ความหมายของอุปสงค์ (demand)
อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อ ณ. ระดับราคาต่างๆ เมื่อปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่
อุปสงค์ส่วนบุคคล คือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ
อุปสงค์ตลาด คือ การนำอุปสงค์ส่วนบุคคลมารวมไว้ด้วยกัน
2.1.2 กฎของอุปสงค์ (law of demand)
กฎของอุปสงค์ คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อสินค้าของผู้บริโภค เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านั้น ปัจจัยอื่นๆ อยู่คงที่ (ceteris paribus = other things being equal)
กฎของอุปสงค์ “เมื่อราคาสินค้าใดเพิ่มขึ้น กำหนดให้สิ่งอื่นๆ อยู่คงที่ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าลดลง ใน ขณะที่ราคาสินค้าลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้นของ
ผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น ”
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎของอุปสงค์
1. แนวคิดที่มีเหตุผลของผู้บริโภค เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการซื้อสินค้านั้นของผู้บริโภคจะลดลง
2. กฎการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ (law of marginal utility) เมื่อผู้บริโภคบริโภคสินค้าใดเพิ่มขึ้น ความพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้านั้นจะลดลง
3. ผลทางรายได้และผลการทดแทน ผลทางรายได้ คือ เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น รายได้อยู่คงที่ ผู้บริโภคซื้อสินค้าลดลง ส่วนผลทางการทดแทน คือ ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคไปซื้อสินค้าอื่นมาใช้ทดแทน
2.2 ตาราง และลักษณะเส้นอุปสงค์
ตารางอุปสงค์ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อ
สินค้าของผู้บริโภคกับระดับราคาต่างๆ
แผนการซื้อ ระดับราคา ปริมาณความต้องการซื้อ
(บาท) (หน่วย)
A 1 10
B 2 8
C 3 6
D 4 4
E 5 2
กราฟแสดงลักษณะเส้นอุปสงค์
เส้นอุปสงค์ ลาดลงจากซ้ายไปขวา (downward slope) หรือ มีความชันเป็นลบ (negative slope) แสดงถึงปริมาณซื้อสินค้ากับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
2.3 ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์
ตัวแปรโดยตรง ตัวแปรโดยอ้อม
QXD = f ( PX, I, PY, T, E , NB, …)
ตัวแปรตาม หรือ
ตัวแปรผล ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ
เมื่อ QXD = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้น
เป็นตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล
ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ แบ่งได้ดังนี้
2.3.1 ราคาสินค้าชนิดนั้น (Price : PX )
กฎของอุปสงค์ แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
2.3.2 ระดับรายได้ของผู้บริโภค (income : I)
รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้น แสดงว่า เป็นสินค้าปกติ (normal good) เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง
รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง แสดงว่า เป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (inferior good) เช่น บะหมี่สำเร็จรูป ข้าวไข่เจียว
2.3.3 ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (price of related good: PY )
ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าอีกชนิดลดลง แสดงว่า เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary good) เช่น ราคาน้ำมันกับรถยนต์
ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคซื้อสินค้าอีกชนิดเพิ่มขึ้น แสดงว่า เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (substitutes good) เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่
2.3.4 รสนิยมของผู้บริโภค (taste : T)
การบริโภคสินค้าของผู้บริโภค แสดงถึง รสนิยม หรือความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้น
2.3.5 การคาดการณ์ของผู้บริโภค (expectation : E)
การคาดการณ์ในเรื่องระดับรายได้ หรือ ระดับราคาสินค้าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2.3.6 จำนวนผู้ซื้อสินค้า (number of buyers : NB)
การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร มีผลกระทบต่อปริมาณการบริโภคสินค้าใดสินค้าหนึ่งได้
QXD = f ( PX, I, PY ,T, E , NB, …) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์กับปริมาณความต้องการซื้อ
2.4 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ และการ
เปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์
การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (a movement along the demand curve) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ เกิดจาก ราคาสินค้า มีการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ (a shift in demand curve/ a change in demand curve) คือ การเปลี่ยนแปลงระดับเส้นอุปสงค์ ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกิดจากตัวแปรอิสระที่กำหนด
อุปสงค์ โดยอ้อม มีการเปลี่ยนแปลง
2.5 ความหมายของอุปทาน และกฎของอุปทาน
2.5.1 ความหมายของอุปทาน (supply)
อุปทาน คือ ปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตเต็มใจทำการผลิต และเสนอขาย ณ ระดับราคาต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
2.5.2 กฎของอุปทาน (law of supply)
กฎของอุปทาน คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายสินค้า กับระดับราคา ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
“เมื่อราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณการเสนอขาย
สินค้าของผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าลดลง
ผู้ผลิตเสนอขายสินค้าลดลง กำหนดให้สิ่งอื่นๆ อยู่คงที่”
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎของอุปทาน
1. แนวคิดในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต คือ ผลกำไรที่นักธุรกิจคาดว่าจะได้รับจากการลงทุน เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น แสดงถึง รายได้ที่นักธุรกิจได้รับเพิ่มขึ้น ทำให้ทำการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น
2. การที่ราคาสินค้าใดเพิ่มขึ้น เป็นการจูงใจให้ผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำการผลิตสินค้า หันมาผลิตสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้น
2.6 ตารางและลักษณะเส้นอุปทาน
ตารางอุปทาน คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายสินค้ากับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตต้องการเสนอขาย เมื่อตัวแปรอื่นๆ อยู่คงที่
แผนการขาย ระดับราคา (บาท) ปริมาณเสนอขาย (หน่วย)
M 1 2
N 2 4
O 3 6
P 4 8
Q 5 10
ปริมาณเสนอขายสินค้ากับระดับราคา มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน (positive slope)
2.7 ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดอุปทาน
ตัวแปรโดยตรง ตัวแปรโดยอ้อม
QXS = f ( PX , PR , PY T, NS, E, …)
ตัวแปรตาม หรือ
ตัวแปรผล ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ
เมื่อ QXS = ปริมาณเสนอขายสินค้าชนิดนั้น
เป็นตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล
ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรเหตุ แบ่งได้ดังนี้
2.7.1 ราคาสินค้าชนิดนั้น (Price : PX )
กฎของอุปทาน แสดงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเสนอขายกับระดับราคา มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
2.7.2 ราคาของปัจจัยการผลิต (resource price : PR)
ถ้าราคาของปัจจัยการผลิต เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง น้ำมัน มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปริมาณเสนอขายสินค้าลดลงได้
2.7.3 ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้อง (price of related good: PY )
เมื่อราคาสินค้าที่ใช้ทดแทนกันเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณเสนอขายสินค้าที่ไม่ได้มีราคาเพิ่มขึ้น มีปริมาณลดลง เช่น ราคารถปิคอัพเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหันไปผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลรถยนต์ลดลง
2.7.4 ระดับเทคโนโลยี (technology : T )
ระดับเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง มีผลต่อปริมาณเสนอขายสินค้า
2.7.5 จำนวนผู้ขายสินค้าในตลาด (number of sellers
: NS) เมื่อจำนวนผู้ขายสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณขายสินค้าเพิ่มขึ้น
2.7.6 การคาดการณ์ในอนาคต (expectation : E)
QXS = f ( PX , PR , PY T, NS, E, …)
2.8 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน และการ
เปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน
การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน (a movement along the supply curve) คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า เกิดจาก ราคาสินค้า มีการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน (a shift in supply curve/ a change in supply curve) คือ การเปลี่ยนแปลงระดับเส้นอุปทาน ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง เกิดจากตัวแปรอิสระที่กำหนดอุปทาน โดยอ้อม มีการเปลี่ยนแปลง
2.9 วิเคราะห์ดุลยภาพระหว่างอุปสงค์ และอุปทาน
ดุลยภาพเกิดขึ้นจากการทำงานของกลไกตลาด กำหนดจาก
อุปสงค์ที่แสดงพฤติกรรมของผู้บริโภค เส้นอุปทานแสดงถึงพฤติกรรมของผู้ผลิต
ตารางแสดงการทำงานของกลไกตลาด
ความต้องการ ราคา ปริมาณเสนอขาย เงื่อนไข การปรับตัว
Demand (Qd) P Supply (QS)
10 1 2 สินค้าขาดตลาด ราคาเพิ่ม
8 2 4 สินค้าขาดตลาด ราคาเพิ่ม
6 3 6 ภาวะดุลยภาพ ราคาคงที่
4 4 8 สินค้าล้นตลาด ราคาลด
2 5 10 สินค้าล้นตลาด ราคาลด
ภาวะดุลยภาพที่เกิดจากอุปสงค์และอุปทาน
ร าคาดุลยภาพ คือ ราคา 3 บาท และปริมาณดุลยภาพ คือ 6 หน่วย
ราคาที่สูงกว่าดุลยภาพ คือ 4-5 บาท เกิดผลผลิตส่วนเกิน (excess supply)
ราคาที่ต่ำกว่าดุลยภาพ คือ 1-2 บาท เกิดความต้องการส่วนเกิน (excess demand)
2.10 การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพที่เกิดจาก
อุปสงค์ หรืออุปทานมีการเปลี่ยนแปลง
2.10.1 การเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณดุลยภาพ เมื่อปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อมมีการเปลี่ยนแปลง
รายได้ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รสนิยมเพิ่มขึ้น ประชากรเพิ่มขึ้น
ข. รายได้ของผู้บริโภคลดลง รสนิยมลดลง ประชากรลดลง
2.10.2 การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพที่เกิดจากอุปทานมีการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงราคาและปริมาณดุลยภาพ เมื่อปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อมมีการเปลี่ยนแปลง
ราคาปัจจัยลดลง ผู้ขายเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทันสมัย
ข. ราคาปัจจัยเพิ่มขึ้น ผู้ขายลดลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงล้าสมัย
2.11 การเข้าแทรกแซงกลไกราคาโดยภาครัฐบาล
2.11.1 การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price) หรือการกำหนดเพดานราคา (price floor) หรือการประกันราคา (price support)
คือ การกำหนดราคาสินค้าสูงสุดโดยภาครัฐบาล ให้ราคาสูงกว่าระดับราคาดุลยภาพที่กำหนดจากกลไกราคา ตัวอย่างสินค้าทางการเกษตร เช่น ลำไย หอม กระเทียม
กลไกการกำหนดราคาขั้นต่ำ
1. จำกัดปริมาณการผลิตสินค้าของผู้ผลิต ให้ผลิตสินค้าในจำนวนที่จำกัด โดยการกำหนดโควต้า (quota) เกิดขึ้น
2. ให้รัฐบาลรับซื้อผลผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ในท้องตลาด แต่เครื่องมือนี้จะมีผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาล
การกำหนดราคาขั้นต่ำ นิยมใช้กับสินค้าทางการเกษตร เช่น ข้าวเปลือก ข้าวโพด อ้อย หอมหัวใหญ่ กระเทียม เนื่องจากเกษตรกรมักมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลรับซื้อผลผลิตในราคาประกัน
นอกจากการประกันราคาสินค้าเกษตร ยังมีการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในตลาดแรงงาน เพื่อให้ค่าจ้างสูงกว่ากลไกตลาด
2.11 การเข้าแทรกแซงกลไกราคาโดยภาครัฐบาล
2.11.2 การควบคุมเพดานราคา (price ceiling)
คือ การกำหนดราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายสินค้าและบริการ โดยกำหนดให้อยู่ต่ำกว่าระดับราคาดุลยภาพ
การควบคุมเพดานราคา นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภค ก่อให้เกิดปัญหาการปันส่วน และปัญหาตลาดมืด (black market) เกิดขึ้น เช่น น้ำตาล ข้าวสาร นำมันพืช โดยสินค้าราคาพิเศษ มีการจำกัดปริมาณการบริโภคของประชาชน