Custom Search
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เงินเฟ้อ เงินฝืด และวัฎจักรเศษฐกิจ

ลักษณะของเงินเฟ้อ


ในทางเศรษฐศาสตร์ เราแบ่งลักษณะของเงินเฟ้อออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อน (mild inflation) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นไม่เกิน 5% ต่อปี ภาวะเงินเฟ้อระดับนี้จะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าและบริการแต่เพียงเล็กน้อยดังกล่าวจะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (ได้กำไรสูงขึ้น) เมื่อมีการลงทุนมากขึ้นก็จะทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เศรษฐกิจ มีการขยายตัวสูงขึ้น
ภาวะเงินเฟ้อปานกลาง (moderate inflation) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเกินกว่า 5% แต่ไม่เกิน 20% ต่อปี ภาวะเช่นนี้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้นโดยที่รายได้เพิ่มตามไม่ทัน ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจ เลวลง (รายได้ที่แท้จริงลดลง)
ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (hyper inflation) หมายถึงภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นเกินกว่า 20% เป็นสภาพที่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ ประชาชนประสบกับความเดือดร้อนมาก เงินที่ถืออยู่ในมือมีค่าลดลงทุกวัน จนอาจจะไม่มีค่าเลยอีกต่อไป ภาวะดังกล่าวนี้โดยมากจะเกิดขึ้นในระยะที่เกิดสงคราม จลาจล หรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวข้างต้นเป็นแต่เพียงหลักเกณฑ์ทั่วๆไปในทางทฤษฎี ซึ่งจริงๆแล้วในทางปฏิบัติเป็นการยากที่จะระบุให้แน่ชัดว่าภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นเงินเฟ้อประเภทใด ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆเป็นสำคัญ หลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถใช้เป็นหลักกว้างๆในการจัดแบ่งลักษณะของภาวะเงินเฟ้อเท่านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น