Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

The Sales Motivational Mix

1.   วัฒนธรรมการขาย (Sales Culture) ผู้ประกอบการต้องมีความชัดเจนในสร้างวัฒนธรรมเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานขาย ซึ่งจะประกอบไปด้วย พิธีเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนและแผนกิจวัตร (Ceremonies And Rites) เรื่องราว(Stories) ในการดำเนินงานของบริษัทสัญลักษณ์ (Symbols) และภาษา (Language) ที่ใช้ในการขาย
2.   การชดเชยพื้นฐาน (Basic Compensation) จะเป็นองค์ประกอบที่บริษัทต้องมีความชัดเจนซึ่งได้แก่เงินเดือน (Salary)คอมมิสชัน (Commissions) และผลประโยชน์อย่างอื่น (Fringe Benefits) ที่นอกเหนือจากเงินเดือน
3.   สิ่งจูงใจทางการเงินพิเศษ (Special Financial Incentives) ได้แก่โบนัส (Bonuses) เงินรางวัลจากการแข่งขัน (Contests)และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (Trips)
4.   รางวัลที่ไม่ใช่ทางการเงิน (Nonfinancial rewards) ได้แก่โอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง (Opportunity for Promotion) งานมอบหมายที่ท้าทาย (Challenging Work Assignments) และการยอมรับนับถือ (Recognition)
5.   การฝึกอบรมทางการขาย (Sales training) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการขายไม่ว่าจะเป็นอบรมการขายชั้นต้น (Initial) การขายปกติ ประจำวัน (Ongoing) หรือการประชุมสรุปทางการขาย (Sales Meetings)
6.   ความสร้างเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นทักษะเพิ่มเติมที่ผู้ประกอบการต้องสร้างการจูงใจเพิ่มเติมเพราะหากเน้นการขายมากเกินจะทำให้พนักงานท้อถ้อยดังนั้นเราควรเสริมทักษะในการเป็นผู้นำเพิ่มไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ (Style) ในการบริหารงาน บริหารตน หรือการบริหารทีมงาน รวมถึงการติดต่อส่วนบุคคล (Personal Contacts) เป็นต้น
7.   สุดท้ายคือความชัดเจนในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) โดยจะต้องรวมถึงวิธีการ (Method)ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance)ที่จับต้องได้ กิจกรรม (Activity)ในการขายและผลลัพธ์ที่เกิดข้น 

1.กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share)
แนวคิด เป็นการแย่งส่วนตลาดจากคู่แข่งขัน
วิธีการ ด้วยการเสนอสินค้าหรือข้อเสนอที่ดีกว่าหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน  และสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ทราบถึงประโยชน์และคุณค่าต่างๆ ของสินค้าเราซึ่งเหนือกว่าคู่แข่งขัน
2.กลยุทธ์การวิเคราะห์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies)
แนวคิด เน้นการซื้อของลูกค้าตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
วิธีการ ตรวจสอบประวัติการซื้อลูกค้า วิเคราะห์ฤดูการซื้อของลูกค้า และการแนะนำการขายให้ลูกค้าตามพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า
3.กลยุทธ์วิเคราะห์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies)
แนวคิด พัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันโดยการสำรวจว่าคู่แข่งดำเนินการค้ากับลูกค้าเราอย่างไร
วิธีการ วิเคราะห์คู่แข่งขัน วิเคราะห์กลยุทธ์ของคู่แข่งขันและปฏิบัติการขายเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
4.กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategies)
แนวคิด การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างสม่ำเสมอ
วิธีการ จำแนกสายผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ขายดี และ ที่ต้องการจะขาย พิจารณาสินค้าตามความเหมาะสมของลูกค้า นำเสนอและพิจารณาสินค้าให้ตรงกับลูกค้าแต่ละรายและ.ตรวจสอบและประเมินผลการขาย
5.กลยุทธ์การสร้างตรายี่ห้อ (Branding Strategies) ของบริษัท
แนวคิด เน้นการสร้างชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์หรือตัวบ่งชี้แสดงตัวสินค้า ของบริษัท โดยหากบริษัทมีสถานะในปัจจุบันที่ผลิตสินค้าในตราของลูกค้า
วิธีการ กระตุ้นลูกค้าในตราของบริษัทมากขึ้น วิเคราะห์ลูกค้าว่ามีกี่รายที่ใช้ตราตนเอง และ กี่รายที่ใช้ตราเรา ตรวจสอบการปฏิบัติการและการประเมินผล
                6.กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies) แบบตรงใจลูกค้า
แนวคิด กำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด และราคาที่ตั้งต้องสามารถลดได้เพราะหากลดไม่ได้ลูกค้าไม่ซื้อแน่ ๆ
วิธีการ วิเคราะห์ราคาเดิมของลูกค้า คำนวณราคาที่เป็นไปได้ เน้นการสร้างราคาสูง คุณภาพสูงและสร้างความแตกต่าง
7.กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies)
แนวคิด เจาะตลาดลูกค้าให้ครบทุกตลาด จากลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่
วิธีการ วิเคราะห์ลูกค้าเดิม ใน zone ต่าง ๆ (ผ่าน สถานทูต สมาคม ชมรม ฯลฯหาลูกค้าและเพิ่มลูกค้าให้เต็มทุกตลาด กำหนดและวางแผนวิธีการขายเพิ่ม ตรวจสอบและประเมินผล
8.กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies)
แนวคิด ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา และ ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าของ เราในช่วงระยะเวลาที่ยอดขายปกติและไม่ปกติ
วิธีการ Up and Cross Sale โดย วิเคราะห์ลูกค้าที่ปิดการขายไปแล้ว วิเคราะห์ตลาดว่า อันดับแรกของสินค้าที่ขายดี แนะนำลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขาย ปฏิบัติและประเมินผลการขาย
9.กลยุทธ์การตอบข้อโต้แย้งของลูกค้า
แนวคิด เพื่อเตรียมการในการตอบข้อโต้แย้งของลูกค้า
วิธีการสรุปส่งข้อคำถามของลูกค้ารายสัปดาห์ แก้ไขปัญหาร่วมกัน และทดลองปฏิบัติในการโต้ตอบลูกค้า
10.กลยุทธ์การส่งข่าวสาร (Message Strategies) ไปยังลูกค้า
แนวคิด สื่อสารถึงลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
วิธีการ กำหนดข้อมูลกลางในการสื่อสารกับลูกค้าทุกเดือนทำการสื่อสารถึงลูกค้า โดยเน้นการแจ้งข่าวที่เป็นประโยชน์ สรุป จำนวนลูกค้าที่ Response ต่อข่าวสารที่ส่ง
11.กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณา
แนวคิด เพิ่มยอดขายผ่านการเชิญชวนให้เกิดการซื้อผ่านสื่อของภาครัฐและเอกชน
วิธีการ 1. จัดทำเอกสารการขาย จัดทำสื่อการขาย จัดส่งสื่อการขาย แบบ hard copy and e-copy และ จัดทำ Web-site
วิธีการ 2. การลงสื่อในวารสารการส่งออก จัดทำ Art-work
12.กลยุทธ์การออกงานแสดงสินค้า
แนวคิด เพื่อหาลูกค้าใหม่ แนะนำสินค้าใหม่ และพบปะลูกค้าเดิม
อิทธิพลให้ขยายกิจการสู่ต่างประเทศมี 5 ประการดังนี้

1. บริษัทคู่แข่งซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาตินำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น และธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องหาตลาดในประเทศอื่น ๆ ทดแทนยอดขายที่สูญเสียไปจากการแข่งขันภายในประเทศ

2. ธุรกิจค้นพบว่าตลาดในบางประเทศสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจได้มากกว่า ด้วยการกำหนดราคาขายที่สูงกว่าตลาดภายในประเทศ ดังจะเห็นได้ชัดจากธุรกิจในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับ 

3. ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตมีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานลูกค้าเพื่อให้ปริมาณการผลิตเข้าสู่จุดคุ้มค่าของการผลิต (Economy of Scale) ซึ่งขนาดตลาดภายในประเทศไม่เพียงพอ

4. ธุรกิจต้องการลดภาวะพึ่งพิงจากตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองต่ำไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจ 

5. บ่อยครั้งที่กิจการจะต้องขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ เนื่องจากลูกค้าหลักของธุรกิจขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศและต้องการการบริการในประเทศนั้น ๆ ด้วย
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)

นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด

ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลยุทธ์ราคา (Pricing strategy)

1.      กลยุทธ์ราคา (Pricing strategy) ราคาไม่ได้เป็นเพียงเครื่องหมายแสดงมูลค่าสินค้าเพียงเท่านั้นแต่ราคายังเป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้คุณค่าของสินค้าและความภักดีของลูกค้าต่อสินค้าที่แตกต่างกัน
๑.     ความหมายโดยทั่วไปของราคา คือมูลค่าของสินค้า/บริการที่ต้องอาศัยสื่อกลางเป็นตัวแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นเงิน (money) แรงงาน (labor) สินค้าแลกสินค้า (bother trade) หรือสินค้าแลกบริการ (idea bother trade) เป็นต้น
๒.     เป้าหมายขององค์กรภาคธุรกิจคือการแสวงหากำไร (profit) = รายได้จากการขาย ( Sales Revenue) – ต้นทุนรวม (Total cost)
๓.     กลยุทธ์ราคาต้องคำนึงถึง
· ต้นทุนการผลิต (production cost)
· ต้นทุนการบริการการจัดการ (management cost)
ต้นทุนการตลาด (marketing cost: ประกอบด้วย ต้นทุนการผลิตบรรจุภัณฑ์ ออกแบบฉลาก โลโก้ ลิขสิทธิ์สินค้า/ ต้นทุนราคาประกอบด้วย ต้นทุนในการสนับสนุนคนกลางเพื่อจูงใจให้ขายสินค้าของบริษัทและต้นทุนในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นลูกค้า (end user) / ต้นทุนช่องทางการจัดจำหน่าย ประกอบด้วย  ต้นทุนของการตกแต่งร้านค้า โลเคชั่น การวางผังการจำหน่ายหน้าร้านและค่ากิจกรรมในการจูงใจคนกลางเช่นส่วนลดการค้า เครดิตการค้า เป็นต้น / ต้นทุนสำหรับการส่งเสริมการตลาดประกอบไปด้วยต้นทุน 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ต้นทุนค่า
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

อัตราส่วนประเมินผลธุรกิจโดยรวม

อัตราส่วนประเมินผลธุรกิจโดยรวม

  • ราคาตลาดกับกำไรสุทธิต่อหุ้น(Price/Earning (P/E) Ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น
ระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน
  • ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น (Price/Case Flow Ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้น/กระแสเงินสดต่อหุ้น
ราคาหุ้นต่อกระแสเงินสด 1 บาท ใช้สำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท
  • มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value per share) = ส่วนของผู้ถือหุ้น/จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
ราคาหุ้น คิดจากสินทรัพย์ของกิจการที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น
  • Market/Book ratio = ราคาตลาดต่อหุ้น/มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
ใช้วัดว่าผู้ลงทุนยินดีจ่ายเงิยซื้อหุ้นในราคาสูงกว่า เท่ากับ หรือต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีเพียงไร

DU PONT Equation

ROA = Profit Margin x Total Assets Turnover
ROA = PM x TATO
ROA = (NI/Sales) x (Sales/TA) = NI/TA

Modified Du Pont Equation

ROE = ROA x Equity Multiplier
ROE = PM x TATO x EM
ROE = NI/Sales x Sales/TA x TA/E = NI/E

ความหมายคำศัพท์


ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความหมาย หาได้จากไหน
อัตราส่วนหมุนเวียน current ratio บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ สูตร : สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียน Current Assets สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในเวลา 1 ปี เช่น เงินสด ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ วัสดุสิ้นเปลือง ตารางงบดุล
หนี้สินหมุนเวียน Current Liabilities หนี้สินที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ตารางงบดุล
อัตราส่วนหมุนเร็ว Quick or Acid test ratio ความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ โดยไม่ต้องขายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ สูตร : (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน
สินค้าคงเหลือ Inventory สินค้าคงเหลือในบัญชี ตารางงบดุล
อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ Inventory turnover ratio ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงเหลือ สูตร : ยอดขาย/สินค้าคงเหลือ
ยอดขาย Anual Sales ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงเหลือ ขายสุทธิ ในงบกำไรขาดทุน
ระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย DSO - Days Sales Outstanding จำนวนวันที่ใช้เก็บหนี้จากลูกหนี้การค้า สูตร : ลูกหนี้การค้า/ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน
ลูกหนี้การค้า Receivable ลูกหนี้การค้า งบดุล
ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน Sales ยอดขายเฉี่ยต่อวัน สูตร : ยอดขาย/365
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร Fixed assets turnover ratio ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อให้เกิดยอดขาย สูตร : ยอดขาย/สินทรัพย์ถาวร
สินทรัพย์ถาวร Net Fixed assets สินทรัพย์ถาวร ตารางงบดุล
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น Total assets turnover ratio ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดยอดขาย สูตร : ยอดขาย/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
สินทรัพย์ทั้งสิ้น Total assets สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ตารางงบดุล
อัตราส่วนหนี้สิน Debt ratio สินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้กี่ % สูตร : หนี้สินทั้งสิ้น/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
หนี้สินทั้งสิ้น Total Debt หนี้สินทั้งหมดของกิจการ ตารางงบดุล
TIE - Time Interest earned ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของธุรกิจ สูตร : EBIT/ดอกเบี้ยจ่าย
EBIT กำไรขาดทุน ก่อนที่จะทำการหัก ต้นทุนทางการเงินและภาษี งบกำไรขาดทุน
ดอกเบี้ยจ่าย Interest ดอกเบี้ยจ่าย งบกำไรขาดทุน
EBITDA coverage ratio ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร สูตร : (EBITDA + Lease payments) / (Interest + Loan repayments + Lease payments)
EBITDA กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา งบกำไรขาดทุน
ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว Lease payments ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว งบกระแสเงินสด
ชำระเงินต้น Loan repayments ชำระเงินต้น
อัตรากำไรสุทธิ Profit margin on sales กำไรเป็นกี่ % ของยอดขาย สูตร : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ยอดขาย
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ Net income available to common stockholder กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ กำไรสุทธิ ในตารางงบกำไรขาดทุน
BEP - Basic Earning Power ความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวม ภาษีและดอกเบี้ยจ่าย สูตร : EBIT/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ROA-Return on total assets,ROI-Return on Investment ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ สูตร : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
อัตราผลตอบแทนของผู้เป็นเจ้าของ ROE-Return on common Equity อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน สูตร : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ Common Equity อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน รวมส่วนของเจ้าของใน งบดุล
ราคาตลาดกับกำไรสุทธิต่อหุ้น Price/Earning (P/E) Ratio ระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน สูตร : ราคาตลาดต่อหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น
ราคาตลาดต่อหุ้น Price per share ราคาตลาดต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น
กำไรสุทธิต่อหุ้น Earning per share กำไรสุทธิต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น
ราคาตลาดกับกระแสเงินสดต่อหุ้น Price/Case Flow Ratio ราคาหุ้นต่อกระแสเงินสด 1 บาท ใช้สำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท สูตร : ราคาตลาดต่อหุ้น/กระแสเงินสดต่อหุ้น
กระแสเงินสดต่อหุ้น CFPS-Cash flow per share กระแสเงินสดต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น Book Value per share ราคาหุ้น คิดจากสินทรัพย์ของกิจการที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น สูตร : ส่วนของผู้ถือหุ้น/จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
Market/Book ratio ใช้วัดว่าผู้ลงทุนยินดีจ่ายเงิยซื้อหุ้นในราคาสูงกว่า เท่ากับ หรือต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีเพียงไร สูตร : ราคาตลาดต่อหุ้น/มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น BVPS - Book Value per share มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น ข้อมูลต่อหุ้น 

อัตราส่วนการทำกำไร

  • อัตรากำไรสุทธิ(Profit margin on sales) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ยอดขาย
กำไรเป็นกี่ % ของยอดขาย
  • Basic Earning Power(BEP) = EBIT/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ใช้วัดความสามารถในการทำกำไร โดยไม่รวม ภาษีและดอกเบี้ยจ่าย
  • อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA,ROI,Return on Investment,Return on total assets) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์
  • อัตราผลตอบแทนของผู้เป็นเจ้าของ (ROE,Return on common Equity) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ/ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ
อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการลงทุน

ROA กับ ROE ต่างกันที่ "เงินกู้"

ROA = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ROA บอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของกิจการ (ความสามารถของผู้บริหาร)
ROE = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ROA บอกถึง อัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ (คนละจุดประสงค์กับ ROA)

บริษัทที่มีหนี้สิน 0 จะมี ROE สูงขึ้น กว่ากรณีที่ไม่มีหนี้สิน เพราะเงินทุนส่วนของเจ้าของน้อยลงในขณะที่บริษัทมีรายได้เท่าเดิม แต่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ดอกเบี้ยที่เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงของกิจการ หากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ก็มีโอกาสขาดทุนได้มากกว่า

อัตราส่วนสภาพคล่อง

อัตราส่วนสภาพคล่อง

  • อัตราส่วนหมุนเวียน (current ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ
  • อัตราส่วนหมุนเร็ว (Quick or Acid test ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน
บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ โดยไม่ต้องขายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่

อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์

  • อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover ratio) = ยอดขาย/สินค้าคงเหลือ
ถ้ามีค่ามาก แสดงว่าสินค้ามีสภาพคล่องสูง ขายได้ง่าย
  • อัตราการหมุนลูกหนี้การค้า = ยอดขายต่อปี/ลูกหนี้การค้า
  • ระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DSO,Days Sales Outstanding) = ลูกหนี้การค้า/ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน = ลูกหนี้การค้า/(ยอดขายต่อปี/365)
เมื่อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแล้วใช้เวลากี่วันจึงจะเก็บเงินได้
  • ระยะเวลาในการเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย = 365/อัตราการหมุนของลูกหนี้การค้า
  • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed assets turnover ratio) = ยอดขาย/สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อให้เกิดยอดขาย
  • อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น(Total assets turnover ratio) = ยอดขาย/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด เพื่อให้เกิดยอดขาย อัตราการหมุนของสินทรัพย์ทั้งสิ้น บอกว่ากิจการมีสินทรัพย์ทั้งสิ้นที่มช้ในการดำเนินงานมากเกินไปหรือไม่ ถ้าหากค่านี้ต่ำแสดงว่าการใช้สินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นสินทรัพย์ไม่มีคุณภาพ ต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของสินทรัพย์แต่ละประเภทเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน

  • อัตราส่วนหนี้สิน (Debt ratio) = หนี้สินทั้งสิ้น/สินทรัพย์ทั้งสิ้น
กิจการมีสินทรัพย์เป็นของเจ้าหนี้กี่เปอร์เซ็น
  • Time Interest earned (TIE) = EBIT/ดอกเบี้ยจ่าย
ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยของธุรกิจ
  • EBITDA coverage ratio = (EBITDA + Lease payments) / (Interest + Loan repayments + Lease payments)

ใช้วัดว่ากระแสเงินสดสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำได้เพียงไร

สถาบันการเงิน

เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมเงินจากผู้ที่มีเงินออมแล้วนำไปจัดสรรให้กับผู้ที่ต้องการใช้เงิน เช่น
  1. ธนาคารพานิชย์
  2. บริษัทประกัน
  3. กองทุนรวม
  4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ดอกเบี้ย

ต้นทุนของเงิน

  • ต้นทุนของหนี้สิน คืออัตราดอกเบี้ย
  • ต้นทุนส่วนของเจ้าของ คือ ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วยเงินปันผลและกำไรส่วนทุน

องค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ย

k = k* + IP + DRP + LP + MRP
k = อัตราดอกเบี้ย
k* = อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
IP = ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
KRF = k*+IP = อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์รัฐบาล
DRP = Default risk premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
LP = Liquidity premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากสภาพคล่อง
MRP = Maturity Risk Premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน
ชนิดของหนี้สิน IP MRP DRP LP
ภาครัฐ ระยะสั้น +
ภาครัฐ ระยะยาว + +
เอกชน ระยะสั้น + + +
เอกชน ระยะยาว + + + +
  • เงินกู้ ต้องมี IP เสมอ
  • ระยะยาว ต้องมี MRP
  • เอกชน มีความเสี่ยง จึงต้องมี DRP และ LP

Yield curve

  • โดยปกติแล้วเงินกู้ระยะยาวมีความเสี่ยงมากขึ้น อัตราดอกเบี้ยจึงสูงขึ้นด้วย
  • เมื่อนำไปพล็อตกราฟ จะได้กราฟรูปโค้งขึ้นแบบ upword sloping (slide 4-30)
  • Yield curve ของบริษัทเอกชน จะสูงกว่า Yield curve ของรัฐบาล เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า
  • Yield curve ของบริษัทเอกชน ที่มีอันดับเครดิตไม่ดี จะสูงกว่า Yield curve ของบริษัทเอกชน ที่มีอันดับเครดิตดี เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า

PEH

Pure Expectations Theory(PEH) เป็นวิธีคำนวนหาอัตราดอกเบี้ยในอนาคตแบบคร่าวๆ จากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน โดยสมมติว่า MRP = 0

อัตราดอกเบี้ยระยะยาว = ค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปัจจุบัน + อัตราดอกเบี้ยประมาณการในอนาคต

ตัวอย่าง

อัตราดอกเบี้ย 2 ปี = 6.2%
อัตราดอกเบี้ย 5 ปี = 6.5%

ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยระหว่างต้นปีที่ 3 ถึงสิ้นปีที่ 5 ระยะเวลา 3 ปี คำนวณได้จาก

6.5% = [2(6.2%)+3(x%)]/5
32.5% = 12.4% + 3(x%)
6.7% = x%

PEH เป็นทฤษฏีที่ไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริง MRP ไม่เท่ากับ 0

ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน คือตลาดที่บุคคลที่ต้องการกู้เงิน มาพบกับผู้ที่มีเงินให้กู้
ชนิดของตลาด

  • Physical asset market ตลาดซื้อขายสินนทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น เครื่องจักร ที่ดินอาคาร สินค้าต่างๆ
  • Financial asset markets ตลาดซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง
  • Spot markets (on-the-spot) ตลาดที่ซื้อขายสินทรัพย์แล้วส่งมอบทันที ณ วันที่ซื้อขาย
  • Futures Market ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง
  • Capital markets ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอายุเกิน 1 ปี เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล
  • Mortgage markets ตลาดเกี่ยวกับการจำนองสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เช่น ที่ดิน อาคาร
  • Consumer credit markets ตลาดให้เช่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น รถยนต์ ตู้เย็น
  • World , National, Reginal and Local Markets ตลาดซึ่งแบ่งเขตการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ
  • Primary markets (ตลาดแรก) ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์ครั้งแรก (เรียกว่า หุ้น IPO)
  • Secondary Market (ตลาดรอง) ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์เปลี่ยนมือระหว่างผู้ลงทุนด้วยกัน
  • Initial public offering(IPO) market ตลาดย่อยของตลาดแรก บริษัทจะนำหุ้นเข้า IPO หลายครั้งเพื่อให้หุ้นกระจายในมือของบุคคลทั่วไปก่อน
  • Private Markets ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์แก่สถาบันโดยตรงซึ่งกำหนดไว้แน่นอนแล้ว
  • Public Markets ตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์แก่มหาชน 

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

สถิติที่นิยมใช้ในการบอกความเสี่ยงเฉพาะ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divaition) มีสูตรดังนี้
σ = sqrt(Σ(ki-k^)2Pi)

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (CV : ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน)

ค่าสัมประสิทธิความแปรปรวน คือ ความเสี่ยงของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 1 หน่วย
CV = σ/k^

การเลือกตัดสินใจลงทุน

  1. กรณีที่ k^ เท่ากัน เลือกหุ้นที่ σ ต่ำกว่า
  2. กรณีที่ σ เท่ากัน เลือกหุ้นที่ k^ สูงกว่า
  3. กรณีที่ k^ สูงกว่าและ σ สูงกว่า เลือกหุ้นที่ CV ต่ำกว่า

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio Risk) เป็นความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป การลงทุนในสินทรัพย์เป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยง ทำให้ความเสี่ยงต่ำลง

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

คำนวณด้วย ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
k^p = Σ(wik^i)

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

ตามปกติ σ ของ port จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ σ ของสินทรัพย์แต่ละตัว เพราะผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กัน
ตัวอย่างเช่น การลงทุนในกิจการ 2 กิจการ ซึ่งมีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า จะชดเชยผลตอบแทนของหลักทรัพย์อีกตัว ทำให้ผลตอบแทนรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้และความเสี่ยงตลาด

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

เป็นความเสี่ยงของหลักทรัพย์นั้น สามารถขจัดได้โดยการกระจายการลงทุน

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เป็นความเสี่ยงของตลาด ไม่สามารถกำจัดได้แม้จะกระจายการลงทุน ความเสี่ยงนี้วัดได้ด้วยค่าเบต้า beta (b) ของตลาด

Beta Coefficient : b

  • ใช้วัดความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เที่ยบกับความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
  • อัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ วัดจากการเคลื่อนไหวของดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ

ข้อสังเกตุ


  • ถ้า b = 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงเท่ากับตลาด
  • ถ้า b < 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด
  • ถ้า b > 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าตลาด

  •  

    ค่าเบต้าและ CAPM , SML

    Capital Asset Pricing Model : CAPM เป็นแบบจำลองที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน โดยมีหลักสำคัญคือ ผลตอบแทนที่ต้องการของหลักทรัพย์ เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง บวก อัตราผลตอบแทนจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรากำจัดความเสี่ยงที่กำจัดได้ออกไปแล้ว
    ki = kRF+(kM-kRF)bi
    ki = อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ
    kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง
    kM = อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
    bi = ค่าเบต้าของหุ้นสามัญ i

    ค่า beta ของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

    คำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของค่าเบต้า จากสินทรัพย์แต่ละตัว
    bP = w1b1 + w2b2 + w3b3 ...+wnbn
    bP = Σwibi
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ห้างหุ้นส่วน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วน คือ สัญญา ซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น" จากบทบัญญัติดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า กิจการห้างหุ้นส่วน คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ร่วมกันลงทุนและดำเนินกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจประเภทนี้สืบต่อมาจากธุรกิจเจ้าของคนเดียว เมื่อกิจการดำเนินงานก้าวหน้าขึ้น ต้องการเงินทุนและการจัดการเพิ่มขึ้น จึงต้องหาบุคคลที่ไว้วางใจได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนร่วมดำเนินงาน ทำให้กิจการ มีขนาดใหญ่ขึ้น การบริหารงานมีประสิทธิภาพมีสูงกว่าเดิม
ลักษณะของกิจการห้างหุ้นส่วน
1. มีผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำสัญญาร่วมกันดำเนินงาน ซึ่งอาจกระทำด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
2. มีการร่วมกันลงทุน โดยนำเงินสด ทรัพย์สินหรือแรงงานมาลงทุนตามข้อตกลง
3. มีการกระทำกิจการอย่างเดียวกันร่วมกัน
4. มีความประสงค์แบ่งผลกำไรกันตามข้อตกลง
ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิ ดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ จึงแบ่งห้างหุ้นส่วนสามัญได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้คำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลประกอบหน้าชื่อห้างเสมอ ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะต้องระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ชัดเจน ซึ่งจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น ที่มีสิทธิเข้าจัดการงาน ของห้างหุ้นส่วน และทำนิติกรรมต่าง ๆ ในนามห้างหุ้นส่วนได้
1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาของห้างหุ้นส่วน กฎหมายให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วน ทุกคน มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ประกอบหน้าชื่อของ ห้างหุ้นส่วนเสมอ ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงไม่เกิน จำนวนเงินที่ตนรับ จะลงทุน ในห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มีสิทธิเพียงออกความเห็น รับเป็นที่ปรึกษาและทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงิน หรือทรัพย์สินเท่านั้น จะเป็นแรงงานไม่ได้
2.2 หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน กฎหมายระบุว่า ต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน และทุนที่นำมา ลงทุน เป็นเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้
เครดิต คือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ในระยะแรก ๆ เครคิตเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ขายมีความเชื่อถือ ให้ผู้ซื้อ นำสินค้าไปก่อน และจ่ายเงินในภายหลังต่อมาเครดิตก็มีการพัฒนาขึ้นโดยการซื้อขายเป็นเงินเชื่อ จนมีการใช้เอกสารเครดิต เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน ประกอบด้วย เช่น บัตรเครดิต ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรหุ้นกู้ และมีการพัฒนาเครดิตจากการขายเชื่อเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว
3.1 ประเภทของบัตรเครดิต
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้เครดิต
1.1 เครดิตเพื่อการลงทุน ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือ ผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี และเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง ต้องการใช้เงิน เป็นจำนวนมาก เช่นซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร
1.2 เครดิตเพื่อการพาณิชย์ ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือผู้ที่ต้องการซื้อเชื่อสินค้าหรือบริการ โดยกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ ภายในระยะเวลาสั้นๆเช่น จ่ายชำระหนี้ภายใน30 วัน 60 วัน เป็นต้น
1.3 เครดิตเพื่อการบริโภค ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้คือผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือการผ่อนชำระซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินเชื่อ และกำหนด ระยะเวลา ในการชำระเงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย เช่น กำหนดให้ชำระเงินภายใน 30 วัน 45 วัน ถ้าชำระเร็วผู้ขายก็อาจจะมีการกำหนดให้ส่วนลดปัจจุบันเครดิตเพื่อการบริโภคได้พัฒนาเป็นบัตรเครดิต โดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะออกบัตรเครดิต ให้แก่ลูกค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น จะทำข้อตกลงกับธุรกิจผู้ขายสินค้น หรือบริการให้ลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตได้้ซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ โดยผู้ขายสินค้าหรือบริการจะส่งในเสร็จไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากสถาบันการเงินหรือธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต หลังจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้จ่ายเงินแทนลูกค้าไปแล้ว ก็จะเรียกเก็บเงินหรือหักยอดบัญชีของลูกค้า โดยปกติระยะเวลา การเรียกเก็บเงินจะเป็น วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน
2. แบ่งตามลักษณะของผู้ใช้เครดิต
2.1 รัฐบาลเป็นลูกหนี้ ในขณะที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐมีความต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบริหารประเทศ แต่รัฐบาลมีค่าใช้จ่าย มากกกว่า ภาษีที่จัดเก็บได้้จากประชาชน รัฐบาลก็สามารถจัดหาเงินได้จากการกู้ยืมจากธนาคารกลาง กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อเป็นดอกเบี้ย
2.2 เอกชนเป็นลูกหนี้ เอกชนได้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงินซึ่งในขณะนั้นมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้เครดิตที่ได้รับจะเป็นเครดิต ที่มีสถาบันการเงินออกให้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาที่มีหลักประกันที่มั่นคง หรือเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคาร
3. แบ่งตามระยะเวลาของการไถ่ถอน (ชำระคืน)
3.1 เครดิตชนิดเรียกเงินคืนได้ทันที่ต้องการ การให้เครดิตประเภทนี้ จะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน คือเจ้าหนี้ต้องแจ้งการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ทราบก่อน สามารถชำระหนี้ได้ทันทีที่ต้องการ
3.2 เครดิตระยะสั้น การใช้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 1 ปี คือลูกหนี้จะต้องนะเงินมาชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี
3.3 เครดิตระยะปานกลาง การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี คือลูกหนี้จะต้องนำเงินมาชำระให้ เจ้าหนี้เมื่อระยะเวลา กู้เกิน 1 ปี และต้องชำระให้หมดไม่เกิน 5 ปี
3.4 เครดิตระยะยาว การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 5 ปี ขึ้นไป สถาบันการเงินออกเครดิตประเภทนี้ ให้กับลูกค้าที่มีหลักประกัน เป็นที่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการเกิดหนี้สูญ เพราะเครดิตประเภทนี้ จำนวนที่กู้ยืมจะสูงหรือใช้ระยะเวลาในการไถ่ถอนนาน ผู้ให้เครดิตจึงมีความเสี่ยงสูงถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
3.2 เอกสารเครดิต คือเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐาน แสดงการเป็นหนี้ และระยะเวลาที่ต้องชำระหนี้ได้แก่
1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 982 บัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือ ตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ” ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายได้แก่ ผู้ออกตั๋ว มีสถาพเป็นลูกหนี้ และ ผู้รับเงิน มีสภาพเป็นเจ้าหนี้ ข้อความที่ปรากฎในตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วย
1.1 คำว่า “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน
1.2 มีข้อความเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน โดยปราศจากเงื่อนไข
1.3 วันและสถานที่ออกตั๋ว
1.4 กำหนดระยะเวลา หรือวันที่กำหนดใช้เงิน
1.5 สถานที่ใช้เงิน
1.6 ชื่อยี่ห้อของผู้รับเงิน
1.7 ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
2. ตั๋วแลกเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 908 บัญญัติไว้ว่า “ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายได้แก่
1. ผู้สั่งจ่าย มีสภาพเป็นเจ้าหนี้
2. ผู้จ่าย มีสภาพเป็นลูกหนี้
3. ผู้รับเงิน อาจจะเป็นเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่เจ้าหนี้ระบุให้เป็นผู้รับเงิน
ข้อความที่ปรากฎในตั๋วแลกเงินประกอบด้วย- คำว่า “ ตั๋วแลกเงิน ”
- มีข้อความเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวนที่แน่นอนโดยปราศจากเงื่อนไข
- วันและสถานที่ออกตั๋ว
3. พันธบัตร คือ ตราสาร ที่ผู้ออกตราสารสัญญาว่า จะคืนเงินต้นจำนวนแน่นอนและมีกำหนดเวลาชำระคืนเงินต้นที่แน่นอนให้แก่ผู้ซื้อตราสาร โดยผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ซื้อตราสารในรูปของดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุไว้หน้าตั๋ว
4. หุ้นสามัญ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกมาจำหน่ายเมื่อต้องการเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยตราสารนี้จะแสดงถึงความเป็นเจ้าของกิจการผู้ซื้อตราสารนี้ เรียกว่า ผู้ถือหุ้นโดยได้รับผลตอยแทน จากบริษัทผู้ออกตราสารคือ เงินปันผล จำนวนของเงินปันผลที่ได้รับขึ้นอยู่กับผลกำไรของบริษัทในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกกิจการ โดยได้คืนทุนเป็นกลุ่มสุดท้าย
5. หุ้นบุริมสิทธิ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกจำหน่ายเมื่อต้องการเงินเพื่อเป็นทุนของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นสามัญผลตอบแทนที่ได้รับ คือเงินปันผล จะได้รับในอัตราที่แน่นอนถ้าบริษัทมีผลกำไร และได้รับก่อนหุ้นสามัญ และการได้รับคืนทุนจะได้รับก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัเลิกกิจการ
6. หุ้นกู้ คือ ตราสารที่องค์การธุรกิจเอกชนออกจำหน่าย เมื่อมีความประสงค์จะกู้เงินจากบุคคลภายนอกโดยกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ และจำนวนเงินต้นที่จ่ายคืนแน่นอนโดยผู้ซื้อตราสารจะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน
3.3 สถาบันที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน
1. ธนาคาร คือ สถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดนทำหน้าที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเช่น บริการโอนเงิน บริการให้กู้ยืม บริการรับฝากเงิน บริการเกี่ยวกับการค้ำประกันบริการเกี่ยวกับการออกเอกสารเครดิตต่าง ๆ เป็นต้น
2. สถาบันการเงินอื่น ๆ คือ สถาบันการเงินที่นอกเหนือจากธนาคาร เช่น บริษัท เงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเหล่านี้ให้บริการส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์
3. ผู้ค้าคนกลาง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ได้แก่ ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง จำทำหน้าที่นำสินค้าจากผู้ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องนำสินค้าหรือบริการมาจำหน่ายเองโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคก็เกิดความสะดวกในการซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต และไม่ต้องซื้อสินค้าหรือบริการครั้งละเป็นจำนวนมาก
4. ตลาด คือ สถานที่ที่ทำการติดต่อซื้อขายกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะติดต่อกันโดยตรง หรือติดต่อผ่านระบบการสื่อสารก็ได้
เนื่องจากการแลกเปลี่ยน โดยใช้ของแลกของประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นมนุษย์จึงหาวิธีการแลกเปลี่ยนที่สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้ โดยการกำหนดสิ่งของบางอย่างขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยเรียกสิ่งนั้นว่า "เงิน"
เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมนั้นยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในขณะใดขณะหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งในแต่ละสังคม อาจจะใช้สิ่งใดแทนเป็นเงินก็ได้ โดยแต่ละสังคมอาจไม่เหมือนกัน สิ่งที่ใช้เป็นเงินตั้งแต่อดีต เช่น หนังสัตว์ เปลือกหอย อัญมณี ใบชา สัตว์ เกลือ เป็นต้น
เงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.1 เงินตราที่มีค่าสมบูรณ์ตามที่ตราไว้ คือ เงินตราที่มีค่าเท่ากับราคาของสิ่งที่นำมาทำเป็นเงินนั้น เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ค่าของเงิน 1 ดอลลาร์เทากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 23.22 เกรนและทองคำที่นำมาทำเหรียญดอลลาร์ ของสหรัฐอเมริกาในยุคแรกๆ ก็ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก 23.22 เกรน ดังนั้นไม่ว่าจะนำเงินตรา 1 ดอลลาร์ไปซื้อสินค้าหรือนำเหรียญมาหลอมนำออกขายก็จะได้มูลค่าเท่ากัน
2.2 เงินตราที่ใช้แทนเงินตราที่มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่กำหนดไว้ คือ เงินตราที่เป็นบัตรแทนเงินโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ จะเป็นผู้ออกบัตร โดยผู้เป็น เจ้าของบัตรสามารถสลักหลังโอนบัตรให้แก่ผู้อื่นได้ จึงสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่เดิมผู้ซื้อจะต้องนำเงินตรา มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่ตราไว้ นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งไม่สะดวกในการขนย้ายและไม่ปลอดภัย
2.3 เงินเครดิต คือเงินตราชนิดใดก็ตามที่มีมูลค่าของเงินจะสูงกว่าค่าของวัสดุที่นำมาทำเงินนั้น โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมกำหนดปริมารเงินเครดิต ให้มีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเงินประเภทนี้ไม่รวมถึงเงินตราที่ใช้แทนเงินตราที่มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่กำหนดไว้ เงินเครดิตแบ่งออกได้ ดังนี้
1. เหรียญกษาปณ์ คือ เงินตราที่ใช้โลหะในการผลิตโดยรัฐบาลเป็นผู้ออกกฏกำหนดราคาที่ตราไว้สูงกว่ามูลค่าของโลหะที่นำมาผลิตเหรียญ เช่น เหรียญ 5 บาท เมื่อนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจจะมีค่าเท่ากับ 5 บาท แต่เมื่อนำเหรียญมาหลอมนำออกขายจะได้ราคาต่ำกว่า 5 บาทปัจจุบัน
2. ธนบัตร คือ เงินตราที่ใช้กระดาษในการผลิต โดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศเป็นผู้ออกธนบัตร เพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ สามารถนำไปชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ปัจจุบันมีการนำวัสดุสังเคราะห์ประเภทพอลิเมอร์มาผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
3. เงินฝากเผื่อเรียก คือเงินฝากที่ประชาชนฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน สามารถใช้เช็คเป็นเครื่องมือในการถอนเงิน หรือโอนเงินเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่น ทำให้ผู้ฝากได้รับความสะดวก ความปลอดภัย และสามารถให้ผู้รับเงินตามเช็คสลักชื่อไว้หลังเช็คเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินไว้ด้วย

หน้าที่ของเงิน สรุปได้ดังนี้
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เนื่องจากสังคมใหญ่ขึ้น มนุษย์มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดเมื่อผลิตสิ่งของได้ก็นำไปแลกกับเงิน และสามารถนำเงิน ที่ได้รับไปซื้อสิ่งของอื่นที่มีความต้องการแต่ผลิตเองไม่ได้ ทำให้การผลิตมีปริมาณมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เป็นมาตรฐานในการกำหนดมูลค่า การกำหนดมูลค่าของสินค้าหรือบริการเป็นหน่วยของเงินเรียกว่าราคา การใช้เงินเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน จะทำให้สินค้นหรือบริการตีมูลค่าออกมาเป็นราคา เช่นข้าวเปล่า 1 จาน มีราคา 5 บาท ไข่ไก่ 1 ฟอง มีราคา 2.50 บาท หมู่ 1 ตัวราคา 5,000 บาท ทำให้การวัดค่าสิ่งต่างๆเป็นมาตรฐานเดียวกัน
3. เป็นมาตรฐานการจ่ายคืนในอนาคต การซื้อขายสินค้นหรือบริการในปัจจุบันมี 2 กรณีคือขายเป็นเงินสด คือ ชำระมูลค่า ณ วันที่ตกลงซื้อขาย และขาย เป็นเชื่อ คือ ตกลงชำระมูลค่าในภายหน้าการที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้การชำระหนี้ในอนาคตมีความมั่งคงและแน่นอนในมูลค่าเช่นณ วันนี้ นายดำรงตกลงซื้อเสื้อ 1 ตัว ราคา 200 บาท โดยจะจ่ายชำระเงินให้นายสุชาติ อีก 1 เดือน นับจากวันนี้เมื่อครบกำหนด ระยะเวลา 1 เดือนนายดำรงก็จ่ายชำระเงินให้นายสุชาติ 200 บาทตามข้อตกลง
4. เป็นการสะสมมูลค่า เมื่อมนุษย์มีการติดต่อซื้อขายกัน จะได้เงินเนื่องจากการแลกเปลี่ยนหรือคนงานทำงานให้นายจ้างได้ผลตอบแทนเป็นเงิน มนุษย์จะมีการสะสมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในอนาคต คนที่มีการสะสมเงินไว้มากก็จะแสดงถึงความมั่นคงทางฐานะทางเศรษฐกิจ

การแลกเปลี่ยน (Exchange)

การแลกเปลี่ยน (Exchange) คือ การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินค้าสิ่งของและบริการโดยอาจจะนำมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง หรือโดยอ้อมหรือวิธีการใด ๆ ก็ได้เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีความชำนาญเฉพาะอย่าง ที่ไม่เหมือนกัน และทรัพยากรในแต่ละถิ่นฐานต่างกัน เช่น บางคนมีความชำนาญ ในด้านการเพราะปลูก และถิ่นที่อยู่อาศัยอุดมสมบูรณ์ทำให้สามารถผลิตพืชผลได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่บางคนมีความชำนาญในด้านการจับสัตว์น้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้ทะเล ทำให้สามารถจับสัตว์น้ำได้เป็นจำนวนมาก แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด คนที่ผลิตพืชผลได้ก็มีความต้องการสิ่งอื่นนอกจากพืชที่ตัวเองผลิตได้ ส่วนคนที่จับสัตว์น้ำได้ก็มีความต้องการสิ่งอื่นนอกจากสัตว์น้ำที่ตนเองจับได้ จึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้นเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจ ที่มีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการสนองต่อความต้องการของมนุษย์มากที่สุด

ในสมัยโบราณการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคแรก ๆ อาศัยการล่าสัตว์ เก็บผลไม้และอาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ละคนแต่ละครอบครัวทำทุกอย่างด้วยตนเอง ต่อมาสังคมมนุษย์ขยายใหญ่ขึ้นมนุษย์เริ่มรู้จักทำการเพาะปลูก จับสัตว์มาเลี้ยง และสร้างที่อยู่อาศัย จึงเริ่มมีการแบ่งหน้าที่ทำตามความถนัดของแต่ละคน และนำของที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวผลิตได้มาแลกกันเพื่อสนองความต้องการเช่น นายดำปลูกข้าวแต่มีความต้องการเนื้อไก่ นายแดงเลี้ยงไก่ แต่มีความต้องการข้าว ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนายดำกับนายแดงที่มีความต้องการตรงกัน แต่ระบบการแลกเปลี่ยนของแลกของ ในการปฎิบัติมี ความยุ่งยากเกิดขึ้นหลายประการซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้
1.1 ความต้องการของแต่ละคนไม่ตรงกัน ในการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของนั้นความต้องการของทั้งสองฝ่ายจะต้องตรงกัน จึงจะสามารถแลกเปลี่ยน กันได้ เช่น นายขาวปลูกส้ม มีความต้องการเครื่องนุ่งห่ม นายเขียวทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่มมีความต้องการข้าว ดังนั้น นายขาวต้องการเครื่องนุ่งห่มจากนายเขียว แต่นายเขียวไม่มีความต้องการส้มของนายขาว การแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้นไม่ได้จนกว่าทั้งนายขาวและนายเขียวจะพบคนที่มีความต้องการและมีสิ่งของตรงตามที่ต้องการจึงแลกเปลี่ยนกันได้
1.2 เสียเวลาและมไม่สะดวกในการขนส่ง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ จำเป็นต้องขนของที่ตนเองมีอยู่เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องเดินทางไกล จนกว่าจะพบผู้ที่ต้องการตรงกัน ทำให้เสียเวลาในการขนส่งและถ้าของที่จะนำไปแลกเปลี่ยนนั้นเป็นของใหญ่ มีน้ำหนักมากจะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการขนส่งอีกด้วย
1.3 ของบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ของแต่ละอย่างมีอายุไม่เท่ากันของบางอย่างอายุยาวสามารถเก็บได้นาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม เสื้อ เครื่องมือเครื่องใช้แต่ของบางอย่างอายุสั้นไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ จึงไม่เหมาะสมสำหรับเก็บไว้เพื่อแลกเปลี่ยนในอนาคต เพราะของจะแปลสภาพ ทำให้มูลค่าของสิ่งของนั้นหมดไป
1.4 ของบางอย่างไม่สามารถแบ่งย่อยได้ การแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของไม่สะดวกในการแลกเปลี่ยนที่ไม่พอดีกันในปริมาณ เช่น นายแดงปลูกข้าวมีความต้องการเนื้อวัว 1 ขา นายขาวเลี้ยงวัวมีความต้องการข้าว 20 ถัง แลกกับวัว 1 ตัว แต่นายแดงต้องการวัวเพียง 1 ขา จึงต้องการแลกกับข้าว 5 ถังซึ่งนายขาวไม่สามารถแลกเปลี่ยนให้ได้ เพราะถ้าให้วัวนายแดง 1 ขา วัวส่วนที่เหลือจะเสียไป นายขาวจึงต้องหาคนที่มีความต้องการวัว และมีข้าวอีก 15 ถังมาแลกเปลี่ยน ดังนั้น การแลกเปลี่ยนระหว่างนายแดงและนายขาวจึงไม่เกิดขึ้น

แผนธุรกิจกับ SMEs ในหลายๆตอนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ที่มาของแผนธุรกิจ เหตุผลในการจัดทำ แผนธุรกิจ หน้าที่ของแผนธุรกิจ แนวคิดของแผนธุรกิจที่ดี ประเภทและประเด็นสำคัญต่างๆของแผนธุรกิจประเภทต่างๆ ในตอนนี้จะเป็นการกล่าวถึง ลักษณะของการใช้ประโยชน์จากแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งแผนธุรกิจที่ถูกจัดทำขึ้นโดย ผู้ประกอบการนั้น สามารถสรุปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้ 3 ลักษณะกล่าวคือ
- ใช้เป็นเครื่องมือ (Tools)
- ใช้เป็นแผนที่ (Map)
- ใช้เป็นข้อตกลง (Agreement)
ใช้เป็นเครื่องมือ (Tools) กล่าวคือแผนธุรกิจถือเป็นเครื่องมือสำหรับ ผู้ประกอบการในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ การพยากรณ์ การวิเคราะห์ การดำเนินการ การทบทวน การติดตาม และการประเมินผลในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เป็น เครื่องมือ เพื่อการขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เช่น การขอวงเงินสินเชื่อ การขอเข้าร่วมกองทุนร่วมลงทุน การขอรับเงินสนับสนุนช่วยเหลือ ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันแผนธุรกิจถือเป็นเอกสารบังคับขั้นพื้นฐาน ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน รวมถึงหน่วยงานสนับสนุน ผู้ประกอบการทั้ง ภาครัฐและเอกชน ขอให้ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นประกอบการพิจารณาในการให้การสนับสนุน โดยสำหรับผู้ประกอบการใหม่ หรือผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจจะถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคิดวางแผน ตรวจสอบ และศึกษา เกี่ยวกับ รายละเอียดต่างๆ ในการทำธุรกิจ ผ่านหัวข้อโครงสร้างต่างๆ (Business Plan Outlines or Business Plan Topics) ที่ระบุไว้ใน แผนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ตลาดและอุตสาหกรรม ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพตลาด และผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับ ธุรกิจจากปัจจัยมหภาคนั้นๆ สามารถรู้ถึงสภาวะการแข่งขัน คู่แข่งขัน การวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่ธุรกิจเป็นอยู่ เพื่อกำหนด แผนการดำเนินการต่างๆของธุรกิจ ภายใต้ข้อจำกัดของธุรกิจที่เป็นอยู่ เช่น เงินทุน ผู้ถือหุ้น รูปแบบธุรกิจ ที่จะดำเนินการ จัดตั้ง นโยบายในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ผ่านรายละเอียดตามโครงสร้างของแผนบริหารจัดการ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ มีการวางแผนในด้าน การบริหารจัดการองค์กร การวางแผนงานด้านบุคลากร เป็นต้น ผ่านแผนการตลาด ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ มีการวางแผน ด้านการตลาด การกำหนดลูกค้าเป้าหมาย จำนวนลูกค้า การเปลี่ยนแปลงต่างๆทางการตลาด ประมาณการเกี่ยวกับ รายได้หรือ ยอดขายของธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านราคา กลยุทธ์ด้านช่องทาง จัดจำหน่าย และกลยุทธ์ด้านส่งเสริมการตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือ ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ผ่านแผนการผลิต หรือแผนบริการ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการกำหนดหรือรู้รายละเอียด เกี่ยวกับการวางแผนการผลิต หรือแผนการให้บริการ ของธุรกิจ มาตรฐานหรือเป้าหมายต่างๆในการผลิตหรือการให้บริการ ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากกระบวนในการผลิตหรือการให้บริการ เป็นต้น และผ่านแผนการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการกำหนดเกี่ยวกับรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย เพื่อประมาณการเกี่ยวกับผลกำไร หรือแหล่งที่มา หรือใช้ไปของเงินทุนใน การดำเนินกิจการ มูลค่าของธุรกิจ เป็นต้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึง สภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรงในตลาดและอุตสาหกรรม ทำให้การจัดทำแผนธุรกิจในปัจจุบัน มักมีการกำหนดให้มีการจัดทำเกี่ยวกับ แผนประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Plan) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินถึงปัจจัย หรือความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับ ธุรกิจ และสามารถ คาดการณ์หรือทราบถึง ผลกระทบต่างๆ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจ สามารถดำเนินการ ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง แม้ว่าธุรกิจจะประสบปัญหาขึ้นก็ตาม จากรายละเอียดดังกล่าวจะเห็นว่า ในข้อเท็จจริงแล้วแผนธุรกิจ (Business Plan) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจ (Plan Business) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะละเลยประเด็นดังกล่าว แต่ไปให้ความสนใจในประเด็นของการใช้แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการขอรับ การสนับทางการเงินมากกว่าเป็น เครื่องมือในการวางแผน ทำให้บางครั้ง มักจะละเลยในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ของการวางแผนธุรกิจอย่างถูกต้อง จึงไปเน้นความสำคัญในแง่ของการจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ มากกว่ากระบวนการในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลในทางลบมากกว่าประโยชน์ที่ได้ในกรณีที่ธุรกิจประสบปัญหาขึ้น และไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า โดยเฉพาะ ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้มีการใช้สิ่งที่ระบุไว้แผนธุรกิจในการดำเนินการของธุรกิจจริง
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์

เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์Applied Microeconomics) เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตซึ่งรวมไปถึงการศึกษาที่เจาะจงเฉพาะด้านด้วย สาขาที่เกี่ยวกับทางด้านประยุกต์ส่วนมากมักจะใช้เรื่องเกี่ยวกับ ทฤษฎีราคา (Price Theory), อุปสงค์ และ อุปทาน (Demand & Supply), การจัดการอย่างเป็นระบบในด้านอุตสาหกรรม (Industrial Organization) และ การควบคุม (Regulation) หัวข้อที่จะสนใจศึกษา อย่างเช่น การเข้าและการออกคนงานของบริษัท, นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์, บทบาทของเครื่องหมายการค้า, กฎหมาย และ เศรษฐศาสตร์ เพียงเล็กน้อยหรือมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับสาขาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหลักการเลือกใช้ เศรษฐศาสตร์จุลภาคประยุกต์นั้น จะขึ้นอยู่กับ enforcement of competing, กฎหมาย, ระบบการปกครอง และ their relative efficiencies ยกตัวอย่างเช่น
  • เศรษฐศาสตร์แรงงาน (Labour Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ ค่าจ้าง, การจ้างงาน และการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน
  • การคลังสาธารณะ (Public Finance) บางครั้งก็จะถูกเรียกว่า เศรษฐศาสตร์สาธารณะ (Public Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ การกำหนดภาษีของภาครัฐบาล, นโยบายของค่าใช้จ่าย และ ผลทางเศรษฐกิจของนโยบายเหล่านั้น (เช่น โปรแกรมด้านประกันทางสังคม)
  • เศรษฐศาสตร์การเมือง (Politicial Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันทางการเมืองในการพิจารณาผลของนโยบาย
  • เศรษฐศาสตร์สุขภาพ (Health Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ องค์กรของระบบการดูแลสุขภาพ รวมทั้งบทบาทของ พนักงานการดูแลสุขภาพ และ โปรแกรมการประกันสุขภาพ
  • เศรษฐศาสตร์เมือง (Urban Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเมือง เช่น การขยายตัวของเมือง, มลพิษทางอากาศและทางน้ำ, ปัญหาการจราจร, ความยากจน และ วางแผนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์เมืองและสังคมวิทยา
  • เศรษฐศาสตร์การเงิน (Financial Economics) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับโครงสร้างของ พอร์ต การ ลงทุน ที่ ดี ที่สุด ให้ อัตรา ผล ตอบแทน ให้ ทุน การ วิเคราะห์ เศรษฐมิติ ของ ผล การ รักษา ความ ปลอดภัย และ พฤติกรรมทางการเงินของบริษัท
  • ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (Economic History) สนใจศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ เศรษฐกิจ และ สถาบันทางเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการและเทคนิค มาจากทางด้าน เศรษฐกิจ, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา และ รัฐศาสตร์
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม จีดีพี เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้

การวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ สามารถวัดได้ 2 วิธี ได้แก่
1. การวัดรายจ่าย (Expenditure Approach) ที่จ่ายให้สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
GDP = รายจ่ายเพื่อบริโภค + รายจ่ายเพื่อการลงทุน + รายจ่ายของรัฐบาล + รายจ่ายสุทธิของต่างประเทศที่ซื้อสินค้าผลิตในประเทศ
หรือ GDP = Consumption + Investment + Government spending + (exports – imports)
2. การวัดรายได้ (Resource Cost - Income Approach) ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย
GDP = ค่าจ้างและเงินเดือนลูกจ้าง + รายได้เจ้าของธุรกิจส่วนตัว + กำไรของบริษัท (รายได้ผู้ถือหุ้น) + ดอกเบี้ย (รายได้เจ้าหนี้) + ค่าเช่า (รายได้เจ้าของสินทรัพย์) + ภาษีธุรกิจทางอ้อม + ค่าเสื่อมราคา + รายได้สุทธิของคนต่างชาติในประเทศ
หมายเหตุ: ภาษีทางอ้อมคือภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าหรือบริการโดยผู้ที่มีหน้าที่ชำระภาษีโดยตรง (ผู้เสียภาษีคนแรก) สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากวิธีการวัด GDP ด้วยรายจ่ายเป็นวิธีที่พื้นฐานที่สุดในการวัดและเข้าใจ GDP ดังนั้น จะอธิบายตัวแปรในสมการที่คำนวณ GDP ด้วยการวัดรายจ่ายเท่านั้น ดังต่อไปนี้
GDP = C + I + G + NE หรือ C + I + G + (X - M)
Consumption (C) หมายถึง การบริโภคภาคเอกชน (Private consumption) ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลแทบทั้งหมดเช่น อาหาร ค่าเช่า ค่ายา แต่ไม่รวมการซื้อบ้านหลังใหม่
Investment (I) หมายถึง การลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน เช่น การก่อสร้างเหมืองแร่ใหม่ การซื้อซอฟต์แวร์ การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับโรงงาน เป็นต้น การใช้จ่ายโดยครัวเรือนเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ถูกรวมไว้ในการลงทุนเช่นกัน ทว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ไม่ถูกจัดว่าเป็นการลงทุนแต่เป็นการออม (Saving) จึงไม่ถูกรวมใน GDP เพราะเป็นเพียงการสับเปลี่ยนเอกสารทางกฎหมายเท่านั้น ซึ่งเงินนั้นไม่ได้ถูกแปลงให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่แท้จริง และถูกจัดให้เป็นรายจ่ายประเภทเงินโอน (Transfer payment)
หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิของภาคการเงินเท่านั้นที่ถูกมองว่าเป็นการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม จึงถูกรวมไว้ใน GDP
Government Spending (G) หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ซึ่งรวมถึงเงินเดือนของข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ แต่ไม่รวมรายจ่ายประเภทโอนเงินอย่างเช่น สวัสดิการสังคมหรือผลประโยชน์จากการว่างงาน

Net Exports (NE) หมายถึง การส่งออกสุทธิ หรือการส่งออก (X) ลบด้วยการนำเข้า (M) นั่นเอง ที่ต้องลบการนำเข้าเพราะตัวเลขการบริโภคสินค้าและบริการที่ถูกนำเข้ามาบริโภคจะถูกรวมไว้ใน C, I, และ G แล้ว
วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ต้นทุนการผลิต (cost of production)

ต้นทุนการผลิต (cost of production) หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในปัจจัยการผลิตที่ใช้ในกระบวนการผลิต เนื่องจากปัจจัยการผลิต
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัจจัยคงที่ กับปัจจัยผันแปร ดังนั้นต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในปัจจัยการผลิตจึงแบ่งตามประเภท
ของปัจจัยการผลิต ออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกัน คือ 

ต้นทุนคงที่ (fixed cost)
 หมายถึงค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในการผลิตที่เกิดจากการใช้
ปัจจัยคงที่ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าต้นทุนคงที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายที่ไม่ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของ ผลผลิต กล่าวคือ ไม่ว่าจะผลิตปริมาณมาก ปริมาณน้อย หรือไม่ผลิตเลย ก็จะ
เสียค่าใช้จ่ายในจำนวนที่ คงที่ ตัวอย่างของต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ซื้อที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต 

ต้นทุนผันแปร (variable cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในการผลิตที่เกิดจากการใช
้ปัจจัยผันแปร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าต้นทุนผันแปรเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายที่ขึ้น
อยู่กับ ปริมาณของผลผลิต กล่าวคือ ถ้าผลิตปริมาณมากก็จะเสียต้นทุนมาก ถ้าผลิตปริมาณ
น้อยก็จะเสียต้นทุน น้อย และจะไม่ต้องจ่ายเลยถ้าไม่มีการผลิต ตัวอย่าง
ของต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าน้ำประปา 
ค่าไฟฟ้า ฯลฯ นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งต้นทุนการผลิตเรายังสามารถแบ่งต้นทุนการผลิตออกเป็นต้นทุนทาง
บัญชีกับต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันดังนี้ 

ต้นทุนทางบัญชี (business cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตซึ่งคิดเฉพาะรายจ่ายที่เห็นชัดเจน 
มีการจ่ายเกิดขึ้นจริงๆ (explicit cost) 

ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (economic cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเนื่อง
จากการผลิต ทั้งรายจ่ายที่เห็นชัดเจนว่ามีการจ่ายจริงและรายจ่ายที่มองไม่เห็นชัดเจนหรือ
ไม่ต้อง จ่ายจริง (implicit cost) 

รายจ่ายที่เห็นชัดเจนว่ามีการจ่ายจริง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายออกไปเป็นตัวเงิน 
เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และอื่นๆ