Custom Search
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การแลกเปลี่ยนโดยใช้เครดิต

เครดิต คือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ในระยะแรก ๆ เครคิตเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ขายมีความเชื่อถือ ให้ผู้ซื้อ นำสินค้าไปก่อน และจ่ายเงินในภายหลังต่อมาเครดิตก็มีการพัฒนาขึ้นโดยการซื้อขายเป็นเงินเชื่อ จนมีการใช้เอกสารเครดิต เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน ประกอบด้วย เช่น บัตรเครดิต ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรหุ้นกู้ และมีการพัฒนาเครดิตจากการขายเชื่อเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว
3.1 ประเภทของบัตรเครดิต
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้เครดิต
1.1 เครดิตเพื่อการลงทุน ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือ ผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี และเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง ต้องการใช้เงิน เป็นจำนวนมาก เช่นซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร
1.2 เครดิตเพื่อการพาณิชย์ ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือผู้ที่ต้องการซื้อเชื่อสินค้าหรือบริการ โดยกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ ภายในระยะเวลาสั้นๆเช่น จ่ายชำระหนี้ภายใน30 วัน 60 วัน เป็นต้น
1.3 เครดิตเพื่อการบริโภค ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้คือผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือการผ่อนชำระซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินเชื่อ และกำหนด ระยะเวลา ในการชำระเงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย เช่น กำหนดให้ชำระเงินภายใน 30 วัน 45 วัน ถ้าชำระเร็วผู้ขายก็อาจจะมีการกำหนดให้ส่วนลดปัจจุบันเครดิตเพื่อการบริโภคได้พัฒนาเป็นบัตรเครดิต โดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะออกบัตรเครดิต ให้แก่ลูกค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น จะทำข้อตกลงกับธุรกิจผู้ขายสินค้น หรือบริการให้ลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตได้้ซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ โดยผู้ขายสินค้าหรือบริการจะส่งในเสร็จไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากสถาบันการเงินหรือธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต หลังจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้จ่ายเงินแทนลูกค้าไปแล้ว ก็จะเรียกเก็บเงินหรือหักยอดบัญชีของลูกค้า โดยปกติระยะเวลา การเรียกเก็บเงินจะเป็น วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน
2. แบ่งตามลักษณะของผู้ใช้เครดิต
2.1 รัฐบาลเป็นลูกหนี้ ในขณะที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐมีความต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบริหารประเทศ แต่รัฐบาลมีค่าใช้จ่าย มากกกว่า ภาษีที่จัดเก็บได้้จากประชาชน รัฐบาลก็สามารถจัดหาเงินได้จากการกู้ยืมจากธนาคารกลาง กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อเป็นดอกเบี้ย
2.2 เอกชนเป็นลูกหนี้ เอกชนได้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงินซึ่งในขณะนั้นมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้เครดิตที่ได้รับจะเป็นเครดิต ที่มีสถาบันการเงินออกให้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาที่มีหลักประกันที่มั่นคง หรือเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคาร
3. แบ่งตามระยะเวลาของการไถ่ถอน (ชำระคืน)
3.1 เครดิตชนิดเรียกเงินคืนได้ทันที่ต้องการ การให้เครดิตประเภทนี้ จะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน คือเจ้าหนี้ต้องแจ้งการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ทราบก่อน สามารถชำระหนี้ได้ทันทีที่ต้องการ
3.2 เครดิตระยะสั้น การใช้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 1 ปี คือลูกหนี้จะต้องนะเงินมาชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี
3.3 เครดิตระยะปานกลาง การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี คือลูกหนี้จะต้องนำเงินมาชำระให้ เจ้าหนี้เมื่อระยะเวลา กู้เกิน 1 ปี และต้องชำระให้หมดไม่เกิน 5 ปี
3.4 เครดิตระยะยาว การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 5 ปี ขึ้นไป สถาบันการเงินออกเครดิตประเภทนี้ ให้กับลูกค้าที่มีหลักประกัน เป็นที่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการเกิดหนี้สูญ เพราะเครดิตประเภทนี้ จำนวนที่กู้ยืมจะสูงหรือใช้ระยะเวลาในการไถ่ถอนนาน ผู้ให้เครดิตจึงมีความเสี่ยงสูงถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
3.2 เอกสารเครดิต คือเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐาน แสดงการเป็นหนี้ และระยะเวลาที่ต้องชำระหนี้ได้แก่
1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 982 บัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือ ตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ” ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายได้แก่ ผู้ออกตั๋ว มีสถาพเป็นลูกหนี้ และ ผู้รับเงิน มีสภาพเป็นเจ้าหนี้ ข้อความที่ปรากฎในตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วย
1.1 คำว่า “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน
1.2 มีข้อความเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน โดยปราศจากเงื่อนไข
1.3 วันและสถานที่ออกตั๋ว
1.4 กำหนดระยะเวลา หรือวันที่กำหนดใช้เงิน
1.5 สถานที่ใช้เงิน
1.6 ชื่อยี่ห้อของผู้รับเงิน
1.7 ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
2. ตั๋วแลกเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 908 บัญญัติไว้ว่า “ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายได้แก่
1. ผู้สั่งจ่าย มีสภาพเป็นเจ้าหนี้
2. ผู้จ่าย มีสภาพเป็นลูกหนี้
3. ผู้รับเงิน อาจจะเป็นเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่เจ้าหนี้ระบุให้เป็นผู้รับเงิน
ข้อความที่ปรากฎในตั๋วแลกเงินประกอบด้วย- คำว่า “ ตั๋วแลกเงิน ”
- มีข้อความเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวนที่แน่นอนโดยปราศจากเงื่อนไข
- วันและสถานที่ออกตั๋ว
3. พันธบัตร คือ ตราสาร ที่ผู้ออกตราสารสัญญาว่า จะคืนเงินต้นจำนวนแน่นอนและมีกำหนดเวลาชำระคืนเงินต้นที่แน่นอนให้แก่ผู้ซื้อตราสาร โดยผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ซื้อตราสารในรูปของดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุไว้หน้าตั๋ว
4. หุ้นสามัญ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกมาจำหน่ายเมื่อต้องการเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยตราสารนี้จะแสดงถึงความเป็นเจ้าของกิจการผู้ซื้อตราสารนี้ เรียกว่า ผู้ถือหุ้นโดยได้รับผลตอยแทน จากบริษัทผู้ออกตราสารคือ เงินปันผล จำนวนของเงินปันผลที่ได้รับขึ้นอยู่กับผลกำไรของบริษัทในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกกิจการ โดยได้คืนทุนเป็นกลุ่มสุดท้าย
5. หุ้นบุริมสิทธิ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกจำหน่ายเมื่อต้องการเงินเพื่อเป็นทุนของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นสามัญผลตอบแทนที่ได้รับ คือเงินปันผล จะได้รับในอัตราที่แน่นอนถ้าบริษัทมีผลกำไร และได้รับก่อนหุ้นสามัญ และการได้รับคืนทุนจะได้รับก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัเลิกกิจการ
6. หุ้นกู้ คือ ตราสารที่องค์การธุรกิจเอกชนออกจำหน่าย เมื่อมีความประสงค์จะกู้เงินจากบุคคลภายนอกโดยกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ และจำนวนเงินต้นที่จ่ายคืนแน่นอนโดยผู้ซื้อตราสารจะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน
3.3 สถาบันที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน
1. ธนาคาร คือ สถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดนทำหน้าที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเช่น บริการโอนเงิน บริการให้กู้ยืม บริการรับฝากเงิน บริการเกี่ยวกับการค้ำประกันบริการเกี่ยวกับการออกเอกสารเครดิตต่าง ๆ เป็นต้น
2. สถาบันการเงินอื่น ๆ คือ สถาบันการเงินที่นอกเหนือจากธนาคาร เช่น บริษัท เงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเหล่านี้ให้บริการส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์
3. ผู้ค้าคนกลาง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ได้แก่ ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง จำทำหน้าที่นำสินค้าจากผู้ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องนำสินค้าหรือบริการมาจำหน่ายเองโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคก็เกิดความสะดวกในการซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต และไม่ต้องซื้อสินค้าหรือบริการครั้งละเป็นจำนวนมาก
4. ตลาด คือ สถานที่ที่ทำการติดต่อซื้อขายกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะติดต่อกันโดยตรง หรือติดต่อผ่านระบบการสื่อสารก็ได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น