อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่ความจริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ คือ
ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียว เช่น ดอลลาร์ ฮ่องกงกับดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา หรือผูกค่ากับสกุลที่เรียกว่าระบบตะกร้า เช่น ระบบตะกร้าแลกเปลี่ยนของไทยในอดีต
2. ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้คล้ายกับระบบ peg แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจ เคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า ตัวของระบบนี้ได้แก่ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism ( ERN) เป็นต้น และ
3. ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าของเงินจะมีความผกผวนมากกว่า 2 ระบบแรก ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นสูงนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
(1) ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed หรือ Dirty Float) ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศส่วนมาก รวมทั้งประเทศในปัจจุบัน ใช้อยู่
(2) ระบบลอยตัวเสรี (Independent หรือ Free Float) เป็นระบบที่ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารอาจเข้าแทรกแซงในตลาดบ้าง เพื่อชี้นำทิศทาง แต่มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด
ภาคเศรษฐกิจการเงิน (Financial Sector)
หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการ ด้านการเงินอื่นๆด้วย โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน
ซึ่งภาคเศรษฐกิจการเงินนี้ประกอบไปด้วยสถาบันการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์
กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต
บริษัทประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
ทองคำ(gold standard) หมายถึงธนบัตรที่สามารถนำๆไปแลกเป็นเหรียญทองคำหรือเหรียญเงินจากกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามราคาที่ระบุไว้ในธนบัตร ในระบบมาตราปริวรรตทองคำ (gold exchandard) ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอนุญาติใหัแลกดอลลาร์กับคำในระดับธนาคารกลางได้ ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว(ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) หมายถึงเงินตราสกุลหนึ่งสามารถแลกเป็นเงินตราสกุลอื่นได้โดยไม่มีอุปสรรคอันเกิดจากข้อจำกัดของรัฐบาลเจ้าของเงินตรา
บัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีดุลการชำระดุลเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
(1) รายการสินค้าและบริการ
(2) รายได้และ
(3) เงินโอน ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะจัดทำขึ้นช่วงเวลา 1,3,6 เดือน และหนึ่งปี อนึ่ง สินค้าออกและสินค้าเข้าโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารายการที่มองเห็น (visible items) และเรียกบริการว่ารายการที่มองไม่เห็น (in visible items) อันได้แก่ การขนส่ง การเดินทางและการท่องเที่ยว ส่วนรายได้หมายถึงดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนสำหรับเงินโอนมีทั้งภาครัฐบาลเอกชน
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น