Custom Search
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

industrials’ external obstacles

อุปสรรคภายนอกอุตสาหกรรม (industrials’ external obstacles) ประกอบด้วย
1. เศรษฐกิจภายในประเทศของลูกค้า
2. ความต้องการของลูกค้า
3. การแข่งขันราคาในตลาดของลูกค้า
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีรายได้ ภาษีชดเชยมุมน้ำเงิน ภาษีนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ (Gereffi, 2003, pp. 1-46) ขณะเดียวกัน ภาษียังมีผลต่อการทำกำไรและการเร่งส่งออกของกิจการมากขึ้น (Kumar & Siddarthan, 1993, p. 9)
5. ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะต้นทุนสาธารณูปโภคเกี่ยวข้องกับน้ำมันและอัตราค่าจ้าง มีผลต่อการลดต้นทุนสินค้าให้ต่ำลง ซึ่งต่อเนื่องถึงการเติบโตของอุตสาหกรรม (Brookstein, 1997, pp. 79-81) และการส่งออก อีกทั้งยังมีความสำคัญสำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยผู้รับจ้างผลิตในท้องถิ่น (Lau, 2000, pp. 1-6) ที่ต้องอาศัยการขนส่งเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบแข่งขัน (Hill, 1998, pp. 34, 56) และการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในอินเดีย (Baden, 2001, p. 37) เป็นไปตาม ทฤษฎีลูกโซ่มูลค่าของ Porter (1990, p. 43) ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น และทฤษฎี Domino ของ Heinrich คือ การเกิดข้อบกพร่องหรือปัญหา ณ จุดใดย่อมเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ได้
6. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ฉลองภพ สุสังกรณ์กาญจน์, ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี, ปราณี ทินกร, จารุณี เติมไพบูลย์, ปนิษฐา พัวพันวัฒนะ, ดวงฤดี ศิริเสถียร, จิรัตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, พรทิพย์ หล่อไพบูลย์ และกำชับ นพคุณ, 2541, หน้า 27-31, 55-59, 77)
7. มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อผลักดันการส่งออกเสื้อผ้า โดยเฉพาะการจัดสรรโควต้าส่งออก
8. วัตถุดิบภายในประเทศมีราคาแพง เพราะไม่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำสนับสนุนและมีการพัฒนาที่น้อยมาก เช่น ฝ้าย ส่วนผ้าทอและผ้าใยสังเคราะห์ เป็นวัตถุดิบหลักของตลาดในภูมิภาคเอเชีย (Girrbach, 2000, p. 1) ทำให้ทั้งคุณภาพและเวลาส่งมอบไม่ตรงตามคำสั่งซื้อและไม่มีความทันสมัย ซึ่ง Patrawart (อ้างถึงใน Baden, 2001, p. 34) พบว่า อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าของไทยส่วนใหญ่ ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบ แต่การนำเข้ามาต้องประสบกับมาตรการการควบคุมของภาครัฐในการนำเข้าสูง เช่น เก็บภาษีสูงหรือ จำกัดปริมาณ เพื่อกีดกันหรือควบคุมมากขึ้นในการนำเข้า ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงแล้วยังมีราคาที่ไม่ยุติธรรมต่อการใช้แหล่งวัตถุดิบ (material sources) เป็นกลยุทธ์ กล่าวคือ การใช้วัตถุดิบใหม่ที่มีราคายุติธรรม มีคุณภาพและเวลาส่งมอบที่เชื่อถือ ทำให้สินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นที่ต้องการของตลาด เช่นเดียวกับการศึกษาของ (Lal, 1999, pp. 1, 17-20) พบว่า วัตถุดิบมีผลต่อการส่งออก
9. ดอกเบี้ยจ่ายสูง ทั้งนี้เพราะวงเงินกู้เพื่อส่งออกสูง ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสี่ยง (จรัล มงคลจันทร์, 2544; Moen, 2001) ดังนั้น การจัดการแหล่งเงินทุน จึงไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลางเพื่อส่งออก (Moen, 2001) ทำนองเดียวกันอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปขนาดเล็กและกลางของไทยส่วนใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2537-2538 ใช้การจัดการสภาพคล่องทางการเงิน กรณีฉุกเฉินและขยายกิจการโดยอาศัยการเงินนอกระบบจาก ญาติ เพื่อน วงเงินแชร์ การขายลดเช็คที่มีดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าธนาคารและจากสถาบันการเงินในระบบที่มีดอกเบี้ยร้อยละ 14-18 ต่อตั๋วส่งออก (L/C) ที่มีความยุ่งยากและค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชีย (ฉลองภพ สุสังกรณ์กาญจน์ และคนอื่น ๆ, 2541, หน้า 99) นอกจากการพัฒนาใช้อุปสรรคภายนอก เพื่อสร้างการเติบโตและมีกำไรมากขึ้นผู้บริหารควรพัฒนาปัญหาภายในอุตสาหกรรม เพื่อให้กิจการเติบโตเพิ่มมากยิ่งขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น