Custom Search
1) ควรจัดให้มีการวางแผนทางการเงิน ในระยะยาวขึ้น อาจเป็น 5 ปี หรือเท่ากับแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมก็ได้ เพื่อเป็นแนวทางหลักในการวางแผนทางการเงิน ในระยะสั้นให้มีแนว
ทางไปในทางเดียวกัน
2) งบประมาณที่หน่วยงานเสนอมาต้องผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานขั้นต้นมาก่อน
เป็นอย่างดี
3) ควรจัดให้มีการเชื่อมโยงระหว่างแผนงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน
4) ควรมีการทบทวน และจัดทำ โครงสร้างแผนงานให้สมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อขจัดความ
ซํ้าซ้อนของงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโครงสร้างแผนงาน และมีการจัดเรียงลำ ดับความสำ คัญขึ้นใหม่ตาม
สถานกรณ์ปัจจุบันและในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
5) ควรมีการพิจารณาลดหรือยุบเลิกงานที่ไม่มีความจำ เป็นหรือไม่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ เพื่อจะได้ใช้งบประมาณไปในทางที่เป็นประโยชน์ด้านอื่น
6) ควรมีการตั้งศูนย์ข้อมูลที่สมบูรณ์ขึ้นเพื่อให้มีการรวบรวมข้อมูลทุกด้าน ที่จะนำ มา
ใช้ในการจัดเตรียมทำ งบประมาณ
7) ควรมีการปรับปรุง ทบทวน แก้ไข ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ล้าสมัยให้ทันสมัย
มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการทำ งบประมาณ
8) ควรมีการลดขั้นตอนการปฏิบัติบางอย่างที่ไม่จำ เป็นลงเหลือไว้เฉพาะขั้นตอนที่จำ เป็น
เพื่อประหยัดเวลาการทำ งาน
9) ควรปรับปรุงรูปแบบองค์กรงบประมาณให้สอดคล้องกับระบบประมาณที่ใช้อยู่เพื่อ
ประหยัดเวลาการทำ งาน
10) ควรจัดเจ้าหน้าที่งบประมาณ ลงปฏิบัติงานให้ตรงกับความรู้ความสามารถและมีการ
พัฒนาให้มีวิจารณญาณที่ดีมีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ ที่จะนำ มาใช้ประกอบการจัดทำ งบประมาณ
การวิเคราะห์งบประมาณ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
11) คณะกรรมการผู้พิจารณางบประมาณควรเป็นผู้ที่มีวิจารณญาณที่ดี มีทัศนเปิดกว้าง
ยินดีรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีมีวิสัยทัศน์
พิจารณางบประมาณในลักษณะเปิดกว้าง เป็นกลางโดยคำ นึงถึงความจำ เป็นด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้อง
กัน อยา่ มุง่ แตป่ ระเด็นเพียงเพื่อจะตัดงบประมาณเพียงอย่างเดียว หรือมองในรายละเอียดมากจนเกินไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น