Custom Search
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบการแลกเปลี่ยน (trade systems) แบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ

1. ระบบการแลกเปลี่ยนการแลกระหว่างสิ่งของต่อสิ่งของหรือสินค้ากับสินค้า (barter system) ต้องมีเงื่อนไขในการแลก เช่น การแลกผลไม้ กับสินค้าทะเล ข้าวสารกับผัก หมูกับเนื้อหรือไก่ ยางพารากับปลาร้า เป็นต้น เรียกระบบเช่นนี้ว่า เป็นระบบการแลกเปลี่ยนแบบ "ยื่นหมู ยื่นแมว" หรือ "หมูไป ไก่มา"

ปัญหาและอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนในระบบนี้ มีหลายประการ จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมกันแต่ในช่วงรัฐบาลของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้นำหลักการแลกเปลี่ยนสินค้าแบบนี้มาใช้เพื่อแลกเปลี่ยนผลผลิตที่มีมากเกินความต้องการโดยให้จังหวัดกับจังหวัดจับคู่กันเป็นคู่ค้าเพื่อถ่ายเทผลผลิตที่มีอยู่เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ดังที่มีการโฆษณาในโทรทัศน์อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้เห็นการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนกับชุมชน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามมีปัญหาและอุปสรรค ในการแลกเปลี่ยนแบบนี้เกิดขึ้น เช่น
- ความต้องการไม่ตรงกัน
- ยุ่งยากในการกำหนดราคา
- ยุ่งยากในการเก็บรักษา สินค้าบางอย่างเสื่อมสภาพง่าย
- ยุ่งยากในการขนส่ง เพราะสินค้าต่างกันการขนส่งมีเทคนิคต่างกัน เช่น ในการขนส่งข้าวไปเพื่อแลกเอาปลาสดกลับมา เป็นต้น
- ไม่สามารถใช้กู้ยืมและชำระหนี้ เช่น ยืมไก่ 1 ตัว 5 วัน เมื่อถึงเวลาใช้คืน สภาพไก่ก็เปลี่ยนแปลงไป การเอาไก่ตัวใหม่มาคืนอาจไม่เหมือนเดิม
- สินค้าบางประเภทแยกเป็นส่วนย่อยไม่ได้ เช่น วัวที่มีชีวิต ต้องแลกทั้งตัว จะตัดแบ่งออกเป็นครึ่งตัวไม่ได้

2. ระบบแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตรา (monetary) เงินตรา คือ สิ่งสร้างสรรค์ที่มีรูปแบบพิเศษ เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ณ เวลาที่มีการยอมรับระหว่างกัน (สุภัททา ปิณฑะแพทย์) เงินตรา มีรูปแบบ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นธนบัตรและชนิดที่เป็นเหรียญ

2.1 คุณสมบัติของเงินตรา เงินตรา มีชื่อเรียกสกุล เช่น บาท ดอลลาร์ เปโซ ริงกิต มีการกำหนดอัตราที่นำมาแลกเปลี่ยนกันได้
2.2 เงินตรามีหน้าที่ทางธุรกิจ ได้แก่
1) เป็นตัววัดมูลค่า (measure of value)
2) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (medium of exchange)
3) เป็นตัวชำระหนี้สิน (standard of deferred payment)
4) เป็นตัวรักษามูลค่า (store of value)
5) เป็นตัวโอนย้ายมูลค่า (transfer of value)
2.3 คุณสมบัติของเงินที่ดี ได้แก่
1) ยอมรับโดยทั่วไปให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าได้
2) สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลได้
3) มีมูลค่าคงตัว
4) มีความคงทน ไม่ยุ่ยหรือเสียหายได้ง่าย
5) พกพาหรือขนย้ายได้ง่าย

3. ระบบแลกเปลี่ยนโดยใช้เครดิต (credo) เครดิต หรือ หนี้ หรือสินเชื่อ (credit or debt) เป็นสิ่งเดียวกัน ผู้มีเครดิต คือผู้ได้รับการไว้วางใจให้เป็นหนี้ได้ เครดิตเพื่อการลงทุน investment เพื่อการพาณิชย์ (commercial) เพื่อการบริโภค (consumption)

เครดิตตามระยะเวลา ได้แก่ เครดิตระยะยาว (long term) ระยะปานกลาง (medium term) ระยะสั้น (short term) ซึ่งเรียกคืนได้ทันทีตามความต้องการ (demand) เครดิตสาธารณะ (public) และเครดิตเอกชน (private)

เครื่องมือที่ใช้เพื่อการได้รับเครคิต ได้แก่ สัญญาปากเปล่า (verbal agreement credit)

เครดิตในบัญชี (book credit) ซึ่งได้แก่ ใบส่งสินค้าหรือเอกสารขนส่งสินค้า เอกสารการเงินเครดิต (financial credit) ซึ่งได้แก่ เช็ค ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาแลกเปลี่ยน (contract agreement credit) ซึ่งได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ สัญญาขายฝาก

8 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

รอนานไปนะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

5555+ผมสั่ง คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เลยผมรอนานแล้วน่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมชื่อ พรชัย หินเกล็ด

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มาๆๆsf ไหม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมเรียน ป.ค.น่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

มาๆๆๆๆๆๆ ผม ยศ 5ดาวแล้วน่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

pb ป่ะ

https://play.google.com/web/store/apps/details?id=com.kasikorn.retail.mbanking.wap&hl=th4162026100382846ID:40109260กสิกรไทย0098426582นายชาตรี โกฏิค้างพลู0809385067 กล่าวว่า...

0571187819140692914785

แสดงความคิดเห็น