Custom Search
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ภาครัฐ

1. พันธบัตรรัฐบาล
พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยกระทรวงการคลัง มีทั้งหมดสามประเภท ได้แก่ พันธบัตรเพื่อการลงทุน พันธบัตรเพื่อการกู้ยืม และพันธบัตรออมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาไม่มีการออกพันธบัตรเพื่อการลงทุนอีก พันธบัตรในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรเพื่อการกู้ยืม ซึ่งออกมาเพื่อแก้ไขภาวะขาดดุลงบประมาณการเงิน ส่วนพันธบัตรออมทรัพย์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการออมทรัพย์เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง


2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (SOE)
พันธบัตรรัฐวิสาหกิจเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง

ผลตอบแทนของพันธบัตรจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินในขณะนั้น ระดับความเสี่ยง และระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน โดยปกติ พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรุ่นที่มีอายุคงเหลือสั้น และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันจะมีผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและพันธบัตรรัฐบาล
ตราสารหนี้ภาคเอกชน
การออกหุ้นกู้ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมกันมาก และมักจะขายหมดภายในเวลาไม่กี่วัน


เนื่องจากผู้ที่กู้เงินผ่านตลาดซื้อขายตราสารหนี้ คือบริษัท มิใช่ธนาคาร ดังนั้น ความมั่นคงของเงินกู้จำนวนนั้นจึงขึ้นอยู่กับความมั่งคงของบริษัท โดยไม่มีการประกันทั้งจากธนาคารและรัฐบาล ดังนั้น นักลงทุนจะพบว่าหุ้นกู้มีข้อได้เปรียบพันธบัตรรัฐบาลตรงที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่า

การลงทุนขั้นต่ำสุดในหุ้นกู้สำหรับนักลงทุนที่เป็นบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเสนอขายแก่ประชาชน (Public Offering - P/O) หรือเป็นการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement - P/P) หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่ประชาชน ท่านสามารถซื้อได้ตั้งแต่หนึ่งหน่วยขึ้นไป (โดยราคาที่ตราต่อหน่วยอาจเป็น 1,000 บาท 10,000 บาท หรือขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกหุ้นกู้) ส่วนการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด ต้องซื้อขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หรือ 10,000 หน่วย บริษัทต่าง ๆ เริ่มออกตราสารหนี้ในปี 2535 หลังจากมีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้การออกหุ้นกู้ทำได้ง่ายขึ้น



ประเภทของตราสารหนี้ที่ออกจำหน่าย
เงื่อนไขในการออกหุ้นกู้มีหลายลักษณะ เช่น แบบดอกเบี้ยคงที่ (Straight Fixed) แบบอัตราลอยตัว (FRN) แบบทยอยคืนเงินต้น (Amortizing) และแบบแปลงสภาพได้ (Convertible) สำหรับการเสนอขายในตลาดนั้น ผู้ออกสามารถทำได้ด้วยการเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปหรือเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด โดยผู้ออกตราสารหนี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กลต. และต้องได้รับการอนุมัติจาก กลต. ก่อนทำการเสนอขาย ส่วนการออกจำหน่ายโดยเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงนั้นจะทำได้โดยตรง โดยสามารถขายให้กับนักลงทุนได้ไม่เกิน 35 คน หรือเสนอขายให้กับผู้ลงทุนที่เป็นสถาบันตามที่ กลต. กำหนดไว้ 17 ประเภท คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

การเสนอขายหุ้นกู้นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออก ยกเว้นกรณีการออกหุ้นกู้ในจำนวนไม่เกิน 100 ล้านบาท หรือการออกตราสารหนี้ที่จำกัดนักลงทุนจำนวนไม่เกิน 10 คน ไม่จำเป็นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ประการแรก การแบ่งแยกความเสี่ยงส่วนที่ยอมรับได้ออกจากส่วนที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้

ประการที่สอง การหาข้อมูลที่จะนำไปช่วยในการประเมินและควบคุมความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่

ส่วนที่ 1 รายการข้อมูลความเสี่ยง

ในการดำเนินการดังกล่าวสิ่งแรกที่กิจการต้องดำเนินการก็คือ การสร้างรายการข้อมูลความเสี่ยง (Risk vent list) ซึ่งเป็นผลมาจากการทำกิจกรรมการค้นหาและระบุความเสี่ยง

ดังนั้น รายการข้อมูลความเสี่ยง จะประกอบด้วย

1) รายการที่เป็นทั้งความเสี่ยงทางลบและโอกาสทางธุรกิจที่เป็นบวกของกิจการเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

2) นำเอารายการความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจมารวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ด้วยเกณฑ์การจัดลำดับที่กำหนด เช่น การรวมกลุ่มตามกระบวนงานหลักของกิจการหรือกระแสการไหลของงาน (Work flow Process)

รายการข้อมูลความเสี่ยงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาฐานข้อมูลของความเสี่ยงโดยเฉพาะ (Risk database) ที่จะประกอบด้วยข้อมูลของกิจกรรมหลัก ๆ และของโครงการแต่ละโครงการ ตลอดจนประเภทของความเสี่ยง ผู้รับผิดชอบความเสี่ยงนั้น ๆ

ส่วนที่ 2 ทะเบียนข้อมูลความเสี่ยง

รายการข้อมูลความเสี่ยงที่มีการจัดหมวดหมู่ และลำดับเรียบร้อยและก็คือทะเบียนข้อมูลความเสี่ยง ที่มีราละเอียดของความเสี่ยงอย่างชัดเจน ที่สะท้อนถึงการผ่านมาจากระบวนการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงมาอย่างดีแล้ว

รายละเอียดที่ควรจะมีในทะเบียนข้อมูลความเสี่ยงแต่ละข้อมูลได้แก่

- ชื่อกระบวนการที่เสี่ยง

- ชื่อเหตุการณ์ความเสี่ยง

- โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

- ความรุนแรงของความเสี่ยงกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงขึ้น

- การตอบสนองต่อความเสี่ยง

- ผู้ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อความเสี่ยง

เป็นต้น

ส่วนที่ 3 เมทริกส์ความเสี่ยง

เมทริกส์ระดับความเสี่ยง (Risk level matrix) เป็นตาราง 2 แกน ที่ประกอบด้วย โอกาสที่จะเกิดที่มีค่า 1-5 และระดับความรุนแรงของความเสี่ยงที่มีค่า 1-5 เช่นกัน

การทำตาราง เมทริกส์ความเสี่ยง ด้วยมิติ 2 มิตินี้จะทำให้สามารถกำหนดระดับของความเสี่ยงแต่ละรายการในทะเบียนข้อมูลความเสี่ยงได้ ซึ่งการจัดลำดับความเสี่ยงโดยมองจากโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงกับระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ความเสี่ยงนี้จะทำให้สามารถเรียงลำดับความเสี่ยงจากสูงมาหากต่ำได้อย่างชัดเจน

เมื่อกิจการจะต้องทำการตัดสินใจว่าจะจัดการกับความเสี่ยงใดก่อน ก็จะเลือกจากระดับความเสี่ยงที่สูงที่สุดก่อน ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดสูงสุดและระดับความเสี่ยงรุนแรงที่สุด

นอกจากนั้น การสร้างเมทริกส์ความเสี่ยงจะทำให้กิจการสามารถกำหนดได้ว่า ค่าความเสี่ยงระดับใดที่เป็นเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และส่วนที่เกินกว่าระดับยอมรับ โดยการใช้สีสัญญาณไฟจราจรในการพิจารณา และนำผลที่ได้นี้ไปใช้ในการสื่อสาร สร้างความตระหนัก และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันระหว่างบุคลากรภายในองค์กร

ส่วนที่ 4 การพิจารณาความเสี่ยงในเชิงคุณภาพ

อย่างไรก็ตาม การนำเมทริกส์ความเสี่ยงไปใช้ จะต้องพิจารณาประกอบกับข้อมูลในเชิงคุณภาพของข้อมูลความเสี่ยงนั้น ๆ ด้วย เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน ทางกฎหมายและภาษี ความเสี่ยงระดับประเทศ เป็นต้น และการเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่พิจารณาความเสี่ยงแบบแยกอิสระจากกัน และทำให้การจัดการกับความเสี่ยงไม่ประสบผลสำเร็จ

กรณีของข้อมูลความเสี่ยงเชิงคุณภาพ จะต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่แตกต่างกับข้อมูลความเสี่ยงเชิงปริมาณ โดยทั่วไปจะใช้วิธีการสร้างฉากทัศน์ (Scenario based analysis) ที่อธิบายสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในลักษณะแตกต่างกัน

ส่วนที่ 5 การแยกส่วนองค์ประกอบเพื่อการวิเคราะห์ความเสี่ยง

ในกรณีของความเสี่ยงเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ความเสี่ยงอาจจะใช้การแยกส่วนประกอบของความเสี่ยงออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เห็นว่าตัวขับเคลื่อนความเสี่ยงมีอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อข้อมูลความเสี่ยงที่กำลังพิจารณาอยู่

การดำเนินการเช่นนี้มักจะการพิจารณาว่าแหล่งความเสี่ยงมาจากไหน เป็นความเสี่ยงจากภายในองค์กรและความเสี่ยงจากภายนอกองค์กร และความเกี่ยวพัน อิทธิพลที่มีต่อกันของแหล่งความเสี่ยงที่มาจากแหล่งต่าง ๆ กัน โดยเน้นรากเง้าของปัญหาและตัวขับเคลื่อนที่สร้างความเสี่ยง

ส่วนที่ 6 การพยากรณ์และเตรียมความพร้อมในอนาคต

การดำเนินกระบวนการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk Mapping จะไม่เกิดประโยชน์ต่อกิจการแต่อย่างใด หากสิ่งที่พิจารณา ค้นหา ระบุยังเป็นเรื่องที่นำประสบการณ์ในอดีตมาใช้พิจารณา ทำให้ยึดติดอยู่กับรูปแบบเก่า ๆ ของความเสี่ยง มองจากสิ่งที่เป็นจริงเท่านั้น

การทำแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk Mapping จึงต้องมั่นใจว่า

ประการแรก เป็นการพิจารณาความเสี่ยงก่อนการเริ่มดำเนินการ การมองอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น การใส่ใจในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของกิจกรรมใหม่ ๆ ที่กิจการไม่คุ้นเคย

ประการที่สอง การพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk Mapping จะต้องครอบคลุมโอกาสทางธุรกิจ หรือคิดบวกด้วย ไม่ใช่คิดลบอย่างเดียว เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้กิจการมีโอกาสเติบโตได้ยาก เพราะไม่ยอมรับความเสี่ยงเพิ่มเติม
กระบวนการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk mapping มักจะแบ่งออกเป็น 7 กิจกรรมหลัก ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 การสร้างบริบท เช่น นโยบาย กรอบแนวทางปฏิบัติที่เป้นวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง

กิจกรรมที่ 2 การค้นหาและระบุความเสี่ยง เพื่อให้เห็นลักษณะและรายละเอียดของความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับกิจการ

กิจกรรมที่ 3 การประเมินขนาดของความเสี่ยงและทำการจัดลำดับความเสี่ยง และกำหนดเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และที่สูงมากจนยอมรับไม่ได้

กิจกรรมที่ 4 การนำเอาความเสี่ยงที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ไปทำการจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการที่เหมาะสม

กิจกรรมที่ 5 การสื่อสารและชี้แจง ทำความเข้าใจ ให้การช่วยเหลือเพื่อการปรับปรุง แก้ไขการดำเนินงานที่อาจจะไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม

กิจกรรมที่ 6 การกำกับ ติดตามการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเทียบกับแผนและแนวทางที่กำหนดไว้

กิจกรรมที่ 7 การทบทวนปละปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

จุดประสงค์ของการพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงหรือ Risk mapping จะเน้นที่

ประการแรก การแบ่งแยกความเสี่ยงส่วนที่ยอมรับได้ออกจากส่วนที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้

ประการที่สอง การหาข้อมูลที่จะนำไปช่วยในการประเมินและควบคุมความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่
กระบวนการบริหารความเสี่ยงในกิจการทั่วไป มักจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นที่ 1 : การระบุความเสี่ยง นำเอาพันธกิจ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ หรือโมเดลธุรกิจของกิจการมาเป็นหลัก เพื่อทำการระบุกระบวนการดำเนินงานที่เสี่ยง ลักษณะของเหตุการณ์ความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น

ตามแนวคิดดังกล่าวถือว่าความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของความไม่แน่นอน

ในขั้นตอนนี้ กิจการต้องกำหนดใช้ชัดเจนว่าจะทำการระบุความเสี่ยงที่เป็นไปได้ด้วยเทคนิคแบบใด และใช้เกณฑ์ใดในการประเมินความเสี่ยงว่ายอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปกิจการมักจะใช้การทำ workshop และการระดมสมองในการค้นหาและระบุความเสี่ยง และให้คำอธิบายความเสี่ยงให้เห็นชัดเจน

ข้อมูลความเสี่ยงที่ได้จะนำไปขึ้นทะเบียนเป็นความเสี่ยงของกิจการที่มีโอกาสเป็นไปได้ ตามพันธกิจ ยุทธศาสตร์ โมเดลธุรกิจที่พิจารณา

ขั้นที่ 2 : การกำหนดขนาดของความเสี่ยง ในกระบวนการที่เสี่ยง และเหตุการณ์ของความเสี่ยงที่ระบุไว้และประเมินว่าความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญในการทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุผลสำเร็จ และความเชื่อมโยงของปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อระบุขนาดของความเสี่ยง ระดับของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนว่าสูง ปานกลางหรือต่ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเรียงลำดับความสำคัญของความเสี่ยงจากสูงสุดลงมาตามลำดับ

การกำหนดขนาดของความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นกว่าการระบุลักษณะของความเสี่ยงในขั้นตอนที่ 1 จึงต้องให้ความระมัดระวังว่าการกำหนดขนาดจะเหมาะสมและเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น

ในการที่จะดำเนินการเช่นนั้นได้ กิจการจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่าการกำหนดระดับความเสี่ยงเหมาะสม

ก่อนการเริ่มต้นระบุความเสี่ยง ผู้ดำเนินการควรจะให้ความสำคัญกับการอธิบายแนวคิด จุดประสงค์ของการทำกิจกรรม workshop และเกณฑ์ในการระบุความเสี่ยงและการกำหนดความเสี่ยงในเชิงปริมาณ

สิ่งที่ควรต้องให้ความระมัดระวังเพิ่มเติมในระหว่างการดำเนินกระบวนการในขั้นตอนที่ 2 นี้ คือ

- การทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรที่เป็นปัจจัยความเสี่ยงหรือสาเหตุของเหตุการณ์ความเสี่ยง

- ระมัดระวังในการที่มิให้เกิดการนับซ้ำข้อมูลความเสี่ยง

- การละเลยหรือละเว้นความเสี่ยงสำคัญ

- การมองไม่เห็นสถานการณ์หรือเหตุการณ์ความเสี่ยงที่ไม่เคยเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นได้ยาก

ตัวแปรที่ควรพิจารณาในช่วงของการวิเคราะห์ความเสี่ยง ในกรณีนี้หมายความถึง การจัดวางระบบการพิจารณาและดึงเอาสิ่งที่เป็นความไม่แน่นอนมาหาโอกาสที่จะเกิดเพื่อให้เป็นข้อมูลความเสี่ยง ที่จะนำมาวัดหรือประมาณการขนาดของความเสี่ยงได้

โดยทั่วไป ตัวแปรในส่วนของความเสี่ยงมักมี 2 รูปแบบ คือ ตัวแปรเกี่ยวกับการตัดสินใจ และพารามิเตอร์ด้านมูลค่า

1. ตัวแปรเกี่ยวกับการตัดสินใจ พิจารณาปริมาณหรือขนาดของความเสี่ยงที่เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือกระบวนการของการตัดสินใจของผู้บริหาร ที่มักจะเป็นเรื่องของการควบคุมการปฏิบัติงานในกิจการภายใต้กรอบการบริหารจัดการ ซึ่งมักจะอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอน

2. ตัวแปรที่เป็นพารามิเตอร์ด้านมูลค่า (Value parameters) เป็นการเรียงลำดับของสิ่งที่ใช้เป็นทางเลือกในการตัดสินใจ เช่น อัตราดอกเบี้ย ที่มีผลต่อกระแสเงินสดไหลเข้า-ออกของกิจการ คุณค่าของชีวิตคน ซึ่งอาจจะไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริง เป็นเพียงการตีมูลค่าที่มาจากเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ

ซึ่งตัวแปรที่เป้นความไม่แน่นอนนี้ เป็นไปได้ทั้งตัวแปรในการตัดสินใจหรือพารามิเตอร์ด้านมูลค่าก็ได้

สำหรับในส่วนของข้อที่ต้องระวังในการนับซ้ำความเสี่ยงนั้น มักจะพบว่าความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ความไม่แน่นอนและการวิเคราะห์ความเสี่ยง จากการนับซ้ำความเสี่ยง
การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หรือ การทำ Forward คือ เครื่องมือสำคัญที่สามารถป้องกันความเสี่ยง ให้กับผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศได้ เป็นการทำสัญญาตกลงที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศสกุลหนึ่งๆ โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่จะซื้อขายกันในอนาคตไว้ ณ ระดับที่ตกลงกันในวันนี้ เพื่อทำการส่งมอบเงินสกุลนั้นๆ ในอนาคตตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา



อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ ณ วันที่ตกลงทำสัญญาเรียกว่าอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า หรือ Forward Exchange Rate การชำระเงินและส่งมอบจะกระทำในวันครบกำหนดสัญญา โดยปกติระยะเวลาการซื้อขายอาจเป็น 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน



การทำ Forward คำนวณจากอัตราซื้อขายทันที หรือ Spot Rate ในปัจจุบัน และปรับด้วยค่าที่เทียบเท่ากับผลต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของเงินสองสกุลที่เกี่ยวข้องในการซื้อขาย ถ้าผลต่างดังกล่าวเป็นค่าบวก เรียกว่า Premium ถ้าผลต่างมีค่าเป็นลบเรียกว่า Discount ในกรณีที่บวกด้วย Premium อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าจะมีค่าสูงกว่าอัตราในปัจจุบัน แต่ถ้าหักด้วยค่า Discount อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าจะมีค่าต่ำกว่าอัตราในปัจจุบัน



การทำ Forward ช่วยขจัดความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากนักธุรกิจสามารถกำหนดอัตราที่จะซื้อขายเงินในอนาคตไว้ในระดับที่ตกลงกันไว้ ช่วยให้ผู้นำเข้าสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ระดับหนึ่ง เช่น

บริษัทผู้นำเข้าของไทยเปิด L/C สั่งซื้อสินค้าโดยชำระเงินเป็นเงินเยน จำนวน 1 ล้านเยน กำหนดชำระเงินภายใน 3 เดือน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทดังกล่าวจึงทำสัญญาซื้อเงินเยนล่วงหน้า 3 เดือน จำนวน 1 ล้านเยน ณ อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาท/100 เยน ดังนั้น ในอนาคตถึงแม้เงินเยนจะมีค่าสูงขึ้น ต้นทุนการนำเข้าของบริษัทในรูปเงินบาท ก็ยังคงเป็น 400,000 บาท แต่ถ้าหากไม่มีการซื้อเงินล่วงหน้า เมื่อค่าเงินเยนสูงขึ้น บริษัทต้องแบกรับภาระค่าสินค้าในรูปเงินบาทเป็นจำนวนมากขึ้น ตามค่าเงินเยนที่สูงขึ้นด้วย

ด้านส่งออกก็เช่นเดียวกัน การขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากรายได้การส่งออกที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต ช่วยให้ผู้ส่งออกได้รับรายได้เป็นจำนวนที่แน่นอน ถึงแม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น

ผู้ส่งออกไทยทำการขายสินค้าโดยได้รับการชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ส่งออกจึงทำสัญญาขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ล่วงหน้า 3 เดือน ณ อัตราแลกเปลี่ยน 55 บาท/1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในอนาคตแม้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีค่าลดลง ผู้ส่งออกไทยก็ยังคงได้รับเงินบาทในจำนวน 55 ล้านบาท ซึ่งคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ได้ตกลงกันไว้ เพื่อช่วยให้ผู้ส่งออกได้รับรายได้เป็นเงินบาทในจำนวนที่แน่นอน
อัตราการแลกเปลี่ยนหรือราคาของเงินตราสกุลหนึ่งๆ กับเงินตราต่างประเทศที่ได้มีการตกลงแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า โดยมีการระบุจำนวนและวันเวลาที่จะส่งมอบกันเป็นที่แน่นอนอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้านี้อาจแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนทันทีที่เกิดขึ้น ณ วันซื้อขายเดียวกัน การตกลงซื้อขายเงินตราในอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ก็เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกันก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศของนักเก็งกำไรด้วยเช่นกัน
ตลาดเสรี = Free market
ตลาดสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยให้พลังของอุปสงค์และอุปทานหรือกลไกตลาด เป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขายอย่างเสรี โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมตลาดเสรีเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี

การตลาดแบบเสรีหรือการค้าเสรี (Free Trade) นี้ได้แผ่ขยายไปทั่วโลกไม่มีประเทศใดสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่จะทำอย่างไรให้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เป็นธรรม มีความเท่าเทียมกันกับทุกๆประเทศได้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงแค่การค้าเสรีเท่านั้น เพราะ Fair trade can be free, But free trade can be unfair จึงจำเป็นต้องพูดถึงความเป็นธรรมด้วย คือการค้าเสรีและเป็นธรรม (Free Trade and Fair Trade) แต่ก็เป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยากเพราะการค้าที่เป็นธรรมนั้นมักตรงข้ามกับการค้าเสรี “Fair trade” in contrast to the “ Free trade” การปล่อยให้มีการค้าเสรีถ้ารัฐเข้าไปควบคุมมากๆ มันก็ไม่เป็นเสรีแต่ถ้าปล่อยให้เสรีมากๆ ก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นมาได้ สำหรับประเทศไทย ซึ่งส่วนองค์กรธุรกิจและส่วนประชาชนยังไม่มีเข้มแข็งพอ ดังนั้นการค้าที่เสรีที่เป็นธรรมคงเกิดขึ้นได้ยาก บริษัทขนาด

ตลาดเสรีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมากับมิได้เป็นไปตามคาด แต่กลับตรงกันข้าม ระบบตลาดเสรีก่อให้เกิดช่องหว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากยิ่งขึ้น มีความเหลื่อมล้ำกันทางด้านรายได้ ความเป็นอยู่และปัญหาอื่นๆ ตามมาอย่างมากมาย ประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ พยายามเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เปิดตลาดเสรีทางการค้าและการลงทุนโดยไม่มีข้อจำกัด เมื่อมีการเปิดเสรีก็มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดนได้อย่างเสรีเช่นกัน และก็อาศัยความได้เปรียบด้านเงินทุนที่มีมาก และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี แสวงหาผลประโยชน์จากประเทศที่เล็กหรือด้อยกว่าตน บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีเงินทุนหนาพยายามเข้ามาซื้อหรือผนวกกิจการทำให้ตนเองมีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถควบคุมกลไกตลาดได้มากขึ้น เมื่อได้ผลกำไรแล้วก็หอบกลับประเทศตนบริษัทท้องถิ่นซึ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กมีเงินทุนน้อยต่างทยอยปิดกิจการไม่สามารถอยู่รอดได้ ดังจะเห็นได้ในกรณีการขยายตัวของ Discount Storeไปยังชุมชนต่างๆ ร้านโชว์ฮ่วยตามตรอกซอกมุม ซึ่ง เปิดมานานต่างทยอยปิดกิจการกันเป็นทิวแถว บริษัทขนาดใหญ่ที่เข้ามาซื้อหรือผนวกกิจการมีการปรับปรุงองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในองค์กรมีการยกเลิกหรือตัดบางส่วนขององค์กรออกไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เห็นว่าไม่จำเป็น หรือหันไปจ้าง out sourceแทนก็ให้เกิดการคนตกงานจำนวนไม่น้อยดังเห็นได้จากภาคการธนาคารที่ผ่านๆมา เนื่องจาก ต้องทำต้นทุนให้ต่ำที่สุดแต่ได้รับกำไรหรือผลตอบแทนให้มากที่สุดนั่นเอง ซึ่งก็อาจจะถือได้ว่าเป็นธรรมดาของการดำเนินธุรกิจ ในการตลาดเสรีประเทศที่เล็กกว่าไม่ค่อยได้มีอิทธิพลหรือบทบาทในการกำหนดกติกา ซึ่งในทางที่ถูกต้องทุกประเทศควรจะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการกำหนดกฎระเบียบเพื่อหาจุดที่เหมาะสมสำหรับประเทศตน