- ธนาคารพานิชย์
- บริษัทประกัน
- กองทุนรวม
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ดอกเบี้ย
ต้นทุนของเงิน
- ต้นทุนของหนี้สิน คืออัตราดอกเบี้ย
- ต้นทุนส่วนของเจ้าของ คือ ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับ ประกอบด้วยเงินปันผลและกำไรส่วนทุน
องค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ย
k = k* + IP + DRP + LP + MRPk = อัตราดอกเบี้ย
k* = อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
IP = ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ
KRF = k*+IP = อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์รัฐบาล
DRP = Default risk premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด
LP = Liquidity premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากสภาพคล่อง
MRP = Maturity Risk Premium ส่วนชดเชยความเสี่ยงจากระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน
ชนิดของหนี้สิน | IP | MRP | DRP | LP |
---|---|---|---|---|
ภาครัฐ ระยะสั้น | + | |||
ภาครัฐ ระยะยาว | + | + | ||
เอกชน ระยะสั้น | + | + | + | |
เอกชน ระยะยาว | + | + | + | + |
- เงินกู้ ต้องมี IP เสมอ
- ระยะยาว ต้องมี MRP
- เอกชน มีความเสี่ยง จึงต้องมี DRP และ LP
Yield curve
- โดยปกติแล้วเงินกู้ระยะยาวมีความเสี่ยงมากขึ้น อัตราดอกเบี้ยจึงสูงขึ้นด้วย
- เมื่อนำไปพล็อตกราฟ จะได้กราฟรูปโค้งขึ้นแบบ upword sloping (slide 4-30)
- Yield curve ของบริษัทเอกชน จะสูงกว่า Yield curve ของรัฐบาล เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า
- Yield curve ของบริษัทเอกชน ที่มีอันดับเครดิตไม่ดี จะสูงกว่า Yield curve ของบริษัทเอกชน ที่มีอันดับเครดิตดี เพราะมีความเสี่ยงสูงกว่า
PEH
Pure Expectations Theory(PEH) เป็นวิธีคำนวนหาอัตราดอกเบี้ยในอนาคตแบบคร่าวๆ จากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน โดยสมมติว่า MRP = 0อัตราดอกเบี้ยระยะยาว = ค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปัจจุบัน + อัตราดอกเบี้ยประมาณการในอนาคต
ตัวอย่าง
อัตราดอกเบี้ย 2 ปี = 6.2%
อัตราดอกเบี้ย 5 ปี = 6.5%
ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยระหว่างต้นปีที่ 3 ถึงสิ้นปีที่ 5 ระยะเวลา 3 ปี คำนวณได้จาก
6.5% = [2(6.2%)+3(x%)]/5
32.5% = 12.4% + 3(x%)
6.7% = x%
PEH เป็นทฤษฏีที่ไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริง MRP ไม่เท่ากับ 0
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น