เป็นการจัดผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง ชัดเจน และตรงกับความต้องการ โดยการเปรียบเทียบ
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน ให้อยู่ในจิตใจของผู้บริโภค
โดยในขั้นนี้จะต้องมีการระบุความได้เปรียบ หรือความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive Advantages) ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation)
เป็นการพิจารณาคุณลักษณะเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณา
ได้จากคุณลักษณะต่างๆดังนี้
รูปแบบ
คุณสมบัติ
ความคงทน
คุณสมบัติ
ราคา
ความน่าเชื่อถือ
คุณภาพ
2. ความแตกต่างด้านบริการ (Service Differentiation)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นไปที่การให้บริการที่เหนือ
กว่าคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆดังนี้
ความรวดเร็ว
การรับประกัน
การบริการติดตั้ง
การบริการจัดส่งสินค้า
การฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า
การบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซม
3. ความแตกต่างด้านบุคคล (Personnel Differentiation)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดโดยพิจารณาจากความสามารถของบุคลากรในองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบริการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆดังนี้
ความรู้ความสามารถของบุคลากร
ประสบการณ์และความชำนาญ
ความน่าเชื่อถือ
ความซื่อสัตย์สามารถไว้วางใจได้
การดูแลเอาใจใส่ลูกค้า
การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
4. ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ (Image Differentiation)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด โดยนำเอาภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือองค์กรมาเป็น
เครื่องมือในการสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ
ต่างๆดังนี้
สัญลักษณ์
สื่อ
บรรยากาศ
การจัดเหตุการณ์พิเศษ
ที่มาของผลิตภัณฑ์
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น