ความหมายของสมรรถนะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
Oxford Shorter Dictionary (as cited in Cooper et al., 2001) ให้ความหมายสมรรถนะว่า หมายถึง การมีความสามารถหรือความรู้เพียงพอที่จะทำงานได้
McClelland (1998, p. 331) ให้ความหมายสมรรถนะว่า คือ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skills) และคุณลักษณะ (attributes) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (job roles) ให้ประสบความสำเร็จ โดยมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น สามารถปฏิบัติงานได้มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่าและได้ผลงานที่ดีกว่า
Brockbank, Ulrich, and Beatty (1999, p. 111) ให้ความหมายสมรรถนะไว้ว่า หมายถึง ความรู้ ความสามารถของบุคคลที่สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีความเป็นมืออาชีพ
Dubois (as cited in Cooper et al., 2001) ให้ความหมายสมรรถนะในการทำงานไว้ว่า เป็นคุณลักษณะของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย แรงจูงใจ (motive) อุปนิสัย (trait) ทักษะ (skill) ภาพลักษณ์ของตนเอง (self-image) บทบาททางสังคม (social role) หรือองค์ความรู้ (body of knowledge) ที่ส่งผลให้บุคคลนั้นมีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
สำนักงาน ก.พ. (2548, หน้า 5-6) ให้ความหมายของสมรรถนะไว้ว่า หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ในองค์กร
บรรณานุกรม
คนึงนิจ อนุโรจน์. นาวาอากาศโท หญิง. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กองทัพอากาศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงาน ก.พ. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2550, จาก http://www.cscnewact.com/Uploads/0/41_pub_08 competency.pdf
Cooper, S., Lawrence, E., Kierstead, J., Lynch, B., & Luce, S. (2001). Competencies: A brief overview of development and application to public and private sectors. Retrieved April 6, 2008, from http://www .psagencyagencefp.gc.ca/research/personnel/comp overviewe.asp
Brockbank, W., Ulrich, D., & Beatty, R. W. (1999). HR Professional development: Creating the future creators at the University of Michigan Business School. Human Resource Management, 38, 111-118.
McClelland, D. C. (1998). Identifying competencies with behavioralevent interviews 1998. American Psychological Society, 5(9), 331-339.
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น