Custom Search
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

GDP- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

GDP- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(Gross Domestic Product) หมายถึง “มูลค่าตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในประเทศในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง”

GNP- ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product) หมายถึง “มูลค่าตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ชาติหรือประเทศหนึ่ง ๆ สามารถผลิตขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง”
คำทุกคำในความหมายข้างต้นมีความสำคัญที่น่าสังเกตทั้งสิ้นกล่าวคือ
1. คำว่า “มูลค่า” หมายถึง ราคาคูณกับปริมาณ (P x Q) เหตุที่ต้องคำนวณเป็นมูลค่าที่เป็นบาท ก็เพื่อความสะดวกที่สามารถใช้หน่วยเดียวกันได้หมด เช่น ถ้าวิทยุ 1 เครื่อง ข้าว 1 ตัน ก็จะนำเอาประมาณนั้นมารวมกันไม่ได้เพราะคนละหน่วย
2. คำว่า “ราคาตลาด” หมายถึง ราคาที่นำมาคำนวณนั้นให้ใช้ราคาที่เป็นอยู่ในช่วงเวลานั้นมาคิด และต้องเป็นราคาที่ต้องการซื้อขายกันในท้องตลาด เช่นถ้าเป็นงานบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ที่ไม่ผ่านตลาดก็ไม่สามารถคิดคำนวณได้
3. คำว่า “สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย” หมายถึง สินค้าที่นำมาคำนวณต้องเป็นสินค้าที่นำมาบริโภคได้เลยหรือไม่มีการนำไปผลิตต่ออีก เช่น ถ้าเรานำน้ำตาล 1 กิโลกรัมมาทำเป็นขนมหวาน หากคิดมูลค่าของหวานซึ่งได้รวมต้นทุนของน้ำตาลแล้ว ยังมาคิดมูลค่าน้ำตาลอีกก็จะเป็นการนับซ้ำเกิดขึ้น ดังนั้นในการคำนวณจึงต้องคิดที่สินค้าขั้นสุดท้าย
4. คำว่า “ชาติหรือประเทศหนึ่ง ๆ ผลิต” กับ “ผลิตได้ภายในประเทศ” นี่เองที่เป็นข้อแตกต่างระหว่าง GNP กับ GDP
GNP นั้นจะใช้สัญชาติเป็นหลัก เช่น GNP ของไทย ถ้าคนไทยไปผลิตสินค้าที่ใดภายในหรือภายนอกประเทศก็ให้นับทั้งสิ้น
ขณะที่ GDP จะใช้พื้นที่เป็นหลัก ไม่ว่าชนชิใดจะเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ ถ้าผลิตในพื้นที่ประเทศไทยให้นับทั้งสิ้น
ดังนั้นเราอาจเขียนเป็นสมการความสัมพันธ์ดังกล่าวในการคิด GDP และ GNP ของไทยได้ว่า GNP= GDP+(รายได้ของคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศ-รายได้ของคนต่างประเทศที่ทำงานในไทย)
5. คำว่า “ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง” หมายถึง เราวัดมูลค่าดังกล่าวในช่วงเวลานั้นเท่านั้น ซึ่งปกติจะเป็นช่วง 1 ปี ดังนั้นเราจะไม่นับรวมมูลค่าของผลิตในปีก่อนหรือปีในอดีต




นโยบายการคลัง เป็นเรื่องของการเพิ่มหรือลดรายรับและรายจ่ายของรัฐบาล โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลนโยบายการเงินเป็นเรื่องของการควบคุมปริมาณเงิน ซึ่งมีธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแล นโยบายการรักษาเสถียรภาพภายนอก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยน การควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนและนโยบายทางด้านรายได้ ก็เป็นการเข้าช่วยเหลือประชาชนให้เกิดรายได้โดยตรง เช่น การบรรเท่าการว่างงาน การช่วยเหลือด้านสวัสดิการ ให้เงินอุดหนุน บรรเทาค่าครองชีพ เป็นต้น

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
เครื่องมือที่สำคัญทางด้านรายรับก็คือ ภาษี ขณะที่รายจ่ายรัฐบาล ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงบประมาณแผ่นดิน ถ้าเราต้องการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลัง เราจะต้องทำให้รายจ่ายของรัฐเพิ่มขึ้น ลดภาษีอากร โดยทำให้รายจ่ายของงบประมาณแผ่นดินมากกว่าภาษีที่จัดเก็บ เพราะการเก็บภาษีทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐจะให้เกิดอำนาจซื้อในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่านโยบายการคลังแบบขาดดุลจะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ
กลับกันถ้าเกิดมีปัญหาเงินเฟ้อ เนื่องจากอำนาจซื้อของประชาชนมีมากเกินไป ต้องการแก้ไขควบคุมให้อำนาจซื้อมีอยู่ในขอบเขตที่พอดีกับสินค้าที่มีให้ซื้อ ก็ต้องลดแรงกระตุ้นคือเก็บภาษีมากกว่ารายจ่ายงบประมาณ สรุปได้ว่าถ้าจะลดแรงกระตุ้น ควบคุมเงินเฟ้อก็ต้องใช้นโยบายการคลังแบบเกินดุล
ประตูการคลัง ทางที่เม็ดเงินจะเข้ามาก็คือ รายจ่ายของรัฐบาล ทางที่เม็ดเงินจะออกไปก็คือ ภาษีอากร ถ้าต้องการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็คือ รายจ่ายมากกว่ารายรับ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในทางตรงกันข้ามถ้าเก็บภาษีมากกว่าที่รัฐจะใช้จ่ายไป ลูกโป่งก็จะแฟบลง

นโยบายการคลัง – การที่รัฐบาลใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมหรือกำหนดปริมาณเงินที่จะไหลจากภาครัฐบาลเข้าสู่ระบบหมุนเวียนหรือภาคเอกชนหรือเป็นมาตรการที่จะดึงเงินออกจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาลซึ่งเป็นการดึงเงินออกจากระบบหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไนปัญหาทางเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจอีกด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น