1.เมื่อตัวแปรต่อไปนี้เปลี่ยนแปลงไปทั้งในทางเพิ่มขึ้น และลดลงจะมีผลต่อการขยายตัวและหดตัวของภาวะเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน
(1) การใช้จ่ายบริโภค (2)การใช้จ่ายลงทุน (3)การใช้จ่ายรัฐบาล (4)การเก็บภาษี (5)การออม (6)การส่งออก (7)การนำเข้า (8)อัตราดอกเบี้ย (9)ปริมาณเงิน และ(10)เทคโนโลยี
2.ถ้ารัฐบาลใช้นโยบายการคลังโดยมาตรการต่อไปนี้คือ (1)ลดการใช้จ่ายลงทุน (2) เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)ลดรายจ่ายประจำ (4)ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคล และ (5)รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวน 100 ล้านบาท พร้อมกับลดการใช้จ่ายลงทุนลงมา 100 ล้านบาทแล้ว จะมีผลอย่างไรต่อรายได้ประชาชาติ และการจ้างงาน จงอธิบาย
3.เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์ เปลี่ยนแปลงไปทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น(appreciate) และเสื่อมค่าลง(depreciate) จะมีผลอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า และการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ
4.การที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละลักษณะดังต่อไปนี้ ผลที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน จากการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยอาร์พี และ (3)ธนาคารกลางเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท
1.เมื่อตัวแปรต่อไปนี้ (1) การใช้จ่ายบริโภค (2)การใช้จ่ายลงทุน (3)การใช้จ่ายรัฐบาล (4)การเก็บภาษี (5)การออม (6)การส่งออก (7)การนำเข้า (8)รัฐบาลจ่ายเงินประกันสังคม (9)อัตราดอกเบี้ย และ (10)เงินลงทุนจากต่างประเทศ เปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้น และลดลง จะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว หรือหดตัวอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
2.การใช้นโยบายการคลังในกรณีต่อไปนี้ (1)รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายลงทุน (2) รัฐบาลลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (3)รัฐบาลลดรายจ่ายประจำ (4)รัฐบาลเพิ่มภาษีเงินได้บุคคล และ (5)รัฐบาลขายพันธบัตรเพื่อนำเงินมาลงทุนในโครงการผลิตไบโอดีเซล จะมีผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติ การผลิต การลงทุนของเอกชน และการจ้างงานอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
3.ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เรียกว่า “ส่วนกระตุ้น”(injector) และ “ส่วนรั่วไหล” (withdrawal) ได้แก่ตัวแปรอะไรบ้าง และมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างไร/ ถ้ารัฐบาลต้องการลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจลงมา เพื่อมิให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะต้องใช้มาตรการควบคุมตัวแปรทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
4.การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินมาตรการการเงินโดยปรับอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็น 2.5% นั้น ท่านคิดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเหตุผลอย่างไร และผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าวจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด จงอธิบาย
5.การขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปให้เทมาเสกแห่งสิงคโปร์ จะมีผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด และทำให้เม็ดเงินลงทุนประเภท FDI เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
6.การที่ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละลักษณะดังต่อไปนี้ ผลที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การออม และการจ้างงาน จากการใช้เครื่องมือแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร (1)ธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงิน (2)ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยอาร์พี และ (3)ธนาคารกลางเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (4)ประกาศปรับเพิ่มรายได้ขั้นต่ำของผู้ทำบัตรเครดิตจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท
7.กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคภาคเอกชน C = 300 + 0.75Yd Yd = Y – T
T = 0.1Y I = 60 + 0.15 Y G = 40 X = 50 และ IM = 0.05Y จงคำนวณหา
ก.รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ข.ดุลการค้า ณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ค.การใช้จ่ายบริโภคของเอกชน ณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ง.เมื่อเพิ่มการใช้จ่ายรัฐบาลเป็น 2 เท่า รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
8.ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท และเงินดอลลาร์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งกรณี (1)แข็งค่าขึ้น(appreciate) และ(2)เสื่อมค่าลง(depreciate) จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการส่งออก การนำเข้า และการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศ(foreign capital flows) และนักธุรกิจจะต้องปรับตัวต่อสถานการณ์ทั้งสองอย่างไร จงอธิบาย
9. กำหนดให้สมการการใช้จ่ายบริโภคคือ C = 200 + 0.9YD YD = Y – T
T = 50 + 0.07Y I = 100 G = 80 X = 40 M = 60 + 0.08Y จงหา (1)สมการการออมของบุคคล (2) ตัวทวีการลงทุน (3)ตัวทวีการนำเข้า (4)ดุลการค้า(X-M) (5)รายได้ประชาชาติดุลยภาพ และ (6)สมการเส้น IS (การคำนวณจะใช้เงื่อนไขใดก็ได้ ถ้าไม่ลงตัว ให้ใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
ข้อ 10. วัฏจักรธุรกิจ หมายถึงอะไร/ มีกี่ระยะ/ แต่ละระยะมีภาวการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร /มีอะไรเป็นสาเหตุ /นักธุรกิจควรจะตัดสินใจอย่างไรในแต่ช่วงวัฏจักรธุรกิจ จงอธิบาย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น