ประการแรก การแบ่งแยกความเสี่ยงส่วนที่ยอมรับได้ออกจากส่วนที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้
ประการที่สอง การหาข้อมูลที่จะนำไปช่วยในการประเมินและควบคุมความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่
ส่วนที่ 1 รายการข้อมูลความเสี่ยง
ในการดำเนินการดังกล่าวสิ่งแรกที่กิจการต้องดำเนินการก็คือ การสร้างรายการข้อมูลความเสี่ยง (Risk vent list) ซึ่งเป็นผลมาจากการทำกิจกรรมการค้นหาและระบุความเสี่ยง
ดังนั้น รายการข้อมูลความเสี่ยง จะประกอบด้วย
1) รายการที่เป็นทั้งความเสี่ยงทางลบและโอกาสทางธุรกิจที่เป็นบวกของกิจการเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
2) นำเอารายการความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจมารวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ด้วยเกณฑ์การจัดลำดับที่กำหนด เช่น การรวมกลุ่มตามกระบวนงานหลักของกิจการหรือกระแสการไหลของงาน (Work flow Process)
รายการข้อมูลความเสี่ยงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาฐานข้อมูลของความเสี่ยงโดยเฉพาะ (Risk database) ที่จะประกอบด้วยข้อมูลของกิจกรรมหลัก ๆ และของโครงการแต่ละโครงการ ตลอดจนประเภทของความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบความเสี่ยงนั้น ๆ
ส่วนที่ 2 ทะเบียนข้อมูลความเสี่ยง
รายการข้อมูลความเสี่ยงที่มีการจัดหมวดหมู่ และลำดับเรียบร้อยและก็คือทะเบียนข้อมูลความเสี่ยง ที่มีราละเอียดของความเสี่ยงอย่างชัดเจน ที่สะท้อนถึงการผ่านมาจากระบวนการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงมาอย่างดีแล้ว
รายละเอียดที่ควรจะมีในทะเบียนข้อมูลความเสี่ยงแต่ละข้อมูลได้แก่
- ชื่อกระบวนการที่เสี่ยง
- ชื่อเหตุการณ์ความเสี่ยง
- โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
- ความรุนแรงของความเสี่ยงกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงขึ้น
- การตอบสนองต่อความเสี่ยง
- ผู้ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อความเสี่ยง
เป็นต้น
ส่วนที่ 3 เมทริกส์ความเสี่ยง
เมทริกส์ระดับความเสี่ยง (Risk level matrix) เป็นตาราง 2 แกน ที่ประกอบด้วย โอกาสที่จะเกิดที่มีค่า 1-5 และระดับความรุนแรงของความเสี่ยงที่มีค่า 1-5 เช่นกัน
การทำตาราง เมทริกส์ความเสี่ยง ด้วยมิติ 2 มิตินี้จะทำให้สามารถกำหนดระดับของความเสี่ยงแต่ละรายการในทะเบียนข้อมูลความเสี่ยงได้ ซึ่งการจัดลำดับความเสี่ยงโดยมองจากโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงกับระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ความเสี่ยงนี้จะทำให้สามารถเรียงลำดับความเสี่ยงจากสูงมาหากต่ำได้อย่างชัดเจน
เมื่อกิจการจะต้องทำการตัดสินใจว่าจะจัดการกับความเสี่ยงใดก่อน ก็จะเลือกจากระดับความเสี่ยงที่สูงที่สุดก่อน ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดสูงสุดและระดับความเสี่ยงรุนแรงที่สุด
นอกจากนั้น การสร้างเมทริกส์ความเสี่ยงจะทำให้กิจการสามารถกำหนดได้ว่า ค่าความเสี่ยงระดับใดที่เป็นเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และส่วนที่เกินกว่าระดับยอมรับ โดยการใช้สีสัญญาณไฟจราจรในการพิจารณา และนำผลที่ได้นี้ไปใช้ในการสื่อสาร สร้างความตระหนัก และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันระหว่างบุคลากรภายในองค์กร
ส่วนที่ 4 การพิจารณาความเสี่ยงในเชิงคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม การนำเมทริกส์ความเสี่ยงไปใช้ จะต้องพิจารณาประกอบกับข้อมูลในเชิงคุณภาพของข้อมูลความเสี่ยงนั้น ๆ ด้วย เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน ทางกฎหมายและภาษี ความเสี่ยงระดับประเทศ เป็นต้น และการเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่พิจารณาความเสี่ยงแบบแยกอิสระจากกัน และทำให้การจัดการกับความเสี่ยงไม่ประสบผลสำเร็จ
กรณีของข้อมูลความเสี่ยงเชิงคุณภาพ จะต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่แตกต่างกับข้อมูลความเสี่ยงเชิงปริมาณ โดยทั่วไปจะใช้วิธีการสร้างฉากทัศน์ (Scenario based analysis) ที่อธิบายสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในลักษณะแตกต่างกัน
ส่วนที่ 5 การแยกส่วนองค์ประกอบเพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยง
ในกรณีของความเสี่ยงเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ความเสี่ยงอาจจะใช้การแยกส่วนประกอบของความเสี่ยงออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เห็นว่าตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงมีอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อข้อมูลความเสี่ยงที่กำลังพิจารณาอยู่
การดำเนินการเช่นนี้มักจะการพิจารณาว่าแหล่งความเสี่ยงมาจากไหน เป็นความเสี่ยงจากภายในองค์กรและความเสี่ยงจากภายนอกองค์กร และความเกี่ยวพัน อิทธิพลที่มีต่อกันของแหล่งความเสี่ยงที่มาจากแหล่งต่าง ๆ กัน โดยเน้นรากเง้าของปัญหาและตัวขับเคลื่อนที่สร้างความเสี่ยง
ส่วนที่ 6 การพยากรณ์และเตรียมความพร้อมในอนาคต
การดำเนินกระบวนการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk Mapping จะไม่เกิดประโยชน์ต่อกิจการแต่อย่างใด หากสิ่งที่พิจารณา ค้นหา ระบุยังเป็นเรื่องที่นำประสบการณ์ในอดีตมาใช้พิจารณา ทำให้ยึดติดอยู่กับรูปแบบเก่า ๆ ของความเสี่ยง มองจากสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น
การทำแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk Mapping จึงต้องมั่นใจว่า
ประการแรก เป็นการพิจารณาความเสี่ยงก่อนการเริ่มดำเนินการ การมองอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น การใส่ใจในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของกิจกรรมใหม่ ๆ ที่กิจการไม่คุ้นเคย
ประการที่สอง การพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk Mapping จะต้องครอบคลุมโอกาสทางธุรกิจ หรือคิดบวกด้วย ไม่ใช่คิดลบอย่างเดียว เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้กิจการมีโอกาสเติบโตได้ยาก เพราะไม่ยอมรับความเสี่ยงเพิ่มเติม
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น