ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เกิดขึ้นจากการที่ทรัพยากรเศรษฐกิจมีจำกัด เมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ทำให้ทุกสังคมประสบปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 ปัญหา คือ
จะเลือกผลิตอะไร (What to produce)
ผลิตอย่างไร (How to produce)
ผลิตเพื่อใด (For Whom to produce)
1. ปัญหาว่าจะผลิตอะไร (What) เนื่องจากมีทรัพยากรจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีการตัดสินใจว่าควรจะเลือกทรัพยากรที่มีอยู่นำไปผลิตสินค้าและบริการอะไรได้บ้างที่จำเป็น และเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะสามารถสนองความต้องการและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคม ตัวอย่างเช่น ประเทศชาติมีทรัพยากรจำกัดก็ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดนั้นไปในการผลิตอาหารเพื่อปากท้องของพลเมืองอย่างทั่วถึง หรือควรจะผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารให้เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นต้น
2. ปัญหาว่าควรผลิตอย่างไร (How) หลังจากตัดสินใจได้ว่าจะผลิตอะไรเป็นจำนวนสักเท่าใดแล้ว ปัญหาที่เราจะต้องตัดสินใจขั้นต่อไปก็คือ เราจะใช้
เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการวิธีการใด และจะใช้ปัจจัยการผลิตมากน้อยในสัดส่วนเท่าใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือเสียต้นทุนต่ำที่สุด เนื่องจากผู้ผลิตมีเทคนิคและกรรมวิธีการผลิตสินค้าได้หลายวิธีที่สามารถให้ผลผลิตเท่าเทียมกัน จึงต้องเลือกใช้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตัวอย่างเช่น เกษตรกรต้องการปลูกข้าวให้ได้ข้าวเปลือก 1,000 เกวียน อาจเลือกใช้ที่นาจำนวนมากโดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การเกษตรจำนวนน้อย หรืออาจเลือกใช้ที่นาจำนวนน้อยโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรจำนวนมาก ไม่ว่าเราใช้การผลิตวิธีใดก็สามารถได้ข้าวเปลือก 1,000 เกวียนเท่ากัน เป็นต้น
3. ปัญหาวาจะผลิตเพื่อใคร (For Whom) ปัญหาว่าจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อใคร คำตอบก็คือผลิตเพื่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค หลังจากผลิตสินค้าและบริการได้แล้วก็จะมีการจำหน่ายจ่ายแจกไปยงผู้บริโภค เงินที่ผู้บริโภคใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าของสินค้าและบริการจะตกไปอยู่กับใคร จำนวนเท่าใด เป็นการศึกษาถึงการผลิต การบริโภค และการแบ่งสรรทรรัพยากรการผลิตโดยการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน การที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะได้สินค้าและบริการมากินมาใช้มากน้อยแค่ไหน หรือรัฐบาลของบาง ประเทศอาจเป็นผู้กำหนด ตามนโยบายของรัฐบาลว่าจะจัดสรรให้แก่กลุ่มบุคคลใด
การตัดสินใจว่า เราควรจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใครดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องของการจัดสรรทรพัยากรการผลิตที่มีอยู่จำกัด เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและอำนวยประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เศรษฐกิจ ส่วนการแก้ปัญหาจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น