Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการวิจัยทางการตลาด (The Marketing Research Process)

1. การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย (Defining the problem and research objectives)
ในการวิจัยทางการตลาดนั้นมีวัตถุประสงค์ทางการวิจัยอยู่ 3 ชนิด คือ

(1) การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research)
เป็นการวิจัยทางการตลาดเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ที่จะช่วยในการระบุปัญหาและเสนอแนะสมมติฐานในการวิจัย
(2) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)
เป็นการวิจัยเพื่อบรรยายถึงปัญหาหรือสถานการณ์ทางการตลาด
(3) การวิจัยเชิงเหตุและผล (Causal research)
เป็นการวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐาน หาเหตุและผลของปัญหา

2. การพัฒนาแผนการวิจัย (Developing the research plan)

แหล่งข้อมูล (Data sources)
แหล่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการทำวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
เป็นข้อมูลที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นๆได้ทำการเก็บรวบรวมเอาไว้แล้ว เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง แหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ เช่น เว็บไซต์ ห้องสมุด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ องค์กรทางการค้า เช่น กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น
(2) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
เป็นข้อมูลที่ยังไม่มีการเก็บรวบรวมเป็นเอกสาร นักวิจัยต้องทำการเก็บรวบรวมขึ้นมาเอง เพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง
วิธีการวิจัย (Research approaches)
(1) การวิจัยโดยการสำรวจ (Survey research)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการซักถามคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ความชอบ ความพึงพอใจ หรือพฤติกรรมในการซื้อ เป็นต้น โดยผ่านทางวิธีการต่างๆดังต่อไปนี้
การใช้แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
การสัมภาษณ์โดยบุคคล

การสัมภาษณ์โดยบุคคล

(2) การวิจัยโดยการสังเกต (Observational research)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสังเกตถึงพฤติกรรม หรือปฏิกิริยาตอบสนอง
ต่างๆของผู้บริโภค (ผู้ถูกสังเกต) ภายใต้สถานการณ์ที่เราต้องการทราบ เช่นการสังเกตพฤติกรรม
ในการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
(3) การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental research)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยมีการกำหนดสถานการณ์ ควบคุมตัวแปร เพื่อตรวจสอบความแตกต่างที่เกิดขึ้น
แผนการสุ่มตัวอย่าง (Sampling plan)
การสุ่มตัวอย่าง (Sampling)
คือ การที่นักวิจัยทำการเลือกตัวอย่างบางตัวอย่าง (Sampling Unit) ขึ้นมาศึกษา จากกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมด (Population) เพื่อใช้ในการทำวิจัย เนื่องจากข้อจำกั
ดในทรัพยากรเวลา คน และงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถทำการสำรวจประชากร
ทั้งหมดได้
ประชากร (Population)
คือ หน่วยข้อมูลทั้งหมดตามที่ได้กำหนดไว้ก่อนการเลือกตัวอย่าง (Sample)

กลุ่มตัวอย่าง (Sample)
คือ กลุ่มคนที่ถูกเลือกสำหรับการทำวิจัย ที่ผู้วิจัยเลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนของประชากร
ทั้งหมด ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting the information)
เป็นขั้นตอนในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนการวิจัยที่ได้วางเอาไว้ในขั้นตอนที่ ถือเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้มากที่สุด

4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing the information)

เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาทำการประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทำการวิเคราะห์ผลการวิจัยออกมา

5. การนำเสนอข้อค้นพบ (Presenting the findings)
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัยคือการนำข้อค้นพบจากการวิจัย ไปเสนอให้กับบุคคล
ที่เกี่ยวข้องรับทราบ โดยการนำเสนอในรูปของรายงานการวิจัย และการนำเสนอผลการวิจัยด้วยวาจา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น