Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่ความจริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ คือ

ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียว เช่น ดอลลาร์ ฮ่องกงกับดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา หรือผูกค่ากับสกุลที่เรียกว่าระบบตะกร้า เช่น ระบบตะกร้าแลกเปลี่ยนของไทยในอดีต

2. ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้คล้ายกับระบบ peg แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจ เคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า ตัวของระบบนี้ได้แก่ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism ( ERN) เป็นต้น และ

3. ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าของเงินจะมีความผกผวนมากกว่า 2 ระบบแรก ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นสูงนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ระบบคือ

(1) ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed หรือ Dirty Float) ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศส่วนมาก รวมทั้งประเทศในปัจจุบัน ใช้อยู่

(2) ระบบลอยตัวเสรี (Independent หรือ Free Float) เป็นระบบที่ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารอาจเข้าแทรกแซงในตลาดบ้าง เพื่อชี้นำทิศทาง แต่มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด


ภาคเศรษฐกิจการเงิน (Financial Sector)

หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการ ด้านการเงินอื่นๆด้วย โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน

ซึ่งภาคเศรษฐกิจการเงินนี้ประกอบไปด้วยสถาบันการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์

กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต

บริษัทประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น


ทองคำ(gold standard) หมายถึงธนบัตรที่สามารถนำๆไปแลกเป็นเหรียญทองคำหรือเหรียญเงินจากกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามราคาที่ระบุไว้ในธนบัตร ในระบบมาตราปริวรรตทองคำ (gold exchandard) ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอนุญาติใหัแลกดอลลาร์กับคำในระดับธนาคารกลางได้ ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว(ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) หมายถึงเงินตราสกุลหนึ่งสามารถแลกเป็นเงินตราสกุลอื่นได้โดยไม่มีอุปสรรคอันเกิดจากข้อจำกัดของรัฐบาลเจ้าของเงินตรา

บัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีดุลการชำระดุลเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
(1) รายการสินค้าและบริการ
(2) รายได้และ
(3) เงินโอน ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะจัดทำขึ้นช่วงเวลา 1,3,6 เดือน และหนึ่งปี อนึ่ง สินค้าออกและสินค้าเข้าโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารายการที่มองเห็น (visible items) และเรียกบริการว่ารายการที่มองไม่เห็น (in visible items) อันได้แก่ การขนส่ง การเดินทางและการท่องเที่ยว ส่วนรายได้หมายถึงดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนสำหรับเงินโอนมีทั้งภาครัฐบาลเอกชน
1. การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย (Defining the problem and research objectives)
ในการวิจัยทางการตลาดนั้นมีวัตถุประสงค์ทางการวิจัยอยู่ 3 ชนิด คือ

(1) การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research)
เป็นการวิจัยทางการตลาดเพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ที่จะช่วยในการระบุปัญหาและเสนอแนะสมมติฐานในการวิจัย
(2) การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)
เป็นการวิจัยเพื่อบรรยายถึงปัญหาหรือสถานการณ์ทางการตลาด
(3) การวิจัยเชิงเหตุและผล (Causal research)
เป็นการวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐาน หาเหตุและผลของปัญหา

2. การพัฒนาแผนการวิจัย (Developing the research plan)

แหล่งข้อมูล (Data sources)
แหล่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการทำวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data)
เป็นข้อมูลที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นๆได้ทำการเก็บรวบรวมเอาไว้แล้ว เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง แหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ เช่น เว็บไซต์ ห้องสมุด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่างๆ องค์กรทางการค้า เช่น กระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น
(2) แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data)
เป็นข้อมูลที่ยังไม่มีการเก็บรวบรวมเป็นเอกสาร นักวิจัยต้องทำการเก็บรวบรวมขึ้นมาเอง เพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง
วิธีการวิจัย (Research approaches)
(1) การวิจัยโดยการสำรวจ (Survey research)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการซักถามคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ความชอบ ความพึงพอใจ หรือพฤติกรรมในการซื้อ เป็นต้น โดยผ่านทางวิธีการต่างๆดังต่อไปนี้
การใช้แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
การสัมภาษณ์โดยบุคคล

การสัมภาษณ์โดยบุคคล

(2) การวิจัยโดยการสังเกต (Observational research)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสังเกตถึงพฤติกรรม หรือปฏิกิริยาตอบสนอง
ต่างๆของผู้บริโภค (ผู้ถูกสังเกต) ภายใต้สถานการณ์ที่เราต้องการทราบ เช่นการสังเกตพฤติกรรม
ในการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
(3) การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental research)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยมีการกำหนดสถานการณ์ ควบคุมตัวแปร เพื่อตรวจสอบความแตกต่างที่เกิดขึ้น
แผนการสุ่มตัวอย่าง (Sampling plan)
การสุ่มตัวอย่าง (Sampling)
คือ การที่นักวิจัยทำการเลือกตัวอย่างบางตัวอย่าง (Sampling Unit) ขึ้นมาศึกษา จากกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมด (Population) เพื่อใช้ในการทำวิจัย เนื่องจากข้อจำกั
ดในทรัพยากรเวลา คน และงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถทำการสำรวจประชากร
ทั้งหมดได้
ประชากร (Population)
คือ หน่วยข้อมูลทั้งหมดตามที่ได้กำหนดไว้ก่อนการเลือกตัวอย่าง (Sample)

กลุ่มตัวอย่าง (Sample)
คือ กลุ่มคนที่ถูกเลือกสำหรับการทำวิจัย ที่ผู้วิจัยเลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนของประชากร
ทั้งหมด ตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting the information)
เป็นขั้นตอนในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนการวิจัยที่ได้วางเอาไว้ในขั้นตอนที่ ถือเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้มากที่สุด

4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing the information)

เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาทำการประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทำการวิเคราะห์ผลการวิจัยออกมา

5. การนำเสนอข้อค้นพบ (Presenting the findings)
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัยคือการนำข้อค้นพบจากการวิจัย ไปเสนอให้กับบุคคล
ที่เกี่ยวข้องรับทราบ โดยการนำเสนอในรูปของรายงานการวิจัย และการนำเสนอผลการวิจัยด้วยวาจา
ในการพัฒนาสารสนเทศนั้นสามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ
2.1 ระบบฐานข้อมูลภายใน (Internal Databases)
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งภายในองค์กร เพื่อจัดทำเป็นสารสนเทศใช้ประกอบ
การตัดสินใจทางการตลาด ข้อดีของระบบนี้คือมีความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อจำกัดคือ สารสนเทศที่ได้อาจจะมีความไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการตัดสินใจ
ที่พลาดตามมาได้

2.2 ระบบข้อมูลทางการตลาด (Marketing Intelligence)
เป็นระบบในการรวบรวม วิเคราะห์ และการกระจายสารสนเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อมทางการตลาด เพื่อใช้ในการออกแบบและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาด ตัวอย่างเช่นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันของบริษัท
สภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี
สภาพแวดล้อมทางด้านลูกค้า
สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม
สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย

เป้าหมายของระบบข้อมูลทางการตลาด คือ
เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ในการตัดสินใจ
เพื่อใช้ในการประเมินและติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง
เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มของโอกาสและอุปสรรค


2.3 การวิจัยตลาด (Marketing Research)
เป็นระบบในการออกแบบ รวบรวม วิเคราะห์ และการรายงานผลของข้อมูลอย่างเป็น
ระบบ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการตลาดที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารทราบ
ถึงปัญหา หรือแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ

3. การกระจายสารสนเทศ (Distributing Information)
สารสนเทศทางการตลาดที่รวบรวมขึ้นมานั้น จะยังไม่มีคุณค่าจนกว่าผู้บริหารจะได้นำไปใช้ในการ
ตัดสินใจทางการตลาด โดยสารสนเทศทางการตลาดนั้นจะต้องทำการกระจายบุคคลที่มีความ
ต้องการใช้ ในเวลาที่เหมาะสม
เป็นการจัดผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง ชัดเจน และตรงกับความต้องการ โดยการเปรียบเทียบ
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน ให้อยู่ในจิตใจของผู้บริโภค
โดยในขั้นนี้จะต้องมีการระบุความได้เปรียบ หรือความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive Advantages) ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation)
เป็นการพิจารณาคุณลักษณะเด่นของตัวผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณา
ได้จากคุณลักษณะต่างๆดังนี้

รูปแบบ
คุณสมบัติ
ความคงทน
คุณสมบัติ
ราคา
ความน่าเชื่อถือ
คุณภาพ
2. ความแตกต่างด้านบริการ (Service Differentiation)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยเน้นไปที่การให้บริการที่เหนือ
กว่าคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆดังนี้
ความรวดเร็ว
การรับประกัน
การบริการติดตั้ง
การบริการจัดส่งสินค้า
การฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า
การบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซม
3. ความแตกต่างด้านบุคคล (Personnel Differentiation)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาดโดยพิจารณาจากความสามารถของบุคลากรในองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบริการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะต่างๆดังนี้
ความรู้ความสามารถของบุคลากร
ประสบการณ์และความชำนาญ
ความน่าเชื่อถือ
ความซื่อสัตย์สามารถไว้วางใจได้
การดูแลเอาใจใส่ลูกค้า
การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
4. ความแตกต่างด้านภาพลักษณ์ (Image Differentiation)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด โดยนำเอาภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หรือองค์กรมาเป็น
เครื่องมือในการสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ
ต่างๆดังนี้
สัญลักษณ์
สื่อ
บรรยากาศ
การจัดเหตุการณ์พิเศษ
ที่มาของผลิตภัณฑ์
การเลือกตลาดเป้าหมาย (Market Targeting) หมายถึง กระบวนการในการประเมินความน่าสนใจ
ของแต่ละส่วนตลาด และเลือกเข้าสู่ตลาดเพียงหนึ่งหรือหลายส่วนตลาด
ส่วนตลาดเป้าหมาย (Target Market หรือ Target Group) หมายถึง กลุ่มผู้บริโภคหรือส่วนตลาดที่
นักการตลาดสนใจและเลือกที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของผู้บริโภคกลุ่มนั้นๆ
การประเมินส่วนตลาด
เป็นการประเมินความแตกต่างของส่วนตลาด โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ 3 ปัจจัย คือ
1. ขนาดและการเจริญเติบโตของส่วนตลาด
2. ความน่าสนใจของส่วนตลาด
3. วัตถุประสงค์และทรัพยากรของบริษัท
กลยุทธ์การเลือกส่วนตลาด มี 3 กลยุทธ์ คือ
1. ตลาดรวมหรือตลาดไม่แตกต่าง (Undifferentiated Marketing)
การเลือกตลาดรวมเป็นตลาดเป้าหมายเพียงตลาดเดียว โดยถือว่าตลาดมีความต้องการ
ที่คล้ายกันหรือไม่แตกต่างกัน
ใช้ส่วนประสมทางการตลาดเพียง 1 ชุด ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าจำนวนมาก
มุ่งความสำคัญที่การผลิต ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดของการผลิต
นิยมใช้ในการแบ่งส่วนตลาดสำหรับสินค้า หรือบริการขั้นพื้นฐานสำหรับการครองชีพของ
ผู้บริโภค เช่น ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล เป็นต้น
. การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing)
เป็นการเลือกตลาดเป้าหมายเพียงส่วนเดียวจากตลาดรวม
ใช้ส่วนประสมทางการตลาด 1 ชุด ที่สามารถสนองความต้องการในส่วนตลาดที่เลือก
3. การตลาดแตกต่าง (Differentiated Marketing)
หรือกลยุทธ์ตลาดมุ่งหลายส่วน
เป็นการเลือกกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่แตกต่างกันสองกลุ่มขึ้นไป
พัฒนาส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อสนองความต้องการในแต่ละส่วนตลาด
ที่เลือกเป็นเป้าหมาย

STP Marketing

การตัดสินใจขายสินค้าในตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดผู้บริโภค หรือตลาดอุตสาหกรรม จะต้องระลึก
อยู่เสมอว่า โดยทั่วไปแล้วบริษัทไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าในทุกๆตลาดได้ เนื่องจาก
ลูกค้ามีจำนวนมากที่อยู่กระจัดกระจาย และมีความต้องการที่แตกต่างกัน บริษัทจึงต้องทำการแข่งขัน
เฉพาะตลาดที่บริษัทมีความชำนาญมากที่สุด
STP Marketing
หมายถึง การจัดผลิตภัณฑ์และส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อสนองความต้องการ
ของตลาดที่มีลักษณะและความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1. Market Segmentation (การแบ่งส่วนตลาด)
2. Market Targeting (การเลือกตลาดเป้าหมาย)
3. Market Positioning (การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์)

ลำดับขั้นตอนของ STP Marketing


Market Segmentation (การแบ่งส่วนตลาด)
หมายถึง การแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ความต้องการ บุคลิกลักษณะ หรือพฤติกรรม ซึ่งผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละกลุ่มเดียวกัน จะมีความต้องการในสินค้าหรือบริการที่คล้ายคลึงกัน หรือส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน
ระดับของการแบ่งส่วนตลาด


1. Mass marketing (การตลาดรวม) ใช้กลยุทธ์การผลิตผลิตภัณฑ์แบบไม่แตกต่าง คือเน้นการ
ผลิตจำนวนมาก และขายให้กับลูกค้าทุกคนเหมือนกัน ถือได้ว่าไม่มีการแบ่งส่วนตลาดเลย ตัวอย่าง
เช่น รองเท้ายี่ห้อนันยาง ผลิตรองเท้าแบบเดียวสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม
2. Segment marketing (การตลาดแบบแบ่งส่วน) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนๆ ตามความ
ต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างเช่น รองเท้ายี่ห้อไนกี้ ทำการผลิตรองเท้าสำหรับกีฬาประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิ่ง บาสเกตบอล เทนนิส ฟุตบอล เป็นต้น
3. Niche marketing (การตลาดส่วนย่อย) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างเช่น การผลิตรองเท้าสำหรับผู้ที่ชอบปีนเขา ตีกอล์ฟ เป็นต้น
4. Micro marketing (การตลาดเฉพาะบุคคล) เป็นการแบ่งส่วนตลาดที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด คือเป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะบุคคล ตัวอย่าง ร้านที่รับตัดรองเท้าสำหรับลูกค้าแต่ละคน เป็นต้น


ลักษณะของการแบ่งส่วนตลาดที่ดี
1. สามารถวัดได้ (Measurable) ในแต่ละส่วนตลาดต้องสามารถวัดออกมาในรูปเชิงปริมาณได้
2. สามารถเข้าถึงได้ (Accessible) สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดนั้นได้
3. มีขนาดของส่วนตลาดที่ใหญ่เพียงพอ (Substantial) ในแต่ละส่วนตลาดนั้นจะต้องมีความต้อง
การซื้อที่มากพอ
4. สามารถดำเนินการได้ (Actionable) สามารถใช้โปรแกรมการตลาดเพื่อจูงใจได้
5. มีลักษณะแตกต่าง (Differentiable) เป็นส่วนตลาดที่ลูกค้ามองเห็นความแตกต่าง
ของผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมการตลาดที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน
ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด
1. ทำให้ทราบถึงความต้องการและขอบเขตความพอใจของแต่ละส่วนตลาด
2. ทำให้ทราบถึงโอกาสทางการตลาด หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย
3. ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกตลาดเป้าหมายที่เหมาะสมกับความสามารถของบริษัท
4. ทำให้สามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความพอใจของผู้บริโภคให้ดีขึ้น
5. ทำให้สามารถปรับปรุงแผนการตลาด และงบประมาณการตลาดได้เหมาะสม