แผนธุรกิจกับ SMEs ในหลายๆตอนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ที่มาของแผนธุรกิจ เหตุผลในการจัดทำ แผนธุรกิจ หน้าที่ของแผนธุรกิจ แนวคิดของแผนธุรกิจที่ดี ประเภทและประเด็นสำคัญต่างๆของแผนธุรกิจประเภทต่างๆ ในตอนนี้จะเป็นการกล่าวถึง ลักษณะของการใช้ประโยชน์จากแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งแผนธุรกิจที่ถูกจัดทำขึ้นโดย ผู้ประกอบการนั้น สามารถสรุปถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้ 3 ลักษณะกล่าวคือ
- ใช้เป็นเครื่องมือ (Tools)
- ใช้เป็นแผนที่ (Map)
- ใช้เป็นข้อตกลง (Agreement)
- ใช้เป็นแผนที่ (Map)
- ใช้เป็นข้อตกลง (Agreement)
ใช้เป็นเครื่องมือ (Tools) กล่าวคือแผนธุรกิจถือเป็นเครื่องมือสำหรับ ผู้ประกอบการในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ การพยากรณ์ การวิเคราะห์ การดำเนินการ การทบทวน การติดตาม และการประเมินผลในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เป็น เครื่องมือ เพื่อการขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เช่น การขอวงเงินสินเชื่อ การขอเข้าร่วมกองทุนร่วมลงทุน การขอรับเงินสนับสนุนช่วยเหลือ ต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันแผนธุรกิจถือเป็นเอกสารบังคับขั้นพื้นฐาน ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน รวมถึงหน่วยงานสนับสนุน ผู้ประกอบการทั้ง ภาครัฐและเอกชน ขอให้ผู้ประกอบการจัดทำขึ้นประกอบการพิจารณาในการให้การสนับสนุน โดยสำหรับผู้ประกอบการใหม่ หรือผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจจะถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคิดวางแผน ตรวจสอบ และศึกษา เกี่ยวกับ รายละเอียดต่างๆ ในการทำธุรกิจ ผ่านหัวข้อโครงสร้างต่างๆ (Business Plan Outlines or Business Plan Topics) ที่ระบุไว้ใน แผนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ตลาดและอุตสาหกรรม ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพตลาด และผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับ ธุรกิจจากปัจจัยมหภาคนั้นๆ สามารถรู้ถึงสภาวะการแข่งขัน คู่แข่งขัน การวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่ธุรกิจเป็นอยู่ เพื่อกำหนด แผนการดำเนินการต่างๆของธุรกิจ ภายใต้ข้อจำกัดของธุรกิจที่เป็นอยู่ เช่น เงินทุน ผู้ถือหุ้น รูปแบบธุรกิจ ที่จะดำเนินการ จัดตั้ง นโยบายในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ผ่านรายละเอียดตามโครงสร้างของแผนบริหารจัดการ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ มีการวางแผนในด้าน การบริหารจัดการองค์กร การวางแผนงานด้านบุคลากร เป็นต้น ผ่านแผนการตลาด ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ มีการวางแผน ด้านการตลาด การกำหนดลูกค้าเป้าหมาย จำนวนลูกค้า การเปลี่ยนแปลงต่างๆทางการตลาด ประมาณการเกี่ยวกับ รายได้หรือ ยอดขายของธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านราคา กลยุทธ์ด้านช่องทาง จัดจำหน่าย และกลยุทธ์ด้านส่งเสริมการตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือ ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ผ่านแผนการผลิต หรือแผนบริการ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการกำหนดหรือรู้รายละเอียด เกี่ยวกับการวางแผนการผลิต หรือแผนการให้บริการ ของธุรกิจ มาตรฐานหรือเป้าหมายต่างๆในการผลิตหรือการให้บริการ ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากกระบวนในการผลิตหรือการให้บริการ เป็นต้น และผ่านแผนการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการกำหนดเกี่ยวกับรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย เพื่อประมาณการเกี่ยวกับผลกำไร หรือแหล่งที่มา หรือใช้ไปของเงินทุนใน การดำเนินกิจการ มูลค่าของธุรกิจ เป็นต้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึง สภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรงในตลาดและอุตสาหกรรม ทำให้การจัดทำแผนธุรกิจในปัจจุบัน มักมีการกำหนดให้มีการจัดทำเกี่ยวกับ แผนประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Plan) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินถึงปัจจัย หรือความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับ ธุรกิจ และสามารถ คาดการณ์หรือทราบถึง ผลกระทบต่างๆ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจ สามารถดำเนินการ ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง แม้ว่าธุรกิจจะประสบปัญหาขึ้นก็ตาม จากรายละเอียดดังกล่าวจะเห็นว่า ในข้อเท็จจริงแล้วแผนธุรกิจ (Business Plan) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจ (Plan Business) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะละเลยประเด็นดังกล่าว แต่ไปให้ความสนใจในประเด็นของการใช้แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการขอรับ การสนับทางการเงินมากกว่าเป็น เครื่องมือในการวางแผน ทำให้บางครั้ง มักจะละเลยในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ของการวางแผนธุรกิจอย่างถูกต้อง จึงไปเน้นความสำคัญในแง่ของการจัดทำเอกสารแผนธุรกิจ มากกว่ากระบวนการในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลในทางลบมากกว่าประโยชน์ที่ได้ในกรณีที่ธุรกิจประสบปัญหาขึ้น และไม่ได้มีการวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า โดยเฉพาะ ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้มีการใช้สิ่งที่ระบุไว้แผนธุรกิจในการดำเนินการของธุรกิจจริง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น