1) หน่วยงานขาดการวางแผนระยะยาวในช่วงระยะเวลา 5 ปี ต่อครั้งถึงแม้จะมีแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว แต่ก็เป็นการทำ แผนพัฒนาในภาพกว้าง หน่วยงานจึงควรมีวาง
แผนระยะยาวของตนเอง
2) หน่วยงานต่าง ๆ ทำ คำ ของบประมาณของตนเองโดยไม่มีการพิจารณากลั่นกรอง
ขั้นตอนว่าสอดคล้องกับนโยบายและแผนงานที่ได้กำ หนดไว้หรือไม่ ทำ ให้การบริหารงบประมาณ
ขาดประสิทธิภาพ
3) ขาดความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างแผนงาน นโยบาย และแผนปฏิบัติการทำ ให้
การจัดระบบงานในทุกระดับมีความขัดแย้งกัน
4) โครงสร้างแผนงานที่ใช้ขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง ขาดการลำ ดับความสำ คัญของ
งาน มีความซํ้าซ้อนของงานและก่อให้เกิดความสับสนและสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอย่างมาก
5) ปัญหาความซํ้าซ้อนของงานและโครงการซึ่งมีสาเหตุมาจากการขยายขอบเขตการ
ดำ เนินงานของหน่วยงานเกินกว่าที่กำ หนดในอำ นาจหน้าที่ ขาดการพิจารณาขอบเขตของงานว่าควรจะ
ลดหรือยุบเลิกงานไปเมื่อไม่มีความจำ เป็นในงานนั้นต่อไปแล้ว
6) ขาดข้อมูลพื้นฐานในการทำ งบประมาณ การทำ งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ต้องอาศัยข้อมูลที่สมบูรณ์ทุกด้าน เช่น ระเบียบการเงินต่าง ๆ เกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ระเบียบการ
จ่ายเงินค่าตอบแทนการไปราชการ ข้อมูลจำ นวนนักศึกษา แผนการเรียน ฯลฯ
7) หน่วยงานตั้งงบประมาณรายจ่ายโดยขาดแนวทาง ทิศทางที่ถูกต้องและขาดการจัด
ลำ ดับความสำ คัญของงบประมาณรายจ่ายมีผลทำ ให้งบประมาณสูงเกินความจำ เป็น
8) คณะกรรมการพิจารณารายละเอียดงบประมาณ ขาดประสบการณ์ความรู้ด้านการ
เงินงบประมาณ และความรู้รอบตัวเกี่ยวกับการทำ งานของหน่วยงาน เพื่อจะได้รู้ทันการจัดการงบ
ประมาณของหน่วยต่าง ๆ และสามารถพิจารณาได้อย่างรอบคอบขึ้นอยู่กับฐานของความเป็นจริง
9) ปัญหาด้านการจัดซื้อจัดจ้าง และการวางฎีกาเบิกจ่ายเงินที่มีระเบียบข้อบังคับที่ต้อง
ปฏิบัติตามมากมาย หน่วยงานต้องเสียเวลาในการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนจนบางครั้งไม่สามารถ
ดำ เนินการซื้อได้ทันเวลา
10) ปัญหาอื่น ๆ เช่น พัสดุ ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อตามระเบียบหลายครั้ง จะมีคุณภาพตํ่าและ
ไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งถ้าไม่ทำ ตามระเบียบอาจจะถูกตั้งกรรมการสอบสวนความผิดได้
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น