Custom Search
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาวะเงินฝืด


ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ คือปริมาณเงินในระบบมีน้อยกว่าความต้องการ หรือสรุปได้ง่าย ๆ คือ ภาวะที่สินค้าโดยทั่วไปมีระดับราคาลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสินค้าทุกชนิดจะต้องมีราคาลดลง เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจจะเป็นไปได้สินค้าบางชนิดอาจมีราคาสูงขึ้น แต่เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชนิดแล้วราคาถั่วเฉลี่ยจะลดลงจากเดิม การที่ราคาสินค้าลดลงนั้นจะเกิดจากอุปสงค์รวมมีน้อยกว่าอุปทานรวมในขณะนั้น ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้อลดราคาสินค้า ลดจำนวนผลิต และทำให้เกิดการว่างานขึ้น รายได้ตกต่ำลง ธุรกิจไม่สามารถชำระหนี้สินคืน ทำให้สถาบันการเงินได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมาก เพราะเรียกเก็บหนี้ไม่ได้ หรือมีหนี้สูญ การปล่อยสินเชื่อถูกจำกัดเข้มงวด ดอกเบี้ยจึงสูงขึ้นไม่มีการกู้ยืมไปลงทุน เศรษฐกิจจึงตกต่ำเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ

ภาวะเงินฝืดอาจจะเกิดจากสาเหตุบางประการดังต่อไปนี้
1. การขาดแคลนเงินทุนหรือเงินออม ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนลดน้อย การผลิตลดน้อยลง จึงมีการจ้างงานลดระดับลง รายได้ประชาชนก็ลดลงตามไป ทำให้ภาวการณ์ซื้อขายชะลอตัว
2. มีการส่งเงินทุนออกต่างประเทศมากเกินไป ทั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมายในระยะยาวนานติดต่อกัน จึงเป็นเหตุให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศไปจำนวนมาก และเกิดผลกระทบทำให้เงินทุนลดน้อย ภาวะดอกเบี้ยจึงสูงขึ้น
3. ความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายการเงินและการคลัง เช่น มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินสูงเกินจนสถาบันการเงินประสบปัญหาในเรื่องให้สินเชื่อแก่ลูกค้า มีการจัดเก็บภาษีทางตรงในอัตราสูงมากจนประชาชนเหลือเงินใช้จ่ายน้อยเกินไป ทำให้อุปสงค์ลดลงไม่สมดุลกับอุปทานที่มีมากกว่า หรือรัฐบาลจัดการพิมพ์ธนบัตรออกหมุนเวียนใช้ไม่เพียงพอกับความจำเป็นของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น
4. การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ และสาเหตุอื่นๆ เช่น ประชาชนไม่นิยมออมเงินในระบบการเงิน แต่หันไปนิยมการออมนอกระบบการเงิน ตัวอย่าง มีการนำเงินออมไปลงทุนไว้ในทรัพย์สิน โดยการกักตุน ซื้อโลหะมีค่า ซึ่งเป็นเหตุให้เงินออมในระบบการเงินลดน้อยลง จึงทำให้เงินทุนมีน้อย ดอกเบี้ยจึงแพง เป็นต้น

ผลกระทบของภาวะเงินฝืด
เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดหรือเศรษฐกิจต่ำ นับว่าเป็นปัญหาร้ายแรงมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ คือ
1. ผลต่อประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของรายได้ที่มีอยู่ กล่าวคือ ภาวะเงินฝืดทำให้เงินมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือ ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่เสียประโยชน์ก็คือ ผู้มีรายได้จากกำไรและลูกหนี้
2. ผลต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่ภาวการณ์ลงทุน การผลิตที่ลดลงเกิดการว่างงานทำให้ประชาชนขาดรายได้ อำนาจซื้อตกต่ำลง สินค้าจะตกค้าอยู่ในคลังสินค้าอย่างมาก กำไรธุรกิจลดน้อยลงหรือเกิดภาวการณ์ขาดทุนอย่างรุนแรง สภาพเศรษฐกิจของประเทศจะซบเซาตกต่ำ รายได้ประชาชาติจะถดถอยลง ในภาวะที่ตลาดซบเซาทำให้ผู้ประกอบการต่างต้องการเงินเพื่อมาหมุนเวียนในกิจการ ทำให้ต้องหาทางเพื่อเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงิน ซึ่งต้องลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจผู้ซื้อทั้งลดแลกแจกแถม เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสียและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเมื่อสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อทำให้ภาคธุรกิจไม่สามารถที่จะหาเงินมาหมุน เวียนจนทำให้กิจการบางแห่งต้องปิดตัวลง ยังผลให้ต้องเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก เมื่อพนักงานส่วนหนึ่งกลายเป็นคนตกงาน ทำให้ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปยังธุรกิจการค้า และมีผลต่อภาคการผลิตอื่นๆ

เงินเฟ้อ

ความหมายง่ายๆ ของเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาข้าวของเครื่องใช้โดยทั่วไปมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง การสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าของเงินลดลง เช่น ปีที่ผ่านมาเราซื้อสินค้าด้วยเงินจำนวน 100 บาทต่อชิ้น มาปีนี้เราต้องซื้อสินค้าตัวเดิมด้วยเงิน 103 บาท แสดงว่ามูลค่าของเงินลดลง 3% และปีต่อไปราคาสินค้าชิ้นนี้ก็เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ แต่การเพิ่มราคาของ สินค้าจะหมายถึงสินค้าทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเพิ่มขึ้นอย่างเดียวหรือ 2-3 อย่างจะไม่ถือว่าเป็นเงินเฟ้อ หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแต่เพียงเล็กน้อยเป็นปกติก็จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่หากเพิ่มขึ้นมากและผันผวนก็จะสร้างความไม่แน่นอนและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการครองชีพของประชาชน รวมทั้งการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ
ประการแรก ต้นทุนสินค้าเพิ่ม ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะตลาดโลก เช่น การที่ระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน

ประการที่สอง ความต้องการสินค้าเพิ่ม เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมีความต้องการสินค้าและบริการมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้นๆ จึงดึงให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น

ผลกระทบของเงินเฟ้อ
ผลต่อความต้องการถือเงิน ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะเมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น เงินเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลงความต้องการถือเงินจะขึ้นอยู่กับการคาดคะเนราคาสินค้าหรือค่าของเงินด้วย ค่าของเงินยิ่งต่ำ คนจะยิ่งพยายามถือเงินให้น้อยลง โดยจะมีการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น

ผลกระทบต่อรัฐบาล รัฐบาลมักจะได้รับประโยชน์จากภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อจะทำให้ประชาชนมีรายได้ที่เป็นตัวเงินเพิ่มสูงขึ้น ถ้ารัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้น ส่วนทางด้านรายจ่ายของรัฐนั้นถ้าเป็นจำนวนที่คงที่ เช่น เงินเดือน, บำนาญ, เงินสงเคราะห์ต่าง ๆ รัฐก็จะได้ประโยชน์เพราะเงินนั้นมีค่าน้อยลง ถ้ารัฐมีการกู้ยืมมากรัฐจะได้ประโยชน์ฐานะลูกหนี้ เพราะจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละส่วนจะมีค่าน้อยลง และเนื่องจากรัฐมีรายได้มากขึ้น การชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจึงทำได้โดยไม่ลำบากในการเก็บรักษามูลค่า และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้เลย

เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในการกระจายรายได้ของบุคคล เช่น
1) ผู้มีรายได้เป็นจำนวนเงินคงที่ตายตัวหรือรายได้ประจำจะเสียเปรียบ เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆ จะสูงขึ้นเนื่องจากสินค้าแพขึ้น แต่รายได้ที่เป็นตัวเงินยังคงเดิม เช่นข้าราชการ , ผู้มีรายได้จากบำนาญ ในขณะที่ผู้มีรายได้จากกำไร หรือมีรายได้เป็นตัวเงินที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น พ่อค้า, นักธุรกิจ มักจะได้ประโยชน์จากการทำให้ได้กำไรมากขึ้น
2) ลูกหนี้จะได้เปรียบในขณะที่เจ้าหนี้เสียเปรียบ เนื่องจากเงินที่นำไปชำระหนี้คืนนั้นมีอำนาจซื้อลดลง เนื่องจากค่าของเงิน ลดต่ำลงไปเรื่อย ๆ เพราะราคาสินค้าสูงขึ้น
3) ผู้ถือทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินแน่นอน เช่น เงินสด เงินฝากประจำ หุ้นกู้ จะเสียเปรียบ เพราะเงินลดค่าลงในขณะที่ผู้ถือทรัพย์สินที่มีราคาไม่แน่นอนมักจะได้เปรียบ เพราะราคาของทรัพย์สินมักจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน เครื่องมือเครื่องจักร กักตุนสินค้า

สหกรณ์

ความหมาย สหกรณ์ (Cooperatives) หมายถึง องค์กรที่เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มารวมกันโดยสมัครใจเพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของสมาชิกที่เป็นเจ้าของร่วมกันภายใต้หลักประชาธิปไตย

ลักษณะสำคัญของสหกรณ์

1. เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนด้วยความสมัครใจเพื่อร่วมมือกันในการดำเนินการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม

2. มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจที่แน่นอน คือ ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

3. จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีกฎหมายสหกรณ์และข้อบังคับสหกรณ์เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ

ความเป็นมาของสหกรณ์ สหกรณ์เกิดขึ้นครั้งแรกที่ทวีปยุโรป สาเหตุสำคัญมาจากความยากลำบากในการประกอบอาชีพของประชากรจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม(การใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน) จึงเกิดความร่วมมือกันขึ้น โดย นายโรเบิร์ต โอเวน เสนอแนวคิดตามวิธีการสหกรณ์ นายโรเบิร์ต โอเวน จึงเป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สหกรณ์” เป็นคนแรก

ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เมืองรอชเดล ประเทศ อังกฤษ เป็นดินแดนอุตสาหกรรมการทอผ้าที่สำคัญ ต้องประสบกับภาวการณ์ว่างงาน และคนงานถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องค่าจ้าง จึงได้นำแนวคิดของโอเวน มาดำเนินการจัดตั้งร้านสหกรณ์ของกรรมกรช่างทอผ้าเมืองรอชเดล อังกฤษ เริ่มจากการสะสมทุนคนละเล็กละน้อย ผู้ที่เป็นสมาชิกจะต้องถือหุ้นในสหกรณ์อย่างน้อย 1 หุ้น และตั้งชื่อสหกรณ์ว่า

“ร้านสหกรณ์รอชเดลของผู้นำอันเที่ยงธรรม” ถือเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก

ความเป็นมาของสหกรณ์ไทย เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 6 ตอนต้น โดยจัดตั้งธนาคารเงินกู้แห่งชาติ โดยให้ชาวนาที่ต้องการกู้เงินรวมกันเป็นสมาคม ซึ่งมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และจัดตั้งสมาคมและสหกรณ์ บัญญัติโดย พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ซึ่งได้รับ การยกย่องว่าเป็น พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย

สหกรณ์แห่งแรกของไทย เป็นสหกรณ์หาทุน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2459 และต่อมารัฐได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก

ต่อมามีการรวมสหกรณ์หาทุนหลายสหกรณ์เข้าด้วยกันเมื่อรัฐออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 กลายมาเป็นสหกรณ์การเกษตรในปัจจุบัน

หลักการของสหกรณ์ 1. เป็นสมาชิกโดยความสมัครใจ ไม่กีดกันการเป็นสมาชิก 2. ควบคุมตามหลักประชาธิปไตยและดำเนินการโดยอิสระ 3.จำกัดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ทุนเรือนหุ้น เพื่อป้องกันการแสวงหากำไร 4. ส่งเสริมการศึกษา 5. ร่วมมือกับสหกรณ์ในทุกระดับ

ประเภทของสหกรณ์ ของไทยแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. สหกรณ์การเกษตร 2. สหกรณ์ประมง

3. สหกรณ์นิคม 4. สหกรณ์ร้านค้า 5. สหกรณ์บริการ 6. สหกรณ์ออมทรัพย์

ในที่นี้จะศึกษาเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์และ สหกรณ์การเกษตร

สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์การเกษตร จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของบุคคลกลุ่มหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในด้านต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูและของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหลายประเภท เช่น

2.5.1 สหกรณ์ออมทรัพย์ ตั้งขึ้นโดยสมาชิกของหน่วยงานหนึ่งๆร่วมกันถือหุ้นสหกรณ์ มีหน้าที่รับฝากเงินจากสมาชิกและนำเงินนั้นให้สมาชิกกู้ยืมโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น โดยระดมเงินออมจากสมาชิกในรูปของเงินค่าหุ้น และเงินฝาก ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินงาน ส่วนหนึ่งก็จ่ายคืนแก่ผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล ค่าสวัสดิการ บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ สหกรณ์เป็นสถาบันการเงินที่ยึดหลักการเพื่อช่วยเหลือตนเอง หมู่สมาชิกและสังคม เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

2.5.2 สหกรณ์การเกษตร จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกของสหกรณ์จะเป็นเกษตรกรทั้งหมด มีหน้าที่ รับฝากเงินจากสมาชิกเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกออมทรัพย์ และให้เงินกู้แก่สมาชิกเพื่อส่งเสริมการเพาะปลูก แสวงหาตลาด และขายผลิตผลให้สมาชิก จัดซื้อและจัดหาสิ่งของที่จำเป็นมาขายให้แก่สมาชิก ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรให้สมาชิก เงินทุนดำเนินการ ได้จากค่าหุ้น เงินฝากของสมาชิก ผลกำไร และได้เงินกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาเป็นเงินทุนดำเนินการด้วย
สถาบันการเงินเป็นองค์กรทางการเงินที่มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในเรื่องการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนย้ายของเงิน การรับฝากเงินและให้กู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นการรวบรวมเงินออมไปยังผู้ลงทุน การซื้อขายหลักทรัพย์และหน้าที่อื่นๆ

ความหมาย สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันที่ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจการเงินและหรือการให้สินเชื่อ

ประเภทของสถาบันการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่ดำเนินงานด้านรับ – ฝากเงินที่ถอนคืนได้โดยใช้เช็ค ดราฟต์ หรือหนังสือสั่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารกลางของไทย) ส่วนธนาคารกลางที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือธนาคารกลางแห่งสวีเดน , ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ , ธนาคารออมสิน , ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย , ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย , ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

2. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินที่จัดตั้งเพื่อดำเนินธุรกิจเฉพาะสาขาของเศรษฐกิจที่ระบุไว้ในกฎหมายควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้นๆ ได้แก่

2.1 บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือภารธุระอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้ได้รับสินเชื่อและความมั่นใจจากสถาบันการเงินจำนวนมากขึ้น

2.2 บริษัทเงินทุน (บง.) เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ประกอบธุรกิจเงินทุน มีหน้าที่ จัดหาทุนเพื่อบุคคลอื่น บริษัทเงินทุนจะกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้ยืม หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศและนำเงินนั้นไปหาประโยชน์โดยการให้กู้ยืม ซื้อลดเช็ค ตราสารเปลี่ยนมือ

2.3 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) มีหน้าที่ ระดมทุน โดยจัดตั้งกองทุนรวมและขายหน่วยลงทุนให้ผู้ที่ต้องการนำเงินไปลงทุนในหุ้นทุน ทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารหนี้ในตลาดทุนและตลาดเงิน เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน

2.4 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มีหน้าที่ ให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ และการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก (การให้สินเชื่อเพื่อการจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ คล้ายกับ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ แต่ต่างกันตรงที่ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นของเอกชน อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง แต่ได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแล และให้กู้ยืมเงินคล้ายกับบริษัทเงินทุน โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทและมีระยะเวลาไถ่ถอนไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพราะให้สินเชื่อระยะยาว

2.5 บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัย

บริษัทประกันภัย มีหน้าที่ ระดมเงินออมจากประชาชนในรูปของการขายกรมธรรม์ประกันภัย แบ่งเป็น การประกันชีวิตและ การประกันวินาศภัย(ประกันภัยทรัพย์สิน) เมื่อผู้เอาประกันประสบความเสียหายแก่ชีวิต เจ็บป่วย พิการ หรือสูญเสียทรัพย์สินแล้วแต่กรณีภายใต้อายุของกรมธรรม์ บริษัทประกันภัยต้องชดใช้เงินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

2.6 โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินขนาดเล็ก มีหน้าที่ให้เงินกู้แก่ประชาชนในวงเงินไม่มากเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคเป็นส่วนมาก

โดยผู้กู้ต้องมีสินทรัพย์มาค้ำประกัน เรียกว่า การจำนำ โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยภาครัฐ (กรมประชาสงเคราะห์) เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์ เงินทุนดำเนินการ ของรัฐได้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือกู้ยืมจากธนาคารออมสิน ส่วนโรงรับจำนำของเทศบาล เรียกว่า สถานธนานุบาล

2.7 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่งเสริมการออม ของกระทรวงการคลัง โดยนายจ้างกับลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมรายเดือนและนายจ้างจ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่ง และจ่ายคืนให้เมื่อลูกจ้างลาออกจากกองทุน หรือเสียชีวิต

2.8 กองทุนประกันสังคม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 เป็นกองทุนของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป เพื่อเป็นหลักประกันในการดำรงชีพ สังคมมีเสถียรภาพ โดยเงินสมทบที่นำเข้ากองทุน ได้จาก 1. ลูกจ้าง 2. นายจ้าง 3. รัฐบาล จ่ายในอัตราเท่าๆกันให้ความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ 1. ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 2. คลอดบุตร 3. ทุพพลภาพ 4. ตาย 5. สงเคราะห์บุตร 6. ชราภาพ 7. กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองเมื่อได้รับอันตรายหรือประสบเหตุทำให้ได้รับความเดือดร้อนการช่วยเหลือจะให้ในรูปของตัวเงินและบริการทางการแพทย์
1. กลไกราคา หมายถึง ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่น เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น เป็นต้น

กลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด

การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี คือ

1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน

2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและบริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค , การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต , การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน

การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผู้ผลิตสินค้าและบริการจะผลิตในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด และกำหนดราคาเท่าไร

จึงจะได้กำไรสูงสุด ผู้ผลิตจะต้องพิจารณาจาก อุปสงค์ และ อุปทาน เป็นสิ่งสำคัญ

2. อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลังซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์

2.1 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) หมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ(ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง(ราคาแพง)

2.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์

การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ราคาสินค้าและบริการ(ตามกฎของอุปสงค์) 2. รายได้ของผู้บริโภค 3. รสนิยมของผู้บริโภค

4. สมัยนิยม 5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด 6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้

7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค 8. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค

9. พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ฤดูกาล การศึกษา 10. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ

3. อุปทาน (Supply) หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตยินดีขายหรือผลิตให้แก่ผู้ซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆตามที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ยินดีที่จะเสนอขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงปริมาณของอุปทานก็จะลดลงตามไปด้วย

3.1 กฎของอุปทาน (Law of Supply) หมายถึง ผู้ผลิตมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการในราคาสินค้าและบริการที่สูง(ราคาแพง) ในปริมาณมากกว่าราคาสินค้าและบริการที่ต่ำ(ราคาถูก)

3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทาน

การที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้

1. ราคาสินค้าและบริการในขณะนั้นๆ (กฎของอุปทาน) 2. ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลง (วัตถุดิบ)

3. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้ 4. ฤดูกาล 5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น

6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)

7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)

4. ดุลยภาพ (Equilibrium)

กลไกราคาทำงานโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตจะยินดีขายให้ ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของสินค้า แต่ถ้าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์จะขายให้ผู้บริโภค หรือปริมาณอุปทานของสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อ ราคาสินค้านั้นก็จะมีแนวโน้มลดต่ำลง เมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากัน ราคาสินค้าจึงจะอยู่นิ่ง หรือที่เรียกว่า มีเสถียรภาพไม่ปรับขึ้นลงอีก ยกเว้นว่า จะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป
หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Units) หมายถึง บุคคลหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในระบบเศรษฐกิจ เพราะคนเราทุกคนต่างก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหน่วยเศรษฐกิจด้วยกันทั้งสิ้น บางคนเป็นเพียงผู้บริโภค บางคนเป็นผู้ผลิต แต่บางคนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในเวลาเดียวกัน

หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญมี 3 หน่วย ดังนี้

1. หน่วยครัวเรือน

ลักษณะ เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่รวมกัน ร่วมกันตัดสินใจใน

การเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่สมาชิกในครัวเรือนอาจเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และ

เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

หน้าที่ เป็นทั้งผู้ผลิต และ ผู้บริโภค

เป้าหมายสำคัญ การแสวงหาความพอใจสูงสุด

2. หน่วยธุรกิจ

ลักษณะ ประกอบด้วยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ตัดสินใจในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตมาผลิตสินค้าและบริการ แล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในหน่วยเศรษฐกิจอื่นๆ

หน้าที่ เป็นทั้งผู้ผลิต และ ผู้จำหน่าย

เป้าหมายสำคัญ 1. การแสวงหากำไรสูงสุดจากการประกอบธุรกิจของตน และ

2. ลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด

3. หน่วยรัฐบาล

ลักษณะ เป็นหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการต่างๆที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้นโยบายของรัฐเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้ในหน่วยธุรกิจและหน่วยรัฐบาล รวมทั้งมีหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์กับหน่วยอื่นๆด้วย

หน้าที่ จัดสรรทรัพยากรของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และ เชื่อมความสัมพันธ์กับหน่วยอื่นๆ

เป้าหมายสำคัญ ให้ประชาชนและสังคมได้รับประโยชน์สูงสุด
นโยบายสาธารณะและการวางแผน
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
ความหมายและแนวความคิด
1.1 Ira Sharkansky
นโยบายสาธารณะ คือ กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล
1.2 Thomas R. Dye
นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ ในส่วนที่จะกระทำครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
เราอาจกล่าวได้ว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบการเมืองและนโยบายสาธารณะจะส่งผลกระทบทางใดทางหนึ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน อาทิเช่น สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเช่นปัญหา มลพิษ ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
· เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลจะกระทำหรือไม่กระทำ
· เป็นการใช้อำนาจของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
· ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ประมุขของประเทศ ตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ
· กิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย
· กิจกรรมที่เลือกกระทำจะต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม
· เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมากมิใช่การตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล
· เป็นกิจกรรมที่คลอบคลุมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
· เป็นกิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสังคม
สรุป นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมของรัฐบาลที่เลือกจะกระทำหรือไม่กระทำโดยมุ่งถึงค่านิยมและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญโดยเน้นข้อบัญญัติที่ชอบด้วยกฎหมาย
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
1.ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย
รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชน และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือ และความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น
2 ความสำคัญต่อประชาชน
นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่างๆเช่น ระบบราชการ นักการเมือง ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
1. นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้านและนโยบายมุ่งเน้นสถาบันกำหนดนโยบาย
· นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน เช่น นโยบายด้านการเมือง นโยบายด้านการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม
· นโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
2.นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระและนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ
· นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ รัฐบาลมีประสงค์ที่จะทำอะไร เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือต้นทุนต่อประชาชน หรืออาจทำให้ประชาชนกลุ่มใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เช่น นโยบายการสร้างทางด่วนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นโยบายการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
· นโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ลักษณะ จะจะเกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินการนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้ดำเนินการดังนั้นนโยบายนี้จะคลอบคลุมองค์การที่จะต้องรับผิดชอบการบังคับใช้นโยบาย เช่น นโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
3. นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐและนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมตนเอง
· นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐ ลักษณะโนโยบายประเภทนี้มุ่งเน้นกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นการลดเสรีภาพหรือการใช้ดุลยพินิจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดของผู้ถูกควบคุม เช่น นโยบายควบคุมอาวุธปืน วัตถุระเบิด นโยบายควบคุมการพนัน นโยบายลดอุบัติเหตุจากการขี่รถจักรยานยนต์
· นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง ลักษณะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนโยบายเน้นการควบคุมโดยรัฐ แต่แตกต่างกันคือ มีลักษณะของการส่งเสริมการป้องกันผลประโยชน์และความรับผิดชอบของกลุ่มตน เช่น พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พรบ. ทนายความ พ.ศ. 2528
4.นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม
· นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ การจำแนกโดยการใช้เกณฑ์การรับผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ เป็นนโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรบริการหรือผลประโยชน์ให้กับประชาชน บางส่วนอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้รับผลประโยชน์อาจจะเป็น ปัจเจกบุคคล กลุ่มคน องค์การ เช่น นโยบายการแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
· นโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม เป็นความพยายามของรัฐที่จะจัดสรรความมั่นคง รายได้ ทรัพย์สินและสิทธิต่าง ๆให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม เช่น นโยบายพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 12 ปี นโยบายการจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
5. นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์
· นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ เกิดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการจัดหาทรัพยากรหรืออำนาจที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ เช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสงอุทกภัย นโยบายปรับปรุงชุมชนแออัด
· นโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ เป็นลักษณะของนโยบายที่ตรงกันข้ามกับนโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุคือเป็นนโยบายที่มิได้เป็นการจัดสรรเชิงวัตถุหรือสิ่งของที่จับต้องได้แต่เป็นนโยบายมุ่งเสริมสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ประชาชน เช่น นโยบายรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย


6. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยมและ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยม เป็นนโยบายที่เกิดจากการผลักดันของกลุ่มความคิดก้าวหน้าที่ต้องการจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นความเสมอภาค เช่น นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม แนวความคิดกลุ่มนี้จะอยู่ในกลุ่มชนชั้นของสังคมกลุ่มความคิดเหล่านี้จะเห็นว่าสิ่งที่ดำรงอยู่นั้นดีอยู่แล้วถ้าจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เช่น นโยบายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการ


7. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ คือการกำหนดสินค้าที่ไม่สามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกจากนโยบายได้เมื่อรัฐจัดสรรสินค้านั้นแล้วประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนทุกคนไม่จำกัดบุคคล กลุ่ม เช่น นโยบาย ป้องกันประเทศ นโยบายควบคุมจราจร
· นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน สินค้าเอกชนสามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ได้และสามารถเก็บค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากผุ้ได้รับผลประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การเก็บขยะของเทศบาล การไปรษณีย์โทรเลข


ตัวแบบนโยบายสาธารณะ
1.ตัวแบบชนชั้นนำ
หลักการ
· จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายอย่างเด็ดขาด
· ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจหรือค่านิยมของตนเองเป็นหลัก
· ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นนำไปสู่ประชาชน
· ทิศทางการกำหนดนโยบายจึงเน้นทิศทางแบบแนวดิ่ง
คุณลักษณะสำคัญ
· คนในสังคมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และคนส่วนมากที่ไม่มีอำนาจ
· คนส่วนน้อยมิได้มีลักษณะเช่นเดียวกับคนส่วนมากคือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า
· การเปลี่ยนแปลงฐานะขึ้นไปสู่ชนชั้นนำจะเป็นไปอย่างช้า ๆ
· นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนแต่สะท้อนความต้องการของชนชั้นนำ
· แนวคิดตัวแบบชนชั้นนำยังเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่สนใจการเมือง ความรู้สึกของประชาชนจึงถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ
ต.ย. พรบ. ให้คุ้มครองและห้ามฟ้องร้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508
1.ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม
คนในสังคมประกอบด้วยกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล มุ่งเรียกร้องการพิทักษ์ความเป็นธรรมของสังคม กลุ่มผลประโยชน์มุ่งรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเพื่อป้องกันการละเมิด “นโยบายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลผลิตของดุลยภาพระกลุ่มโยตรง”Arther F. Bently “การเมืองนั้นเปรียบเสมือนระบบที่มีแรงผลักดันที่กระทำปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ”
คุณลักษณะสำคัญ
· เป็นลักษณะของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในสังคม เรียกว่า “กลุ่มแผงเร้น”
· กลุ่มที่สมาชิกบางส่วนคาบเกี่ยวกัน ลักษณะกลุ่มเช่นนี้จะมีส่วนในการดำรงรักษาดุลยภาพระหว่างกลุ่ม โดยป้องกันมิให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเคลื่อนไหวเกินกว่าผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม
· การตรวจสอบและความสมดุลที่เกิดขึ้นจากกลุ่มที่แข่งขันกันจะมีส่วนช่วยดำรงรักษาความสมดุลระหว่างกลุ่ม
ต.ย. พรบ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518


1. ตัวแบบเชิงระบบ
คุณลักษณะที่สำคัญ
· กรอบแนวคิดเชิงระบบมีฐานคติที่สำคัญว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตต้องทำงานอย่างเป็นระบบ
· David Easton ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือน “ชีวิตการเมือง” ดังนั้นการเมืองต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ
· ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองที่ก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ
ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงระบบ นโยบายสาธารณะคือ ผลผลิตของระบอบการเมืองซึ่งเกิดจากอำนาจในการจัดสรรค่านิยมหรืออำนาจในการตัดสินใจนโยบายของระบบการเมือง
- ความต้องการของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น ความต้องการด้านการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ สวัสดิภาพ การคมนาคม
- การสนับสนุนของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การชำระภาษี “ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากประชาชน”
ต.ย. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
2.ตัวแบบสถาบัน
· ฐานคติที่ว่า “นโยบายสาธารณะ คือ ผลผลิตของสถาบันทางการเมือง สถาบันทางการเมืองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
· นโยบายจะถูกกำหนด นำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันหลัก
“ ความสัมพันธ์ของนโยบายสาธารณะและสถาบันราชการจะดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คือ นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะจนกว่านโยบายนั้นจะได้รับความเห็นชอบถูกนำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบ สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะนโยบายสาธารณะ 3 ประการ
1. สถาบันราชการเป็นผุ้รับรองความชอบธรรมของนโยบายกล่าวคือ นโยบายของรัฐถือว่าเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม
2. นโยบายสาธารณะมีลักษณะคลอบคลุมทั้งสังคมทั้งนี้เพราะนโยบายสาธารณะมีผลต่อประชาชนทั้งสังคม
3. รัฐบาลเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ในสังคมคือ มีแต่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎหมายของรัฐ
Henry ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและนโยบายสาธารณะตามตัวแบบสถาบันดังภาพนี้


· นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหารได้แก่ นโยบายปรับลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์กับดูแล รักษากติกา วางแผน ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ
· นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติไดแก่ นโยบายที่รัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติล้วนมีส่วนเป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติทั้งสิ้นเพราะนโยบายของรัฐจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อได้ผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ
5.ตัวแบบกระบวนการ
o การจำแนกปัญหา : การพิจารณาปัญหาจากการเรียกร้องของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐแก้ไขว่าเป็นลักษณะใด เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ปัญหาชุมชุนแออัดจะต้องนำมาวิเคราะห์ระบุสาเหตุของปัญหา
o การจัดทำทางเลือกนโยบาย : การกำหนดวาระสำคัญของการอภิปรายนโยบาย เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหานำไปสู่ทางเลืองนโยบายต้องพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางเลือกนำทำเลือกมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ความคุ้มค่าในด้านต้นทุนผลประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่
o การให้ความเห็นชอบของนโยบาย : ขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจนโยบายว่าจะเลือกทางใดต้องคำนึงถึงผลที่เกิดและความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนและต้องผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ
o การนำนโยบายปฏิบัติ : การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์
o การประเมินผลนโยบาย : การศึกษาดำเนินงานของโครงการและการประเมินผล
- สิ่งแวดล้อมของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
- ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า
- กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
- ผลผลิตของนโยบาย
- ผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย
- ข้อเสนอแนะและข้อปรับปรุง
สินค้าและบริการสาธารณะ (Public Goods)
สินค้าและบริการสาธารณะ (Public Goods) หมายถึง สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาแล้วทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ทุกคนจะได้รับหรือมีสิทธิ์ที่จะได้รับการบริโภคที่เท่ากัน หรือบริโภคที่ร่วมกัน (Joint Consumption) ซึ่งมี 2 ลักษณะที่สำคัญคือ
1. Non-rival in Consumption
หมายถึง การบริโภคของคนๆ หนึ่งจะไม่กระทบการบริโภคของคนอื่น หรือจะไม่ทำให้การบริโภคของคนอื่นลดลง (ความพอใจของผู้บริโภคคนอื่น ¯) โดยพิจารณาจาก
Ø Marginal Cost (MC) of Additional User (ต้นทุนส่วนเพิ่มที่ทำให้ความพอใจ
ของผู้บริโภคคนอื่น ¯ เมื่อมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 1 คน) = 0 หรือ
Ø Congestion Cost (ต้นทุนความแออัด) = 0
2. Non-excludable
หมายถึง ไม่สามารถกีดกันผู้บริโภคได้ ถึงแม้ว่าผู้บริโภคไม่จ่ายเงิน กล่าวคือไม่สามารถเก็บเงินโดยตรงจากผู้บริโภคได้


Rival in Consumption Non-rival in Consumption
Excludable 1. Private Goods
สินค้าและบริการเอกชน
Club Goods สินค้าสโมสร 2. Quasi-public Goods
สินค้าและบริการกึ่งสาธารณะ
Non-excludable 3. Quasi-public Goods
สินค้าและบริการกึ่งสาธารณะ 4. Pure Public Goods
สินค้าและบริการสาธารณะที่แท้จริง


ช่องหมายเลข
1. สินค้าและบริการเอกชนทั่วๆ ไปที่ซื้อขายในตลาด เช่น กล้วย ไอสครีม น้ำอัดลม ทางด่วน
2. Cable-TV ทางด่วนที่มีปริมาณการจราจรไม่หนาแน่น
3. ถนนทางหลวงแผ่นดินที่มีปริมาณการจราจรมาก สวนสาธารณะ (วัด) ในเมืองที่มีประชากรมาก (สวนจัตุจักร) ปลาที่กรมประมงปล่อยในแม่น้ำลำคลอง
4. การบริการป้องกันประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล คลื่นวิทยุ คลื่น TV ดาวเทียม ฝนหลวง ประภาคาร (Lighthouse) ไฟที่ให้แสงสว่างตามท้องถนน ทางหลวงแผ่นดินที่มีปริมาณรถน้อย การลดมลภาวะทางอากาศ การรักษาความสงบภายในประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศสวนสาธารณะ (วัด) ขนาดใหญ่ ในเมืองที่มีประชากรน้อย


Ø Private Goods ® กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Ø Quasi-public Goods ® กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้บ้าง แต่ไม่สมบูรณ์เหมือนกรณีของ
Private goods
Ø Pure Public Goods ® กลไกตลาดไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
® Market Failure
® รัฐต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อให้กลไกตลาดสามารถทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
® Market cannot provide pure public goods
® ผู้บริโภคทุกๆ คน จะไม่มีแรงจูงใจที่จะเปิดเผยดีมานด์ (อุปสงค์) ที่แท้จริงของ ตนเอง (Understate True Demand) กล่าวคือผู้บริโภคทุกๆ คนพยายามที่จะเป็น Free Rider (คนที่ตีตั๋วฟรี) แต่อย่างไรก็ตาม หากทุกๆ คนเป็น Free rider หมด ก็จะไม่มีสินค้าบริการสาธารณะให้ใช้ [If everyone tries to free ride, no one gets a ride (Ronald Fisher, 1996)]