Custom Search
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

สถิติที่นิยมใช้ในการบอกความเสี่ยงเฉพาะ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divaition) มีสูตรดังนี้
σ = sqrt(Σ(ki-k^)2Pi)

การคำนวณความเสี่ยงเฉพาะ (CV : ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน)

ค่าสัมประสิทธิความแปรปรวน คือ ความเสี่ยงของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 1 หน่วย
CV = σ/k^

การเลือกตัดสินใจลงทุน

  1. กรณีที่ k^ เท่ากัน เลือกหุ้นที่ σ ต่ำกว่า
  2. กรณีที่ σ เท่ากัน เลือกหุ้นที่ k^ สูงกว่า
  3. กรณีที่ k^ สูงกว่าและ σ สูงกว่า เลือกหุ้นที่ CV ต่ำกว่า

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio Risk) เป็นความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป การลงทุนในสินทรัพย์เป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการกระจายความเสี่ยง ทำให้ความเสี่ยงต่ำลง

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

คำนวณด้วย ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
k^p = Σ(wik^i)

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

ตามปกติ σ ของ port จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ σ ของสินทรัพย์แต่ละตัว เพราะผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กัน
ตัวอย่างเช่น การลงทุนในกิจการ 2 กิจการ ซึ่งมีผลประกอบการแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า จะชดเชยผลตอบแทนของหลักทรัพย์อีกตัว ทำให้ผลตอบแทนรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้และความเสี่ยงตลาด

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้

เป็นความเสี่ยงของหลักทรัพย์นั้น สามารถขจัดได้โดยการกระจายการลงทุน

ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เป็นความเสี่ยงของตลาด ไม่สามารถกำจัดได้แม้จะกระจายการลงทุน ความเสี่ยงนี้วัดได้ด้วยค่าเบต้า beta (b) ของตลาด

Beta Coefficient : b

  • ใช้วัดความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เที่ยบกับความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
  • อัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ วัดจากการเคลื่อนไหวของดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ

ข้อสังเกตุ


  • ถ้า b = 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงเท่ากับตลาด
  • ถ้า b < 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด
  • ถ้า b > 1 หลักทรัพย์ตัวนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าตลาด

  •  

    ค่าเบต้าและ CAPM , SML

    Capital Asset Pricing Model : CAPM เป็นแบบจำลองที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน โดยมีหลักสำคัญคือ ผลตอบแทนที่ต้องการของหลักทรัพย์ เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง บวก อัตราผลตอบแทนจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรากำจัดความเสี่ยงที่กำจัดได้ออกไปแล้ว
    ki = kRF+(kM-kRF)bi
    ki = อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ
    kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง
    kM = อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
    bi = ค่าเบต้าของหุ้นสามัญ i

    ค่า beta ของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

    คำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของค่าเบต้า จากสินทรัพย์แต่ละตัว
    bP = w1b1 + w2b2 + w3b3 ...+wnbn
    bP = Σwibi

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น