การที่ผู้บริโภคจะมีอุปสงค์ต่อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับราคาสินค้าชนิดนั้น ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง(ทดแทนกันหรือใช้ร่วมกัน) รสนิยมของผู้บริโภค รายได้ของผู้บริโภค กาคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต ฯลฯ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
Dx = F(Px,Y,T,Py,……W)
Dx = คืออุปสงค์ของสินค้าX ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ คือ
Px =ราคาสินค้าX
Y = รายได้ของผู้ซื้อ
T = รสนิยม
Py = ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง
W = ดินฟ้าอากาศ
ประเภทของอุปสงค์
เราอาจแยกอุปสงค์เป็น3 ชนิด ตามปัจจัยที่กาหนดอุปสงค์นั้นได้แก่
1.อุปสงค์ต่อราคา(Price Demand)
2.อุปสงค์ต่อรายได้(Income Demand)
3.อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น(Cross Demand)
1. อุปสงค์ต่อราคา(Price Demand)
ปริมาณการเสนอซื้อสินค้านั้นถูกกาหนดโดยราคาสินค้านั้นเอง (โดยให้ปัจจัยอื่นคงที่) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ไปในทางตรงกันข้ามกันคือ Px Qx (ถ้าราคาสินค้า X สูงขึ้น ปริมาณซื้อสินค้า X จะลดลง) หรือราคาต่าลงปริมาณซื้อจะมากขึ้น ซึ่งก็คือกฎของอุปสงค์ และเมื่อนามาลากเส้น Demand จะมีslope เป็นลบ ทอดลงจากซ้ายไปขวา
2.อุปสงค์ต่อรายได้(Income Demand) หมายถึง ปริมาณซื้อสินค้าจะมากหรือน้อยนั้นอยู่กับ
รายได้ของผู้ซื้อนั้น(โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) และยังขึ้นกับชนิดของสินค้านั้นด้วย ซึ่งได้แก่
ก. สินค้าปกติ(normal goods) ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อกับรายได้จะเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน กล่าวคือ ถ้ารายได้มากขึ้นก็จะซื้อสินค้ามากขึ้น เส้นอุปสงค์ต่อรายได้กรณีสินค้าปกติจึงลาดลง
จากซ้ายขึ้นไปขวาหรือมีความลาดชันเป็นบวก
สินค้าด้อย(inferior goods) หมายถึง สินค้าที่ปริมาณซื้อจะลงต่าลง เมื่อผู้บริโภคสูงขึ้น
ดังนั้นเส้นอุปสงค์ต่อรายได้กรณีสินค้าด้อยจะเป็นเส้นที่ลาดจากซ้ายลงมาขวา
3.อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น(Cross Demand) หรือ อุปสงค์ไขว้ เป็นการศึกษาปริมาณซื้อ
สินค้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง (โดยให้ปัจจัยอื่นๆคงที่) สินค้าอื่นที่
เกี่ยวข้องนั้นพิจารณาได้เป็น2 กรณี
ก. สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary goods) เช่น ไม้กอล์ฟกับลูกกอล์ฟ กล้องถ่ายรูป
กับฟิลม์ รถยนต์กับนามัน จะเห็นได้ว่า ถ้ารถยนต์ถูกลงคนจะใช้รถยนต์มากขึ้นทาให้การใช้นามัน
เพิ่มขึ้น นั่นก็คือกรณีสินค้าที่ใช้ประกอบกัน ปริมาณเสนอซื้อสินค้าชนิดหนึ่งกับราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง
จะมีทิศทางไปในทางตรงกันข้ามข.สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน(Substitute goods ) เช่น ชากับกาแฟ, น้าหมูกับน้ามันพืช จะเห็นได้
ว่า ถ้าน้ามันหมูแพงขึ้นคนจะหันไปใช้นามันพืชแทนมากขึ้น นั่นก็คือ กรณีสินค้าที่ใช้ทดแทนกันปริมาณ
เสนอซื้อสินค้าหนิดหนึ่งกับราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะมีทิศทางไปในทางเดียวกัน
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น