินค้ามีความขาดแคลน ( Demand > Supply ) ราคาของสินค้าก็จะสูงขึ้น ซึ่งจะดึงดูดให้ผู้ผลิตทำการผลิตมากขึ้น และผู้บริโภคก็จะอยากซื้อของน้อยลง จนในที่สุดภาวะขาดแคลนก็จะหายไป

เมื่อสินค้านั้นล้นตลาด (Supply > Demand) ราคาของสินค้าก็จะลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตทำการผลิตน้อยลง ส่วนผู้บริโภคก็จะอยากซื้อของมากขึ้น จนในที่สุดภาวะล้นตลาดก็จะหายไป

ซึ่งราคาสุดท้ายที่ทำให้เกิดสมดุลระหว่าง Demand และ Supply เราก็จะเรียกว่า Equilibrium Price นั่นเอง

Demand (อุปสงค์)

กฎที่สำคัญก็คือ "เมื่อราคาของสินค้าสูงขึ้น ปริมาณความต้องการสินค้า (และสามารถจ่ายได้จริง) ก็จะลดลง" ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ



income effect ผู้คนจะรู้สึกว่าตนเองจนลง เนื่องจากอำนาจการซื้อจะลดลง เพราะมีรายได้เท่าเดิม แต่ซื้อของได้น้อยชิ้นลง
substitution effect ผู้คนจะเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนอย่างอื่น เพราะของอย่างอื่นถูกกว่า
ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ Demand เปลี่ยนไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกดังนี้

รสนิยม = หากของเป็นที่น่าปรารถนามาก ก็จะมี demand มาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการโฆษณา แฟชั่น เรื่องของการใส่ใจสุขภาพ เป็นต้น
จำนวนและราคาของสินค้าทดแทน = หากสินค้าทดแทนมีราคาสูง demand ของสินค้าตัวที่พิจารณาอยู่นี้ก็จะมาก
จำนวนและราคาของสินค้าสินค้าที่ใช้ประกอบกัน = หากราคาของสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary good) เช่น รถยนต์และ น้ำมัน มีราคาสูง demand ของสินค้าตัวที่พิจารณาอยู่นี้ก็จะน้อย
รายได้ = หากผู้คนมีรายได้สูง demand ของสินค้าก็จะสูง (ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ) แต่ในทางกลับกัน demand ของสินค้าจะต่ำลงในสินค้าประเภท inferior goods เช่น ของถูกๆอย่าง มาม่า
การกระจายของรายได้ = ถ้าหากมีการกระจายมาทางคนรวยมาก สินค้าหรูหราก็จะมี demand สูง ทำให้คนจนจะยิ่งจนหนักทำให้ inferior goods มี demand สูงเช่นกัน
ความคาดหวังของราคาในอนาคต = ถ้าคนคิดว่าของจะราคาขึ้นในอนาคต demand ปัจจุบันก็จะสูง


Supply (อุปทาน)

กฎที่สำคัญก็คือ "เมื่อราคาของสินค้าสูงขึ้น ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าก็จะสูงขึ้น" นั่นเป็นเพราะว่าบริษัทจะได้กำไรมากขึ้นด้วยนั่นเอง

ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ Supply เปลี่ยนไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกดังนี้

ต้นทุนการผลิต = เมื่อต้นทุนสูงขึ้น กำไรก็จะลดลง บริษัทก็จะทำการผลิตน้อยลง สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนเปลี่ยนไปมีดังนี้
ราคาต้นทุนสินค้าเปลี่ยนไป, เทคโนโลยีเปลี่ยน, การเปลี่ยนแปลงทางองค์กร, นโยบายของภาครัฐ
ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าทดแทน = หากสินค้าทดแทนสามารถทำกำไรได้มาก ผู้ผลิตก็จะเปลี่ยนไปทำสินค้าทดแทนมากขึ้น ทำให้ Supply ลดลง
ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าอุปทานร่วม = เวลาเราผลิตสินค้าบางอย่าง ก็อาจจะต้องมีการผลิตสินค้าอีกอย่างออกมาพร้อมกันด้วย เราเรียกว่า สินค้าอุปทานร่วม (joint supply) และถ้าหากมันมีกำไรมาก Supply ของสินค้าตัวที่พิจารณานี้ก็จะมากด้วย
เหตุการณ์ไม่คาดฝัน = เวลาเกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็จะส่งผลต่อ supply เช่นกัน
การคาดการราคาสินค้าในอนาคต = หากคาดว่าในอนาคตสินค้าจะมีราคาสูงขึ้น ผู้ผลิจก็จะ supply น้อยลงในปัจจุบัน (เอาไว้รอขายตอนราคาสูง)
จำนวนของผู้ผลิต = หากมีผู้ผลิตเข้ามาในตลาดมาก supply ก็จะเยอะ
ข้อ ควรระวัง!!



เมื่อราคาเปลี่ยนไป ==> จะมีการเลื่อนภายในเส้นกราฟ Supply (Movement along curve) เราจะเรียกว่า ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าเปลี่ยนไป ( Change in the Quantity Supplied )แต่ถ้าหากปัจจัยอื่นๆ นอกจากราคาเปลี่ยนไป ==> จะเกิดการย้ายกราฟ Supply ทั้งกราฟเลย ( Supply Shift) เราจะเรียกว่า ความต้องการผลิตสินค้าเปลี่ยนไป ( Change in Supply ) เช่น เมื่อต้นทุนในการผลิตลดลงเนื่องจากเทคโนโลยีดีขึ้น Supply curve ก็จะเบื่อนไปทางขวา