Custom Search
วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวางแผน

การวางแผน คือ ความพยายามที่เป็นระบบเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
สำหรับอนาคตเพื่อให้องค์การบรรลุผลที่ปารถนา
การวางแผน ต้องวิเคราะห์สถานการณ์  5W1H
1. W – Who - ใคร
2. W – What - อะไร
3. W – Where - ที่ไหน
4. W – When – เมื่อไร
5. W – Why – ทำไม
6. H – How – อย่างไร
ความสำคัญของการวางแผน (Sigenificance of Planning)
1. เป็นการลดความไม่แน่นอนและปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. ทำให้เกิดการยอมรับแนวคิดใหม่ๆ เข้ามาในองค์การ
3. ทำให้การดำเนินการขององค์การบรรลุตามเป้าหมายที่ปรารถนา
4. เป็นการลดความสูญเปล่าของหน่วยงานที่ซับซ้อน
5. ทำให้เกิดความแจ่มใสชัดในการดำเนินงาน ไม่มีองค์การใดที่ประสบความสำเร็จได้
โดยปราศจากการวางแผน
ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นภารกิจอันดับแรกที่มีความสำคัญของกระบวนการจัดการที่ดี
การวางแผนมีอยู่ด้วยกัน 2ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
ประเภทที่1 การวางแผนเพื่ออนาคต เป็นการวางแผนสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
หรือกำลังจะเกิดขึ้น บางอย่างเราไม่สามารถควบคุมสิ่งนั้นได้เลย
แต่เป็นการเตรียมความพร้อมของเราสำหรับสิ่งนั้น
ประเภทที่ 2 การวางแผนเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
เป็นการวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อสภาพที่ดีขึ้น
ซึ่งเราสามารถควบคุมผลที่เกิดในอนาคตได้ด้วยการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปัจจุบัน
ประเภทของการวางแผน แยกออกตามแนวความคิดพื้นฐานโดยใช้มิติต่างๆ เป็นเกณฑ์ดังนี้
1. จำแนกตามเวลา
1.1) การวางแผนระยะสั้น
1.2) การวางแผนระยะปานกลาง
1.3) การวางแผนระยะยาว
2. จำแนกตามระดับการจัดการ
2.1) การวางแผนกลยุทธ์
2.2) การวางแผนบริหาร
2.3) การวางแผนปฏิบัติการ
3. จำแนกตามระดับโครงสร้างการบริหารประเทศ
3.1) แผนระดับชาติ
3.2) แผนระดับภาค
3.3) แผนระดับท้องถิ่น
4. จำแนกตามหน้าที่การงาน
4.1) การวางแผนด้านการผลิต
4.2) การวางแผนด้านบุคลากร
4.3) การวางแผนด้านการตลาด
4.4) การวางแผนด้านการเงิน

การสอนงาน(COACHING)

การสอนงาน(COACHING) คือการที่คนๆหนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถ
ในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงาน
เท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการ
ทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
การสอนงาน เป็นหน้าที่ประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชาที่พึงปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ในอันที่จะให้เขาเกิดความเข้าใจงาน มีความชำนาญ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง
ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อจะนำไปสู่ความสำเร็จ
ของงาน
การสอนงานถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ และยังช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน
ร่วมกัน มีประโยชน์มากมายทั้งต่อ ผู้ได้รับการสอน ผู้สอน และต่อองค์กร
ความสำคัญของการสอนงาน มีดังต่อไปนี้
1. ไม่เกิดการลองผิดลองถูก การสอนงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
ลดความผิดพลาดเสียหายและเวลาการทำงาน
2. การเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เกิดการถ่ายทอดงานและเทคนิคการปฏิบัติงาน
จากหัวหน้าไปสู่ผู้ร่วมทีมงานช่วยให้เกิดความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง เพิ่มประสิทธิภาพ
ในการทำงาน
3.  การปฏิบัติงานสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย สามารถปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
4. ไม่เสียเวลาแก้ไขงานที่ผิดพลาดและบกพร่อง
5.  ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาไว้วางใจกันและเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิด
เห็นกัน
6.  ทำให้องค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้าออกจากงานก็มีผู้สืบต่องานได้
บทบาทของผู้สอนงาน
1. ให้การสนับสนุนแก่พนักงานที่สนใจในการปรับปรุงการทำงาน
2. ให้การสนับสนุนสำหรับพนักงานที่สนใจในการปรับปรุงทักษะและประสบการณ์ใหม่
3. ให้คำแนะนำแก่พนักงานที่ต้องการทิศทางของอาชีพ
4. ให้ Feedback ของการปฏิบัติงานอย่างจริงใจและเป็นธรรม
5. ให้การสนับสนุนหรือแนะนำสำหรับพนักงานที่สนใจในการเปลี่ยนงานภายใน
คุณลักษณะของผู้สอนงาน
1. มีความรู้และความสามารถในงานที่จะสอน
2. มีความรักในการถ่ายทอดความรู้ และมุ่งมั่นจริงจังในการสอนให้เกิดผลสำเร็จ
3. การสร้างความเชื่อใจร่วมกันทั้งสองฝ่าย
4. เชื่อมั่นในตนเองและมีความตั้งใจในการสอน
5. ปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
6. มีทักษะในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ
7. มีความอดทนต่อพฤติกรรมของผู้รับการสอน
หลักในการสอนงาน
1. ต้องชี้แจงให้ผู้รับการสอนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสอน
2. ต้องทำให้ผู้รับการสอนสนใจใคร่จะเรียนรู้งานที่จะสอน
3. ต้องมุ่งผลของการสอนงาน โดยคำนึกถึงผู้รับการสอนเป็นสำคัญ
4. ต้องให้ผู้รับการสอนรู้ว่างานอยู่ในขั้นตอนไหน และจัดการสอนให้มีสภาพเหมือน
ปฏิบัติงานจริง ทำให้ผู้รับการสอนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์
5. ทำโปรแกรมการสอนงานให้เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้รับการสอน
กระบวนการสอนงาน มีขั้นตอนดังนี้
1. การหาความจำเป็นในการสอนงาน
2. การจัดทำแผนการสอน
3. การเตรียมเนื้อหาวิชา
4. การจัดทำแบบซอยงาน คือ การนำงานที่จะสอนมาวิเคราะห์แยกเป็นส่วนๆ
5. การจัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์
6. การจัดเตรียมสถานที่
7. การประเมินผลการสอน