Custom Search
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

 คำศัพท์เศรษฐศาสตร์


 คำศัพท์เศรษฐศาสตร์
  GLOSSARY

Absolute advantage : ความสามารถที่เหนือกว่าโดยสมบูรณ์ ซึ่งประเทศหนึ่งผลิตสินค้าอย่างหนึ่งได้
  มากกว่าอีกประเทศหนึ่ง โดยใช้ทรัพยากรที่เหมือนกันและปริมาณเท่ากัน
  Accelerator theory of investment : ทฤษฎีที่กล่าวว่า ปริมาณการลงทุนจะมากตามปริมาณรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น
  ad valorem tax : ภาษีที่คิดตามราคาสินค้า เช่น 10%ของราคาสินค้า
  Aggregate demand (AD) : มูลค่าความต้องการซื้อสินค้าบริโภค (สินค้าขั้นสุดท้าย)รวมทั้งหมดทั้ง
  ประเทศ
  Aggregate supply (AS) : มูลค่าความต้องการขายสินค้าบริโภค (สินค้าขั้นสุดท้าย)รวมทั้งหมดทั้ง
  ประเทศ
  Average fixed cost (AFC) : ต้นทุนคงที่เฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนคงที่รวมตั้ง หารด้วย ปริมาณผลผลิต
  Average product (AP) : ผลผลิตเฉลี่ย คิดโดย นำปริมาณผลผลิตรวมตั้ง หารด้วย ปริมาณปัจจัย
  ผันแปรที่นำมาใช้ในการผลิต
  Average propensity to consume (APC) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค คิดโดย นำค่าใช้จ่าย
  การบริโภคตั้ง หารด้วย รายได้ (C/Y)
  Average propensity to import : ความโน้มเอียงเฉลี่ยของการซื้อสินค้าเข้าจากต่างประเทศ คิดโดย
  นำค่าซื้อสินค้าทั้งหมดจากต่างประเทศตั้ง หารด้วย รายได้รวม (M/Y)
  Average propensity to save (APS) : ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการออม คิดโดย นำมูลค่าการออมทั้ง
  หมดตั้ง หารด้วย รายได้ทั้งหมด
  Average revenue (AR) : รายได้เฉลี่ย คิดโดย นำรายได้รวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่ขายได้
  Average total cost (ATC, AC) : ต้นทุนรวมเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนรวมตั้ง หารด้วย จำนวนสินค้าที่
  ผลิตได้
  Average variable cost (AVC) : ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย คิดโดย นำต้นทุนแปรผันรวมตั้ง หารด้วย
  จำนวนสินค้าที่ผลิตได้
  Balanced budget : งบประมาณสมดุล คือ รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
  Balance of payments accounts : บัญชีดุลการชำระเงิน คิดโดยเปรียบเทียบรายรับทุกอย่างที่เป็น
  เงินตราจากต่างประเทศ กับ รายจ่ายทุกอย่างที่เป็นเงินตราไปยังต่างประเทศ
  Balance of trade : ดุลการค้า คือ มูลค่าสินค้าออกขายไปต่างประเทศ ลบด้วย มูลค่าสินค้าเข้าที่ซื้อ
  จากต่างประเทศ คิดด้วยหน่วยเงินตราเดียวกัน
  Barriers to entry : อุปสรรคกีดกันมิให้เข้าสู่กิจกรรมหรือธุรกิจนั้น
  Barter : การแลกสินค้า คือ การค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการแลกกันแทนการใช้เงินตรา
  Bond : พันธบัตร คือ เอกสารการกู้เงิน ที่แสดงเงินต้น ดอกเบี้ย และ เวลาชำระคืน เป็นวิธีการกู้ยืมที่
  ไม่มีหลักประกันหนี้ มีเพียงกระดาษประกาศความเป็นหนี้อย่างเดียว
  Base year : ปีฐาน คือ ปีที่ถือเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบในการทำดัชนี ปีฐานมีค่าดัชนีเป็น
  100
  Bills of exchange : เอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินโดยระบุจำนวนเงินและเวลาที่จะจ่าย ส่วนมากใช้
  กับการค้าต่างประเทศ ซึ่งเอกสารกล่าวว่าจะจ่ายเงินให้เมื่อได้รับสินค้า
  Bond : พันธบัตร เป็นเอกสารแสดงว่าจะจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยให้เมื่อถึงเวลากำหนด
  Boom : สภาพเศรษฐกิจรุ่งเรือง มีการผลิตมาก มีงานทำมาก ค้าขายคล่อง
  Break-even point : จุดคุ้มทุน คือ จำนวนผลผลิตที่คุ้มทุนพอดี ไม่ขาดทุน ไม่กำไร
  Broad money : เงินในความหมายกว้าง คือ ประกอบด้วยเงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์) เงิน
  ฝากกระแสรายวัน (เขียนเช็ค) เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และ เงินซื้อหุ้นผ่านกองทุนต่างๆ
  Budget deficit : การขาดดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  Budget line : เส้นงบประมาณ คือ เส้นที่แสดงว่า ในจำนวนเงินที่กำหนด จะซื้อสินค้าสองอย่างร่วม
  กันเป็นปริมาณอย่างละเท่าใด
  Budget surplus : การเกินดุลงบประมาณ คือ สถานะการเงินที่รายได้มากกว่ารายจ่าย
  Business cycles : วัฏจักรธุรกิจ คือ สภาพที่เศรษฐกิจเจริญขึ้น และ ตกต่ำลงสลับกัน อันเป็น
  ธรรมดาของวงจรเศรษฐกิจของประเทศและของโลก บางทีเรียกว่า Economic cycle หรือ Trade cycle
  Capital account : บัญชีทุน แสดงเงินลงทุนระหว่างประเทศที่ไหลเข้าประเทศและไหลออกจากประเทศหนึ่ง
  Capital consumption allowance : ค่าเสื่อมของเครื่องมือการผลิต ที่เกิดจากการนำเครื่องมือการผลิตไปใช้ผลิตสินค้า บางทีเรียกว่า depreciation
  Capital deepening : การผลิตที่ใช้เครื่องจักรเครื่องมือมากกว่าใช้แรงงาน
  Capital goods : สินค้าทุน คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือการผลิตสินค้า แทนที่จะผลิตสำหรับบริโภค
  Capital-labour ratio : อัตราส่วนทุนต่อแรงงาน คิดโดย นำจำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้เครื่องมือ หารด้วย จำนวนเงินที่จ่ายไปในการใช้แรงงาน เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าอย่างหนึ่งขึ้นมา
  Capital-output ratio : อัตราส่วนทุนต่อผลผลิต คิดโดย นำมูลค่าการใช้เครื่องมือเพื่อการผลิตนั้น หารด้วย มูลค่าผลผลิตที่ได้นั้น
  Capital stock : มูลค่าเครื่องมือที่มีอยู่ในเวลานั้น
  Cartel : กลุ่มธุรกิจที่รวมกันเหมือนเป็นธุรกิจเดียว เพื่อหวังผลการผูกขาด
  Central bank : ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารชาติ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ธนาคารต่างๆ รวมทั้งรัฐบาล ได้กู้ยืมเงิน ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐบาล มีหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ให้บริหารงานไม่เกิดความเสียหายแก่สังคมด้วย และ มักเป็นมีหน้าที่ออกธนบัตร ควบคุมปริมาณเงินให้มีปริมาณพอเหมาะแก่เศรษฐกิจของประเทศ
  Closed economy : เศรษฐกิจปิด คือ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการค้ากับต่างประเทศ บางทีเรียกว่า
  Autarky
  Common market : ตลาดร่วม คือ กลุ่มประเทศร่วมกันเปิดการค้าเสรี ไม่เก็บภาษีกันในการค้า
  ระหว่างกัน แต่กีดกันการค้าประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม
  Comparative advantage : การได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ คือ การที่ประเทศหนึ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
  ผลิตสินค้าอย่างหนึ่ง โดยเสียโอกาสการผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่งน้อยกว่าประเทศอื่น แต่ถ้าผลิตสินค้าอีกอย่างหนึ่ง จะเสียโอกาสการผลิตสินค้าแรกมากกว่าประเทศอื่น
  Concentration ratio : อัตราการกระจุกตัว เป็นการวัดอำนาจการผูกขาดการค้าทางอ้อมอย่างหนึ่ง
  คิดโดย นำมูลค่าการขายสินค้าอย่างหนึ่งของบริษัทหนึ่ง หารด้วย มูลค่าการขายสินค้าอย่างนั้นของธุรกิจทั้งหมดในตลาด อาจคิดเป็นกลุ่ม 4 ถึง 8 บริษัท ก็ได้ แล้วแต่ความต้องการวัด
  Constant returns : ผลตอบแทนคงที่จากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุก
  ปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 5เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
  Consumers’ surplus : ส่วนเกินของผู้บริโภค คือส่วนที่ผู้บริโภคประหยัดเงินลงได้กว่าที่ตั้งใจจ่าย
  เนื่องจากราคาตลาดต่ำกว่าราคาที่ตั้งใจยอมซื้อ
  Consumption : การบริโภค คือ การได้กิน การได้ใช้ การได้สิทธิครอบครอง สินค้าและบริการ เพื่อ
  สนองความต้องการของมนุษย์
  Consumption function : ฟังค์ชันการบริโภค คือ การแสดงว่าการบริโภคขึ้นอยู่กับสาเหตุใดบ้าง
  เช่น ขึ้นอยู่กับรายได้ อัตราดอกเบี้ย ค่านิยม เป็นต้น
  Cross-elasticity of demand : ความยืดหยุ่นไขว้ เป็นความไวในการตอบสนองของความต้องการซื้อ
  เมื่อราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ไมใช่สินค้าที่ต้องการซื้อ) เปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อราคาไก่เพิ่มขึ้น 1% ทำให้การซื้อปลาเพิ่มขึ้น 5% ความยืดหยุ่นไขว้เท่ากับ 5
  Crowding-out effect : การหักล้างทำให้ไม่เกิดผลเต็มที่ เช่น เมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่าย
  บริโภคโดยรวมของประชาชนก็เพิ่มขึ้น แต่ไม่เพิ่มมาก เพราะว่าเมื่อรายได้ประชาชาติเพิ่ม ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม ประชาชนจึงซื้อสินค้าบริโภคลดลงบ้าง ไม่เพิ่มมากอย่างที่คาด
  Debt instrument : ตราสารหนี้ คือ เอกสารแสดงว่าใครเป็นหนี้ เป็นจำนวนเงินต้นเท่าไร อัตราดอก
  เบี้ยเท่าไร กำหนดชำระคืนเมื่อไร
  Decreasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขยายขนาดการผลิต เช่น ขยายปัจจัยการผลิตทุก
  ปัจจัยเป็น 5 เท่าของจำนวนปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตก็เป็น 3เท่าของปริมาณผลผลิตเดิม
  Deficit : สภาพที่รายได้น้อยกว่ารายจ่าย
  Deflation : สภาพเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปต่ำลง
  Demand : ความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า อุปสงค์ แสดงเป็นจำนวนสินค้าหรือมูลค่าที่ซื้อสินค้า
  โดยกำหนดช่วงเวลากำกับไว้ เช่น ความต้องการซื้อข้าว 10 ตัน ในช่วง 1 เดือน
  Demand curve : เส้นความต้องการซื้อ บางตำราเรียกว่า เส้นอุปสงค์ เป็นเส้นแสดงปริมาณสินค้าที่
  ต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ เช่น ถ้าราคา 5 บาท ต้องการซื้อ 20 กล่อง ถ้าราคา 10 บาท ต้องการซื้อ 3 กล่อง เมื่อลากเส้นแสดงปริมาณซื้อที่ 2 ราคานี้ ก็เป็น เส้นความต้องการซื้อ
  Demand for money : ปริมาณเงินที่พอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี (ตำรา
  ส่วนมากแปลว่า ความต้องการถือเงิน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือย่อมไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ไม่มีความหมายในการอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ) ถ้ามีการใช้เงินซื้อสินค้าและบริการต่อๆกันไปหลายๆทอดอย่างรวดเร็ว ปริมาณเงินที่ประชาชนมีถืออยู่ก็ไม่ต้องมาก ก็สามารถซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมได้หมดพอดี ถ้าปริมาณเงินที่มีให้ประชาชนถือมีน้อยเกินไป สินค้าและบริการที่ผลิตได้ก็ขายไม่หมด ถ้ามีเงินถือมากเกินไป ก็เกิดการซื้อมากเกินไป ทำให้เกิดสภาพเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจึงประมาณว่า ประชาชนและธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ควรมีเงินที่นำมาใช้จ่ายได้เป็นปริมาณเท่าใดจึงพอดีซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในสังคมหมดพอดี
  Demand function : ฟังค์ชันแสดงความสัมพันธ์ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ กับ ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำ
  ให้เกิดการซื้อเป็นปริมาณนั้น เช่น ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ มีความต้องการสินค้านั้น มีเงินซื้อ ราคาสมคุณภาพ เป็นต้น หรือ ปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อ ขึ้นอยู่กับ ราคา รายได้ของผู้ซื้อ ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง และ ความนิยม เป็นต้น
  Demand schedule : ตารางแสดงปริมาณการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ
  Depreciation : การเสื่อมค่า
  Depression : เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นสภาพที่เศรษฐกิจซบเซา สินค้าและบริการขายยาก คนว่างงาน
  มีหนี้มาก
  Derived demand : ความต้องการซื้อต่อเนื่อง เช่น เมื่อมีความต้องการสินค้าและบริการสุดท้าย ทำ
  ให้ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต หรือ อาจเป็นเรื่องอื่นๆทำนองเดียวกันนี้
  Developed countries : ประเทศร่ำรวยทางเศรษฐกิจ (แต่อาจยากจนเรื่องอื่น) ได้แก่ ประเทศ
  อเมริกา ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์
  Developing countries : ประเทศยากจน ประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ประเทศส่วนมากในเอเซีย
  อเมริกาใต้ อัฟริกา บางทีเรียกว่า ประเทศพัฒนาน้อย (less developed countries, LDCs) ประเทศด้อยพัฒนา (underdeveloped countries) ประเทศล้าหลัง (backward countries)
  Direct tax : ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ผู้ถูกเก็บต้องรับภาระเองโดยตรง ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่น ได้ เช่น ภาษีเงินได้ประจำปี
  Discount rate : อัตราการลดค่า ที่ทำให้มูลค่าของรายได้ในอนาคตกลับมาเป็นรายได้ปัจจุบัน ปกติ มักใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราลดค่า
  Diseconomies of scale : สภาพการผลิตที่ต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อขยายการผลิตมากขึ้น
  Disposable income : รายได้ที่ใช้จ่ายได้ คือ รายได้ของครัวเรือนหลังเสียภาษีเงินได้แล้ว สามารถ นำไปใช้จ่ายได้
  Dividends : เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
  Division of labour : การแบ่งงานกันทำตามความสามารถ
  Dumping : การทุ่มตลาด เพื่อให้คู่แข่งขันพ่ายแพ้หนีออกไปจากตลาด
  Duopoly : ตลาดที่มีผู้ขายสองราย duo แปลว่า สอง
  Economic profit : กำไรแบบเศรษฐศาสตร์ คือ การคิดกำไรโดยคิดค่าเสียโอกาส (ที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงิน เช่น ค่าเสียโอกาสค่าเช่าจากการใช้บ้านตัวเอง) เป็นต้นทุนด้วย ในปัจจุบันทางบัญชีก็คิดอย่างเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน
  Economic rent : ค่าเช่าแบบเศรษฐศาสตร์ เป็นส่วนเกินที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับผลตอบแทน จากการให้ใช้ปัจจัยการผลิต ซึ่งหากคิดจากความสามารถในการมีส่วนร่วมในการผลิตแล้ว เขาไม่ควรได้ค่าตอบแทนมากถึงเพียงนั้น ศัพท์คำนี้ไม่ควรนำมาใช้ เพราะว่าทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย เป็นสำนวนที่ David Ricardo คิดใช้ขึ้น แล้วมีผู้รับมาใช้ต่อๆกัน
  Economies of scale : การประหยัดจากการขยายการผลิต คือ เมื่อผลิตมากขึ้น ทำให้ต้นทุนเฉลี่ย ลดลง ซึ่งทำให้การผลิตขนาดใหญ่ได้เปรียบการผลิตขนาดเล็ก (แต่การผลิตขนาดใหญ่ก็มีข้อเสียเปรียบบางอย่าง)
  Economies of scope : การประหยัดจากการผลิตสินค้าหรือบริการหลายอย่าง คือ เมื่อผลิตสินค้า หลายอย่าง ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยลดลง เนื่องจากใช้ปัจจัยบางอย่างร่วมกันได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเล็กน้อย หรือไม่เพิ่มเลย หรือ ใช้วัสดุเหลือใช้ที่จะต้องทิ้ง นำมาผลิตต่อ
  Economy : เศรษฐกิจ คือ สภาพกิจกรรมการผลิต และ การซื้อสินค้า รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆโดย ทั่วไป ที่ทำให้เกิดการซื้อ ขาย และ บริโภค ของประชาชนในชาติ
  Effective exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยคิดรวมถ่วงน้ำหนักกับเงินตรา ต่างประเทศหลายสกุล
  Elastic : มีความไวตอบสนองมาก มีความยืดหยุ่น ถ้าคำนวณได้ค่าเกิน 1 (ไม่คิดเครื่องหมายบวก ลบ)
  Endogenous variable : ตัวแปรที่ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรอื่นๆในระบบเดียวกัน คือ มีค่ามากน้อย เพียงใดขึ้นกับค่าตัวแปรอื่นๆในระบบเป็นตัวกำหนด
  Entrepreneur : เจ้าของกิจการ คนที่ไม่เป็นลูกจ้าง ได้รายได้จากกำไร (ถ้าโชคร้ายก็ขาดทุน)
  Equilibrium : ดุลยภาพ สิ่งที่ต้องการ พอดีกับ สิ่งที่มีให้ หรือ มูลค่าทางด้านเข้าเท่ากับมูลค่าทาง ด้านออก หรือ การตกลงกันได้จากการต่อรองกัน
  Equilibrium price : ราคาที่ทำให้จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการ ขาย
  Equilibrium quantity : จำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ เท่ากับ จำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขาย
  Excess demand : จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย
  Excess supply : จำนวนสินค้าที่ต้องการขาย มากกว่า จำนวนสินค้าที่ต้องการซื้อ
  Exchange rate : อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เช่น 40 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ อเมริกา
  Exogenous variable : ตัวแปรนอกระบบที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่นๆในระบบ แต่ตัวแปรนี้ไม่ถูก กำหนดโดยตัวแปรอื่นในระบบ เพราะมันอยู่นอกระบบ แต่เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบ (ควรอ่าน Endogenous variable เปรียบเทียบ)
  Expected value : ค่าที่เกิดจาการทดลองซ้ำอินฟินิทีครั้ง แล้วนำมาเฉลี่ย ถ้าแปลว่า ค่าที่คาดหวัง ก็ จะเข้าใจผิดได้
  Externalities : ผลที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจ อันธุรกิจนั้นมิได้คำนึงถึงหรือไม่ได้รับผล เช่น ผู้เลี้ยง กุ้งกุลาดำ ทำให้เกิดน้ำเสียเสียหายแก่ผู้อื่น ผลเสียหายนั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นแก่สังคมนอกธุรกิจ คนเลี้ยงกุ้งไม่ได้จ่ายค่าเสียหาย นอกจากถูกฟ้องร้อง หรือ การตั้งธุรกิจทำให้เกิดร้านค้า คนภายนอกขายของได้กำไร ก็เป็นผลดีเกิดขึ้นแก่สังคม เป็นผลภายนอกทางบวก ผู้ผลิต และ ผู้ขายสุรา ทำให้เกิดผลเสียแก่สังคมมาก โดยตนไม่ต้องรับผิดชอบ
  Factor, Factor of production : ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องมือ แรงงานคน พลังงาน เวลา วัตถุดิบ เทคโนโลยี และ เจ้าของกิจการ ตำราส่วนมากกล่าวว่า ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และ ผู้ประกอบการ ซึ่งไม่พอผลิตสินค้าได้ เป็นปัจจัยการผลิตสมัยโบราณที่ผลิตการเกษตรแบบดั้งเดิม
  Fiat money : เงินตราที่ธนาคารกลาง (ได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย) หรือผู้มีอำนาจเป็นผู้ออกให้ ประชาชนใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ ธนบัตร และ เหรียญกษาปณ์
  Final product : สินค้าขั้นสุดท้ายสำหรับผู้บริโภค มิใช่สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือ นำไปเป็น ปัจจัยการผลิต
  Firm : หน่วยธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน
  Fiscal policy : นโยบายการคลัง คือ นโยบายหารายได้จากภาษีหรือวิธีการอื่น และ นโยบายการใช้ จ่ายเงินงบประมาณ มีผลสำหรับบริการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน บริหารจัดการสังคมโดยรวม และ มีผลพลอยได้กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
  Fixed capital formation : การลงทุนในปัจจัยคงที่ เช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักรกล
  Fixed cost : ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้า เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเงินเดือนผู้จัดการ ค่าโฆษณา
  Fixed factor : ปัจจัยคงที่ คือ ปัจจัยการผลิตสินค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนสินค้า เช่น อาคาร เครื่องจักรขนาดใหญ่ ผู้จัดการ
  Foreign direct investment FDI : การลงทุนที่คนในประเทศหนึ่งลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง โดยเข้าไป มีส่วนบริหารจัดการ มิใช่ซื้อหุ้นเก็งกำไร
  Foreign exchange : เงินตราต่างประเทศ
  Free trade : การค้าเสรี หมายถึง การค้าระหว่างประเทศที่รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกีดกันหรือเก็บ ภาษี
  Free-trade area : เขตการค้าเสรี พื้นที่ที่ประเทศต่างๆตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงกันให้มีการค้า เสรีระหว่างกัน โดยตกลงในขอบเขตเงื่อนไขว่าจะอนุญาตค้าเสรีในสินค้าใดบ้าง โดยไม่กีดกัน ไม่เก็บภาษี ขณะเดียวกันก็กีดกันประเทศอื่นๆ โดย เก็บภาษี หรือ มีเงื่อนไขกีดกัน
  Frictional unemployment : การว่างงานตามปกติธรรมชาติ เนื่องจากมีการลาออกจากงานหางานทำ ใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จะไม่เดือดร้อนรุนแรง
  GDP : ย่อจาก Gross Domestic Product ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หมายถึงมูลค่าของสินค้า และบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่ผลิตในประเทศ (ไม่ว่าเป็นของคนในชาติหรือคนต่างชาติ) คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี รัฐบาลทุกประเทศมักนำค่า GDP มาหลอกประชาชนว่า GDP เติบโตมาก แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศดีมาก ที่จริงอาจเป็นเศรษฐกิจดีของคนต่างชาติหรือของกลุ่มคนจำนวนน้อย ประชาชนทั่วไปอาจยากจนยิ่งขึ้นทั้งที่ค่า GDP สูงมากๆก็ได้
  Giffen good : สินค้าด้อยคุณภาพ ตามความคิดของ Giffen ที่กล่าวว่า สินค้าด้อยคุณภาพบางอย่าง มีลักษณะประหลาด เมื่อราคาสูงขึ้นคนก็ซื้อมากขึ้น ความคิดของ Giffen ไม่ดีต่อการเรียนเศรษฐศาสตร์ ทำให้นักศึกษาสับสน Giffen ยกตัวอย่างขนมปังยิ่งแพง คนยิ่งซื้อมาก ที่จริงแล้ว อาหารอย่างอื่นก็แพง ขนมปังก็แพง แต่แพงน้อยกว่าอาหารอย่างอื่น ฉะนั้นโดยเปรียบเทียบแล้ว ขนมปังราคาถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น เมื่อราคาถูกลง คนก็ซื้อมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อย่างใด
  Globalization : ถึงกันทั่วโลก เนื่องจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพขึ้น และ ความพยายามที่ประเทศ ต่างๆต้องการค้าขายและมีผลประโยชน์ข้ามชาติ ทำให้เกิดความเกี่ยวข้องถึงกันทั่วโลก
  GNP : ย่อจาก Gross National Product ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติ หมายถึงมูลค่าของสินค้า และบริการสุดท้ายเพื่อการบริโภค และ สามารถขายได้ ที่คนของชาตินั้น(คนไทย)ผลิตได้ ทั้งอยู่ในประเทศ หรือที่อยู่นอกประเทศ คิดบัญชีในรอบหนึ่งปี
  Good : สินค้า
  High-powered money : เงินที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมปริมาณได้ ได้แก่ เงินสด (ธนบัตร เหรียญกษาปณ์)ในมือประชาชน เงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ถูกบังคับให้มี และ เงินกู้จากธนาคารกลาง มักเกิดจากการศึกษา ฝึกฝน และ ค่านิยมของคนในชาติ
  Hyperinflation : เงินเฟ้อรุนแรง
  Identification problem : ปัญหาการบ่งชี้สมการ เป็นปัญหาทางสถิติที่เกิดขึ้นในระบบที่มีสมการ หลายสมการ ซึ่งไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าสมการที่สร้างขึ้นเป็นสมการอะไร เช่น เป็นสมการอุปสงค์ หรือสมการอุปทาน
  Import substitution : การผลิตเพื่อทดแทนสินค้านำเข้า
  Income-consumption curve : เส้นแสดงการบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น เป็นเส้นลากต่อจุด สัมผัสหลายจุดของเส้นความพอใจเท่ากันกับเส้นงบประมาณ
  Income effect : ผลจากรายได้ ที่ทำให้บริโภคสินค้ามากขึ้นเมื่อรายได้มากขึ้น
  Income elasticity of demand : การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อ รายได้ลดลง 1% ทำให้จำนวนซื้อสินค้าลดลง 3% การตอบสนองของการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงเท่ากับ 3
  Increasing returns : ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากจากการขยายการผลิต เช่น ขยายการผลิต โดยใช้ ปัจจัยทุกอย่างเป็น 2 เท่าของปัจจัยเดิม ได้ผลผลิตเป็น 3 เท่าของผลผลิตเดิม
  Indifference curve : เส้นความพอใจเท่ากัน เป็นเส้นลากต่อจุดหลายจุดที่ปรับปริมาณการบริโภค สินค้า 2 อย่างเป็นสัดส่วนต่างกัน แต่ให้ความพอใจแก่ผู้บริโภคเท่ากัน
  Indirect tax : ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ (อาจผลักภาระได้มากหรือน้อย)Industry : กลุ่มธุรกิจที่ผลิตสินค้าเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน ในความหมายนี้ไม่ควรแปลว่า อุตสาหกรรม เพราะว่าทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย
  Inelastic : การตอบสนองไม่ไว ปกติค่าความยืดหยุ่นต่ำกว่า 1 (ไม่คิดเครื่องหมาย) เช่น ราคาเพิ่ม ขึ้น 1% จำนวนสินค้าที่ซื้อลดลงน้อยกว่า 1%
  Infant industry : อุตสาหกรรมเริ่มแรกตั้ง
  Inferior good : สินค้าด้อย เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคลดการซื้อ เมื่อเขามีรายได้เพิ่มขึ้น
  Inflation : เงินเฟ้อ เป็นสภาพเศรษฐกิจที่สินค้าหลายๆอย่างมีระดับราคาเพิ่มขึ้น
  Inflationary gap : รายได้ที่มากเกินปกติเนื่องจากเงินเฟ้อ บางตำราแปลว่า ช่องว่างเงินเฟ้อ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศมากเกินความสามารถของประเทศ แต่มากขึ้นเพราะว่าเกิดเงินเฟ้อ มีแต่โทษ ไม่มีประโยชน์ใดๆ เป็นเพียงภาพลวงตา
  Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญขึ้น เช่น การขน ส่ง การคมนาคม การชลประธาน พลังงาน
  Input : ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
  Intermediate product : ผลผลิตที่ยังไม่สำเร็จรูป ผลผลิตระหว่างกลาง ผลผลิตกึ่งสำเร็จรูป
  Internal economies : การขยายกิจการจากการใช้ปัจจัยที่มีอยู่แล้วภายในหน่วยธุรกิจ
  Inventory : สินค้าคงเหลือที่ผลิตแล้วยังไม่ได้จำหน่าย
  Investment : การลงทุน มีหลายความหมาย ความหมายที่ตรงที่สุดทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการ จ่ายเงินเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการขึ้นมาใหม่ บางทีหมายถึง การเสียสละความสะดวกสบายในปัจจุบันเพื่อสร้างความสามารถให้หารายได้ได้มากในอนาคต เช่น การศึกษา ส่วนนักการพนันให้ความหมายในทางการซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร เรียกว่าการลงทุนทางการเงิน ซึ่งไม่ใช่ความหมายของการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์
  Involuntary unemployment : การว่างงานโดยไม่สมัครใจ หมายความว่า ต้องการทำงาน ณ ระดับ ค่าจ้างและผลตอบแทนระดับนั้นๆ แต่หางานทำไม่ได้
  IS curve : เส้นดุลยภาพในตลาดสินค้า เป็นสภาพดุลภาพเมื่อไม่มีรัฐบาล ไม่มีการค้าต่างประเทศ เกิดจากสมมุติฐานว่า I = S (ซึ่งไม่จริง แม้เศรษฐกิจปิด และไม่มีรัฐบาล เป็นความเชื่อผิดตามท่าน John Maynard Keynes)
  Iso-cost line : เส้นต้นทุนเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนต่างๆแล้วเสียเงินเท่ากัน
  Isoquant : เส้นผลผลิตเท่ากัน โดยใช้ปัจจัยการผลิต 2อย่าง ที่ปรับสัดส่วนปัจจัยสองอย่างแล้วได้ผล
  ผลิตเท่ากัน
  Labour : แรงงาน หมายถึงแรงงานกล้ามเนื้อ และ ความคิด ของมนุษย์ ที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้าและ บริการ
  Labour force : กำลังแรงงาน มักหมายถึงจำนวนคนที่ทำงานได้
  Liquidity : สภาพคล่อง คือ ความง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงิน
  Liquidity preference : ความชอบที่จะถือเงินสดยิ่งกว่าถือทรัพย์สินที่ได้ดอกเบี้ย หมายความว่า อยากถือเงินสดไว้มากกว่าปล่อยให้กู้
  LM curve : เส้นดุลยภาพในตลาดเงิน เป็นสภาพดุลภาพเมื่อเงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือ หยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง เกิดจากสมมุติฐานว่า L = M คือ เงินที่ประชาชนควรมีถือในมือ หรือหยิบฉวยมาได้ง่าย เท่ากับ เงินที่มีให้ประชาชนถือจริง
  Long run : การพิจารณาเป็นระยะยาว เป็นการพิจารณาต้นทุนหลายเวลาพร้อมกัน แต่ละเวลาก็มี ต้นทุนคงที่ ซึ่งไม่เท่ากัน แต่นำมาคิดรวมเป็นต้นทุนรวมและต้นทุนเฉลี่ย
  Lorenz curve : เส้นแสดงความแตกต่างรายได้ของคนในสังคม
  M0 : ปริมาณเงินสดในมือประชาชนนอกสถาบันการเงิน บวก จำนวนเงินที่สถาบันการเงินฝากไว้กับ ธนาคารกลาง บางทีเรียกว่า ฐานเงิน (monetary base) บางทีเรียกว่า เงินพลังสูง (high-power money) ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มลดปริมาณเงินได้ง่าย
  M1 : เงินในความหมายอย่างแคบ (narrow money) เป็นเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ (เศษสตางค์) ธนบัตร เช็ค
  M2 : เงินในความหมายอย่างกว้าง (broadmoney) บางทีเรียกว่า สิ่งที่แปลงเป็นเงินได้ง่าย (near-money) ได้แก่ M1 บวกกับ เงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร(บางธนาคารเรียกว่า เงินฝากสะสมทรัพย์) บวกกับทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆที่เปลี่ยนเป็นเงินได้แต่อาจเสียเวลาบ้าง เช่น กองทุนซื้อหุ้นที่มอบให้สถาบันการเงินจัดการให้ เป็นต้น บางตำราแบ่งซอยถึง M8 ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
  Macroeconomics : เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การมีงานทำ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
  Managed float : การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ ธนาคารกลางก็เข้าแทรกแซงบ้างตามควร
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น