เวลาบริษัททำธุรกิจแล้วต้องการจะเพิ่มกำไร บริษัทควรจะขึ้นราคาหรือลดราคา ควรผลิตให้มากขึ้นหรือน้อยลง คำตอบของคำถามเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับตลาดที่บริษัทนั้นๆดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น
เมื่อสินค้ามีความขาดแคลน ( Demand > Supply ) ราคาของสินค้าก็จะสูงขึ้น ซึ่งจะดึงดูดให้ผู้ผลิตทำการผลิตมากขึ้น และผู้บริโภคก็จะอยากซื้อของน้อยลง จนในที่สุดภาวะขาดแคลนก็จะหายไป
เมื่อสินค้านั้นล้นตลาด (Supply > Demand) ราคาของสินค้าก็จะลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตทำการผลิตน้อยลง ส่วนผู้บริโภคก็จะอยากซื้อของมากขึ้น จนในที่สุดภาวะล้นตลาดก็จะหายไป
ซึ่งราคาสุดท้ายที่ทำให้เกิดสมดุลระหว่าง Demand และ Supply เราก็จะเรียกว่า Equilibrium Price นั่นเอง
Demand (อุปสงค์)
กฎที่สำคัญก็คือ "เมื่อราคาของสินค้าสูงขึ้น ปริมาณความต้องการสินค้า (และสามารถจ่ายได้จริง) ก็จะลดลง" ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
income effect ผู้คนจะรู้สึกว่าตนเองจนลง เนื่องจากอำนาจการซื้อจะลดลง เพราะมีรายได้เท่าเดิม แต่ซื้อของได้น้อยชิ้นลง
substitution effect ผู้คนจะเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนอย่างอื่น เพราะของอย่างอื่นถูกกว่า
ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ Demand เปลี่ยนไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกดังนี้
รสนิยม = หากของเป็นที่น่าปรารถนามาก ก็จะมี demand มาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการโฆษณา แฟชั่น เรื่องของการใส่ใจสุขภาพ เป็นต้น
จำนวนและราคาของสินค้าทดแทน = หากสินค้าทดแทนมีราคาสูง demand ของสินค้าตัวที่พิจารณาอยู่นี้ก็จะมาก
จำนวนและราคาของสินค้าสินค้าที่ใช้ประกอบกัน = หากราคาของสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary good) เช่น รถยนต์และ น้ำมัน มีราคาสูง demand ของสินค้าตัวที่พิจารณาอยู่นี้ก็จะน้อย
รายได้ = หากผู้คนมีรายได้สูง demand ของสินค้าก็จะสูง (ในกรณีที่เป็นสินค้าปกติ) แต่ในทางกลับกัน demand ของสินค้าจะต่ำลงในสินค้าประเภท inferior goods เช่น ของถูกๆอย่าง มาม่า
การกระจายของรายได้ = ถ้าหากมีการกระจายมาทางคนรวยมาก สินค้าหรูหราก็จะมี demand สูง ทำให้คนจนจะยิ่งจนหนักทำให้ inferior goods มี demand สูงเช่นกัน
ความคาดหวังของราคาในอนาคต = ถ้าคนคิดว่าของจะราคาขึ้นในอนาคต demand ปัจจุบันก็จะสูง
Supply (อุปทาน)
กฎที่สำคัญก็คือ "เมื่อราคาของสินค้าสูงขึ้น ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าก็จะสูงขึ้น" นั่นเป็นเพราะว่าบริษัทจะได้กำไรมากขึ้นด้วยนั่นเอง
ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ Supply เปลี่ยนไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกดังนี้
ต้นทุนการผลิต = เมื่อต้นทุนสูงขึ้น กำไรก็จะลดลง บริษัทก็จะทำการผลิตน้อยลง สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนเปลี่ยนไปมีดังนี้
ราคาต้นทุนสินค้าเปลี่ยนไป, เทคโนโลยีเปลี่ยน, การเปลี่ยนแปลงทางองค์กร, นโยบายของภาครัฐ
ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าทดแทน = หากสินค้าทดแทนสามารถทำกำไรได้มาก ผู้ผลิตก็จะเปลี่ยนไปทำสินค้าทดแทนมากขึ้น ทำให้ Supply ลดลง
ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าอุปทานร่วม = เวลาเราผลิตสินค้าบางอย่าง ก็อาจจะต้องมีการผลิตสินค้าอีกอย่างออกมาพร้อมกันด้วย เราเรียกว่า สินค้าอุปทานร่วม (joint supply) และถ้าหากมันมีกำไรมาก Supply ของสินค้าตัวที่พิจารณานี้ก็จะมากด้วย
เหตุการณ์ไม่คาดฝัน = เวลาเกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็จะส่งผลต่อ supply เช่นกัน
การคาดการราคาสินค้าในอนาคต = หากคาดว่าในอนาคตสินค้าจะมีราคาสูงขึ้น ผู้ผลิจก็จะ supply น้อยลงในปัจจุบัน (เอาไว้รอขายตอนราคาสูง)
จำนวนของผู้ผลิต = หากมีผู้ผลิตเข้ามาในตลาดมาก supply ก็จะเยอะ
ข้อ ควรระวัง!!
เมื่อราคาเปลี่ยนไป ==> จะมีการเลื่อนภายในเส้นกราฟ Supply (Movement along curve) เราจะเรียกว่า ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าเปลี่ยนไป ( Change in the Quantity Supplied )แต่ถ้าหากปัจจัยอื่นๆ นอกจากราคาเปลี่ยนไป ==> จะเกิดการย้ายกราฟ Supply ทั้งกราฟเลย ( Supply Shift) เราจะเรียกว่า ความต้องการผลิตสินค้าเปลี่ยนไป ( Change in Supply ) เช่น เมื่อต้นทุนในการผลิตลดลงเนื่องจากเทคโนโลยีดีขึ้น Supply curve ก็จะเบื่อนไปทางขวา
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น