Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีสินค้าและบริการสาธารณะ (Theory of Public Goods)

สินค้าและบริการสาธารณะ (Public Goods)
สินค้าและบริการสาธารณะ (Public Goods) หมายถึง สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาแล้วทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ทุกคนจะได้รับหรือมีสิทธิ์ที่จะได้รับการบริโภคที่เท่ากัน หรือบริโภคที่ร่วมกัน (Joint Consumption) ซึ่งมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ
1. Non-rival in Consumption
หมายถึง การบริโภคของคนๆ หนึ่งจะไม่กระทบการบริโภคของคนอื่น หรือจะไม่ทำให้การบริโภคของคนอื่นลดลง (ความพอใจของผู้บริโภคคนอื่น ¯) โดยพิจารณาจาก
Ø Marginal Cost (MC) of Additional User (ต้นทุนส่วนเพิ่มที่ทำให้ความพอใจ
ของผู้บริโภคคนอื่น ¯ เมื่อมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 1 คน) = 0 หรือ
Ø Congestion Cost (ต้นทุนความแออัด) = 0
2. Non-excludable
หมายถึง ไม่สามารถกีดกันผู้บริโภคได้ ถึงแม้ว่าผู้บริโภคไม่จ่ายเงิน กล่าวคือไม่สามารถเก็บเงินโดยตรงจากผู้บริโภคได้


Rival in Consumption Non-rival in Consumption
Excludable 1. Private Goods
สินค้าและบริการเอกชน
Club Goods สินค้าสโมสร 2. Quasi-public Goods
สินค้าและบริการกึ่งสาธารณะ
Non-excludable 3. Quasi-public Goods
สินค้าและบริการกึ่งสาธารณะ 4. Pure Public Goods
สินค้าและบริการสาธารณะที่แท้จริง


ช่องหมายเลข
1. สินค้าและบริการเอกชนทั่วๆ ไปที่ซื้อขายในตลาด เช่น กล้วย ไอสครีม น้ำอัดลม ทางด่วน
2. Cable-TV ทางด่วนที่มีปริมาณการจราจรไม่หนาแน่น
3. ถนนทางหลวงแผ่นดินที่มีปริมาณการจราจรมาก สวนสาธารณะ (วัด) ในเมืองที่มีประชากรมาก (สวนจัตุจักร) ปลาที่กรมประมงปล่อยในแม่น้ำลำคลอง
4. การบริการป้องกันประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล คลื่นวิทยุ คลื่น TV ดาวเทียม ฝนหลวง ประภาคาร (Lighthouse) ไฟที่ให้แสงสว่างตามท้องถนน ทางหลวงแผ่นดินที่มีปริมาณรถน้อย การลดมลภาวะทางอากาศ การรักษาความสงบภายในประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศสวนสาธารณะ (วัด) ขนาดใหญ่ ในเมืองที่มีประชากรน้อย


Ø Private Goods ® กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ø Quasi-public Goods ® กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้บ้าง แต่ไม่สมบูรณ์เหมือนกรณีของ
Private goods
Ø Pure Public Goods ® กลไกตลาดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
® Market Failure
® รัฐต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อให้กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
® Market cannot provide pure public goods
® ผู้บริโภคทุกๆ คน จะไม่มีแรงจูงใจที่จะเปิดเผยดีมานด์ (อุปสงค์) ที่แท้จริงของ ตนเอง (Understate True Demand) กล่าวคือผู้บริโภคทุกๆ คนพยายามที่จะเป็น Free Rider (คนที่ตีตั๋วฟรี) แต่อย่างไรก็ตาม หากทุกๆ คนเป็น Free rider หมด ก็จะไม่มีสินค้าบริการสาธารณะให้ใช้ [If everyone tries to free ride, no one gets a ride (Ronald Fisher, 1996)]

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น