Professor Richard Ainsworth จาก Boston University (อ้างถึงใน กรมสรรพากร, 2550ค) ได้เสนอแนวความคิดว่า เนื่องจากโลกปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความก้าวหน้ามาก บริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการปรับรูปแบบการดำเนินการ แต่ก็ยังพบว่า มีปัญหาการทุจริตเกิดขึ้น เช่น กรณีบริษัท Enron บริษัท Parmalot และบริษัท Onetel เป็นต้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีปัญหาระบบการควบคุมและการหมุนเวียนของเงินสด จึงได้มีการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือการแก้ปัญหา โดยการสร้างระบบควบคุมด้วยเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร และ CEO/CFO ของบริษัทต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อบังคับ
สำหรับระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็เช่นกันมีปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลตัวเลข และยอดรายรับที่แสดง ในประเทศที่กำลังพัฒนา ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ประมาณ 50% มาจากธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนรายไม่เกิน 1% ของรายทั้งหมด ในขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วก็ปรับเปลี่ยนจากการทำธุรกิจพื้นฐานไปสู่ธุรกิจเทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น จึงมีแนวคิดว่า ควรมีการนำซอฟต์แวร์ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานของรัฐมาใช้ในธุรกิจ เพื่อมาช่วยดำเนินการตั้งแต่การออกใบกำกับภาษี การคำนวณภาษี การจัดทำงบการเงิน รายงานต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดเตรียมแบบแสดงรายการ และการจ่ายเงิน การนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวมาใช้จะช่วยให้สามารถควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและรายได้เพื่อเสียภาษีได้ทุกขั้นตอน
ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาให้ธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์มาตรฐาน ซึ่งมีการใช้ใน 19 รัฐ โดยธุรกิจสามารถนำไปใช้ได้ฟรี และจะไม่ถูกตรวจสอบ ยกเว้นกรณีพบว่า มีการทุจริต ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานที่ OECD กำหนด ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ ผู้เสียภาษีไม่มีภาระด้านต้นทุนและเป็นการช่วยลดเรื่องการทุจริตและความผิดพลาดจากการคำนวณได้
การบริหารการจัดเก็บภาษีอากรในระดับท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกา
กรมภาษีอากรและการเงิน (Department of Taxation and Finance) ของรัฐนิวยอร์คได้จัดทำรายงานประจำปี ค.ศ. 2004-2005 (New York State Department of Taxation and Finance, 2005) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนกลยุทธ์โครงสร้างของงานและสถิติการจัดเก็บภาษี โดยข้าราชการในกรมนี้ได้กำหนดเป้าหมายว่า จะเป็นหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ในระดับต้น ๆ ของชาติ ทั้งนี้ ไม่ได้วัดจากจำนวนภาษีที่จัดเก็บได้เพียงอย่างเดียวแต่ดูที่ระดับของการให้บริการผู้เสียภาษี โดยเน้นที่แบบฟอร์มที่ง่าย การลดกฎระเบียบ การจัดตั้ง state-of-the-art call centers เพื่อมุ่งเน้นความต้องการของผู้เสียภาษีและที่สำคัญที่สุด คือ ยอมรับฟังสิ่งที่ผู้เสียภาษีต้องการเสนอ และนำข้อเสนอแนะเหล่านั้นมาบูรณาการเพื่อนำไปปฏิบัติ
วิสัยทัศน์ คือ หน่วยงานของเราต้องนำระบบการบริหารการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม ตอบสนองต่อผู้เสียภาษีและช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจ
พันธกิจ คือ จัดเก็บภาษีรายได้และจัดสรรบริการต่าง ๆ ในรัฐนิวยอร์ก
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ คือ ผู้เสียภาษียินยอมชำระภาษีโดยสมัครใจ ถูกต้อง และภายในกำหนดกำหนด กลยุทธ์หนึ่งที่นำใช้ คือ ค้นหาวิธีที่จะขยายและเพิ่มบริการให้ผู้เสียภาษี ในอันที่จะส่งเสริมความสมัครใจในการเสียภาษี โดยมุ่งเน้นการเสียภาษีภายในกำหนดเวลา ชำระภาษีตามจำนวนที่ถูกต้องและเข้าใจเกี่ยวกับการออกหมายเรียก การให้คำแนะนำ รวมทั้งการใช้กลยุทธ์ในการปรับปรุงการบริการตนเอง และการให้บริการผ่านเครือข่าย
กรมภาษีอากรและการเงิน รับผิดชอบในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรประมาณ 40 ชนิด มีการจัดโครงสร้างที่เน้นเรื่องการให้บริการผู้เสียภาษี เพราะเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ คือ มีการจัดตั้งแผนกให้บริการผู้เสียภาษี (Taxpayer Service and Revenue Division--TSRD) มีหน้าที่ในการจัดหาบริการและสนับสนุนผู้เสียภาษีให้ปฏิบัติตามกฎหมาย จัดหาข่าวสารและช่วยผู้เสียภาษีในการยื่นแบบที่ถูกต้องและเรียกเก็บหนี้ภาษีอากร รวมทั้งการเก็บรักษาข้อมูลผู้เสียภาษี ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการยื่นแบบ การขอคืนในกระบวนการต่าง ๆ และจัดให้มีการวางแผน การวิจัย การประเมินผล และการอบรมเกี่ยวกับการบริการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการทำงาน
นับแต่ปี ค.ศ. 2002 รัฐนิวยอร์กได้จัดให้มี โครงการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยผ่านทางอิเลกโทรนิกส์ ซึ่งมีประโยชน์หลายด้าน เช่น ลดความผิดพลาดในการยื่นแบบ ยืนยันการยื่นแบบ ใช้เวลาน้อย และสะดวก โดยปี ค.ศ. 2002 มีผู้ยื่นแบบ e-file จำนวน 1.8 ล้านคน ปี ค.ศ. 2003 จำนวน 2.2 ล้านคน และปี ค.ศ. 2004 จำนวน 2.5 ล้านคน
ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 เดือนมกราคม ได้มีการใช้ระบบ 2-D bar coding technology ในการยื่นแบบแสดงระบบภาษีเงินได้
สำหรับรายงานประจำปี ค.ศ. 2005-2006 (Annual Report 2005-2006) กรมภาษีอากรและการเงิน ได้กำหนดเป้าหมายในการบริหารการจัดเก็บภาษีของรัฐอย่างมีประสิทธิผลและมีความก้าวหน้า โดยต้องทำงานอย่างเต็มความสามารถและมีความมุ่งมั่น กรมภาษีอากรและการเงินของรัฐนิวยอร์ค ได้รับรางวัล 2005-2006 Best Practices Award in Management (New York State Department of Taxation and Finance, 2006)
Plumley (2002) ได้ศึกษาวิจัย ให้กับหน่วยงานภาษีของสหรัฐอเมริกา IRS เกี่ยวกับผลกระทบจากการยินยอมเสียภาษี พบว่า เมื่อผู้เสียภาษีมีรายได้เพิ่มขึ้น อัตราการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ เพิ่มขึ้น จะทำให้มีการแจ้งรายได้เพิ่มขึ้นด้วยซึ่งผลการศึกษานี้มีประโยชน์อย่างมาก ในการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ และมีประโยชน์ต่อการจัดเก็บรายได้ด้วย คือ จะนำมาพิจารณาเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรวมทั้ง ขยายกิจกรรมของหน่วยงาน เพิ่มขึ้นเพื่อประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บ ในเรื่องนโยบายภาษีอากร การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้างความสมัครใจยินยอมในการเสียภาษี
Bloomquist (2003) ได้ศึกษาวิจัยแนวโน้มของการยินยอมเสียภาษีกรณีศึกษา IRS และนำเสนอในที่ประชุม IRS Research พบว่า ผู้เสียภาษีจะยินยอมเสียภาษีขึ้นอยู่กับอัตราภาษี ความซับซ้อนของกฎหมายภาษีอากร การวางแผนการจัดเก็บภาษีอากร ความซับซ้อนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีอากร การมีหลักฐานที่แน่ชัดของรายได้ (visibility income)
Plumley (1996) ได้ศึกษาวิจัยลักษณะของการยินยอมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พบว่า จากการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐมิติ ใช้ข้อมูล IRS จ ากปี ค.ศ. 1982-1991 รวมทั้ง ข้อมูลต่าง ๆ จาก IRS พบว่า ปัจจัยในการยินยอมเสียภาษีของบุคคลธรรมดา คือ ลักษณะของนโยบายภาษี การบริหารจัดเก็บภาษีอากร การตรวจสอบ การสอบยันข้อมูลจากบุคคลภายนอก การลงโทษทางอาญา อัตราภาษี ความยุ่งยากในการกรอกแบบแสดงรายการภาษี และการจัดเตรียมเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการของหน่วยงาน IRS โดยผลจากการวิจัยนี้ IRS จะนำไปใช้ในการจัดสรรทรัพยากร และจะนำไปสู่การประเมินประสิทธิผลของหน่วยงานได้
Internal Revenue Service (IRS) (2005) มีการศึกษากลยุทธ์ในการเพิ่มความยินยอมในการเสียภาษี และลดการหลบหนีภาษีของหน่วยงานจัดเก็บภาษี คือ การเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายภาษี ต้องทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้เสียภาษีง่ายต่อการบริหารและใช้บังคับของหน่วยจัดเก็บและให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องภาษีต่อประชาชน (tax education) การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้เสียภาษีที่มีต่อรัฐบาล สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยจัดเก็บและผู้เสียภาษี การทำให้ผู้เสียภาษีเชื่อว่า ผู้อื่นเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับตน การลดต้นทุนของผู้เสียภาษีในการยื่นชำระต้องให้บริการที่ดีและอำนวยความสะดวก การจับกุม การปราบปราม และตรวจสอบผู้หลบหนีภาษี
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น