เงินกองทุน (Capital) หมายถึง ส่วนของเจ้าของ ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ และกำไรสะสม รวมถึงเงินสำรองตามกฎหมาย เงินกองทุนที่มีไว้เพื่อรองรับความเสียหายจากการดำเนินงานของสถาบันการเงิน เช่น การกันสำรองเมื่อเกิดหนี้เสีย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง
เงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1 Capital) หมายถึง ส่วนของทุนที่เป็นหุ้นจดทะเบียนและเรียกชำระค่าหุ้นแล้ว โดยรวมกำไรและขาดทุนสะสมจากการดำเนินงานในแต่ละงวดบัญชีไว้ด้วย เงินกองทุนชั้นที่ 1 นี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากผลการประกอบการของสถาบันการเงิน หรือเพิ่มขึ้นเนื่องจากนำหุ้นใหม่ออกขาย
เงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier 2 Capital) หมายถึง ทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นชั่วคราว และอาจแปลงสภาพเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้ในบางกรณี เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพหรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ระยะยาว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงสำรองที่เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์ถาวรด้วย
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital Adequacy Ratio--CAR) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน เพื่อแสดงถึงความมั่นคงและสามารถรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ปัจจุบันรัฐบาลกำหนดอัตราส่วนดังกล่าวตามมาตรฐาน BIS ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สากลยอมรับ โดยทั่วไปอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงแสดงถึงการที่สถาบันการเงินนั้นมีความมั่นคงและสามารถรองรับผลขาดทุนที่จะเกิดจากการประกอบกิจการและสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้อีกมาก
การกันสำรอง (Provisioning) เป็นวิธีการที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องกันเงินส่วนทุนไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อหรือลงทุน ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนความเสียหายที่คาดคะเนได้จากหนี้เสียที่เกิดขึ้นจากสินเชื่อที่สถาบันการเงินได้ให้ไปแล้ว จำนวนเงินที่กันสำรองไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะมีผลกระทบต่อกำไรขาดทุนของสถาบันการเงิน หากมีจำนวนมากจนทำให้สถาบันการเงินนั้นประสบภาวะขาดทุน ก็จะมีผลกระทบทำให้เงินกองทุนลดลงในที่สุด ดังนั้นเพื่อให้สถาบันการเงินดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนใหม่
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินหรือ บบส. (Asset Management Corporation--AMC) เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารและฟื้นฟูสินทรัพย์ที่รับโอนมาจากสถาบันการเงินที่มีปัญหา ให้มีคุณภาพดีขึ้นจนสามารถขายให้ผู้สนใจได้ ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีปัญหาของแต่ละสถาบันการเงินขึ้นเองเพื่อให้แยกหนี้เสียออกจากสถาบันการเงินนั้นไปบริหารต่างหากได้
Purchase and Assumption (P & A) เป็นวิธีการที่สถาบันการเงินแห่งหนึ่งเข้ารับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์และหนี้สิน ได้แก่ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ฝากเงินจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่งแห่งใด หรือหลายแห่ง การรับซื้อหรือรับโอนนี้จะรับทั้งหมดหรือรับเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน และจะไม่มีผลกระทบต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ฝากเงินที่ถูกซื้อหรือถูกโอนไป วิธีการนี้จึงมีผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างภาระให้แก่รัฐบาลน้อยกว่าวิธีการปิดกิจการแล้วชำระบัญชี รวมทั้งเป็นวิธีการที่ดำเนินการได้สะดวกและเร็วกว่าการควบกิจการด้วย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น