Custom Search
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)

ประการแรก ต้นทุนสินค้าเพิ่ม ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
*ต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณา นโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการ ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ว่าจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น หรือราคา วัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคต้องใช้เงินมากกว่าเดิมทำให้ปริมาณเงินที่ไหล เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

ประการที่สอง ความต้องการสินค้าเพิ่ม (ปริมาณที่ต้องการซื้อมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น) หรือที่เรียกว่า แรงดึงทางด้านอุปสงค์ เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ เช่นเมื่อพนักงานได้รับค่าแรงเพิ่มทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบริโภคมากขึ้นทำ ให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุผลัก ดันให้เกิดเงินเฟ้อ ภาคการผลิตเมื่อสินค้าราคาดีขึ้นก็จะมีคนเร่งผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายทำให้ ต้องจ่ายค่าแรงในรูปของค่าล่วงเวลา ก็จะทำให้รายได้ ของพนักงานเพิ่มขึ้นอีก ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะหมุนเป็นวัฏจักรผลักดันทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ ในที่สุด เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็สูงขึ้นจนทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพง

การแบ่งชนิดของอัตราเงินเฟ้อ
ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภทคือ

1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 (ทำให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุน) มักจะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ แต่กลับจะส่งผลดีคือ ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20 (สินค้าโดยทั่วไปราคาแพง)ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการผลิต เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าก็จะสูงตามขึ้นไป ประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นโดยได้รับความเดือดร้อนเรื่องราคา สินค้าแพง ดังนั้นรัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง

3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างกว้างขวาง โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20% ต่อปี ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นในขณะเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สงคราม หรือ รัฐบาลทำการพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนมากเกินไป อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมนี จีนและประเทศไทย ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจนทำให้ธนบัตรแทบจะไม่สามารถทำหน้าที่ชำระหนี้ ตามกฎหมายได้

ภาวะการว่างงาน (Unemployment)

การว่างงานสามารถบอกได้ 2 ลักษณะคือ จำนวนคนที่ว่างงาน และ % ของคนที่ว่างงาน
  • จำนวนคนที่ว่างงาน = จำนวนคนที่อยู่ในวัยทำงานและต้องการที่จะทำงานแต่กลับไม่มีงานทำ
  • ส่วนถ้าจะบอกเป็น % = จำนวนคนที่ว่างงาน / จำนวนแรงงานทั้งหมด (นั่นก็คือ คนที่ได้งาน + คนที่ว่างงาน)
สาเหตุของการว่างงานนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ Equilibrium unemployment และ Disequilibrium unemployment แต่เราจะต้องทำความเข้าใจตลาดแรงงานเสียก่อน
ตลาดแรงงานก็เหมือนกัยตลาดสินค้า ซึ่ง Supply ของแรงงานก็คือ จำนวนคนที่ต้องการงานที่ระดับค่าจ้างต่างๆ ซึ่งเส้นกราฟจะค่อนข้าง inelastic (ไม่ค่อยเปลี่ยนจำนวนแรงงานเมื่อเปลี่ยนค่าจ้าง) เนื่องจากจำนวนแรงงานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาอันสั้น ส่วน Demand ของแรงงานก็คือ ปริมาณคนงานที่นายจ้างต้องการที่ระดับค่าจ้างต่างๆ ( ถ้าค่าจ้างสูงไป นายจ้างอาจเปลี่ยนไปใช้ปัจจัยการผลิตอื่นๆแทนได้ )

ถ้าหาก Demand กับ Supply ไม่สมดุลกัน เช่นระดับค่าจ้างสูงกว่าจุดสมดุล มันก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Disequilibrium unemployment ขึ้น (Supply > Demand ทำให้ คนว่างงาน )

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ว่าระดับค่าจ้างจะอยู่ที่จุดสมดุลแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับการจ้างงาน ซึ่งสาเหตุอาจมาจากบางคนยังหวังที่จะได้ทำงานที่ดีขึ้นอีก การว่างงานก็คือ ผลต่างระหว่างจำนวนแรงงานทั้งหมด (O2) และ จำนวนแรงงานที่ได้รับการจ้างงาน (O1) เราเรียกการว่างงานในลักษณะนี้ว่า Equilibrium rate of unemployment หรือ Natural Rate of Unemployment หรือ Non-Accelerating-Inflation Rate of Unemployment (NAIRU) นั่นเอง
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

SUPPLY CHAIN MANAGEMENT

การบริหารแบบเชิงกลยุทธ์ ที่คำนึงถึงความเกี่ยวเนื่อง หรือความสัมพันธ์กันแบบบูรณาการ ของหน่วยงานหรือแผนกในองค์กร และคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า (Customer) หรือผู้ส่งมอบ (Supplier) ในโซ่อุปทาน โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำส่งสินค้า หรือบริการตามความต้องการของผู้บริโภคให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา ราคา หรือคุณภาพ โดยจะบริหารจัดการในเรื่องของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์กรและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ขจัดความล่าช้าในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงขจัดปัญหาในการส่งหรือรับมอบสินค้า และบริการที่มีผลมาจากระบบการจัดการด้านการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ หรือแหล่งวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ป้อนเข้าโรงงานจนถึงปลายน้ำหรือมือผู้บริโภค (พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, 2550)

        การบูรณาการของโซ่อุปทานหมายถึงการบูรณาการของกระบวนการทางธุรกิจที่เริ่มต้นจากผู้บริโภคขั้นสุดท้ายผ่านไปจนถึงผู้จัดจำหน่ายขั้นแรกสุดที่ทำหน้าที่จัดหาสินค้า บริการ และสารสนเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้บริโภค โดยครอบคลุมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการให้บริการลูกค้า การจัดการคำสั่งซื้อและการจัดหา จัดซื้อ ฯลฯ (Lambert, et al., 2003)
        การจัดการโซ่อุปทาน คือการประสานรวมกระบวนการทางธุรกิจ ที่ครอบคลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผ่านระบบธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายซึ่งมีการส่งผ่านผลิตภัณฑ์ การบริการและข้อมูลสารสนเทศควบคู่กันไป อันเป็นการสร้างคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ และนำเสนอสิ่งเหล่านี้สู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (The International Center for Competitive Excellence)
        กิจกรรมต่างๆ ในโซ่อุปทาน (Total Supply Chain) ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งความต้องการซื้อ การวางแผนในการจัดซื้อ การวิเคราะห์ตลาดคู่ค้า รวมถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคู่ค้า การต่อรอง และทำการทำข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความสัมพันธ์ของคู่ค้า และการจัดการวัตถุดิบคงคลัง (International Trade Center; UNTAD/WTO)
       โซ่อุปทาน เป็นความสัมพันธ์กันเชิงระบบ ซึ่งเกิดจากการสร้างยุทธศาสตร์ความร่วมมือกันระหว่างองค์กรธุรกิจที่มีหน้าที่ต่างๆ และสร้างกลยุทธ์ระหว่างธุรกิจเหล่านี้ให้มีขึ้น อันจะเป็นการปรับปรุงการผลการดำเนินงานของแต่ละองค์กรในระยะยาวให้ดีขึ้นทั่วทั้งโซ่อุปทาน (Mentzer, et al., 2001)

การจัดการโซ่อุปทานนั้นเป็นการนำกลยุทธ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการจัดการ การส่งต่อ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการจากหน่วยหนึ่งในโซ่อุปทานไปยังอีกหน่วยหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนรวมในโซ่อุปทานต่ำที่สุด และได้รับวัตถุดิบ สินค้า หรือการบริการตามเวลาที่ต้องการ พร้อมกันนี้ ยังมีการสร้างความร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูล ข่าวสาร  ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม เพื่อให้ทราบถึงความต้องการอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการส่งต่อของวัตถุดิบ สินค้า หรือการบริการนี้ นำไปสู่การได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

องค์ประกอบของเงินกู้ระยะยาว

1. อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ หรือเรียกว่า Cuopon Rate จะเป็นได้ทั้งอัตราดอกเบี้ยคงที่ ( Fixed interest rate ) โดยที่ดอกเบี้ยจะถูกกำหนดไว้ในอัตราเดียวตลอดอายุสัญญา หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว ( Floating interest rate ) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะการณ์ของตลาดเงิน การเลือกใช้แบบใดนั้น บริษัทหรือผู้กู้สามารถเลือกได้
2. อายุของการกู้ยืม ระยะเวลาของการกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้คืนซึ่งสามารถดู้ได้จากกระแสเงินสดของบริษัท เงินกู้ระยะยาวจะถูกบันทึกเป็นหนี้สินระยะยาว
3. เงื่อนไขการชำระคืน ผู้ให้กู้มักจะกำหนดให้ผู้กู้ชำระดอกเบี้ย ( รวมถึงชำระเงินต้น ) เป็นงวดๆ ไป อาจจะเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายปี แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งเจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้จะมีการวางเงื่อนไขที่รัดกุม เนื่องจากหากเกิดกรณีหนี้สูญ เจ้าหนี้จะเสียหายมาก
4. หลักประกัน ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้นำหลักประกันประเภทสินทรัพย์ระยะยาวมาค้ำประกันการกู้ เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร ใบหุ้น การค้ำประกันหนี้จากบุคคลที่สาม กรมธรรม์ประกันภัย และเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงเจ้าหนี้ให้น้อยลง โดยสามารถนำหลักทรัพย์ไปขายทอดตลาดได้
5. ลำดับชั้นของเจ้าหนี้ ในกรณีที่บริษัทประสบภาวะล้มละลาย เจ้าหนี้ที่มีหลักประกันจะมีความได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน เพราะสามารถนำสินทรัพย์ขายทอดตลาดได ขณะที่เจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันต้องรอเฉลี่ยหนี้จากสินทรัพย์ที่เหลืออยู่เท่านั้น
6. สกุลเงินที่กู้ โดยสกุลเงินต่างประเทศจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสกุลเงินบาท จึงเป็นแรงจูงใจให้มีการกู้ยืมจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาจจะทำให้ต้นทุนสูงกว่าการกู้ในประเทศก็ได้ โดยเฉพาะที่ประเทศไทยได้กำหนดค่าเงินลอยตัวนั้น ทำให้ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีมากขึ้น
7.ข้อจำกัดผู้กู้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของเจ้าหนี้ เช่น ห้ามจ่ายเงินปันผล เพื่อป้องกันการถ่ายเทเงินสดจากบริษัท ไปยังผู้ถือหุ้น ห้ามก่อหนี้ใหม่ ห้ามนำหลักทรัพย์ที่มีอยู่ไปเป็นหลักประกันหนี้ใหม่ เป็นต้น
1) ควรจัดให้มีการวางแผนทางการเงิน ในระยะยาวขึ้น อาจเป็น 5 ปี หรือเท่ากับแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็ได้ เพื่อเป็นแนวทางหลักในการวางแผนทางการเงิน ในระยะสั้นให้มีแนว
ทางไปในทางเดียวกัน
2) งบประมาณที่หน่วยงานเสนอมาต้องผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานขั้นต้นมาก่อน
เป็นอย่างดี
3) ควรจัดให้มีการเชื่อมโยงระหว่างแผนงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน
4) ควรมีการทบทวน และจัดทำ โครงสร้างแผนงานให้สมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อขจัดความ
ซํ้าซ้อนของงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงสร้างแผนงาน และมีการจัดเรียงลำ ดับความสำ คัญขึ้นใหม่ตาม
สถานกรณ์ปัจจุบันและในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
5) ควรมีการพิจารณาลดหรือยุบเลิกงานที่ไม่มีความจำ เป็นหรือไม่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ เพื่อจะได้ใช้งบประมาณไปในทางที่เป็นประโยชน์ด้านอื่น
6) ควรมีการตั้งศูนย์ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้นเพื่อให้มีการรวบรวมข้อมูลทุกด้าน ที่จะนำ มา
ใช้ในการจัดเตรียมทำ งบประมาณ
7) ควรมีการปรับปรุง ทบทวน แก้ไข ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ล้าสมัยให้ทันสมัย
มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการทำ งบประมาณ
8) ควรมีการลดขั้นตอนการปฏิบัติบางอย่างที่ไม่จำ เป็นลงเหลือไว้เฉพาะขั้นตอนที่จำ เป็น
เพื่อประหยัดเวลาการทำ งาน
9) ควรปรับปรุงรูปแบบองค์กรงบประมาณให้สอดคล้องกับระบบประมาณที่ใช้อยู่เพื่อ
ประหยัดเวลาการทำ งาน
10) ควรจัดเจ้าหน้าที่งบประมาณ ลงปฏิบัติงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถและมีการ
พัฒนาให้มีวิจารณญาณที่ดีมีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จะนำ มาใช้ประกอบการจัดทำ งบประมาณ
การวิเคราะห์งบประมาณ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
11) คณะกรรมการผู้พิจารณางบประมาณควรเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณที่ดี มีทัศนเปิดกว้าง
ยินดีรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีมีวิสัยทัศน์
พิจารณางบประมาณในลักษณะเปิดกว้าง เป็นกลางโดยคำ นึงถึงความจำ เป็นด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้อง
กัน อยา่ มุง่ แตป่ ระเด็นเพียงเพื่อจะตัดงบประมาณเพียงอย่างเดียว หรือมองในรายละเอียดมากจนเกินไป
1) เจ้าหน้าที่งบประมาณ ต้องมีวิจารณญาณทีดีมีความรู้รอบตัวด้านต่าง ๆ เพื่อใช้
ประกอบการพิจารณาให้มีประสิทธิภาพดีที่สุดต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายเพื่อนำ มาเป็น
ข้อมูลในการจัดการงบประมาณ
2) เจ้าหน้าที่งบประมาณขาดประสบการณ์และคุณสมบัติไม่ตรงกับงานที่ทำ ควรมีการ
ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่งบประมาณเพื่อให้มีศักยภาพสูงขึ้น สามารถทำ งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) เจ้าหน้าที่งบประมาณมีน้อยไม่พียงพอ
1) รูปแบบขององค์กรไม่สอดคล้องกับระบบงบประมาณที่ใช้อยู่องค์กรงบประมาณ
โดยทั่วไปอยูใ่ นรูปแบบเก่าไม่ได้จัดในลักษณะแผนงาน ทำ ให้งานบางด้านขาดหายไป
2) ศักยภาพขององค์กรขาดความพร้อมในหลายด้าน เช่น ความพร้อมของเจ้าหน้าที่
ปฏิบัติงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพขาดความพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยอย่างพอเพียง
องค์กรขาดความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่มีผลต่อการจัดการงบประมาณ
3) ขาดการจัดองค์กรตามทฤษฎีองค์กรและการบริหารที่ดี ซึ่งการบริหารที่ดีนั้นจะต้อง
คำ นึงถึงหลักการบริหารและหลักขององค์กร ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดบุคลากร
การกำ กับดูแล การประสานงาน การรายงาน และการจัดงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
4) การจัดองค์กรงบประมาณยังให้ความสำ คัญไม่เท่าเทียมกันในแต่ละด้าน
1) หน่วยงานขาดการวางแผนระยะยาวในช่วงระยะเวลา 5 ปี ต่อครั้งถึงแม้จะมีแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว แต่ก็เป็นการทำ แผนพัฒนาในภาพกว้าง หน่วยงานจึงควรมีวาง
แผนระยะยาวของตนเอง
2) หน่วยงานต่าง ๆ ทำ คำ ของบประมาณของตนเองโดยไม่มีการพิจารณากลั่นกรอง
ขั้นตอนว่าสอดคล้องกับนโยบายและแผนงานที่ได้กำ หนดไว้หรือไม่ ทำ ให้การบริหารงบประมาณ
ขาดประสิทธิภาพ
3) ขาดความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างแผนงาน นโยบาย และแผนปฏิบัติการทำ ให้
การจัดระบบงานในทุกระดับมีความขัดแย้งกัน
4) โครงสร้างแผนงานที่ใช้ขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง ขาดการลำ ดับความสำ คัญของ
งาน มีความซํ้าซ้อนของงานและก่อให้เกิดความสับสนและสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอย่างมาก
5) ปัญหาความซํ้าซ้อนของงานและโครงการซึ่งมีสาเหตุมาจากการขยายขอบเขตการ
ดำ เนินงานของหน่วยงานเกินกว่าที่กำ หนดในอำ นาจหน้าที่ ขาดการพิจารณาขอบเขตของงานว่าควรจะ
ลดหรือยุบเลิกงานไปเมื่อไม่มีความจำ เป็นในงานนั้นต่อไปแล้ว
6) ขาดข้อมูลพื้นฐานในการทำ งบประมาณ การทำ งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ต้องอาศัยข้อมูลที่สมบูรณ์ทุกด้าน เช่น ระเบียบการเงินต่าง ๆ เกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ระเบียบการ
จ่ายเงินค่าตอบแทนการไปราชการ ข้อมูลจำ นวนนักศึกษา แผนการเรียน ฯลฯ
7) หน่วยงานตั้งงบประมาณรายจ่ายโดยขาดแนวทาง ทิศทางที่ถูกต้องและขาดการจัด
ลำ ดับความสำ คัญของงบประมาณรายจ่ายมีผลทำ ให้งบประมาณสูงเกินความจำ เป็น
8) คณะกรรมการพิจารณารายละเอียดงบประมาณ ขาดประสบการณ์ความรู้ด้านการ
เงินงบประมาณ และความรู้รอบตัวเกี่ยวกับการทำ งานของหน่วยงาน เพื่อจะได้รู้ทันการจัดการงบ
ประมาณของหน่วยต่าง ๆ และสามารถพิจารณาได้อย่างรอบคอบขึ้นอยู่กับฐานของความเป็นจริง
9) ปัญหาด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และการวางฎีกาเบิกจ่ายเงินที่มีระเบียบข้อบังคับที่ต้อง
ปฏิบัติตามมากมาย หน่วยงานต้องเสียเวลาในการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนจนบางครั้งไม่สามารถ
ดำ เนินการซื้อได้ทันเวลา
10) ปัญหาอื่น ๆ เช่น พัสดุ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อตามระเบียบหลายครั้ง จะมีคุณภาพตํ่าและ
ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งถ้าไม่ทำ ตามระเบียบอาจจะถูกตั้งกรรมการสอบสวนความผิดได้
1) จัดทำ คำ ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายให้ใกล้เคียงกับรายจ่ายที่น่าจะเป็นจริงมากที่สุด
การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายที่สูงเกินกว่าความป็นจริงจำ นวนมากเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เนื่องจาก
งบประมาณรายรับมีอยู่อย่างจำ กัด ทำ ให้หน่วยงานอื่นที่มีความพร้อมและความสามารถหมดโอกาส
ที่จะนำ เงินจำ นวนนั้นไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ การทำ งบประมาณรายจ่ายที่เกินความจริงหรือไม่
เพียงพอเป็นเหตุทำ ให้ต้องมีการขอโอนเงิน หรือแปรเงินเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย ทำ ให้
เพิ่มภาระยุ่งยากเสียเวลา และแสดงถึงการทำ งานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
2) การกำ หนดเกณฑ์แนวทางการจัดสรรงบประมาณ ต้องมีการพิจารณาให้ละเอียด
รอบคอบ ควรคำ นึงถึงสภาพพื้นฐานของหน่วยงานและความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบาย
งบประมาณ ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่กำ หนดเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณต้องมีความ
รอบคอบและหาข้อยุติให้ได้ว่าจะใช้เกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณอย่างไร จึงจะทำ ให้เกิดประโยชน์
สูงสุด
3) สภาพของโครงสร้างแผนงาน ที่ใช้ต้องสนองต่อนโยบายและภารกิจของ
หน่วยงานและต้องตอบสนองต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติเปลี่ยนไป โครงสร้างของแผนงานต้องมีการปรับตามให้สอดคล้องกันด้วย หน่วยงานที่
ทำ งบประมาณรายจ่ายต้องเข้าใจสภาพโครงสร้างของแผนงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นที่พบอยู่เสมอ คือ
(1) หน่วยงานขาดความเข้าใจความหมายขององค์ประกอบในโครงสร้าง
แผนงาน เช่น คำ ว่า วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงาน งาน โครงการ กิจกรรม ฯลฯ ซึ่งมีผลทำ ให้การจัด
โครงสร้างแผนงานในแต่ละระดับสับสน
(2) ไม่ได้มีการทบทวน วิเคราะห์ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของกิจกรรมต่าง ๆ
อย่างจริงจัง และไม่ได้มีการทบทวนว่ากิจกรรมใดที่สมควรชะลอ หรือยุบเลิก เพื่อให้มีทรัพยากรที่จะ
นำ ไปใช้สำ หรับงาน/โครงการใหม่ ๆ ที่คุ้มค่ากว่า
(3) ไม่มีการกำ หนดตัวชี้วัดความสำ เร็จของแผนงาน / งาน / โครงการ
(4) ไม่มีการกำ หนดขอบเขตวัตถุประสงค์ในแต่ละระดับของโครงสร้าง
แผนงานอย่างชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ในระดับงานควรมีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด หรือวัตถุประสงค์
ในระดับแผนงาน มีขอบเขตอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร
(5) ไม่มีการจัดลำ ดับความสำ คัญของ งาน/โครงการ ภายใต้แผนงานทำ ให้
ไม่สามารถใช้โครงสร้างแผนงานเป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำ กัดอย่างมี
ประสิทธิภาพได้เท่าที่ควร
(6) หน่วยงานยังไม่ได้นำ โครงสร้างแผนงานไปใช้เป็นเครื่องมือในการ
ตัดสินใจในกระบวนการงบประมาณอย่างแท้จริง
(7) บางหน่วยงานกำ หนดแผนงานไม่ตรงกับแผนงานที่ปรากฏในโครงสร้าง
แผนงานที่สำ นักงบประมาณกำ หนด