ประการแรก ต้นทุนสินค้าเพิ่ม
ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ
การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า
ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
*ต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณา
นโยบายกำหนดราคาสินค้าและบริการ
ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่ว่าจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้น หรือราคา
วัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องเพิ่มขึ้นด้วย
ราคาสินค้าสูงขึ้นผู้บริโภคต้องใช้เงินมากกว่าเดิมทำให้ปริมาณเงินที่ไหล
เข้าสู่ตลาดมากขึ้น
ประการที่สอง ความต้องการสินค้าเพิ่ม
(ปริมาณที่ต้องการซื้อมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น) หรือที่เรียกว่า
แรงดึงทางด้านอุปสงค์
เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มี
อยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้
การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล
การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ
เช่นเมื่อพนักงานได้รับค่าแรงเพิ่มทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบริโภคมากขึ้นทำ
ให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นสาเหตุผลัก ดันให้เกิดเงินเฟ้อ
ภาคการผลิตเมื่อสินค้าราคาดีขึ้นก็จะมีคนเร่งผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายทำให้
ต้องจ่ายค่าแรงในรูปของค่าล่วงเวลา ก็จะทำให้รายได้ ของพนักงานเพิ่มขึ้นอีก
ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะหมุนเป็นวัฏจักรผลักดันทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจแบบฟองสบู่
ในที่สุด เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ราคาสินค้าก็สูงขึ้นจนทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพง
การแบ่งชนิดของอัตราเงินเฟ้อ
ตามหลักวิชาการจะแบ่งอัตราเงินเฟ้อเป็น 3 ประเภทคือ
1. เงินเฟ้ออย่างอ่อน คือ
อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 (ทำให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุน)
มักจะเกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติและไม่มีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจ
แต่กลับจะส่งผลดีคือ
ทำให้มีการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจทางด้านการลงทุน การผลิต
การจ้างงาน และรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
2. เงินเฟ้อปานกลาง คือ
อัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเกินร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 20
(สินค้าโดยทั่วไปราคาแพง)ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการผลิต
เพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าก็จะสูงตามขึ้นไป
ประชาชนจะประสบปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นโดยได้รับความเดือดร้อนเรื่องราคา
สินค้าแพง
ดังนั้นรัฐบาลจะยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ไขโดยใช้มาตรการทางการเงินและการคลัง
3. เงินเฟ้ออย่างรุนแรง คือ
การที่ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างกว้างขวาง
โดยระดับราคาจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 20% ต่อปี
ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลงอย่างรวดเร็วมาก
ซึ่งมักเกิดขึ้นในขณะเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สงคราม หรือ
รัฐบาลทำการพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนมากเกินไป
อย่างเช่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเยอรมนี จีนและประเทศไทย
ได้พิมพ์ธนบัตรออกใช้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
จึงเกิดเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจนทำให้ธนบัตรแทบจะไม่สามารถทำหน้าที่ชำระหนี้
ตามกฎหมายได้
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น