Custom Search
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การวางแผนกำลังการผลิต

การผลิตได้ในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งของการบริหารการผลิต ซึ่งการที่จะสามารถผลิตได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ต้องอาศัยทรัพยากรขององค์การหลายอย่าง อันได้แก่ เงินทุน วัตถุดิบ แรงงาน ตลอดจนเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากทรัพยากรขององค์การมีอยู่อย่างจำกัดจึงต้องวางแผนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจนโรงงานซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ทำการผลิต ต้องอาศัยเงินลงทุนจำนวนมาก และใช้เวลาในการคืนทุนนาน

ดังนั้น การวางแผนและจัดการด้านกำลังการผลิต ซึ่งเป็นการวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับขนาดของโรงงานหรือสถานที่ทำการผลิต จำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจำนวนคนงานที่เหมาะสม จึงเป็นภาระงานสำคัญของการบริหารการผลิต โดยต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ต่อองค์การในระยะสั้นควบคู่กับระยะยาว และใช้ปัจจัยเชิงปริมาณเป็นหลักในการพิจารณาประกอบกับปัจจัยเชิงคุณภาพให้องค์การมีกำลังการผลิตที่เหมาะสม ไม่เกิดปัญหาการผลิตได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเพราะกำลังการผลิตน้อยเกินไป และไม่เกิดปัญหาเครื่องจักรมากเกินไปจนกลายเป็นความสูญเปล่า เพราะกำลังการผลิตมากเกินไป

ความหมายของกำลังการผลิตและการวัดกำลังการผลิต

กำลังการผลิต (capacity) คือ อัตราสูงสุดที่ระบบการผลิตสามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงเวลาหนึ่งของดำเนินงาน การวัดกำลังการผลิต สามารถกระทำได้ 2 ทาง คือ
1. การวัดกำลังการผลิตจากผลผลิต
การวัดกำลังการผลิตจากผลผลิตจะใช้เมื่อผลผลิตจากกระบวนการสามารถนับเป็นหน่วยได้ง่าย ได้แก่ สินค้าที่มีตัวตน (tangible goods) ซึ่งจะเน้นการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์ (product - focused) เช่น การวัดกำลังการผลิตของโรงงาน โดยนับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ต่อปี (โรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้า) นับจำนวนนมกล่องที่ผลิตได้ต่อวัน (โรงงานนมสดเมจิ) นับจำนวนลิตรของน้ำมันที่กลั่นได้ต่อเดือน (โรงงานกลั่นน้ำมันไทยออยล์) เป็นต้น
2. การวัดกำลังการผลิตจากปัจจัยการผลิต
การวัดกำลังการผลิตจากปัจจัยการผลิต จะใช้เมื่อผลผลิตจากกระบวนการนับเป็นหน่วยได้ยากหน่วยของผลิตภัณฑ์ไม่ชัดเจน ได้แก่ การบริการต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการผลิตแบบตามการะบวนการ เช่น การวัดกำลังการผลิตของร้านบิวตี้ซาลอนจากจำนวนช่างตัดผม การวัดกำลังการผลิตของโรงพยาบาลจำนวนเตียงคนไข้ การวัดกำลังการผลิตของร้านอัดขยายภาพจากจำนวนชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร เป็นต้น

แม้ว่าองค์การจะมีกำลังการผลิตเป็นอัตราสูงสุดที่จะสามารถผลิตได้ แต่ในการปฏิบัติงานจริงอัตราการผลิตมักจะต่ำกว่ากำลังการผลิต เพราะจะต้องคำนึงถึงการหยุดพักหรือการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อถนอมไว้ใช้งานได้ในระยะยาวมากกว่าการเล็งผลในระยะสั้นเท่านั้น การใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่มักจะเกิดต้นทุนการทำงานล่วงเวลาในกะพิเศษหรือการลดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ตามแผนที่กำหนดไว้ประจำหรือ การใช้ผู้รับสัญญาช่วง ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้นกำลังการผลิตที่เต็มที่จะถูกใช้จริงก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นและไม่เกิดขึ้นบ่อยนักภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

ข้อควรคำนึงในการวางแผนกำลังการผลิต

การวางแผนกำลังการผลิตจึงต้องคำนึงถึงกำลังการผลิตที่เกิดประสิทธิผลอันแท้จริงซึ่งต้องพิจารณาจาก

1. Peak capacity หรือ Design capacity เป็นกำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งมักไม่ได้ใช้ในการปฏิบัติงานจริง เพราะเป็นการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์เต็มที่โดยไม่คำนึงถึงการหยุดพักหรือการบำรุงรักษาเลย
2. Rated capacity เป็นอัตราการผลิตสูงสุดที่ทำได้หลังจากหักลบส่วนการหยุดพักซ่อมแซมบำรุงรักษาแล้ว
3. Effective capacity เป็นอัตราการผลิตสูงสุดที่ผ่ายการผลิตสามารถกระทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ประหยัดได้ ภายใต้สภาวการณ์การผลิตปกติ (normal condition)

การวัดกำลังการผลิตที่ประหยัด การวัดกำลังการผลิตที่ประหยัดซึ่งมีการวางแผนไว้ในสภาวการณ์การผลิตปกติ จึงวัดจาก utilization ซึ่งเป็นระดับเครื่องจักรอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิตที่คาดหวังไว้ว่าจะประหยัดต้นทุนได้

อย่างไรก็ดีในการปฏิบัติงานจริง utilization อาจเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่จะทำให้อัตราการผลิตจริงที่เกิดขึ้นน้อยกว่าอัตราการผลิตที่คาดหวัง จึงต้องวัด effective ซึ่งเป็นระดับที่กำลังการผลิตถูกใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ดังนั้น อัตราการผลิตที่แท้จริง ซึ่งจะเท่ากับ rated capacity หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า nominal capacity จะเท่ากับผลคูณของกำลังการผลิตสูงสุดกับ utilization และ effective

กำลังการผลิตที่สูงสุดที่องค์การมีอยู่นั้นจะถูกใช้ปฏิบัติการผลิตให้ได้ผลผลิตเท่าใด ย่อมขึ้นอยู่กับระดับการผลิตที่ตั้งไว้ให้เกิดต้นทุนการผลิตที่ประหยัดซึ่งคาดหวังเอาไว้ (utilization) และความมีประสิทธิภาพ (effective) ของระดับการผลิตที่คาดหวังไว้นั้นบังเกิดผลเพียงใดด้วยการที่องค์การจะกำหนดระดับการผลิตเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกองค์การที่มีผลต่อการตัดสินใจหลายประการ ปัจจัยภายในองค์การที่ใช้กำหนดระดับกำลังการผลิตที่สำคัญคือ เงินทุนและแนวนโยบายขององค์การ
ปัญหาภายในอุตสาหกรรม (industrials’ internal problems) ประกอบด้วย
1. เงินทุนหมุนเวียนฉุกเฉิน (Baden, 2001, pp. 14-15)
2. เงินทุนหมุนเวียนในการขยายกิจการ
3. การจ่ายเงินค่าสินค้าของลูกค้า
4. แรงงานฝีมือ หมายรวมถึง ความรู้ ทักษะ ความพร้อมต่อการปรับตัวตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของช่างเย็บ ออกแบบ วาดแบบ ตัดผ้า (Baden, 2001, pp. 8, 20) และการขาดแคลน (ชวลิต นิ่มละออ, 2540, หน้า 133)
5. การผลิตที่ไม่ตรงตามคำสั่งซื้อของลูกค้า
6. เทคโนโลยี เครื่องจักรและความคิดใหม่ ๆ
7. การลำดับขั้นตอนการเย็บหรือผลิต
8. การลำดับขั้นตอนการนำเสนอในการขาย
9. การลำดับขั้นตอนการส่งออก
10. ตัวอย่างสินค้าที่ใช้นำเสนอต่อลูกค้าเพื่อส่งออก
11. ประสบการณ์ของหน่วยงานขายของกิจการ
12. กลยุทธ์ตลาดที่ใช้แข่งขัน (คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ, 2541, หน้า 40-42; ชวลิต นิ่มละออ, 2540, หน้า ค-ฉ; สมชาย สกุลสุรรัตน์, 2545, หน้า 154-157; Sevilla & Soonthornthada, 2000, pp. 1-43) นอกจากการพัฒนาใช้อุปสรรคภายนอกและปัญหาของอุตสาหกรรมเพื่อสร้างการเติบโตและมีกำไรมากขึ้น ผู้บริหารควรพัฒนาลักษณะตลาดของกิจการ เพื่อให้กิจการเติบโตเพิ่มมากยิ่งขึ้น

industrials’ external obstacles

อุปสรรคภายนอกอุตสาหกรรม (industrials’ external obstacles) ประกอบด้วย
1. เศรษฐกิจภายในประเทศของลูกค้า
2. ความต้องการของลูกค้า
3. การแข่งขันราคาในตลาดของลูกค้า
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีรายได้ ภาษีชดเชยมุมน้ำเงิน ภาษีนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ (Gereffi, 2003, pp. 1-46) ขณะเดียวกัน ภาษียังมีผลต่อการทำกำไรและการเร่งส่งออกของกิจการมากขึ้น (Kumar & Siddarthan, 1993, p. 9)
5. ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะต้นทุนสาธารณูปโภคเกี่ยวข้องกับน้ำมันและอัตราค่าจ้าง มีผลต่อการลดต้นทุนสินค้าให้ต่ำลง ซึ่งต่อเนื่องถึงการเติบโตของอุตสาหกรรม (Brookstein, 1997, pp. 79-81) และการส่งออก อีกทั้งยังมีความสำคัญสำหรับการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยผู้รับจ้างผลิตในท้องถิ่น (Lau, 2000, pp. 1-6) ที่ต้องอาศัยการขนส่งเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบแข่งขัน (Hill, 1998, pp. 34, 56) และการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในอินเดีย (Baden, 2001, p. 37) เป็นไปตาม ทฤษฎีลูกโซ่มูลค่าของ Porter (1990, p. 43) ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น และทฤษฎี Domino ของ Heinrich คือ การเกิดข้อบกพร่องหรือปัญหา ณ จุดใดย่อมเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ได้
6. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ฉลองภพ สุสังกรณ์กาญจน์, ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี, ปราณี ทินกร, จารุณี เติมไพบูลย์, ปนิษฐา พัวพันวัฒนะ, ดวงฤดี ศิริเสถียร, จิรัตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, พรทิพย์ หล่อไพบูลย์ และกำชับ นพคุณ, 2541, หน้า 27-31, 55-59, 77)
7. มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อผลักดันการส่งออกเสื้อผ้า โดยเฉพาะการจัดสรรโควต้าส่งออก
8. วัตถุดิบภายในประเทศมีราคาแพง เพราะไม่มีอุตสาหกรรมต้นน้ำสนับสนุนและมีการพัฒนาที่น้อยมาก เช่น ฝ้าย ส่วนผ้าทอและผ้าใยสังเคราะห์ เป็นวัตถุดิบหลักของตลาดในภูมิภาคเอเชีย (Girrbach, 2000, p. 1) ทำให้ทั้งคุณภาพและเวลาส่งมอบไม่ตรงตามคำสั่งซื้อและไม่มีความทันสมัย ซึ่ง Patrawart (อ้างถึงใน Baden, 2001, p. 34) พบว่า อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าของไทยส่วนใหญ่ ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบ แต่การนำเข้ามาต้องประสบกับมาตรการการควบคุมของภาครัฐในการนำเข้าสูง เช่น เก็บภาษีสูงหรือ จำกัดปริมาณ เพื่อกีดกันหรือควบคุมมากขึ้นในการนำเข้า ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบสูงแล้วยังมีราคาที่ไม่ยุติธรรมต่อการใช้แหล่งวัตถุดิบ (material sources) เป็นกลยุทธ์ กล่าวคือ การใช้วัตถุดิบใหม่ที่มีราคายุติธรรม มีคุณภาพและเวลาส่งมอบที่เชื่อถือ ทำให้สินค้าแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นที่ต้องการของตลาด เช่นเดียวกับการศึกษาของ (Lal, 1999, pp. 1, 17-20) พบว่า วัตถุดิบมีผลต่อการส่งออก
9. ดอกเบี้ยจ่ายสูง ทั้งนี้เพราะวงเงินกู้เพื่อส่งออกสูง ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันความเสี่ยง (จรัล มงคลจันทร์, 2544; Moen, 2001) ดังนั้น การจัดการแหล่งเงินทุน จึงไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลางเพื่อส่งออก (Moen, 2001) ทำนองเดียวกันอุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปขนาดเล็กและกลางของไทยส่วนใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2537-2538 ใช้การจัดการสภาพคล่องทางการเงิน กรณีฉุกเฉินและขยายกิจการโดยอาศัยการเงินนอกระบบจาก ญาติ เพื่อน วงเงินแชร์ การขายลดเช็คที่มีดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าธนาคารและจากสถาบันการเงินในระบบที่มีดอกเบี้ยร้อยละ 14-18 ต่อตั๋วส่งออก (L/C) ที่มีความยุ่งยากและค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชีย (ฉลองภพ สุสังกรณ์กาญจน์ และคนอื่น ๆ, 2541, หน้า 99) นอกจากการพัฒนาใช้อุปสรรคภายนอก เพื่อสร้างการเติบโตและมีกำไรมากขึ้นผู้บริหารควรพัฒนาปัญหาภายในอุตสาหกรรม เพื่อให้กิจการเติบโตเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีการออม

ตามแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการออม (saving) มีนักเศรษฐศาสตร์กล่าวไว้หลายทฤษฎีด้วยกัน โดยรายละเอียดของทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, 2547, หน้า 20-24)



ทฤษฎีการออมกับกระแสรายได้และรายจ่าย

ระดับรายได้เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสามารถในการออมทรัพย์ ตามทฤษฎีการใช้จ่ายอุปโภคบริโภค (การออมทรัพย์) ของ Keynes การออมทรัพย์มีความสัมพันธ์กับรายได้ภายหลังหักภาษี ถ้ารายได้หลังหักภาษีสูงขึ้นความสามารถในการออมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อรายได้หลังหักภาษีเพิ่มสูงขึ้นแล้ว การออมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการกระจายของรายได้อีกด้วย ซึ่งสามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ที่สามารถใช้สอยได้จริง ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และปริมาณการออมได้ดังนี้

Y = C + S
กำหนดให้ Y = รายได้ที่สามารถจับจ่ายใช้สอยได้จริง
C = ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
S = ปริมาณการออม




ทฤษฎีการออมกับระดับราคา

ระดับราคาก็เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมทรัพย์ ถ้าระดับราคาสินค้าสูงขึ้นอำนาจในการซื้อจะลดลง นั่นหมายถึงการใช้จ่ายเงินจำนวนเท่าเดิมจะซื้อสินค้าได้น้อยลง ดังนั้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่แท้จริงจะลดลง หรือการออมที่แท้จริงจะเพิ่มสูงขึ้น การออมที่แท้จริงก็ยังคงเพิ่มขึ้นได้ ตราบเท่าที่การใช้จ่ายอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นช้ากว่าการเพิ่มขึ้นของระดับราคา ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ถ้าผู้บริโภคคาดว่าระดับราคาสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างถาวรเป็นระยะเวลานาน ก็อาจคาดได้ว่า ในอนาคตระดับราคาสินค้าจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในปัจจุบันมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการออมมีระดับลดลง




ทฤษฎีการออมกับอัตราดอกเบี้ย

จากการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการออมกับระดับรายได้เป็นหลักแล้ว นอกจากระดับรายได้ตามทฤษฎี อัตราดอกเบี้ยก็สามารถส่งผลกระทบต่อปริมาณการออมได้เช่นกัน ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยในทรรศนะของนักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกแล้วถือว่าอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการออมได้ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่เป็นบวกจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ออมทำการออมมากขึ้น การออมที่แท้จริงผันแปรไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นการออมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

ฟังก์ชันการออมตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของสำนักคลาสสิก แสดงได้ดังนี้
S = S(r)
กำหนดให้ S = การออมที่แท้จริง
r = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

1. กฎเกณฑ์ที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศมีดังนี้ คือ
- ประเทศสมาชิกทั้งหลายจะต้องกำหนดค่าเสมอภาคระหว่างเงินตราของตนกับทองคำและเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
- ประเทศสมาชิกมีภาระที่จะต้องรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของตนมิให้เปลี่ยนแปลงไปจากค่าเสมอภาค ทั้งทางเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละกรณีไม่เกินกว่าร้อยละ 25
- ประเทศสมาชิกจะเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคได้เมื่อดุลการชำระเงินขาดเสถียรภาพมาเป็นระยะเวลานาน
2. กองทุนทรัสต์ ตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อบุคลต่ำและประสบปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุล
กองทุนเสริมตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือระยะปานกลางแก่ประเทศที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน อันเกิดจากปัญหาโครงสร้างการผลิตและการค้าต่างประเทศ จนทำให้มีความจำเริญทางเศรษฐกิจในระดับต่ำ
3. กองทุนการเงินระหว่างประเทศมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการดังต่อไปนี้คือ
- ให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาทางเศรษฐกิจและแนวทางแก้ไข
- ให้ความรู้ทางวิชาการเงินและการคลังแก่ประเทศสมาชิก โดยการจัดการฝึกอบรมเป็นครั้งคราว
- ให้ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก

ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา
1. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนาจัดตั้งขึ้นมาโดยวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อช่วยเหลือบูรณะและพัฒนาประเทศสมาชิก
- เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในต่างประเทศของเอกชน
- เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างมีระเบียบในระยะยาว และให้มีเสถียรภาพในเรื่องดุลภาพการชำระเงินระหว่างประเทศ
2. บทบาททางด้านการบูรณะและพัฒนาของธนาคารระหว่างประเทศ เพื่อการบูรณะและพัฒนาก็คือ ธนาคารนี้จะให้เงินกู้เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยในระยะแรกได้ให้ประเทศในยุโรปกู้เพื่อนำไปบูรณะประเทศ ต่อมาได้ให้ประเทศกำลังพัฒนากู้ไปเพื่อการพัฒนาประเทศ และในภายหลังนี้ ได้ขยายเงินกู้ไปให้แก่การกู้ที่ไม่เกี่ยวกับโครงการและเงินกู้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างด้วย ซึ่งนับว่าเป็นแนวคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาทใหม่ของธนาคาร

1. ภาวะความยุ่งยากทางการเงินของประเทศต่าง ๆ ภายหลังสงครามโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ เห็นพ้องกันว่า ควรจะมีการจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศขึ้น เพื่อให้ระบบการเงินระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ ปราศจากการแข่งขันการลดอัตราแลกเปลี่ยน
2. สถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่มีบทบาททางด้านการบูรณะและพัฒนา บทบาททางด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และบทบาทในการให้คำแนะนำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศต่าง ๆ
3. กองทุนการเงินระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกทางด้านการค้า ส่งเสริมให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีเสถียรภาพ และช่วยขจัดปัญหาความไม่สมดุลของดุลการชำระเงินในประเทศต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศมีสมาชิกมากกว่า 140 ประเทศ
4. บทบาทที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้แก่ การให้ประเทศต่าง ๆ รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ในด้านการปรับดุลการชำระเงิน และการประคับประคองให้ระบบการเงินระหว่างประเทศเข้ากับนโยบายการเงินของแต่ละประเทศ

ตลาดเงินตราต่างประเทศ
1. ตลาดเงินตราต่างประเทศทำหน้าที่ด้านต่าง ๆ ดังนี้คือ
- หน้าที่ในการโอนอำนาจซื้อ
- หน้าที่ในการให้สินเชื่อ
- หน้าที่ในการช่วยลดความเสี่ยง
2. ประเทศสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของตลาดเอเชียดอลล่าร์เนื่องมาจากประเทศสิงคโปร์ได้มีการปรับปรุงระเบียบการเงินที่ล้าหลังและก่อให้เกิดความไม่สะดวกให้มีความทันสมัยมากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการเก็บภาษีเงินได้ของเงินฝากชาวต่างประเทศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีความได้เปรียบทางด้านระบบการควบคุมการสื่อสารมากกว่าประเทศอื่นในทวีปเอเชีย

การเปลี่ยนแปลงค่าของเงินระหว่างประเทศ
การลดค่าเงิน หมายถึง การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคในเงินตราสกุลของตนให้ต่ำลง เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาและทองคำ
การที่ประเทศไทยลดค่าเงินบาทลงจะมีผลทำให้ราคาสินค้านำเข้าราคาสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าส่งออกจะต่ำลง ซึ่งจะทำให้ประชาชนในประเทศซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง ชาวต่างประเทศจะซื้อสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น ในที่สุดเงินตราจะไหลเข้าประเทศมากขึ้น ดุลการชำระเงินในประเทศไทยจะดีขึ้น