กระบวนการบริหารความเสี่ยงในกิจการทั่วไป มักจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1 : การระบุความเสี่ยง นำเอาพันธกิจ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ หรือโมเดลธุรกิจของกิจการมาเป็นหลัก เพื่อทำการระบุกระบวนการดำเนินงานที่เสี่ยง ลักษณะของเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น
ตามแนวคิดดังกล่าวถือว่าความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของความไม่แน่นอน
ในขั้นตอนนี้ กิจการต้องกำหนดใช้ชัดเจนว่าจะทำการระบุความเสี่ยงที่เป็นไปได้ด้วยเทคนิคแบบใด และใช้เกณฑ์ใดในการประเมินความเสี่ยงว่ายอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปกิจการมักจะใช้การทำ workshop และการระดมสมองในการค้นหาและระบุความเสี่ยง และให้คำอธิบายความเสี่ยงให้เห็นชัดเจน
ข้อมูลความเสี่ยงที่ได้จะนำไปขึ้นทะเบียนเป็นความเสี่ยงของกิจการที่มีโอกาสเป็นไปได้ ตามพันธกิจ ยุทธศาสตร์ โมเดลธุรกิจที่พิจารณา
ขั้นที่ 2 : การกำหนดขนาดของความเสี่ยง ในกระบวนการที่เสี่ยง และเหตุการณ์ของความเสี่ยงที่ระบุไว้และประเมินว่าความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญในการทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุผลสำเร็จ และความเชื่อมโยงของปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อระบุขนาดของความเสี่ยง ระดับของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนว่าสูง ปานกลางหรือต่ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเรียงลำดับความสำคัญของความเสี่ยงจากสูงสุดลงมาตามลำดับ
การกำหนดขนาดของความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นกว่าการระบุลักษณะของความเสี่ยงในขั้นตอนที่ 1 จึงต้องให้ความระมัดระวังว่าการกำหนดขนาดจะเหมาะสมและเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น
ในการที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้ กิจการจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่าการกำหนดระดับความเสี่ยงเหมาะสม
ก่อนการเริ่มต้นระบุความเสี่ยง ผู้ดำเนินการควรจะให้ความสำคัญกับการอธิบายแนวคิด จุดประสงค์ของการทำกิจกรรม workshop และเกณฑ์ในการระบุความเสี่ยงและการกำหนดความเสี่ยงในเชิงปริมาณ
สิ่งที่ควรต้องให้ความระมัดระวังเพิ่มเติมในระหว่างการดำเนินกระบวนการในขั้นตอนที่ 2 นี้ คือ
- การทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรที่เป็นปัจจัยความเสี่ยงหรือสาเหตุของเหตุการณ์ความเสี่ยง
- ระมัดระวังในการที่มิให้เกิดการนับซ้ำข้อมูลความเสี่ยง
- การละเลยหรือละเว้นความเสี่ยงสำคัญ
- การมองไม่เห็นสถานการณ์หรือเหตุการณ์ความเสี่ยงที่ไม่เคยเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นได้ยาก
ตัวแปรที่ควรพิจารณาในช่วงของการวิเคราะห์ความเสี่ยง ในกรณีนี้หมายความถึง การจัดวางระบบการพิจารณาและดึงเอาสิ่งที่เป็นความไม่แน่นอนมาหาโอกาสที่จะเกิดเพื่อให้เป็นข้อมูลความเสี่ยง ที่จะนำมาวัดหรือประมาณการขนาดของความเสี่ยงได้
โดยทั่วไป ตัวแปรในส่วนของความเสี่ยงมักมี 2 รูปแบบ คือ ตัวแปรเกี่ยวกับการตัดสินใจ และพารามิเตอร์ด้านมูลค่า
1. ตัวแปรเกี่ยวกับการตัดสินใจ พิจารณาปริมาณหรือขนาดของความเสี่ยงที่เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือกระบวนการของการตัดสินใจของผู้บริหาร ที่มักจะเป็นเรื่องของการควบคุมการปฏิบัติงานในกิจการภายใต้กรอบการบริหารจัดการ ซึ่งมักจะอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอน
2. ตัวแปรที่เป็นพารามิเตอร์ด้านมูลค่า (Value parameters) เป็นการเรียงลำดับของสิ่งที่ใช้เป็นทางเลือกในการตัดสินใจ เช่น อัตราดอกเบี้ย ที่มีผลต่อกระแสเงินสดไหลเข้า-ออกของกิจการ คุณค่าของชีวิตคน ซึ่งอาจจะไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริง เป็นเพียงการตีมูลค่าที่มาจากเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ
ซึ่งตัวแปรที่เป้นความไม่แน่นอนนี้ เป็นไปได้ทั้งตัวแปรในการตัดสินใจหรือพารามิเตอร์ด้านมูลค่าก็ได้
สำหรับในส่วนของข้อที่ต้องระวังในการนับซ้ำความเสี่ยงนั้น มักจะพบว่าความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนและการวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการนับซ้ำความเสี่ยง
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น