Custom Search
ระบบเศรษฐกิจจะเกิดดุลยภาพได้นั้น ใน 4 ภาคด้านล่างต้องเกิดดุลยภาพของแต่ละภาคก่อน และเศรษฐกิจมหภาคแบ่งเป็น 4 ภาคที่สำคัญดังนี้
1.ภาคการผลิต ซึ่งในภาคเศรษฐกิจเรียกว่า ตลาดสินค้า หรือ ภาคเศรษฐกิจแท้จริง (Real Sector) ตัวแปรที่สำคัญในภาคนี้คือ ผลผลิตรวมของประเทศ (Total Output) หรือที่เรียกว่า รายได้ประชาชาติ ในสถานการณ์ที่มีดุลยภาพ คือ สถานการณ์ที่ระดับรายได้ประชาชาติเท่ากับความต้องการใช้จ่ายทั้งหมด (Total Expenditure) หรือ อุปสงค์รวมของประเทศ เท่ากับ อุปทานรวมของประเทศ เศรษฐกิจก็จะดำเนินไปด้วยดีไม่มีปัญหาเงินเฟ้อ หรือ เศรษฐกิจถดถอย และในภาคการผลิตมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน ( G )
- รายจ่ายในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ ( I )
- รายจ่ายของภาครัฐบาล ( C )
- การนำเข้า ( M )
- การส่งออก ( X )
- การออมของหน่วยธุรกิจและรัฐบาล ( S )
- ภาษี ( T )
- ระดับราคา ( P )
( คือสูตร Income – Expenditure Approach ) เส้น AE ตัดกับเส้น 45º และสูตร I = S
2.ภาคการเงิน ตัวแปรที่ใหญ่ที่สุดในภาคนี้คือ ตัวอุปทานของเงินและอุปสงค์ของเงินจะอยู่ที่จุดดุลยภาพ ( อุปทานของเงินเท่ากับอุปสงค์ของเงิน ) ซึ่งเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพขึ้นมา ถ้าสถานการณ์การเงินมีดุลยภาพก็จะส่งผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ นอกจากนี้ตัวแปรอื่นที่มีผลกระทบต่อภาคการเงินก็คือ สถาบันการเงินในระบบเศรษฐกิจที่าเกี่ยวข้องกับเรื่องการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อแก่หน่วยงานธุรกิจและครัวเรือน การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เป็นต้น ( คือสูตร AD = AS )
3.ภาคตลาดแรงงาน หรือ ภาคปัจจัยการผลิต ภาวะดุลยภาพของภาคปัจจัยการผลิตอยู่ตรงที่ อุปสงค์ต่อแรงงาน เท่ากับ อุปทานของแรงงาน และจะส่งผลไปยังระดับอัตราค่าจ้างต้นทุนการผลิต ของประเทศหรือของระบบเศรษฐกิจนั้นๆ เช่น เกิดภาวะขาดแคลนแรงงานจนอุปสงค์ต่อแรงงานมากกว่าอุปทานของแรงงาน ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนปัจจัยการผลิตในภาคการผลิตหรือตลาดสินค้า และจะส่งผลกระทบต่อระดับอัตราค่าจ้าง ต้นทุนการผลิตโดยส่วนรวม การส่งออก และดุลการค้าในที่สุดเป็นต้น ( คือสูตร IS = LM )
4.ภาคต่างประเทศ ดุลยภาพในภาคต่างประเทศนี้คือ สถานการณ์ที่ดุลการชำระเงินของประเทศมีความสมดุล นอกจากนี้ยังมีดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้า ดุลบริการ ดุลเงินโอน และเงินบริจาค การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
*** สรุปได้ว่า การเกิดดุลยภาพทั่วไปซึ่งหมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดดุลภาพทั้ง 4 ส่วนดังกล่าวพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดความไม่มีดุลยภาพที่มีการจ้างงานเต็มที่ด้วย ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคในสถานการณ์ที่เกิดความไม่มีดุลยภาพแล้ว เพื่อปรับสถานการณ์ให้กลับเข้าสู่ดุลยภาพจุดทั่วไป เครื่องมือหลักที่ใช้ในทางเศรษฐศาสตร์ในการปัญหาคือ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น