Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาวะเงินฝืด


ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ คือปริมาณเงินในระบบมีน้อยกว่าความต้องการ หรือสรุปได้ง่าย ๆ คือ ภาวะที่สินค้าโดยทั่วไปมีระดับราคาลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสินค้าทุกชนิดจะต้องมีราคาลดลง เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจจะเป็นไปได้สินค้าบางชนิดอาจมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้วราคาถั่วเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม การที่ราคาสินค้าลดลงนั้นจะเกิดจากอุปสงค์รวมมีน้อยกว่าอุปทานรวมในขณะนั้น ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้อลดราคาสินค้า ลดจำนวนผลิต และทำให้เกิดการว่างานขึ้น รายได้ตกต่ำลง ธุรกิจไม่สามารถชำระหนี้สินคืน ทำให้สถาบันการเงินได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมาก เพราะเรียกเก็บหนี้ไม่ได้ หรือมีหนี้สูญ การปล่อยสินเชื่อถูกจำกัดเข้มงวด ดอกเบี้ยจึงสูงขึ้นไม่มีการกู้ยืมไปลงทุน เศรษฐกิจจึงตกต่ำเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืดอาจจะเกิดจากสาเหตุบางประการดังต่อไปนี้
1. การขาดแคลนเงินทุนหรือเงินออม ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนลดน้อย การผลิตลดน้อยลง จึงมีการจ้างงานลดระดับลง รายได้ประชาชนก็ลดลงตามไป ทำให้ภาวการณ์ซื้อขายชะลอตัว
2. มีการส่งเงินทุนออกต่างประเทศมากเกินไป ทั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมายในระยะยาวนานติดต่อกัน จึงเป็นเหตุให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศไปจำนวนมาก และเกิดผลกระทบทำให้เงินทุนลดน้อย ภาวะดอกเบี้ยจึงสูงขึ้น
3. ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง เช่น มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินสูงเกินจนสถาบันการเงินประสบปัญหาในเรื่องให้สินเชื่อแก่ลูกค้า มีการจัดเก็บภาษีทางตรงในอัตราสูงมากจนประชาชนเหลือเงินใช้จ่ายน้อยเกินไป ทำให้อุปสงค์ลดลงไม่สมดุลกับอุปทานที่มีมากกว่า หรือรัฐบาลจัดการพิมพ์ธนบัตรออกหมุนเวียนใช้ไม่เพียงพอกับความจำเป็นของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น
4. การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุอื่นๆ เช่น ประชาชนไม่นิยมออมเงินในระบบการเงิน แต่หันไปนิยมการออมนอกระบบการเงิน ตัวอย่าง มีการนำเงินออมไปลงทุนไว้ในทรัพย์สิน โดยการกักตุน ซื้อโลหะมีค่า ซึ่งเป็นเหตุให้เงินออมในระบบการเงินลดน้อยลง จึงทำให้เงินทุนมีน้อย ดอกเบี้ยจึงแพง เป็นต้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือเศรษฐกิจต่ำ นับว่าเป็นปัญหาร้ายแรงมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ คือ
1. ผลต่อประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของรายได้ที่มีอยู่ กล่าวคือ ภาวะเงินฝืดทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้มีรายได้จากกำไรและลูกหนี้
2. ผลต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่ภาวการณ์ลงทุน การผลิตที่ลดลงเกิดการว่างงานทำให้ประชาชนขาดรายได้ อำนาจซื้อตกต่ำลง สินค้าจะตกค้าอยู่ในคลังสินค้าอย่างมาก กำไรธุรกิจลดน้อยลงหรือเกิดภาวการณ์ขาดทุนอย่างรุนแรง สภาพเศรษฐกิจของประเทศจะซบเซาตกต่ำ รายได้ประชาชาติจะถดถอยลง ในภาวะที่ตลาดซบเซาทำให้ผู้ประกอบการต่างต้องการเงินเพื่อมาหมุนเวียนในกิจการ ทำให้ต้องหาทางเพื่อเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงิน ซึ่งต้องลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจผู้ซื้อทั้งลดแลกแจกแถม เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสียและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเมื่อสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถที่จะหาเงินมาหมุน เวียนจนทำให้กิจการบางแห่งต้องปิดตัวลง ยังผลให้ต้องเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก เมื่อพนักงานส่วนหนึ่งกลายเป็นคนตกงาน ทำให้ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปยังธุรกิจการค้า และมีผลต่อภาคการผลิตอื่นๆ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น