Custom Search
วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข้อควรคำนึงในการทำงบประมาณรายจ่าย

1) จัดทำ คำ ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายให้ใกล้เคียงกับรายจ่ายที่น่าจะเป็นจริงมากที่สุด
การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายที่สูงเกินกว่าความป็นจริงจำ นวนมากเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เนื่องจาก
งบประมาณรายรับมีอยู่อย่างจำ กัด ทำ ให้หน่วยงานอื่นที่มีความพร้อมและความสามารถหมดโอกาส
ที่จะนำ เงินจำ นวนนั้นไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ การทำ งบประมาณรายจ่ายที่เกินความจริงหรือไม่
เพียงพอเป็นเหตุทำ ให้ต้องมีการขอโอนเงิน หรือแปรเงินเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย ทำ ให้
เพิ่มภาระยุ่งยากเสียเวลา และแสดงถึงการทำ งานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
2) การกำ หนดเกณฑ์แนวทางการจัดสรรงบประมาณ ต้องมีการพิจารณาให้ละเอียด
รอบคอบ ควรคำ นึงถึงสภาพพื้นฐานของหน่วยงานและความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบาย
งบประมาณ ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่กำ หนดเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณต้องมีความ
รอบคอบและหาข้อยุติให้ได้ว่าจะใช้เกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณอย่างไร จึงจะทำ ให้เกิดประโยชน์
สูงสุด
3) สภาพของโครงสร้างแผนงาน ที่ใช้ต้องสนองต่อนโยบายและภารกิจของ
หน่วยงานและต้องตอบสนองต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติเปลี่ยนไป โครงสร้างของแผนงานต้องมีการปรับตามให้สอดคล้องกันด้วย หน่วยงานที่
ทำ งบประมาณรายจ่ายต้องเข้าใจสภาพโครงสร้างของแผนงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นที่พบอยู่เสมอ คือ
(1) หน่วยงานขาดความเข้าใจความหมายขององค์ประกอบในโครงสร้าง
แผนงาน เช่น คำ ว่า วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงาน งาน โครงการ กิจกรรม ฯลฯ ซึ่งมีผลทำ ให้การจัด
โครงสร้างแผนงานในแต่ละระดับสับสน
(2) ไม่ได้มีการทบทวน วิเคราะห์ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของกิจกรรมต่าง ๆ
อย่างจริงจัง และไม่ได้มีการทบทวนว่ากิจกรรมใดที่สมควรชะลอ หรือยุบเลิก เพื่อให้มีทรัพยากรที่จะ
นำ ไปใช้สำ หรับงาน/โครงการใหม่ ๆ ที่คุ้มค่ากว่า
(3) ไม่มีการกำ หนดตัวชี้วัดความสำ เร็จของแผนงาน / งาน / โครงการ
(4) ไม่มีการกำ หนดขอบเขตวัตถุประสงค์ในแต่ละระดับของโครงสร้าง
แผนงานอย่างชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ในระดับงานควรมีขอบเขตกว้างขวางเพียงใด หรือวัตถุประสงค์
ในระดับแผนงาน มีขอบเขตอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร
(5) ไม่มีการจัดลำ ดับความสำ คัญของ งาน/โครงการ ภายใต้แผนงานทำ ให้
ไม่สามารถใช้โครงสร้างแผนงานเป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำ กัดอย่างมี
ประสิทธิภาพได้เท่าที่ควร
(6) หน่วยงานยังไม่ได้นำ โครงสร้างแผนงานไปใช้เป็นเครื่องมือในการ
ตัดสินใจในกระบวนการงบประมาณอย่างแท้จริง
(7) บางหน่วยงานกำ หนดแผนงานไม่ตรงกับแผนงานที่ปรากฏในโครงสร้าง
แผนงานที่สำ นักงบประมาณกำ หนด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น