Custom Search
วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

BM600 ECONOMICS

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ตามนิยามใหม่
หมายถึง เงินให้สินเชื่อจัดชั้นต่ำกว่ามาตราฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ
ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้
และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545
หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ธนาคารพาณิชย์กันสำรองครบร้อยละ 100
และตัดออกจากบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้บันทึกกลับเข้ามาในบัญชี
อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางเรียกเก็บจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมในวงเงินที่กำหนดจากฐานเงินฝากของส
ถาบันการเงินแต่ละแห่ง โดยการให้กู้ยืมนี้ถือว่าเป็นแหล่งกู้ยืมแหล่งสุดท้าย (lender of last resort)
เมื่อมีความจำเป็นภายในระยะเวลาสั้นๆอย่างมากไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้
เพื่อรองรับความผันผวนของความต้องการใช้เงินในตลาดเงินเป็นสำคัญ หรือ
จากการเบิกถอนเงินฝากของประชาชนในภาวะผิดปกติโดยจะ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบการชำระเงิน เป็นต้น
หลักประกันที่ใช้ในการกู้ยืมเงินนี้ส่วนมากจะเป็นหลักทรัพย์รัฐบาล อย่างไรก็ตาม
การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในแต่ละครั้ง
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544
และให้ใช้อัตราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน หรือ End-of day Liquidity Rate แทน
โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
อนึ่งอัคราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันนี้
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน
14 วัน) บวก ส่วนต่างร้อยละ 1.5 (Margin)
อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนในตลาดพันธบัตร (Repurchase Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท.
และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
ของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกในตลาดซื้อคืนพันธบัตรโดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการรับจ่ายเงินซึ่งถือว่าเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ซื้อและผู้ขาย
โดยระยะเวลาการกู้ยืมจะเป็น 1 วัน 7 วัน 14 วัน 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันนั้น ธปท.
ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณในการดำเนินนโยบายทางการเงินภายใต้กรอบ Inflation Targeting
อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ณ ตลาดลอนดอน (London Interbank Offered Rate : LIBOR)

เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินฝากระหว่างธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะและชื่อเสียงดีมากซึ่งกำหนด ณ
ตลาดการเงินที่กรุงลอนดอน
อัตราดอกเบี้ยนี้ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปมักจะนำมาใช้เป็นฐานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทต่าง ๆ
โดยบวกกำไรส่วนต่าง
เข้ากับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
กรณีตลาดการเงินอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ เรียกว่า SIBOR กรุงเทพฯ เรียกว่า BIBOR
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศทุกวันศุกร์เพื่อใช้ในการอ้างอิงสำหรับการกำหนดอัตราดอกเบ
ี้ยเงินฝากของ
ธนาคารพาณิชย์ไทยในสัปดาห์ถัดไป ประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะเวลา
3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ยล่าสุดเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร
ได้แก่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Lending Rate)
อัตราดอกเบี้ย MLR (Medium Lending Rate) หรือ (Minimum Loan Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
อัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย ์เรียกเก็บจาก ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
อัตราอัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail
Rate)หมายถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
ทั้งนี้ใช้โยงเข้ากับอัตราดอกเบี้ย MLR เพื่อให้สามารถ
สะท้อนระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่ กับลูกค้ารายย่อยได้
โดยบวกส่วนต่างสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศ ไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้น เพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่อง
ของธนาคารพาณิชย์โดยธุรกรรมอาจจะอยู่ในรูป การกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call)
หรือเป็นการกู้ยืมแบบมีกำหนดระยะเวลา (term) ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 เดือน ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่
ประมาณร้อยละ 50-70 เป็นการกู้ยืมระยะ 1 วัน (Overnight) รองลงมาเป็นการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at
call)
อนึ่งถ้าเป็นการกู้ยืมในตลาดระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันจะเรียกว่า Interfinance
และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกว่า Interfinance Rate
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น)กับ
หนึ่งหน่วยของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์ สหรัฐเท่ากับ 40บาท เป็นต้น
ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆแล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate)
และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่จริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบ ใหญ่ๆ คือ

1. ระบบที่ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียว เช่น ฮ่องกงดอลลาร์กับดอลลาร์
สหรัฐอเมริกา หรืออาจผูกค่ากับกลุ่มสกุลที่เรียกว่าระบบตะกร้า เช่น ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยในอดีต
2. ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้คล้ายกับระบบ peg
แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจเคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า
ตัวอย่างของระบบนี้ได้แก่ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism (ERM) เป็นต้น
และ
3. ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง
เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งค่าของเงินจะมีความผันผวนมากกว่า 2 ระบบแรก
นิยาม GDP GNP และรายได้ประชาชาติ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
หมายถึง
มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในระยะเวลาหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงว่าทรัพยากรที่
ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการจะเป็นทรัพยากรของพลเมืองในประเทศหรือเป็นของชาวต่างประเทศ ในทางตรงข้าม
ทรัพยากรของพลเมืองในประเทศแต่ไปทำ การผลิตในต่างประเทศก็ไม่นับรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศมีการจัดทำทั้งตามราคาปัจจุบันและราคาคงที่โดย GDP ณ ราคาปัจจุบัน
คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคา
ตลาดของสินค้าและบริการเหล่านั้น ขณะที่ GDP ณ
ราคาคงที่คิดมูลค่าผลผลิตเป็นเงินตามราคาปีที่กำหนดเป็นปีฐาน
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross National Product : GNP)
คือมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง
โดยใช้ทรัพยากรที่คนประเทศนั้น ๆ เป็นเจ้าของ
รายได้ประชาชาติ (National Incomne : NI) คือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิต ซึ่งได้แก่ค่าตอบแทนแรงงาน
ผลตอบแทนจากที่ดิน ทุน และ
การประกอบการโดยมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ประชาชาติดังนี้
NI = GNP - ค่าเสื่อมราคา - (ภาษีทางอ้อม - เงินอุดหนุน)
รายได้ต่อหัว (Per capita GNP) คำนวณจากผลิตภัณฑ์ประชาชาติหารด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ภาคสถาบันการเงิน
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio)
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน เพื่อแสดงถึง
ความมั่นคงและการสามารถรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ
ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราส่วนดังกล่าวตามมาตรฐานของธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ
(Bank for International Settlements : BIS) โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
บริษัทเงินทุนและสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5, 8, และ 7.5 ตามลำดับ
สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Asset)
หมายถึง สินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือสามารถเปลี่ยนเป็น เงินสดได้ง่ายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย
กำหนดให้สินทรัพย์สภาพคล่อง ที่สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องดำรง ประกอบด้วย
1.เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
2.เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์
3.หลักทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันดังนี้
-หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
-พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- หุ้นกู้ พันธบัตร
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
- พันธบัตร
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
- หุ้นกู้
พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินค้ำประกันต้นเงินและ
ดอกเบี้ย
- หุ้นกู้
หรือพันธบัตรที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบหรือที่ออกโดย
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-
หลักทรัพย์ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกใหม่สืบเนื่องจากโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามพระราชก
ำหนด
นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
- ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน)
และบัตรเงินฝากที่ออกโดย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56
บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
ณ วันที่ 1 เมษายน
2542ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6
ของยอดรวมเงินฝากทุกประเภทและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศไม่เกิน 1 ปี
2. บริษัทเงินทุนและบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ร้อยละ 6
ของเงินที่ได้รับจากประชาชนและเงินกู้ยืมทุกประเภท
3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ร้อยละ 5 ของเงินกู้ยืม ทั้งสิ้น
4. กิจการวิเทศธนกิจไทยและต่างประเทศ ร้อยละ 6 ของเงินกู้ยืมจาก ต่างประเทศไม่เกิน 1 ปี
บัญชีเงินฝากที่ธนาคารต่างประเทศ (Nostro Account)
เป็นบัญชีเงินฝากที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งธนาคารในประเทศฝากไว้กับ ธนาคารอื่นในต่างประเทศ
ส่วนมากมักจะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีธุรกิจสัมพันธ์หรือเป็นธนาคารคู่ค้า หรือเป็นธนาคารตัวแทนที่อยู่ใน
ต่างประเทศ โดยนัยนี้บางครั้งอาจเรียกว่า "บัญชีธนาคารตัวแทน" (Correspondent Account)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บัญชีของเรา" (Our Account)

บัญชีเงินฝากของธนาคารต่างประเทศ (Vostro Account)
เป็นบัญชีเงินฝากที่ธนาคารในต่างประเทศมาเปิดไว้กับธนาคารในประเทศเป็นเงินตราสกุลท้องถิ่น
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บัญชีของท่าน" (Your Account)
และใช้สำหรับการโอนชำระเงินตราต่างประเทศระหว่างกันเป็นสำคัญ
การโอนเงินโดยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic FundsTranfer)
เป็นการโอนเงินจากบัญชีหนึ่งไปอีกบัญชีหนึ่งระหว่างธนาคาร
หรือระหว่างสาขาโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้โอนเงินได้รวดเร็ว และ ถูกต้อง


ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)
หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่มีการผลิตสินค้าและบริการ โดยการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ
อาทิ แรงงาน ที่ดิน และทุน มาผสมผสานหรือผ่านกระบวนการผลิต ทำให้ได้สินค้าและบริการขึ้นมา
ซึ่งจะมีตลาดเป็นตัวตัดสินว่าสังคมจะผลิต อะไร โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างไร ทั้งนี้ มีตลาดสำคัญ 2 ตลาด
คือ ตลาดปัจจัยการผลิต ได้แก่ ตลาดวัตถุดิบ แรงงาน ที่ดิน และทุน และตลาดผลผลิต
โดยมีผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการในการใช้ปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าและบริการ เช่น
การผลิตในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
1.เงินเฟ้อ คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ
แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน และการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในประเทศไทยเงินเฟ้อวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค
ซึ่งเป็นดัชนีที่จัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำ
โดยน้ำหนักของสินค้าและบริการแต่ละรายการกำหนดจาก รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนซึ่งได้จากการสำรวจ
ตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ การเกิดภาวะเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก คือ แรงดึงทางด้านอุปสงค์
เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการปริมาณสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆจึงดึงให้ราคาสินค
้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
ปัจจัยที่สองเกิดจากด้านต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ
การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก
หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน
2. เงินฝืด คือ
ภาวะการณ์ที่ระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าเงินเฟ้อ ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน
การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี
และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing production Index )
เป็นเครื่องชี้วัดระดับการผลิตและทิศทางของภาคอุตสาหกรรม
(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ ธปท. เผยแพร่ในปัจจุบันเป็นดัชนีรายเดือนครอบคลุม 45
ประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 62.93 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมและจำแนกดัชนีเป็น 11 กลุ่มอุตสาหกรรม
ตามการจัดการหมวดหมู่ มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industry Classification :
TSIC)
(2) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์
พิจารณาคัดเลือกจากความสำคัญของมูลค่าเพิ่มรายอุตสาหกรรมต่อมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม ปี 2538
และเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สามารถติดตามการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
(3) การคัดเลือกตัวอย่างโรงงาน
อาศัยกรอบจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนประกอบกิจการจากกระทรวงอุตสาหกรรมและโรงงานที่ได้รับการส่งเส
ริมการลงทุน ซึ่งกลุ่มโรงงานเป้าหมายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตในอันดับต้น ๆ
ของแต่ละอุตสาหกรรม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง
ทั้งนี้จำนวนผู้ประกอบการที่คัดเลือกนำมาใช้ในการคำนวณดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีจำนวนทั้งสิ้น 255 ราย
อนึ่ง ธปท.
มิได้ขยายฐานผู้ประกอบการเนื่องจากมีนโยบายที่จะยกเลิกการจัดทำข้อมูลนี้และจะใช้ข้อมูลที่จัดทำโดยกระทรา
วงอุตสาหกรรมแทน เมื่อกระทรวงอุตสาหกรรมพัฒนาการจัดทำข้อมูลที่สมบูรณ์แล้ว

สำหรับการคำนวณผลผลิตภาคอุตสาหกรรมใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยใช้สูตร
Laspeyres และ
กำหนดน้ำหนักสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภทตามสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรวมตามบัญชีรา
ยได้ประชาชาติ และใชั้ปี 2538 เป็นปีฐาน
อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization)
เป็นเครื่องชี้ระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
โดยเปรียบเทียบการผลิตจริงกับกำลังการผลิตสูงสุดของ เครื่องจักร
ซึ่งสะท้อนถึงความเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของการผลิต การส่งออกและแรงกดดันต่อราคาสินค้าภายในประเทศ

อัตราการใช้กำลังการผลิตที่เผยแพร่ในปัจจุบันครอบคลุม 43 ประเภทอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 44.5
ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็น 9 หมวดอุตสาหกรรม
ตามการจัดหมวดหมู่มาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (Thailand Standard Industry Classification : TSIC)
และได้ข้อมูลจากผู้ประกอบการ 272 ราย
อนึ่ง ธปท. มิได้ขยายฐานจำนวนผู้ประกอบการ เนื่องจากมีนโยบายที่จะยกเลิกการจัดทำข้อมูลนี้
และจะใช้ข้อมูลที่จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

สำหรับการคำนวณอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมใช้วิธีกำหนดน้ำหนักสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภทตามส
ัดส่วน
มูลค่าเพิ่ม ต่อมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรวมตามบัญชีรายได้ประชาชาติ และใชั้ปี 2538 เป็นปีฐาน
ผู้มีงานทำ
ผู้มีงานทำ ได้แก่ บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้
1. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยได้รับค่าจ้าง เงินเดือน ผลกำไร
เงินปันผลหรือค่าตอบแทนที่มีลักษณะอย่างอื่น สำหรับผลงานที่ทำ
เป็นเงินสด หรือสิ่งของ หรือ
2. ไม่ได้ทำงานเลย แต่ยังคงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุรกิจ ไร่นาเกษตรของตนเอง
ได้หยุดงานชั่วคราว เนื่องจากเจ็บป่วยหรือ บาดเจ็บ หยุดพักผ่อน สถานที่ทำงานปิด ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย
นอกฤดูกาลหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่นการปิดที่ทำงานชั่วคราวโดยไม่คำนึง
ว่าจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างที่ไม่ได้มาทำงานหรือไม่ก็ตาม จะต้องมีกำหนดว่าภายใน 30 วัน
นับจากวันที่สถานที่ทำงานปิดจะได้กลับมาทำงาน ณ สถานที่ทำงานนั้นอีก หรือ
3. ทำงานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวิสาหกิจ
หรือไร่นาเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน หรือของสมาชิกในครัวเรือน
ผู้ว่างงาน
ผู้ว่างงาน ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจไม่ได้ทำงานใด ๆ
เลยแม้แต่ 1 ชั่วโมง ไม่มีงานทำ ไม่มีธุรกิจ หรือไร่นาเกษตรของตนเองแต่พร้อมที่จะทำงาน
ซึ่งหมายถึงบุคคลต่อไปนี้
1. ผู้ซึ่งหางานทำภายใน 30 วัน นับถึงวันแจงนับ
2.ผู้ซึ่งไม่ได้หางานทำเนื่องจากเจ็บป่วย หรือไม่ได้หางานทำ
เพราะคิดว่าหางานที่เหมาะสมกับตนทำไม่ได้ รอที่จะเริ่มงานใหม่ รอฤดูกาล หรือเหตุผลอื่น ๆ
กำลังแรงงาน
กำลังแรงงาน ได้แก่ บุคคลทุกคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจมีงานทำ
หรือว่างงาน หรือรอฤดูกาลที่เหมาะสมเพื่อที่
จะทำงานและตามปกติจะทำงานโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในไร่นาเกษตรหรือธุรกิจซึ่งทำกิจกรรมตามฤดูกาลโดยมีหัวหน
้าครัวเรือนหรือ สมาชิกคนอื่น ๆ ในครัวเรือนเป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น