Custom Search
วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจระดับมหภาค และ นโยบายการเงิน

บทบาทของเงินในระบบเศรษฐกิจระดับมหภาค
หมายถึง กลไกการเชื่อมโยงระหว่างภาคการเงินกับภาคเศรษฐกิจแท้จริง (Real Factor) ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคตลาดแรงงาน ภาคต่างประเทศ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องดีหรือไม่ดีขึ้นกับภาคการเงินจะกระทบต่อภาคอื่นๆ ด้วย เพราะภาคการเงิน คือ ตัวหล่อเลี้ยง หล่อลื่นให้กับภาคอื่นๆ
การเชื่อมโยงมี 4 ขั้นตอน คือ
1. การเชื่อมโยงจากดุลยภาพในตลาดการเงินกับอัตราดอกเบี้ย คือ เมื่อจุดดุลยภาพเปลี่ยน ดอกเบี้ยจะเปลี่ยน
(ดูกราฟหน้า 171 ประกอบ)
ดุลยภาพในภาคการเงิน คือ จุด E0 – E1 และ จุด E0 - E2
รูปที่ 1 การเปลี่ยนเกิดจากอุปทาน
อุปทานเงิน (MS0) ตัดกับ อุปสงค์เงิน (LP0) ที่จุด E0 ดุลยภาพ ดอกเบี้ยเท่ากับ I0
ต่อมาปริมาณเงินเพิ่มขึ้นจาก MS0 ไป MS1 ดุลยภาพก็เปลี่ยนจากจุด E0 ไป E1 ดอกเบี้ยก็เปลี่ยนจาก I0 ไป I1
รูปที่ 2 การเปลี่ยนเกิดจากอุปสงค์
อุปสงค์เงิน (LP0) ตัดกับ อุปทานเงิน (MS2) ที่จุด E0 ดุลยภาพ ดอกเบี้ยเท่ากับ I0
ต่อมาอุปสงค์เงินเพิ่มขึ้นจาก LP0 ไป LP1 ดุลยภาพก็เปลี่ยนจากจุด E0 ไป E2 ดอกเบี้ยก็สูงขึ้นจาก I0 ไป I2
สรุป คือ เมื่อจุดดุลยภาพเปลี่ยน ดอกเบี้ยจะเปลี่ยน ศึกษาต่อข้อ 2. ดอกเบี้ยเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
2. ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ได้แก่ ตัว C และ ตัว I
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ===> ตัว C และ ตัว I จะลดลง
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง ===> ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น
3. ดุลยภาพในภาคการผลิต สามารถอธิบายได้ทั้ง 4 วิธี
วิธีที่ 1 Income-Expenditure Approach ดุลยภาคเกิดจาก เส้น AE ตัดกับ เส้น 45 องศา
เส้น AE ประกอบด้วย C + I + G + X - IM
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะลดลง ===> เส้น AE จะลดลง รายได้ประชาชาติจะลดลง ดุลยภาพในภาคแรงงานจะลดลง

ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> เส้น AE จะเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว โยงไปถึงดุลยภาพในภาคแรงงาน การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 2 Withdrawal Injection Approach
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว I จะลดลง ===> ตัว I ลดลง ตัว J จะลดลง รายได้ประชาชาติจะน้อยลง การจ้างงานก็น้อยลง การว่างงานจะเพิ่มขึ้น
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> ตัว I เพิ่มขึ้น ตัว J จะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว การจ้างงานก็เพิ่มขึ้น
วิธีที่ 3 Aggregate Demand – Aggregate Supply Approach
ดุลยภาพในระยะสั้นเกิดจาก เส้น AD ตัดกับ เส้น SRAS
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะลดลง ===> ตัว C และ ตัว I ลด 7 ตัว ทำให้เส้น AE ขยับ ถ้า 8 ตัว ทำให้เส้น IS ขยับ >> เส้น AD จะลดลง รายได้ประชาชาติจะลดลง การว่างงานจะสูงขึ้น
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> ถ้า C และ ตัว I เพิ่ม 7 ตัว ทำให้เส้น AE ขยับ ถ้า 8 ตัว ทำให้เส้น IS ขยับ >> เส้น AD จะเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น การจ้างงานจะสูงขึ้น
วิธีที่ 4 General Equilibrium Approach ดุลยภาพเกิดจากเส้น IS ตัดกับเส้น LM
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะลดลง ===> เส้น IS จะลดลง รายได้ประชาชาติจะลดลง การว่างงานจะสูงขึ้น
ถ้าคำตอบข้อ 1. ดอกเบี้ยลดลง, ข้อ 2. ตัว C และ ตัว I จะเพิ่มขึ้น ===> เส้น IS จะเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น การจ้างงานจะสูงขึ้น
4. การเชื่อมโยงภาคการเงินไปสู่ภาคต่างประเทศ
(ดูกราฟหน้า 173 ประกอบ)
วิธีนี้ใช้ได้ดีกับ
1.ประเทศที่มีสัดส่วนการนำเข้าและส่งออกเป็นสัดส่วนสูงในผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
2.มีโครงสร้างค่อนข้างเปิดสำหรับการนำเข้าและส่งออกเงินทุน
3.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว
กล่าวคือ ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นส่งผลให้ ดอกเบี้ยลดลง และ ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นส่งผลให้ กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การซื้อสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ความต้องการเงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้น เงินดอลล่าร์ก็จะแพง เงินบาทจะตก
ปริมาณเงินเพิ่มขึ้นมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เงินดอลล่าร์แพง เงินบาทตก (Depreciation เงินตก)
• เงินบาทตก สินค้าของประเทศไทยที่ส่งออกไปขายในตลาดโลก ประเทศอื่นจะซื้อสินค้าได้ในราคาถูก ทำให้สินค้าส่งออกขายดี
• เงินบาทตก สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาแพง สินค้าจะขายได้น้อย
เมื่อเงินบาทตก ส่งผลกระทบต่อราคาเปรียบเทียบ Relative Price ทำให้สินค้าส่งออกของประเทศมีราคาถูก และสินค้านำเข้ามีราคาแพง เกิด Switching Effect ทำให้เกิดการส่งออกมากขึ้น นำเข้าลด (X เพิ่ม IM ลด = ภาคต่างประเทศ) จะกระทบต่อรายได้ประชาชาติ
วิธีที่ 1 X เพิ่ม IM ลด AE ขยับขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 2 X เพิ่ม IM ลด J ขยับขึ้น, IS ลด W ขยับลง รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 3 X เพิ่ม IM ลด AD ขยับขึ้นทางขวา รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น
วิธีที่ 4 X เพิ่ม IM ลด IS ขยับขึ้นทางขวา รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น การจ้างงานเพิ่มขึ้น

นโยบายการเงิน
(ดูหน้า 175 ประกอบ)
นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่ต้องดำเนินการผ่านเครื่องมือการเงิน ดำเนินการเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
แถวที่ 1 “เครื่องมือสำคัญ” ได้แก่
1. อัตราดอกเบี้ย
ธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้อัตราดอกเบี้ย RP.14 (Key Policy) เป็นเครื่องมือหลัก
Repurchase ตลาดซื้อคืน 14 วัน
แบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ย RP เพื่อนำร่องให้แบงค์พาณิชย์อื่นขึ้นตาม
ถือเป็นกลไกในการปรับสภาพคล่อง ทันทีที่สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ขาดสภาพคล่อง ก็จะนำพันธบัตรมาขายให้แบงค์ชาติ โดยคิดดอกเบี้ย ในอัตรา Inter bank rate เป็นอัตราดอกเบี้ยที่คิดระหว่างธนาคารกับธนาคาร
2. Open Market Operation
แปลว่า การซื้อขายหลักทรัพย์, พันธบัตร ระหว่างธนาคารกลางกับภาคเอกชน ได้แก่ Bank, Finance
ถ้าแบงค์ชาติพบว่า ระบบเศรษฐกิจฟืดเคือง ไม่มีเงินหมุนเวียน แบงค์ชาติก็ต้องอัดเงินเข้าระบบมากขึ้น แบงค์ก็จะซื้อพันธบัตร แล้วปล่อยเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าแบงค์ชาติพบว่า มีเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ แบงค์ชาติก็จะดำเนินการขายพันธบัตร แล้วดูดซับเม็ดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ
3. Reserve Requirement อัตราสำรองตามกฎหมาย
ธนาคารกลางของทุกประเทศ จะบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ต้องนำเงินมาฝากที่ธนาคารกลางเป็นสัดส่วนกับเงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับฝากมา
ตัวอย่างเช่น สำรอง 15% หมายถึง ถ้าธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกร ได้รับเงินฝากมาทุก 100 บาท ต้องไปฝากต่อที่แบงค์ชาติ 15 บาท ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1) เพื่อให้มีหลักประกันแก่ผู้นำเงินมาฝากธนาคาร
2) ธนาคารกลางจะได้นำเงินสำรองนี้เป็นเครื่องมือปรับสภาพคล่องในระบบ เช่น สำรอง 15% ถ้าธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากมาทุก 100 บาท ต้องไปฝากต่อที่แบงค์ชาติ 15 บาท มีเงินเหลือปล่อยกู้ 85 บาท แต่ถ้าแบงค์ชาติ ให้สำรอง 25% ธนาคารพาณิชย์ก็จะเหลือเงินปล่อยกู้ 75% เงินในระบบก็จะลดลง
4. Direct Control การควบคุมโดยตรง
เช่น การควบคุมวงเงินขั้นต่ำในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซื้อรถ ต้องมีเงินดาวน์ไม่น้อยกว่า 30% ต้องผ่อนไม่เกิน 10 ปี ห้ามปล่อยกู้ซื้อที่ดินเปล่าเพื่อเก็งกำไร Margin ในการซื้อหุ้นต้องวางเงินสดไม่ต่ำกว่า 50% ปล่อยบัตรเครดิตต้องมีเงินเดือนสูงๆ
เมื่อเครื่องมือทั้ง 1-4 ทำงาน จะส่งผลต่อ แถวที่ 2 “Operating Targets” ดอกเบี้ยระยะสั้นจะเปลี่ยน ฐานเงินจะเปลี่ยน
เมื่อดอกเบี้ยระยะสั้นและฐานเงินเปลี่ยน จะส่งผลต่อ แถวที่ 3 “Intermediate Targets”
แถวที่ 4 “Ultimate Targets” บำบัดทุกข์ บำรุงสุข
นโยบายการเงิน สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้หลายอย่าง
นโยบายการเงินของประเทศไทย เรียกว่า Inflation Targeting Monitoring โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว หน้าที่อื่นๆ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจจะไม่ทำ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น