ความต้องการของมนุษย์เกิดจากปัญหาความขาดแคลนทรัพยากร ที่ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการให้ความต้องการนั้นอยู่ในสภาพที่สมดุล โดยยึดหลักทางเศรษฐศาตร์มาเป็นตัวกำกับเพื่อจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความลงตัว โดยการแสวงหาทางเลือกเปรียบเทียบประโยชน์และความคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น การเลือกวิธีการเดินทาง จะเดินทางโดยวิธีใด ซึ่งอาจมีให้เลือกหลายทางก็จริง แต่ในที่สุดแล้วก็จะเหลือเพียงตัวเลือกแค่ 2 ตัวเลือกเท่านั้น เมื่อขับรถยนตร์ไปถึงทางด่วน ต้องตัดสินใจว่าจะขึ้นหรือไม่ขึ้นทางด่วน วิธีการตัดสินใจคือ การขึ้นทางด่วนจะคุ้มค่าหรือไม่ ด้วยการวิเคราะห์ "ได้" คือ ถึงที่หมายเร็วขึ้น ประหยัดน้ำมันขึ้น "เสีย" คือ เสียเงิน 40 บาท "เสีย" สละความสุขที่เงิน 40 บาทสามารถซื้อให้ได้ ผลของการตัดสินใจจะเกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง "เสีย" และ "ได้" เป็นต้น (วรากรณ์ สามโกเศศ, 2549) การเลือกไม่ว่าจะเป็นการเลือกอย่างไร ย่อมต้องมีต้นทุนของการเลือกเสมอ ต้นทุนอาจเป็นการเสียโอกาสทั้งสิ้น ดังคำกล่าวที่ว่า ไม่มีของฟรีในโลกนี้
ในการเลือกซื้อหรือเลือกแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดได้ประโยชน์มากที่สุดจากตัวเลือกที่มีอยู่อาจเป็นการเลือกที่ยังเป็นไปในเชิงเศรษฐศาสตร์นัก เพราะยังไม่ได้คิดถึงสิ่งที่จำเป็นอย่างอื่น ๆ ที่จะเสาะแสวงหาได้จากจำนวนเงินที่มีอยู่เพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด เช่น ถ้ามีเงิน 3,000 บาท ควรจะนำไปทำอะไรให้ได้ผลตอบแทนหรือกำไรมากที่สุด ผลตอบแทนหรือกำไรนั้นอาจเป็นได้ทั้งรูปธรรม เช่น อาหาร เครื่องใช้ หรือ เป็นนามธรรม เช่น ความสุข ก็ได้
การคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น มีปัจจัยรอบด้านที่เป็นองค์ประกอบในการคิด เช่น การซื้อบ้าน ควรจะซื้อด้วยเงินสด หรือเงินผ่อน ค่าของเงินในอนาคต อัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน หรือการซื้อรถยนต์มือสอง เมื่อเทียบกับการซื้อรถยนต์มือหนึ่ง เป็นต้น การบริหารจัดการด้านการเงินจึงต้องใช้หลักคิดทางเศรษฐกิจ ซึ่งความล้มเหลวของการบริหารด้านการเงินนั้นจะเห็นได้จากบทเรียนที่ให้ข้อคิดจาก "สามล้อถูกหวย" เศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวช้องกับการเลือกและการคิดตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะของการคิดที่ประกอบด้วยค่านิยมรวมทั้งแรงกดดันทางสังคมด้วย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น