Custom Search
วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

financial or securities investment

การลงทุนในหลักทรัพย์ (financial or securities investment) การลงทุนตามความหมายทางการเงินหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ (asset) ในรูปของหลักทรัพย์ (securities) เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นทุน ตราสาร เป็นต้น การลงทุนในลักษณะนี้เป็นการลงทุนทางอ้อมที่แตกต่างจากการลงทุนทางธุรกิจ ผู้ที่มีเงินแม้เมื่อไม่ต้องการเป็นผู้ประกอบธุรกิจเอง เนื่องจากมีความเสี่ยงหรือผู้ออมยังมีเงินไม่มากพอ ผู้ลงทุนนำเงินที่ออมได้ไปซื้อหลักทรัพย์ลงทุนโดยให้ผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยหรือเงินปันผล (yield) และ ส่วนต่างราคา (capital gain) 


การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  เป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากผู้ที่มีเงินออม เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สู
งกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ นอกจากนี้การที่ตลาดหลักทรัพย์มีบริษัทจดทะเบียนที่หลากหลาย ตลาดหลักทรัพย์จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความหลากหลายในการลงทุนทั้งประเภทสินค้าและผลตอบแทนเพราะมีสินค้าหรือตราสารเพื่อการลงทุนหลายประเภทซึ่งออกโดยบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจในหลายประเภทและหลาย  อุตสาหกรรมให้เลือกลงทุนตามความต้องการก่อนตัดสินใจลงทุนหลักทรัพย์
       อัตราเงินเฟ้อ จากความเข้าใจทั่วไป เงินเฟ้อเกิดเมื่อราคาของสินค้าต่าง ๆ มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนี้ไม่จำเป็นที่ว่า สินค้าทุกตัวต้องมีราคาสูงขึ้นเหมือนกันหมด อาจเป็นได้ที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น แต่อีกบางชนิดมีราคาลดลง แต่สิ่งที่สำคัญ นั่นคือ ราคารวมทั้งหมดโดยเฉลี่ยแล้วสูงขึ้น
                 สิ่งที่วัดความเปลี่ยนแปลงของระดับราคา คือ ดัชนีราคา (Price Index) และมีปัจจัยที่จะชี้ให้เราทราบว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ คือ เวลา ในการเกิดเงินเฟ้อเราไม่สามารถที่จะวัดได้ว่าต้องเกิดขึ้นนานเป็นระยะเวลาเท่าใด หรืออัตราของราคาสินค้าต้องสูงขึ้นเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยทั่วไปจะถือว่าระดับราคาสินค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเร็วเพียงใดถือว่าเกิดเงินเฟ้อ 

          ความรุนแรงของเงินเฟ้อมี 2 ประเภท ดังนี้
                 1.) เงินเฟ้ออย่างอ่อน (Creeping or Gradual or Mild Inflation) เงินเฟ้อประเภทนี้ จะสามารถสังเกตได้ว่าระดับราคาของสินค้าจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ก็เป็นอันตรายและสามารถสร้างปัญหาให้กับประเทศอุตสาหกรรมได้เช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์มองว่า เงินเฟ้อประเภทนี้ อาจให้ประโยชน์แก่เศรษฐกิจในด้านของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาจะช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชากร , อัตราการลงทุนสูงขึ้น ดังนั้นรายได้จะสูงขึ้น แต่ถ้ากลับมองในอีกแง่หนึ่งถ้าเรากำจัดเงินเฟ้อประเภทนี้ อาจก่อให้เกิดการว่างงานมากขึ้น 
                2.) เงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Hyperinflation) เงินเฟ้อประเภทนี้จะสามารถสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น เมื่อซื้อสินค้าในวันหนึ่ง ๆ จะได้ราคาที่แตกต่างกันในแต่ละช่วง คือ เช้าราคาหนึ่ง สายก็อีกราคาหนึ่งแต่พอตกเย็นก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ก่อให้เกิดการทำลายระบบเศรษฐกิจอย่างมาก มันจะทำให้หน้าที่ของเงินหมดไป การแลกเปลี่ยนจะกลับมาสู่สิ่งของแลกสิ่งของแทน 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น