ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การจัดการ
เศรษฐศาสตร์
คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร (Allocation of Resources) ที่มีอยู่จำกัด และหายาก (Scarcity) โดยการเลือก (Choice) ทางเลือกหรือวิธี (Alternative) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Efficiency) ในการผลิตสินค้าบริการ รวมถึงการกระจายแบ่งเป็น (Distribution) ในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพื่อให้เกิดความอยู่ดีกินดีของคนในชาติ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
• ผู้บริโภค ทำให้เกิดความพอใจสูงที่สุด (Maximize Utility) โดยจ่ายเงินน้อยสุด
• องค์การธุรกิจ กำไรสูงสุด (Maximize Profit) และต้นทุนต่ำสุด (Minimize Cost)
ดุลยภาพ (Equilibrium)
กระบวนการปรับตัวที่มีผลทำให้ความต้องการซื้อสินค้ากับความต้องการขายสินค้าเท่ากัน ณ ระดับราคาหนึ่งในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้การซื้อขาย (Transection) เกิดขึ้น ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อสินค้า ผู้ผลิตได้รับเงินค่าสินค้าเกิดการหมุนเวียนรายได้รายจ่ายในระบบเศรษฐกิจ
สาขาเศรษฐศาสตร์
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) คือการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจในระดับหน่วยย่อย หรือครัวเรือน หรือหน่วยผลิตในระยะเวลาหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) คือการศึกษาพฤติกรรมเศรษฐกิจโดยส่วนรวม (Aggregate) ของระดับภาคนั้น ๆ ของประเทศ หรือประเทศ หรือทวีป หรือโลก ในระยะเวลาหนึ่ง
เศรษฐศาสตร์การจัดการ (Manigerial Economics)
หมายถึง การศึกษาถึงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทั้งระดับจุลภาคและมหภาค (ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีราคา และกลยุทธ์ทางการตลาด) เพื่อนำไปประยุกต์กับธุรกิจทั้งด้านการบริหารจัดการ การดำเนินการและการวางแผน รวมทั้งการตัดสินใจเพื่อให้ถูกต้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเลือกทางเลือกหรือวีธีที่ดีที่สุด โดยลดภาวะการเสี่ยงทั้งปัจจุบันและอนาคตในระยะเวลาหนึ่ง
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
จุลภาค : “What-How to produced? For Whom-How much resource?”
ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)
1. ยึดถือวิธีการและกลไกทางเศรษฐกิจ เช่นกลไกราคา กลไกตลาด
2. ยึดถือตามลัทธิเศรษฐกิจการเมือง เช่น
• ระบบทุนนิยม (Capitalism)
- ราคาเป็นกลไกในการปรับตัวแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
- กำไรเป็นสิ่งจูงใจในการประกอบการ การค้นคว้าสิ่งใหม่
- รัฐบาลไม่แข่งขันแต่เป็นผู้สนับสนุน
• ระบบผสม (Mixed Economy)
- รัฐบาลและเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
- รัฐเข้าแทรกแซงกลไกการตลาด เพื่อสวัสดิการ
1. กลไกการตลาด กลไกราคาเป็นตัวแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐไม่ได้เข้าควบคุม
2. เอกชนมีอิสระเสรีอย่างเต็มที่ในการแข่งขันกันในตลาด
• ระบบสังคมนิยม (Socialism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการทางเศรษฐกิจเข้าแทรกแซงกำหนดราคา
- เอกชนถือกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย มีอิสระใน SME และเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- รัฐจัดระบบประกันสังคม การจ้างงาน และสวัสดิการ
• ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
- รัฐบาลเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ทรัพยากรในประเทศเป็นผู้กำหนดในการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย และกระจายสินค้า
บทที่ 2 อุปสงค์และอุปทาน
อุปสงค์ (Demand)
ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ (Want) หรือ อยากซื้อ (Desire)+ อำนาจซื้อ (Purchasing Power)+ ความเต็มใจที่จะซื้อ (Willing to purchase) ของผู้บริโภคคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; D(C, X, Px, M, T)
ตารางอุปสงค์
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณซื้อ ณ ระดับต่าง ๆ
ปริมาณซื้อ (Quantity Demand)
หมายถึง จำนวนสินค้าหรือ บริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาหนึ่ง ในตลาดแห่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง เป็นจุด ๆ หนึ่งบนเส้นอุปสงค์
ปัจจัยกำหนดปริมาณซื้อ (Determinants of Quantity Demand)
QDX = f [Px, Py Pz, I, T, DI, W, N, O,…] “PIDITOWN”
= a1Px+a2Py+a3Pz+a4I+a5T+a6DI+a7W+a8N+a9O
Px = ราคาสินค้า x [Px↑ QDX↓: Move Along the curve]
Py = ราคาสินค้าทดแทน y [Py↑ QDX↑: Shift to right]
Pz = ราคาสินค้าใช้ร่วมกัน z [Pz↑ QDX↓: Shift to left]
I = รายได้ผู้บริโภค [I↑ QDX↑: Shift to right]
DI = การกระจายรายได้ [DI↑ QDX↑: Shift to right]
T = รสนิยม [T↑ QDX↑: Shift to right]
W = ความมั่งคั่ง [W↑ QDX↑: Shift to right]
N = ขนาดประชากร [N↑ QDX↑: Shift to right]
O = Other ปัจจัยอื่น ๆ เช่น Advertising : Shift to …]
อุปทาน (Supply)
ปริมาณสินค้าที่ต้องการเสนอขายของผู้ผลิต (Want) + อำนาจการผลิต (Producing Power) ของผู้ผลิตคนหนึ่ง, ในสินค้าชนิดหนึ่ง, ณ ราคาหนึ่ง, ในตลาดแห่งหนึ่ง, ณ เวลาหนึ่ง ; S(F, X, Px, M, T)
ตารางอุปทาน
หมายถึง ตารางแสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง ราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง ๆ
เส้นอุปทาน
หมายถึง เส้นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้า กับปริมาณขาย ณ ระดับต่าง
ตลาดสินค้า การกำหนดราคา และปริมาณขายที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด
โครงสร้างตลาดสินค้า (Market Structure)
- ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
- ตลาดผูกขาด
- ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
- ตลาดผู้ขายน้อยราย
ศึกษาการกำหนดราคาและปริมาณขายในตลาดแบบต่างๆ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
แนวความคิดเกี่ยวกับตลาด (Market)
ตลาด คือ กลุ่มของหน่วยตลาดทางเศรษฐกิจ ได้แก่บุคคล (Consumer) และบริษัท (Supplier) ซึ่งกระทำการซึ่งกันและกัน ฝ่ายหนึ่งเสนอซื้อ ฝ่ายหนึ่งเสนอขาย
ตลาดมีลักษณะต่างๆกันดังนี้
1. ตลาดมีลักษณะทางด้านระยะทาง (Spatial)
2. ตลาดมีลักษณะตามคุณลักษณะของสินค้า (Characteristic)
3. ตลาดเป็นจุดศูนย์กลาง/สถานที่ที่มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าเกิดขึ้น
ลักษณะโครงสร้างตลาด ขึ้นอยู่กับ
1. จำนวนผู้ซื้อ/ผู้ขาย
2. ลักษณะสินค้า มีความเหมือน/ต่างกัน
3. ความเป็นสินค้าในการตัดสินใจของบริษัท
4. เงื่อนไขของการเข้า-ออก จากตลาด
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition) มีลักษณะดังนี้
- ผู้ซื้อ ผู้ขายจำนวนมาก Large Number of Buyers & Sellers แต่ละรายเป็นหน่วยย่อย เมื่อเทียบกับตลาดทั้งหมด การกระทำของผู้ซื้อ-ผู้ขาย จะไม่มีผลต่อราคา
- สินค้ามีลักษณะเหมือนกัน (Homogeneous Product) เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา ทองคำ 99% หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ
- ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย จะเป็นผู้รับเอาราคาตลาดมาใช้ ราคาสินค้าจะคงที่ ทุกๆหน่วยที่ซื้อ (Price Takers)
- มีการเข้าออกจากตลาดอย่างเสรี (Free Entry – Free Exit) ไม่มีสิ่งกีดขวาง การเข้าเอา ไม่มีการรวมตัวกันระหว่างบริษัท
- มีข้อมูลข่าวสารสมบูรณ์ (Perfect Information) รู้ราคา รู้คุณภาพสินค้า
ตลาดผูกขาด (Monopoly) มีลักษณะดังนี้
- มีผู้ขายเพียง 1 ราย (1 Firm 1 Industry)
- หาสินค้าทดแทนได้ยาก สินค้าของผู้ผูกขาดมีลักษณะไม่เหมือนใคร หาสินค้าอื่นทดแทนได้ยาก ทดแทนได้ แต่ไม่ใกล้ชิด เช่น น้ำมันเบนซิน ไฟฟ้า ประปา
- ผู้ผูกขาดเป็นผู้กำหนดราคา ผู้ขายเป็น Price Setter มีอำนาจตลาด ผู้ขายจะเปลี่ยนแปลงราคาลง เพื่อขายให้ได้มากขึ้น
- ผู้ผูกขาดมีอำนาจตลาด เพราะ มีสิ่งกีดขวางการเข้ามาแข่งขันของบริษัทอื่น (Barrier to Entry) ได้แก่ สิ่งกีดขวางทางกฎหมาย (Legal Barrier), สิ่งกีดขวางทางเทคนิคการผลิต เช่น การได้เปรียบทางด้านต้นทุน
- การผูกขาดตามธรรมชาติ เป็นกิจการที่โรงงานขนาดใหญ่ 1 โรงงาน จะผลิตแล้ว เสียต้นทุนต่ำกว่าที่ให้โรงงานเล็กๆ หลายโรงงานทำการผลิต
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้
- มีลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด
- มีจำนวนผู้ซื้อมากราย-ผู้ขายมากราย (PC)
- สินค้ามีลักษณะที่ถูกทำให้แตกต่างกัน
- เส้นอุปสงค์ที่ผู้ขายเผชิญ เป็นเส้นที่มีความชันลาดลง ซึ่งเหมือนกับตลาดผูกขาด
- มีการเข้าออกจากตลาดโดยเสรี (Free Entry-Free Exit) -> PC
ตลาดมีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) มีลักษณะดังนี้
- มีจำนวนผู้ขาย 2-3 ราย
- Oligopoly
o Corporative Oligopoly ผู้ขายน้อยรายรวมหัวกันกำหนดราคา/ปริมาณขายร่วมกัน
o No-corporative oligopoly ผู้ขายน้อยรายไม่ร่วมมือกัน มีพฤติกรรมการแข่งขัน
การกำหนดราคา และ ผลผลิตภายใต้การแข่งขันสมบูรณ์
- ผู้ซื้อ ผู้ขายจำนวนมาก
- ลักษณะสินค้าเหมือนกัน
- ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายเป็นผู้รับเอาราคา ราคาสินค้าถูกกำหนดจากอุปสงค์ และอุปทานในตลาดสินค้าชนิดนั้น
เงื่อนไขที่ทำให้กำไรสูงสุด เมื่อ P = MC โดยเลือก Q
การหาปริมาณดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
¶ = TR – TC = P * Q – C (Q)
เงื่อนไขประการแรกของบริษัทที่อยู่ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
P = MC
MR = MC
รายรับเพิ่ม = ต้นทุนเพิ่ม
P = MR
รายรับเพิ่ม = ราคาสินค้า
การกำหนดราคา และ ผลผลิตภายใต้ ตลาดผูกขาด
Monopoly
- 1 Firm 1 Industry
- ลักษณะสินค้าไม่เหมือนใคร
- ผู้ผูกขาดเป็นผู้กำหนดราคา
- เส้นอุปสงค์ Demand Curve มีความชันลาดลง
การกำหนดราคาและปริมาณขายที่ให้กำไรสูงสุดของบริษัทที่อยู่ในตลาดผูกขาด
(Price & Output Determination for a Monopoly)
เงื่อนไขของผู้ผูกขาดราคา
FOC : MR = MC ได้ Q
Demand Curve กำหนดราคา Pm
AR > AC -> ¶ > 0
แสดงการหาเงื่อนไขดุลยภาพของผู้ผูกขาด
¶ = TR – TC
¶ = P*Q – C (Q)
MR = MC
MR’ < MC’
MONOPY VS. PERFECT COMPETITION
Monopoly : MR = MC --> Qm
--> Pm
Perfect Competition : P = MC --> Qc
--> Pc
Mono VS. Perfect
Qm < Qc
Pm > Pc
ความสัมพันธ์ของ Ep, P, MR
ในการผูกขาด เงื่อนไขดุลยภาพของผู้ผูกขาด MR = MC
จะกำหนดปริมาณขาย Qm และอุปสงค์จะกำหนดราคา Pm
TR = P * Q
MR = P + Q * dp = P (1 + 1 )
dQ dQ * p
dp Q
ดุลยภาพของผู้ผูกขาด เพื่อหากำไรสูงสุด MR = MC
P = MC
(1 + 1 )
Ep
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น