Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นโยบายการเงิน (MONETARY POLICY) ( Demand Size )


นโยบายการเงิน (MONETARY POLICY) ( Demand Size ) คือ นโยบายทางเศรษฐกิจประเภทหนึ่ง ที่กระทำผ่านเครื่องมือทางการเงินเพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรทางการเงิน ซึ่งเป็นเป้าหมายชั้นกลางเพื่อหวังว่าการเปลี่ยนแปลงในเป้าหมายชั้นกลางนั้นจะส่งผลกระทบไปถึงเป้าหมายขั้นสุดท้าย ( คือ การกินดีอยู่ดีของประชาชน ) โดยการดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อ จากธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยการกำหนดมาตรการดำเนินการด้านการควบคุมปริมาณเงินและเครดิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจประการใดประการหนึ่ง หรือหลายประการอันได้แก่
1.การรักษาเสถียรภาพของราคา
2.การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
3.การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
4.การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
5.การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
เครื่องมือที่สำคัญของนโยบายการเงิน คือ
สรุปออกมาเป็นแนวทางได้ดังนี้
สรุปกลไกของการทำงานของนโยบายการเงิน
โดยเชื่อมโยงจาก 1. เครื่องมือ 2. Operation Target 3. Intermediate Target 4. Ultimate Target
หมายเหตุ : แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นโยบายทางการเงินเองก็มีข้อจำกัดอยู่เช่นกัน คือ ไม่สามารถใช้นโยบายทางการเงินมาแก้ปัญหาได้สำหรับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์นี้ คือ
1. กรณีทีอุปสงค์ต่อเงินตรามีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ กรณีนี้มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินโดยการเพิ่มปริมาณเงินเข้าสู่ระบบจะไม่อาจทำให้อัตราดอกเบี้ยตลาดลดลงได้อีกต่อไป
2. กรณีที่ฟังก์ชันการลงทุนมีความยืดหยุ่นเท่ากับศูนย์ กรณีนี้การเปลี่ยนแปลงของระดับอัตราดอกเบี้ยจะไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับการลงทุนของภาคเอกชน การใช้จ่ายมวลรวม (AE) และระดับอุปสงค์รวม (AD)
ดังนั้น ในการแก้ปัญหาจึงต้องใช้นโยบายทางการคลังเข้ามาช่วย หรือเรียกว่า Supply Size โดยการปรับลดภาษี หรือการที่รัฐบาลนำเงินเข้ามาช่วยอุดหนุน หรือกระตุ้นเศรษฐกิจ
1.การซื้อขายหลักทรัพย์ (Open Market Operation) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ธนาคารกลางทำการซื้อขาย ส่วนมากเป็นหลักทรัพย์ของรัฐบาล โดยการซื้อขายในตลาดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1.การซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีการโอนสิทธิ์เด็ดขาด ผู้ซื้อผู้ขายไม่ข้อผูกพันในการซื้อคืน หรือขายคืน
1.2.การซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาซื้อคืน (Repurchase Agreement) จุดประสงค์ของการซื้อขายคืน เพราะต้องการควบคุมเงินของธนาคาร
2.อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ( Reserve Requirement) เป็นที่ทราบกันว่าปริมาณเงินส่วนหนึ่งเกิดจากการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ การสร้างเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายที่ธนาคารกลางกำหนด ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางสามารถเพิ่มหรือลด อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งเพื่อใช้ควบคุมปริมาณเงินและเครดิต
3.อัตรารับช่วงซื้อลด (Discount Rate) หมายถึงดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางคิดจากเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์ได้ขอกู้ยืมไป โดยธนาคารพาณิชย์จะขอกู้เมื่อเงินสำรองตามกฏหมายมีฐานะต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ วิธีการกู้ยืมคือการนำตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อจากประชาชนไว้ไปขายลดต่อให้ธนาคารกลางอีกทอดหนึ่ง การเพิ่มหรือลดอัตรารับช่วงซื้อสดถือเป็นเครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน
4.อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ( Bank Rate) หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ ปกติเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน การเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินเพื่อลดหรือเพิ่มปริมาณเงิน
อนึ่งการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยมาตรฐานนี้จะมีผลกระทบต่อดุลยภาพการชำระเงินระหว่างประเทศ ดังนั้นถ้าธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยภายในและภายนอกประเทศด้วย
5.การควบคุมด้านคุณภาพหรือการควบคุมสินเชื่อเฉพาะด้าน (Selective Credit Control) เป็นการควบคุมสินเชื่อด้านคุณภาพ เช่น การควบคุมการซื้อหลักทรัพย์ สินเชื่อด้านการผ่อนส่ง สินเชื่อด้านการจำนอง รวมถึงการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น